รองเท้าผ้าใบควรเผื่อกี่ไซส์

เรื่องปวดหัวอย่างหนึ่งเวลาที่ผู้ชายต้องการเลือกซื้อรองเท้าหนัง นั่นคือเรื่องของ ขนาดหรือ ไซส์รองเท้าหนัง ที่เรามักพบว่า แต่ละแบรนด์ แต่ละรุ่น ต่างก็มีฟิตติ้ง (Fitting) ที่แตกต่างกันออกไป ตามขนาดและ Last หรือทรงรองเท้าที่ต่างกัน นี่ยังไม่นับระบบการเรียกไซส์ที่ต่างกันทั้ง US, UK และแบบอื่นๆ อีกมากมาย ในครั้งนี้ MenDetails จึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหา ด้วยการอธิบายถึงวิธีการหาไซส์รองเท้าหนังของผู้ชายอย่างละเอียด รวมทั้งทำความรู้จักกับระบบการเรียกไซส์ต่างๆ ทั่วโลก และบอกถึงข้อควรจำที่จะทำให้เราเลือกซื้อรองเท้าหนังได้ดีขึ้นในครั้งถัดไปครับ

รองเท้าผ้าใบควรเผื่อกี่ไซส์

อย่าเอาไซส์รองเท้าผ้าใบมาเทียบตรงๆ

นี่คือข้อควรจำอันดับแรกในการเลือกขนาดของ รองเท้าหนังประเภท Dress Shoes ทั้งหลาย นั่นเป็นเพราะรูปทรงของรองเท้าที่แตกต่างกัน ความยืดหยุ่นที่ต่างกัน และวัตถุประสงค์ของการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน การนำไซส์รองเท้าผ้าใบที่เราใส่อยู่มาเทียบแบบตรงๆ จะทำให้การเลือกรองเท้าหนังของเราผิดพลาดได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นจงลืมขนาดรองเท้าผ้าใบของเราไปก่อนได้เลยครับ


วัดขนาดเท้าบนกระดาษเปล่า

สองสิ่งสำคัญที่เราต้องค้นหาก็คือ “ความยาว” และ “ความกว้าง” ของเท้าจริงของเรา ทำได้โดยการหากำแพงหรือขั้นบันไดขั้นสุดท้ายที่ตั้งฉากกับพื้น จากนั้นนำกระดาษ 2 แผ่นมาวางไว้ โดยให้ขอบกระดาษด้านล่างชิดกับมุมฉากของกำแพงพอดิบพอดี ต่อมาให้เราเอาเท้าเปล่าเหยียบไปบนกระดาษข้างละหนึ่งแผ่นโดยทิ้งน้ำหนักตัวตามปกติ และให้ส้นเท้าแตะกับกำแพงแบบพอดีๆ อย่ากดน้ำหนักดันเข้าไปที่กำแพง จากนั้นจึงไหว้วานให้เพื่อนช่วยเอาดินสอหรือปากกาวาดรูปเท้าของเราไว้บนกระดาษที่เราเหยียบอยู่ การที่ต้องให้เพื่อนช่วยขีดให้นั้นเป็นเพราะว่าหากเราก้มลงไปขีดเอง จะทำให้น้ำหนักกดลงที่เท้ามากผิดปกติ และเท้าเราจะขยายตัวจนขนาดคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นขอให้ยืนตัวตรงแล้วให้เพื่อนขีดให้แทนนะครับ

รองเท้าผ้าใบควรเผื่อกี่ไซส์

เมื่อได้รูปเท้าของตัวเองมาแล้ว ให้เราตีเส้นสมมติตามรูปตัวอย่างข้างต้น แล้ววัดความยาว (length) และความกว้างของเท้า (width) ทั้งจากข้างซ้ายและข้างขวา จากนั้นจดบันทึกไว้ทั้งแบบเป็น เซ็นติเมตร (Centimetre) และแบบเป็น นิ้ว (Inch) โดยให้เทียบ 1 นิ้ว เท่ากับ 2.54 เซ็นติเมตรครับ ซึ่งเราจะพบว่าเท้าซ้ายและเท้าขวาของเรานั้นมักจะมีขนาดที่ “ไม่เท่ากัน” มันมักจะมีข้างใดข้างหนึ่งยาวกว่าเล็กน้อย และข้างใดข้างหนึ่งกว้างกว่านิดหน่อย ซึ่งนั่นถือเป็นเรื่องปกติของร่างกายมนุษย์ แต่ขอให้ยึดเอาตัวเลขที่ยาวที่สุด และกว้างที่สุด เป็นหลักเสมอ


เทียบขนาดที่วัดได้กับระบบไซส์แบบ Brannock System ของสหรัฐอเมริกา

ระบบการวัดขนาดเท้าแบบ Brannock System แท้จริงคือที่มาของไซส์รองเท้าที่มีรหัส US นั่นเอง ซึ่งเมื่อเราได้ขนาดความยาวและความกว้างของเท้าของเราแล้ว ให้นำหน่วยวัดที่เป็นนิ้ว (inch) มาเทียบกับตารางด้านล่างนี้ ยกตัวอย่างเช่น หากความยาวที่สุดของเท้าของเราวัดได้ 10 2/3 นิ้ว (หรือราว 27 ซม.) และจุดที่กว้างที่สุดวัดได้ 4 นิ้ว (หรือราว 10.2 ซม.) แปลว่าเรามีขนาดไซส์รองเท้าตามระบบ Brannock System คือ “10D US” โดยตัวเลข 10 แทนความยาว และตัวอักษร D เป็นรหัสแทนความกว้างของเท้านั่นเอง

รองเท้าผ้าใบควรเผื่อกี่ไซส์

รหัสความกว้าง D คือความกว้างระดับ “มาตรฐาน” ของไซส์รองเท้าตามระบบ US ดังนั้นหากเราเทียบขนาดเท้าของเราแล้วได้ความกว้างเป็นตัว C, B, A, AA, AAA ก็ถือว่าเรามีเท้าที่แคบกว่ามาตรฐาน แต่ถ้าความกว้างของเท้าเราเทียบได้กับรหัส E, EE, EEE หรือ EEEE แปลว่าเท้าเรากว้างกว่าระดับมาตรฐาน ส่วนถ้าใครเอาความยาวกับความกว้างมาเทียบกับตารางแล้วไม่ลงตัวเป๊ะ เราแนะนำให้นับเอาตัวเลขที่ใกล้เคียงที่สุด โดยเน้นการ “ปัดขึ้น” มากกว่าปัดลงนะครับ

รองเท้าผ้าใบควรเผื่อกี่ไซส์

รองเท้าหนังแต่ละแบรนด์ จากแต่ละมุมโลก ใช้ระบบไซส์ และรหัสที่ไม่เหมือนกัน

หากเรากำลังเลือกซื้อรองเท้าหนังที่เป็นแบรนด์จากสหรัฐอเมริกา เช่น Alden, Allen Edmonds ฯลฯ แน่นอนว่าแบรนด์เหล่านี้ย่อมใช้ระบบไซส์แบบ “US” ซึ่งเราเองก็สามารถเปรียบเทียบได้กับขนาดเท้าที่เราเทียบตามตางราง Brannock System ข้างต้นได้คร่าวๆ แต่ถ้ารองเท้าที่เราหมายตานั้นเป็นรองเท้าที่ผลิตในอังกฤษ หรือฝั่งยุโรป เช่น Crockett & Jones, Carmina, Berwick แบรนด์เหล่านี้มักจะใช้ระบบไซส์และรหัสความกว้างของรองเท้าเป็นระบบ UK หรือ Europe (EUR) แทน และถ้าหากเป็นรองเท้าที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น อย่าง ASICS Walking หรือ Regal Shoes บ่อยครั้งที่เราจะเห็นแบรนด์ญี่ปุ่นเหล่านี้ใช้ระบบของตัวเองคือ Japan (JPN) ซึ่งเป็นการวัดความยาวของพื้นรองเท้าด้านใน (Insole) มาให้เราตรงๆ ไปเลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราสามารถนำขนาดความยาวเท้าในระบบ US ของเรามาเทียบกับระบบไซส์ของภูมิภาคอื่นของโลกได้ตามตารางด้านล่างนี้ครับ

รองเท้าผ้าใบควรเผื่อกี่ไซส์

ตารางเทียบไซส์ความยาวเท้าระบบ US-UK-EUR-JPN และ KOR 

จากตัวอย่างเดิม หากเราพบว่าเรามีความยาวเท้าที่ 10 2/3 นิ้ว หรือประมาณ 27.0 เซ็นติเมตร เทียบได้กับไซส์ 10 ในระบบ US และจะเทียบเท่ากับไซส์ 9 ในระบบ UK หรือไซส์ 43 ในระบบ Europe (EUR) และเราควรใช้รองเท้าที่มีพื้นรองเท้าด้านใน (Insole) ยาวประมาณ 28 เซ็นติเมตร หรือ 280 มิลลิเมตร ตามแบบที่ระบบ Japan (JPN) และ Korea (KOR) ระบุไว้ครับ

รองเท้าผ้าใบควรเผื่อกี่ไซส์

แบรนด์ Berwick จะใช้ระบบ UK เป็นหลัก อย่างเช่นคู่นี้เป็น 7.5UK แม้จะไม่ได้เขียน UK ระบุไว้ก็ตาม


อย่าลืมความกว้างเท้า

การเปรียบเทียบไซส์ด้วยตัวเลขตามตารางข้างต้นนั้น เป็นเพียงการเปรียบเทียบ “ความยาวเท้า” เท่านั้น แต่ปัญหาสำคัญก็คือ เท้าของคนเราแต่ละคนนั้นมี “ความกว้างเท้า” ไม่เท่ากัน รองเท้าบางแบบที่ผลิตออกมาให้มีความยาวที่พอดีกับเท้าเราแล้ว แต่อาจมีความกว้างเท้าที่ไม่เหมาะสมกับเท้าเราก็เป็นได้ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมบางครั้งเราจึงพบว่า รองเท้าบางรุ่นบางแบบจากบางยี่ห้อ ถึงบีบหน้าเท้าเรามากเกินไป ทั้งๆที่เราก็ใส่ไซส์เดิมเหมือนกับคู่อื่นๆ ที่ใส่อยู่เป็นประจำก็ตาม และถ้าเราแก้ปัญหาด้วยการ “เพิ่มไซส์ไปเรื่อยๆ” จนกว่าจะใส่ได้พอดี ปัญหาที่จะเกิดก็คือ รองเท้าของเราจะยาวเกินไป จนเหมือนเรากำลังใส่ “เรือหางยาว” ออกไปเดินนะครับ

การกำหนดขนาดความกว้างของรองเท้านั้น มักจะมีให้เห็นกันในรองเท้าหนังสไตล์ Dress Shoes มากกว่ารองเท้าจำพวก Sneakers โดยจะใช้ “ตัวอักษร” เพื่อระบุความกว้าง โดยสามารถเปรียบเทียบได้คร่าวๆดังนี้

ระบบ US (เทียบจากตาราง Brannock ข้างต้น) เรียงจากที่แคบไปหากว้างได้แก่
AAA – AA – A – B – C – D (ความกว้างมาตรฐาน) – E – EE (2E) – EEE (3E) – EEEE (4E)

ระบบ UK เรียงจากที่แคบไปหากว้างได้แก่
E – F (ความกว้างมาตรฐาน) – G – H

นอกจากนี้รองเท้าหนังบางยี่ห้ออาจมีการใช้โค้ดตัวอักษรที่ระบุความกว้างของรองเท้าเป็นการเฉพาะตัวของแต่ละแบรนด์ อย่างเช่น รองเท้าแบรนด์ Carmina Shoemaker จะใช้โค้ดตัวอักษร E แทนความกว้างปกติ และ EE แทนความกว้างที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ก็ต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่าแต่ละแบรนด์เรียกความกว้างของตัวเองอย่างไร

รองเท้าผ้าใบควรเผื่อกี่ไซส์

สาเหตุที่เราควรใส่ใจกับความกว้าง สำหรับรองเท้าหนังประเภท Dress Shoes เป็นพิเศษนั้น นั่นเป็นเพราะความยืดหยุ่นของวัสดุและการปรับขยายขนาดทำได้ยากกว่ารองเท้า Sneakers อีกทั้งเมื่อเวลาที่เราใส่รองเท้าหนัง Dress Shoes เราต้องการให้ใส่แล้วดูภูมิฐานและสง่า ดังนั้นเราจึงควรเลือกความกว้างที่เหมาะสม บนความยาวของรองเท้าที่พอดี เพื่อป้องกันการใส่รองเท้าที่มีความยาวมากเกินไปครับ

รองเท้าผ้าใบควรเผื่อกี่ไซส์

Alden ใช้ระบบ US จากรูปเป็น ไซส์ 9 B/D US โดยตัว B แทนความกว้างของส้นเท้า และตัว D แทนความกว้างของตัวรองเท้า
รองเท้าผ้าใบควรเผื่อกี่ไซส์


อย่ายึดตัวเลข ไซส์รองเท้าหนัง เป็นสรณะ

เราเริ่มต้นด้วยการวัดเท้า และนำไปเปรียบเทียบกับตาราง Brannock System เพื่อค้นหาว่า “True Size” หรือขนาดเท้าที่แท้จริงของเราว่าเป็นขนาดเท่าไหร่ แต่สุดท้ายแล้ว MenDetails ก็ยังขอแนะนำไม่ให้เรา “ยึดมั่น” กับรหัสขนาดรองเท้าของเราเอาไว้เป็นสรณะ การได้ลองสวมใส่รองเท้าจริง เพื่อดูว่า Last ของรองเท้าคู่นั้นๆ เหมาะสมกับเราหรือไม่ ใส่แล้วดูดีหรือเปล่า และมีจุดไหนที่บีบเกินไป หรือหลวมเกินไปหรือไม่ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ “รหัสไซส์รองเท้า” ไม่สามารถบอกเราได้ แต่การมีไซส์รองเท้าในใจ ก็เพื่อให้เราสามารถโฟกัสขนาดรองเท้าที่เราอยากลองได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาทดลองสวมใส่หลายๆ ไซส์ให้นานเกินไปนั่นเอง

รองเท้าผ้าใบควรเผื่อกี่ไซส์

เมื่ออ่านบทความนี้จบแล้ว MenDetails เชื่อว่าจะทำให้ผู้ชายทุกคนสามารถหา ขนาด หรือ ไซส์รองเท้า ที่แท้จริง ของตัวเองได้เสียที อย่างน้อยเราก็ได้รู้ว่าเท้าเรายาวแค่ไหน และกว้างหรือแคบกว่ามาตรฐานหรือไม่? อย่างไร? และไซส์รองเท้าที่เราใส่มาตลอดนั้นความจริงยาวเกินไปหรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เราสามารถเลือกรองเท้าหนังได้แม่นยำขึ้น และผลพลอยได้ก็คือจะทำให้เราสามารถเลือกรองเท้าผ้าใบใส่ได้สวยขึ้นด้วย ไม่ต้องเสี่ยงกับการใส่รองเท้าผิดไซส์ให้ยาวเกินไปจนดูเหมือน “ใส่เรือไปเดินเที่ยว”​ อีกต่อไปนะครับ

Related Topics
  • Brannock system
  • dress shoes
  • EUR sizing
  • leather shoes
  • mds' style
  • Men's Shoe Size Guide
  • shoes
  • style
  • UK sizing
  • US sizing
  • ขนาดรองเท้าหนัง
  • ขนาดรองเท้าหนังผู้ชาย
  • ซื้อรองเท้าหนัง
  • รองเท้าหนัง
  • รองเท้าหนังผู้ชาย
  • เลือกขนาดรองเท้าหนังผู้ชาย
  • เลือกซื้อรองเท้าหนัง
  • เลือกรองเท้าหนัง
  • เลือกรองเท้าหนังผู้ชาย
  • ไซส์รองเท้าหนัง
  • ไซส์รองเท้าหนังผู้ชาย

You May Also Like