เชื้อราในช่องคลอดควรทานยาอะไร

โรคที่สามารถเกิดได้ในคุณผู้หญิง เพราะอวัยวะเพศของผู้หญิงมีความซับซ้อนและอยู่ภายใน ยากต่อการตรวจเช็คและทำความสะอาด ทำให้หลายคนเกิดความกังวลเมื่อเกิดอาการหรือความผิดปกติ  ในหลายครั้งที่เกิดอาการคัน หรือความผิดปกติโดยทั่วไปก็จะคิดถึงโรคเชื้อราในช่องคลอดก่อนเป็นอันดับแรก แต่เรามาดูกันว่า โรคเชื้อราในช่องคลอด มีอาการเป็นอย่างไรและมีสาเหตุจากอะไรบ้าง ถ้าหากเป็นแล้วจะข้องรักษาอย่างไร เมื่อเกิดอาการแล้วจะได้รักษาได้ทัน

Show

สารบัญบทความ

  • เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis)
  • เชื้อราในช่องคลอดเกิดจากสาเหตุใด
  • เชื้อราในช่องคลอดเกิดกับใครได้บ้าง
  • เชื้อราในช่องคลอดในหญิงตั้งครรภ์
  • อาการของเชื้อราในช่องคลอด
  • เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
  • การตรวจวินิจฉัยเชื้อราในช่องคลอด
  • วิธีรักษาเชื้อราในช่องคลอด
  • ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีอาการเชื้อราในช่องคลอด
  • ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากเชื้อราในช่องคลอด
  • วิธีป้องกันเชื้อราในช่องคลอด
  • Q&A โรคเชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis)

เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราภายในช่องคลอดหรือบริเวณปากช่องคลอด ทำให้เกิดความผิดปกติ ส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองและอาการคันอย่างรุนแรง ซึ่งเชื้อราในช่องคลอดเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงทั่วไป มักพบร้อยละ 40 แต่จะไม่เกิดปัญหาถ้าหากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน หากระบบสมดุลในช่องคลอดเปลี่ยนจากกรดเป็นด่าง จะทำให้การเจริญเติบโตของเชื้อราเพิ่มมากขึ้น

เชื้อราในช่องคลอดเกิดจากสาเหตุใด

เชื้อราในช่องคลอดควรทานยาอะไร

เชื้อราในช่องคลอดเกิดจากการเพิ่มจำนวนเชื้อรามากกว่าปกติภายในช่องคลอด จนทำให้ภายในช่องคลอดเสียสมดุล โดยปกติเชื้อราเหล่านี้มักอาศัยอยู่ตามช่องปาก อวัยวะเพศ ระบบทางเดินอาหาร หรือบนผิวหนังของคนเราในปริมาณน้อยและไม่ก่อให้เกิดโรคใดๆ 

แต่เมื่อเชื้อราเหล่านี้มีปริมาณมากขึ้นก็จะพัฒนาให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้ เชื้อราที่ทำให้เกิดการติดเชื้ออาจเกิดได้จากหลายสายพันธ์ุ แต่สายพันธ์ุที่พบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในช่องคลอดได้มากที่สุดมีชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งเป็นเชื้อราในกลุ่มแคนดิดา (Candida) 

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอด

  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น พอปริมาณฮอร์โมนที่สูงขึ้น เชื้อราก็จะมีปริมาณมากขึ้นเช่นกัน
  • โรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่ควบคุมโรคไม่ดี ไม่ได้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก็จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อราในช่องคลอดมากขึ้น
  • การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานเกินไป จะไปทำลายเชื้อแบคทีเรียที่สร้างความสมดุลของเชื้อราในช่องคลอด ทำให้เชื้อราเพิ่มปริมาณมากขึ้น
  • การรับประทานยาเสตียรอยด์ เพราะจะลดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค
  • ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานบกพร่อง หรือโรคเอดส์
  • การใส่กางเกงที่แน่นและคับมากเกินไป

เชื้อราในช่องคลอดควรทานยาอะไร

เชื้อราในช่องคลอดเกิดกับใครได้บ้าง

การเกิดเชื้อราในช่องคลอดมักจะพบได้น้อยในผู้หญิงวัยก่อนมีประจำเดือน และสตรีวัยหมดประจำเดือน ดังนั้นภาวะนี้มักพบได้มากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และผู้หญิงที่อยู่ในภูมิประเทศที่อากาศร้อน มีความชื้นสูง และผู้ที่ได้รับยาปฏิชีวนะต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน 

นอกจากนี้ยังพบบ่อยในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานที่คุมได้ไม่ดี ผู้ที่ต้องรับยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือผู้ที่ติดเชื้อไวรัสภูมิต้านทานบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ ทำให้การกำจัดหรือการลดจำนวนของเชื้อราทำงานช้าลง

เชื้อราในช่องคลอดในหญิงตั้งครรภ์

อีกหนึ่งเรื่องที่ผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์หรือเตรียมจะมีลูกควรรู้ นั่นก็คือ ปัญหาเชื้อราในช่องคลอด เป็นอาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ แต่จะไม่มีอันตรายร้ายแรงอาจทำให้เกิดความรำคาญและรู้สึกไม่สบายตัว โดยปกติผู้หญิงเกือบทุกคนมีโอกาสเป็นเชื้อราในช่องคลอดได้ 

สาเหตุเกิดจากความอับชื้น มักจะเกิดจากการมีมูกไข่ตกก่อนเป็นประจำเดือน หรือเกิดอาการระคายเคือง อาการคันภายในช่องคลอด บริเวณปากช่องคลอด เพราะในช่องคลอดจะมีความชื้นมากจึงติดเชื้อราได้ง่าย โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ผู้หญิงกำลังตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนที่กำลังขึ้นลง 

หากเจออาการแนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจว่าเป็นอาการปกติหรือไม่ และการเกิดเชื้อราในช่องคลอดจะไม่ส่งผลกระทบต่อลูกในท้อง

อาการของเชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอดควรทานยาอะไร

อาการเริ่มแรก

  • ตกขาวจะมีสีขาวหรือเหลืองเป็นก้อนคล้ายนมบูด
  • มีกลิ่นเหม็น
  • มีการระคายเคือง
  • เกิดอาการคัน
  • มีอาการบวมที่บริเวณอวัยวะเพศ
  • มีผื่นแดงบริเวณอวัยวะเพศ

อาการรุนแรง

  • มีอาการบวม แดง คันที่รุนแรงจนทำให้เกิดแผลและเจ็บปวดบริเวณช่องคลอด
  • มีอาการแสบ ระคายเคืองอย่างรุนแรง
  • บางคนอาจรู้สึกแสบในช่องคลอดขณะปัสสาวะ
  • มีการติดเชื้อรา 4 ครั้งหรือมากกว่าต่อปี
  • ติดเชื้อราสายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ Candida Albicans

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

  • ติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นครั้งแรก ควรพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่านั้น
  • หากเป็นผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์ ควรรีบพบแพทย์
  • ติดเชื้อราในช่องคลอด 4 ครั้งหรือมากกว่าต่อปี แพทย์อาจต้องให้ยาต้านเชื้อรานานอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค นอกจากนี้การติดเชื้อราบ่อยครั้งอาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานหรือโรคอื่นๆ ได้

เชื้อราในช่องคลอดควรทานยาอะไร

การตรวจวินิจฉัยเชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอดควรทานยาอะไร

ตรวจเบื้องต้นด้วยการสอบประวัติ

แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติของผู้ป่วยก่อนว่ามีอาการผิดปกติอะไรบ้าง มีอาการมาแล้วกี่วัน เคยมีคู่นอนมาแล้วกี่คน การปฏิบัติหลังจากใช้ห้องน้ำมีการซับน้ำบริเวณอวัยวะเพศไหม เพื่อหาสาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องคลอดเบื้อต้นก่อนจะทำการตรวจภายใน 

การตรวจภายใน

แพทย์จะทำการอัลตร้าซาวด์ตรวจดูภายในเบื้องต้นเพื่อดูความผิดปกติภายในช่องคลอด และตรวจดูอาการภายนอก เช่น ดูสีของตกขาว ดูอาการผื่นแดงบริเวณอวัยวะเพศ หลังจากนั้นแพทย์จะเก็บตัวอย่างเชื้อส่งต่อให้ทางห้องแล็บนำไปเพาะเชื้อและวินิจฉัยเพิ่มเติม

การเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่ง

การเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่ง เช่น ตกขาว swab ช่องคลอดเพื่อนำเนื้อเยื่อไปตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อราในช่องคลอด มะเร็งปากมดลูก ความผิดปกติบริเวณปากมดลูก เพื่อที่จะได้หาแนวทางในการรักษาต่อไป

**ทั้งหมดนี้ควรตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น

วิธีรักษาเชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอดควรทานยาอะไร

การใช้ยาเฉพาะที่

ยาเฉพาะที่ ได้แก่ ยาทา หรือ ยาเหน็บ ยากลุ่มนี้ทั้งครีมและยาเหน็บเป็น Oil-based ควรระวังเมื่อใช้ร่วมกับ Latex condom ยาทาเฉพาะที่อาจทำให้มีการระคายเคืองหรือแสบร้อนได้แต่จะไม่ทำให้แพ้ทั้งร่างกาย 

การใช้ยารับประทาน

ยารับประทาน อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง หรือปวดศีรษะได้ สำหรับยารับประทานกลุ่ม Azole พบมีรายงานทำให้มีเอนไซม์ตับสูงขึ้น ภาวะข้างเคียงจะพบมากขึ้นหากใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยาบางชนิด เช่น Astemizole, Calcium channel antagonists, Cisapride, Cyclosporine A, Oral hypoglycemic agents, Phenytoin, Protease inhibitors, Tacrolimus, Terfenadine, Theophylline, Trimetrexate, Rifampin, และ Warfain เป็นต้น

เชื้อราในช่องคลอดควรทานยาอะไร

ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีอาการเชื้อราในช่องคลอด

เมื่อมีอาการหรือเป็นเชื้อราในช่องคลอดถ้าไม่รุนแรงนักก็สามารถดูแลตัวได้ตามนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดเป็นประจำ แต่ควรใช้แค่น้ำสะอาดแทน
  • ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด เพราะอาจส่งผลให้อาการติดเชื้อแย่ลง
  • หากมีความรู้สึกเจ็บในขณะมีเพศสัมพันธ์ ควรใช้ผลิตภัณฑ์เจลหล่อลื่นที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลักในขณะมีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยลดการระคายเคือง
  • หากบริเวณอวัยวะเพศมีอาการบวมและเจ็บ ไม่ควรเกาหรือถูแรงๆ แต่ให้นั่งแช่ในน้ำอุ่น เพื่อช่วยบรรเทาอาการ หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบบริเวณที่มีอาการ

เป็นเชื้อราในช่องคลอด ห้ามกินอะไร

เป็นเชื้อราในช่องคลอดสิ่งที่ห้ามกินคืออาหารที่มีรสหวาน เพราะอาหารของเชื้อราคือน้ำตาล เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราเพิ่มมากขึ้นควรงดอาหารที่มีรสหวาน และงดทานอาหารที่แพ้ทั้งหมด เพราะหากร่างกายอยู่ในสภาวะแพ้อาหาร จะยิ่งทำให้อาการติดเชื้อแย่ลง

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากเชื้อราในช่องคลอด

การเกิดเชื้อราในช่องคลอดค่อนข้างพบภาวะแทรกซ้อนได้น้อย โดยทั่วไปมักเกิดการถลอกของผิวหนังหรืออาจเป็นแผล เนื่องจากอาการคันและอาจเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้ออื่นๆที่ผิวหนังได้โดยง่าย ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการติดเชื้อขึ้นใหม่อีกครั้งหลังการรักษา หรือไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาด เนื่องจากตัวยาไม่ตอบสนองต่อโรค ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นตามมาได้

วิธีป้องกันเชื้อราในช่องคลอด

  • กินโยเกิร์ตหรือยาคูลท์ที่มีจุลินทรีย์ เพื่อเพิ่มแลคโตบาซิลลัสในช่องคลอด จะสามารถช่วยลดอัตราการเป็นเชื้อราในช่องคลอดได้
  • กินอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่มีดัชนีไกลซีมิกต่ำ เพื่อให้น้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นทีละน้อย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ ภาวะแพ้อาหารทำให้อาการของโรคแย่ลง
  • หลีกเลี่ยงกางเกงชั้นในที่รัดแน่น 
  • การทำความสะอาด ควรใช้น้ำสะอาดเท่านั้น
  • ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
  • ไม่ควรใช้สบู่หรือน้ำยาใดๆ ล้างช่องคลอด เพราะนั่นคือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะความเป็นกรดของช่องคลอดลดลง และไม่ควรล้างภายในช่องคลอด
  • เปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างสม่ำเสมอขณะมีประจำเดือน เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้น

Q&A โรคเชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่

ภาวะนี้ไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงยังไม่มีข้อสรุปให้รักษาในทุกราย หากคู่นอนมีอาการก็ควรที่จะรักษาร่วมกันไปด้วย

เชื้อราในช่องคลอด สามารถหายเองได้ไหม

การติดเชื้อราในช่องคลอดถ้าอยู่ในภาวะที่ไม่รุนแรง อาจหายเองได้โดยไม่ต้องรักษาด้วยยา แต่ควรรักษาความสะอาดของช่องคลอด ดูแลบริเวณอวัยวะเพศให้แห้งอยู่เสมอ ไม่ให้อับชื้น เนื่องจากบริเวณที่ร้อนและอับชื้นเป็นสภาพแวดล้อมที่เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตอาการและความผิดปกติบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอดเสมอ หากมีอาการคัน แสบร้อน บวม แดง ปวดช่องคลอด มีผื่น ตกขาวหนาสีเหลืองและมีกลิ่นเหม็น อาจเป็นอาการของเชื้อราในช่องคลอดที่รุนแรงขึ้น ซึ่งควรรีบพบแพทย์

การทานยาคูลท์ ช่วยรักษาเชื้อราในช่องคลอดได้ไหม

ปกติแล้วช่องคลอดของผู้หญิงจะมีจุลินทรีย์แล็คโตบาซิลลัสอาศัยอยู่ ถือเป็นแบคทีเรียชนิดดี ช่วยป้องกันเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดีต่างๆ เมื่อมีปัญหาตกขาวเปลี่ยนสี มีกลิ่น และเกิดอาการคันบริเวณช่องคลอด การกินยาคูลท์หรือโยเกิร์ตที่มีแล็คโตบาซิลลัสจะช่วยลดปัญหาการติดเชื้อของช่องคลอดได้ โดยแล็คโตบาซิลลัสจะไปลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อรา ลดเชื้อแบคทีเรีย และทำให้อาการคันและกลิ่นดีขึ้น

ข้อสรุป

โรคเชื้อราในช่องคลอด สามารถเกิดขึ้นกับผู้หญิงได้เกือบทุกคน สาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องคลอดไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงดูแลตัวเองไม่ดี แต่อาจจะเป็นเพราะทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นมากจนเกินไปก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้ ทางที่ดีควรพบแพทย์เมื่อมีอาการเพื่อให้แพทย์หาสาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องคลอดและแนะนำการดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก

เชื้อราในช่องคลอดควรใช้ยาอะไร

โดยวิธีรักษาเชื้อราในช่องคลอดให้หายขาดนั้น คุณสามารถใช้ยารักษาจากภายในที่มีตัวยาโคลไทรมาโซล หรือ ฟลูโคนาโซล ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายรูปแบบ ได้แก่ ยาเม็ดรับประทาน ยาสอดเชื้อราในช่องคลอด (ยาสอดช่องคลอด) หรือ แม้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะช่วยรักษาการติดเชื้อของคุณได้แต่ผู้ป่วยแต่ละคนจะเหมาะกับวิธีที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ครีมทา ...

เชื้อราในช่องคลอดรักษายังไงให้หายขาด

การติดเชื้อราในช่องคลอดสามารถรักษาหายได้ด้วยยา แต่ยานั้นมีทั้งกิน เหน็บช่องคลอด และชนิดครีมทาในช่องคลอด ซึ่งทุกชนิดยังแบ่งย่อยออกไปอีก เช่น ยาเหน็บอาจมีชนิดเหน็บครั้งเดียวและเม็ดเดียวเลิก หรือเหน็บวันละเม็ดแต่ต้องเหน็บ 3 - 5 วัน เป็นต้น จึงขอเตือนว่าการจะใช้ยาอย่างไรดี ควรปรึกษาคุณหมอที่รักษาดีกว่า ขืนไปกินหรือเหน็บยา ...

เป็นเชื้อราในช่องคลอดควรกินอะไร

1. กินโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์เพื่อเพิ่มแลคโตบาซิลลัสในช่องคลอด จะสามารถช่วยลดอัตราการเป็น เชื้อราในช่องคลอดได้ 2. กินอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่มีดัชนีไกลซีมิกต่ำ เพื่อให้น้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นทีละน้อย 3. หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ ภาวะแพ้อาหารทำให้อาการของโรคแย่ลง

คันช่องคลอดต้องใช้ยาอะไร

ยาทาภายนอก ยาโคลไตรมาโซล (Clotrimazole) ไมโคนาโซล (Miconazole) ไทโอโคนาโซล (Tioconazole) ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการคันอวัยวะเพศจากการติดเชื้อรา