คำสั่งของ tag ใดใช้สำหรับ link ไปยัง homepage หน้าอื่น ๆ

   HTML Links ก็คือการเชื่อมโยงจากหน้าเว็บเราไปยังที่ต่างๆ ซึ่งเรียกว่า Hyperlinks หรือทำการเชื่อมโยง (link) ภายในเอกสารของเราเองหรือเรียกว่า Anchors ซึ่งการสร้างลิงค์ของเอกสาร HTML ทั้งสองแบบนั้นจะสร้างโดยแท็ก <a> เหมือนกัน
การสร้าง links จะสร้างโดยใช้โครงสร้าง 

<a href="/url">Link text</a> 


ตัวอย่างเช่น

<html>
<body>

<a href="http://www.mindphp.com/">visit mindphp.com</a>

</body>
</html>

ผลัพธ์ที่ได้คือ

คำสั่งของ tag ใดใช้สำหรับ link ไปยัง homepage หน้าอื่น ๆ

Attribute "id"

การใช้ attribute "id" เป็นการกำหนดชื่อให้กับ anchor เมื่อเราต้องการลิงค์ภายในเอกสารนั้นๆ เช่น

<a id="mindphp.com">หัวข้อ 1</a>

เป็นการกำหนดว่าส่วนเนื้อหานี้มีชื่อว่า "label" ถ้าเราต้องการลิงค์มายังเนื้อหานี้เราจะต้องทำการอ้างอิงชื่อ "label"

<a name="#mindphp.com">ไปที่หัวข้อ 1</a>

เมื่อเราคลิกที่ลิงค์ "ไปที่หัวข้อ 1" มันก็จะทำการลิงค์ไปยังเนื้อหา "หัวข้อ 1"

ส่วนนี้เรียกว่าลิงค์ ภายใน

การใช้ attribute "name" เป็นการกำหนดชื่อให้กับ anchor เมื่อเราต้องการลิงค์ภายในเอกสารนั้น ๆ เช่น

<a name="label">Any content</a>

เป็นการกำหนดว่าส่วนเนื้อหานี้มีชื่อว่า "label" ถ้าเราต้องการลิงค์มายังเนื้อหานี้เราจะต้องทำการอ้างอิงชื่อ "label"

<a name="#label">Link to label</a>

เมื่อเราคลิกที่ลิงค์ "Link to label" มันก็จะทำการลิงค์ไปยังเนื้อหา "Any content"

คำสั่งของ tag ใดใช้สำหรับ link ไปยัง homepage หน้าอื่น ๆ

ลิงก์ Link หรือ Hyperlink คือ url ของหน้าเว็บเพจใด ๆ ที่เราคลิกแล้วจะนำเราเข้าไปสู่หน้าเว็บเพจนั้น ๆ ได้ อาจอยู่ในรูปแบบของข้อความหรือรูปภาพ หรืออื่น ๆ

การใช้งานลิงก์ใน HTML สามารถใช้ได้โดยใช้แท็ก <a> โดยมีรูปแบบดังนี้

<a href=”url“>link text</a>

  • href คือแอททริบิวต์สำหรับกำหนด url ปลายทางที่ต้องการให้ลิงก์ไป
  • link text คือ ข้อความ (หรือรูปภาพ หรืออื่นๆ) ที่ต้องการให้แสดงผลกำกับลิงก์

ตัวอย่างการใช้งานแท็ก <a>

<a href="https://www.dcrub.com/">ดีครับดอทคอม</a> 

ถ้าเป็นการสร้างลิงก์ไปยังหน้าอื่น ๆ ในเว็บเพจเดียวกัน สามารถทำได้โดยไม่ต้องระบุ url แบบเต็ม ให้ระบุแบบ relative URL ก็ได้ เช่น

<a href="/category/website/wordpress">การสร้างเวบไซต์ด้วย WordPress</a>

Target Attribute

Target Attribute คือแอททริบิวต์ที่ระบุว่า จะให้เปิดลิงก์ไปที่ไหน เช่น เปิดในหน้าเดิม เปิดในหน้าใหม่ เป็นต้น ซึ่งค่าที่สามารถระบุให้กับ Target Attribute ได้ มีดังนี้

  • _blank เปิดลิงก์ไปที่หน้าต่างใหม่หรือแท็บใหม่
  • _self เปิดลิงก์ในหน้าต่างเดิมหรือแท็บเดิม (เป็นค่าตั้งต้น)
  • _parent เปิดลิงก์ในหน้าต่างระดับแม่ (Parent)
  • _top เปิดลิงก์ในหน้าต่างระดับบนสุด
  • framename เปิดลิงก์ในเฟรมที่ระบุ หากไม่มีเฟรมที่ระบุจะเปิดในหน้าต่างใหม่

<a href="https://www.dcrub.com/" target="_blank">ดีครับดอทคอม</a>
<a href="https://www.dcrub.com/" target="_self">ดีครับดอทคอม</a> 
<a href="https://www.dcrub.com/" target="_parent">ดีครับดอทคอม</a> 
<a href="https://www.dcrub.com/" target="_top">ดีครับดอทคอม</a> 

การใช้งานรูปภาพเป็นลิงก์

เราสามารถใช้รูปภาพมาทำเป็นลิงก์ก็ได้เช่นกัน โดยครอบแท็ก <img> ด้วยแท็ก <a></a> ดังตัวอย่าง

<a href="https://www.dcrub.com/python-string-expandtabs-method">
    <img src="https://www.dcrub.com/wp-content/uploads/2020/02/Python-String-expandtabs-Method.jpg" alt="expandtabs() method">
</a> 

การใช้งานปุ่มกดเป็นลิงก์

เราสามารถทำปุ่มกด (Button) เป็นลิงก์ได้ โดยการเพิ่มโค้ด javascript เข้าไป ดังตัวอย่าง

<button onclick="document.location = 'webpage.html'">Link Text</button> 

Link Title

แอททริบิวต์ title ใช้สำหรับกำหนดข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับลิงก์ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะแสดงในรูปแบบของ tooltip text เมื่อเอาเมาส์ไปวางเหนือลิงก์ มีตัวอย่างการใช้งานดังนี้

<a href="https://www.dcrub.com/" title="ไปที่หน้าเว็บ ดีครับดอทคอม">ดีครับดอทคอม</a> 

Post navigation