ช่วงการเปลี่ยนสีผิวช่วงใดเกิดจากการอาบรังสี uvb

  1. หน้าหลัก
  2. บทความสุขภาพ
  3. UV Index ของแสงแดดเมืองไทยเสี่ยงแค่ไหนกับผิวไหม้แดด

ช่วงการเปลี่ยนสีผิวช่วงใดเกิดจากการอาบรังสี uvb

HIGHLIGHTS:

  • UV Index หรือ ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) หรือนิยามง่ายๆ คือ ความแรงของแดด  เป็นการวัดปริมาณของความเข้มของรังสี UV ที่ฉายลงมาบนพื้นผิวโลก
  • UV Index หรือ ความแรงของแดดในเมืองไทย มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11 – 12 ซึ่งอยู่ในระดับความรุนแรงที่สูงมาก
  • แพทย์ผิวหนังแนะนำให้ทาผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป และมีค่า PA 3+ ขึ้นไป เป็นประจำทุกวันทั้งใบหน้าและผิวกาย เพื่อปกป้องรังสียูวี

เมื่อย่างเข้าสู่เดือนมีนาคมซึ่งเป็นช่วงที่เข้าสู่หน้าร้อนของเมืองไทย พบว่าระดับของ UV Index อยู่ในระดับสูงและถือว่ามีความอันตรายต่อผิวของคนเรา

UV Index หรือ ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต หรืออาจเรียกง่ายๆ ว่า ความแรงของแดด เป็นการวัดการแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในพื้นที่หรือเวลานั้นๆ  คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาในปี พ.ศ. 2535 และได้นำมาปรับใช้ใหม่โดยองค์การอนามัยโลก และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกของสหประชาชาติ ใน พ.ศ. 2537 สำหรับความแรงของแดดเมืองไทยในจังหวัดต่างๆ ที่มีระดับที่สูง สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา (คลิก)

ระดับความรุนแรงของ UV Index หรือ ความแรงของแดด สามารถจำแนกได้ดังนี้

UV Index

สีสัญลักษณ์/ ระดับความแรง

การป้องกัน

0–2.9

สีเขียว “ความรุนแรงต่ำ”

สวมแว่นกันแดดในวันที่ท้องฟ้าโปร่ง

3–5.9

สีเหลือง “ความรุนแรงปานกลาง”

ควรปกปิดผิวด้วยเสื้อผ้า หากต้องอยู่กลางแจ้งให้หลีกเลี่ยงในช่วงเที่ยงวัน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีแสงมากที่สุด

6–7.9

สีส้ม “ความรุนแรงสูง”

ปกปิดผิวด้วยเสื้อผ้า สวมหมวก สวมแว่นกันแดด ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+  อยู่กลางแจ้งให้น้อยกว่า 3 ชั่วโมง

8–10.9

สีแดง “ความรุนแรงสูงมาก”

ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ สวมเสื้อผ้ากันแดด สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง และไม่อยู่กลางแดดเป็นเวลานาน

11+

สีม่วง “ความรุนแรงสูงจัด”

ควรระมัดระวังอย่างมาก โดยใช้ครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 และ PA มากกว่า 3+ สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว สวมแว่นกันแดด สวมหมวกที่สามารถปกปิดได้มิดชิด และหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งนานกว่า 3 ชั่วโมง

โดยส่วนใหญ่แล้ว จังหวัดที่มีความแรงของแดดสูงมาก - สูงจัด (ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป) ได้แก่ กาญจนบุรี กรุงเทพฯ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ตราด สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา ผู้ที่อาศัยในจังหวัดเหล่านี้จึงควรระมัดระวังอย่างมากในการหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่แดดจัด เช่น 10.00-15.00 น. เพราะถ้าหากโดดแดดในช่วงนี้ ประมาณ 15-20 นาที อาจทำให้ผิวหนังเกรียมแดด (sun burn) ได้ และในระยะยาว จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับดวงตาและมะเร็งผิวหนังด้วยเช่นกัน

ท้ายที่สุดแล้วเราควรดูแลผิวตัวเองด้วยการใช้ครีมกันแดด ซึ่งแพทย์แนะนำให้ทาผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป และมีค่า PA 3+ ขึ้นไปเป็นประจำทุกวันทั้งใบหน้าและผิวกาย โดยเฉพาะเด็กอ่อนและผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพผิวหนังอ่อนแอหรือแพ้แสงแดด ควรหลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดระหว่างเวลา 10.00-15.00 น. หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก สามารถป้องกันตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยการสวมหมวก สวมแว่นกันยูวี สวมเสื้อผ้าปกคลุมร่างกาย กางร่ม เพื่อสุขภาพผิวพรรณและดวงตาในระยะยาว

เมื่อผิวไหม้แดดควรทำอย่างไร

หากผิวไหม้แดดจนเกิดอาการแสบร้อน เราสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้โดยใช้เจลว่านหางจระเข้ หรือ After Sun Gel ที่มีส่วนผสมของสารลดการระคายเคืองทา เช้าและเย็นหลังจากมีอาการจนอาการดีขึ้น แต่ถ้ายังกังวลว่ายังมีอาการแสบแดง ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยรักษาอาการเหล่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยี Cool Laser (เลเซอร์เย็น) และ Omnilux (เทคโนโลยีแสง Light Emitting Diodes) ลดการอักเสบของผิว และฟื้นฟูผิวไหม้แดดให้หายเร็วขึ้น

ผศ. พญ. ปุณยพัศฐิช์ ศิริธนบดีกุล

ดูประวัติ

ช่วงการเปลี่ยนสีผิวช่วงใดเกิดจากการอาบรังสี uvb

แสงแดดประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหลายความยาวคลื่นด้วยกัน   ขณะที่แสงอาทิตย์เดินทางผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ความยาวคลื่นบางช่วงจะถูกดูดซับหรือไม่ก็สะท้อนกลับไป   รังสีที่เหลือก็จะผ่านลงมาสู่พื้นผิวโลก เช่น รังสี UV และรังสีอินฟาเรด เป็นต้น

รังสี UV เป็นตัวที่เกี่ยวข้องกับพวกเรามากที่สุดในชีวิตประจำวัน เพราะมันสามารถทะลวงผ่านชั้นผิวหนังของเราได้   เป็นเหตุให้เกิดผลอื่นๆ ตามมา เช่น ผิวหมองคล้ำ ริ้วรอย ตีนกา มะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

รังสี UV ประกอบด้วยกลุ่มคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหลายความยาวคลื่นด้วยกัน แบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้:-

  • รังสี UVC เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 200-280 nm. ซึ่งเป็นช่วงความยาวคลื่นที่สั้นที่สุด จึงมีพลังงานมากที่สุดด้วย   รังสี UVC เกือบทั้งหมดนี้จะถูกกรองที่ชั้นบรรยากาศของโลก และถึงแม้จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้เกิดผื่นแดงและทำให้สีผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนได้

  • รังสี UVB มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 280-320 nm. ซึ่งเป็นช่วงความยาวคลื่น ที่ทำให้เกิดผื่นแดงและไหม้เกรียมได้ เพราะมันสามารถทะลุผ่านผิวหนังชั้นสเตรตัม คอร์เนียม (Stratum corneum) และอีพิเดอมีส (Epidermis) ได้   รังสีนี้จะทำให้เกิดผลเสียต่อผิวหนังในทันที เช่น ผิวไหม้เกรียม ผื่นแดงเป็นต้น

  • รังสี UVA มีช่วงความยาวคลื่นอยู่ที่ 320-360 nm.   รังสีช่วงนี้จะมีพลังงานต่ำสุด แต่มีอำนาจทะลุทะลวงผ่านชั้นผิวหนังได้ลึกที่สุด และมีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อโครงสร้างชั้นผิวหนัง   รังสีนี้ในปริมาณน้อยก็สามารถทะลุผ่านชั้นหนังแท้ (Dermis) ได้ ซึ่งจะไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินได้มาก และเมลานินนี้จะไปปกป้องผิวจากการถูกทำลายอีกต่อ

รังสี UVB มีผลทำให้เกิดอาการผิวไหม้แดงได้เป็นส่วนใหญ่ และรังสี UVA ที่ปริมาณสูงก็ทำให้ผิวไหม้แดงได้เช่นกัน   ด้วยเหตุนี้ ปริมาณรังสี UVA ที่ลงมาถึงผิวโลกจึงมีมากกว่ารังสี UVB มาก   รังสี UVA ที่สูงนี้สามารถทะลุผ่านเข้าสู่ชั้นผิวหนังได้ และทำให้เกิดการทำลายโครงสร้างผิวตามมา เช่น คอลลาเจนและอีลาสติน เป็นต้น

ช่วงการเปลี่ยนสีผิวช่วงใดเกิดจากการอาบรังสี uvb

ดังนั้นการสัมผัสกับแสงแดดนานๆ โดยเฉพาะรังสี UVA ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระที่ผิวหนังได้ และอนุมูลอิสระนี้จะไปทำลายเซลล์ผิวหนัง จากภายในเซลล์เอง และทำลายชั้นของเส้นใยคอลลาเจน และอีลาสติน ทำให้เกิดผิวหนังหมองคล้ำ หย่อนยาน เกิดรอยตีนกามากมาย ทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า แก่ก่อนวัยอันเกิดจากแสงแดด

ด้วยเหตุนี้ ครีมกันแดดจึงมีส่วนช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดได้ -- นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราจึงต้องใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน

แน่นอนว่า เราสามารถเปรียบเทียบดูผลของแสงแดดนี้ได้ โดยดูที่ใบหน้าของเรา กับผิวหนังที่บริเวณตะโพกของเราก็ได้   จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันชัดเจน

ความรู้เรื่องรังสี UV นี้ คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการขายผลิตภัณฑ์สินค้าได้มากมาย ทั้งในกลุ่มครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด แชมภู เป็นต้น   ดังนั้นขอให้ทำความเข้าใจและจำให้ดี -- นี่เป็นความรู้ที่จำเป็นมาก จะทำให้คนฟังรู้สึกมั่นใจในตัวคุณมากทีเดียว -- เมื่อผู้ฟังเชื่อคุณแล้ว เรื่องขายก็คงไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอะไร มากนัก... จริงมั้ยครับ?

รังสียูวีช่วงใดที่เป็นสาเหตุของผิวคล้ำเสีย และริ้วรอย

1. รังสียูวีเอ (UVA) คือ รังสีอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่น 320-400 นาโนมิเตอร์ สามารถทะลุไปถึงชั้นผิวหนังกำพร้า และชั้นหนังแท้ได้ ในระยะยาวเชื่อกันว่าหากได้รับรังสี UVA มากๆ จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระในผิวหนัง ทำลายความยืดหยุ่นของเซลล์ ส่งผลให้ผิวหนังเหี่ยวย่น เกิดริ้วรอยก่อนวัย สีผิวคล้ำเข้ม ขาดความสดใส

รังสียูวีเอ มีผลทำให้เกิดปัญหาใดที่ผิวหนังมากที่สุด

- ยูวีเอ (UVA) เป็นแสงในช่วงความยาวคลื่น 320-400 นาโนเมตร ทำให้เกิดผิวคล้ำแดด เพราะแสงจะกระตุ้นการสร้างเมลานิน แต่ไม่ทำให้เกิดการอักเสบ - ยูวีบี (UVB) เป็นแสงในช่วงความยาวคลื่น 290-320 นาโนเมตร ทำให้เกิดผิวเกรียมแดดและผิวหนังอักเสบ ผิวแก่ก่อนวัย และเกิดมะเร็งผิวหนัง

UVB มีตอนกี่โมง

การป้องกันอันตรายจากแสงแดด อย่างแรก ควรหลีกเลี่ยงในเวลาที่แสงแดดร้อนจัด คือ ช่วงเวลา ประมาณ 11.00-14.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แสงแดดมีรังสียูวีบี(UVB) มีปริมาณสูงที่สุด ถ้าจ าเป็นต้องสัมผัส แสงแดดควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีเข้มทึบ เนื้อผ้าทอแน่นหนา สวมหมวกปีกกว้าง สวมแว่นตากันแดด

รังสี UVB มีผลต่อร่างกาย อย่างไร

รังสี UVB จะเข้มสูงสุดในช่วง 10.00-16.00 น. เป็นรังสีที่จำเป็นต่อการผลิตวิตามินดี แต่ผลเสียคือทำให้ผิวไหม้แดด (Sunburn), กระตุ้นการผลิตเมลานินใหม่ที่มีสีน้ำตาลดำ ติดทนนาน และเป็นสาเหตสำคัญของการเสียหายของดีเอ็นเอ โรคมะเร็งผิวหนัง ตาและจอประสาทตาเกิดความเสียหาย