วิธีการใดบ้างที่สามารถป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

อันตรายจากหน้าฝน ไม่ใช่แค่สัตว์อันตรายต่างๆ ที่มาตามท่อระบายน้ำ หรือตามแหล่งธรรมชาติที่ชื้นแฉะ รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บที่ระบาดมากขึ้นในหน้าฝน แต่ยังอันตรายที่เกิดจาดสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเองอย่าง “ไฟฟ้า” ที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งร่างกาย และทรัพย์สินมากมายอีกด้วย

อ่านต่อ >> 5 กลุ่มโรคอันตรายที่มากับหน้าฝน

>> เตือนภัยหน้าฝน! งูพิษ 7 ชนิดคนไทยโดนกัดบ่อย-อันตรายถึงชีวิต

ทำไมฝนตกทีไร ที่บ้านไฟดับทุกที?

สาเหตุที่ไฟฟ้าดับ เมื่อฝนตก อาจเป็นเพราะช่วงฝนตกมีกิ่งไม้หักทับเสาไฟฟ้าแรงสูง หรืออาจเกิดอุบัติเหตุรถชนเสาไฟฟ้า ทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรจนดับไป หรืออาจเกิดจากความชื้นที่เข้าไปทำลายระบบไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพไปตามเวลา จนทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร หรือลูกถ้วยที่รองรับไฟฟ้าแรงสูงเกิดความเสียหายจากอากาศเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น จนร้าวและแตก ทำให้ตัวตัดไฟ หรือฟิวส์ไฟแรงสูงตก กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้ จนไฟฟ้าไม่พอ และดับในที่สุด นอกจากนี้ยังอาจเกิดอุบัติเหตุฟ้าผ่าหม้อแปลง ที่ทำให้หม้อแปลงระเบิดได้เช่นกัน

คุณเดชา ศิริประเสริฐกุล วิศวกรไฟฟ้า/วิศวกรอิเลกทรอนิกส์ ให้ข้อมูลในรายการวิทยุของคลื่น FM96.5 Thinking Radio ไว้ว่า สาเหตุที่บางพื้นที่ไฟดับบ่อย บางพื้นที่ไฟแทบไม่เคยดับเลย เกิดจากโครงสร้างในการนำจ่ายระบบไฟฟ้าของทั้งการไฟฟ้าภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวงอาจจะมุ้งเน้นในบางส่วน บางพื้นที่ไม่เท่ากัน เช่น ในตัวเมืองอาจมีระบบนำจ่ายไฟฟ้าที่มั่นคง รัดกุม และเตรียมพร้อมไปถึงระบบไฟฟ้าสำรองมากกว่าพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ที่เมื่อระบบไฟฟ้าเสียหายเพียงไม่กี่วินาที อาจสร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่าค่อนข้างสูง และมีผลกระทบอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ดังนั้นพื้นที่ต่างจังหวัด หรือพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่เศรษฐกิจอาจพบปัญหาไฟฟ้าดับ หรือไฟตกมากกว่าพื้นที่ในเมือง

อันตรายจาก “ไฟฟ้าช็อต” ในหน้าฝน

สำนักงานบริหารจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน หรือ กฟภ. ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า ไม่ใช่แค่หน้าฝนที่สามารถเกิดเหตุไฟฟ้าช็อตภายในบ้าน หรือตัวอาคารได้ แต่เมื่อฝนตก ทำให้ตัวบ้าน หรืออาคารอยู่ในภาวะชื้น โครงสร้างที่เป็นเหล็กอย่างขอบประตู หน้าต่าง ก็ได้รับความชื้นไปด้วย ทำให้อยู่ในสภาพเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี บ้านหรืออาคารที่มีโครงสร้างในการสร้างที่ไม่ดี เช่น วัสดุสร้างกำแพง หรือผนังบาง ไม่มีฉนวนกันไฟฟ้า มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสื่อมโทรมไปตามสภาพจนทำให้พบสายไฟชำรุด หรือมีสายไฟฟ้าที่ปล่อยกระแสไฟฟ้ารั่วอ่อนๆ อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว เมื่อเจอเข้ากับโครงสร้างที่เป็นเหล็กที่บ้านที่ได้รับความชื้นมากยิ่งขึ้น จึงทำให้มีโอกาสเกิดไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อตมากยิ่งขึ้น

นอกจะไฟฟ้าอาจจะรั่ว หรือช็อตมากยิ่งขึ้นกว่าฤดูอื่นๆ แล้ว บางบ้านที่มี่ปัญหาเรื่องไฟฟ้ารั่ว อาจพบว่าในฤดูฝน ค่าไฟฟ้าอาจจะพุ่งสูงมากกว่าฤดูอื่นๆ

อ่านต่อ >> อันตรายจากไฟฟ้าหน้าฝน ป้องกันได้

วิธีป้องกันไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อตในในหน้าฝน

  1. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอยู่เป็นประจำ อย่าให้พบสายไฟฟ้ารั่ว สายไฟฟ้าชำรุด หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เสียหายจากระบบไฟฟ้ารั่ว ถ้าพบให้เรียกช่างมาซ่อม หรือเลิกใช้เครื่องไฟฟ้าเหล่านั้น และอย่าลืมเช็กว่ามีเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้านหรือไม่ และต่อสายดินเรียบร้อยหรือไม่ด้วย
  2. หากเรามือเปียก ตัวเปียก อย่าสัมผัสกับสวิทช์ไฟ หรือปลั๊กไฟเด็ดขาด เพราะอาจโดนไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อตได้
  3. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับโครงสร้างของบ้านที่มีวัสดุทำจากเหล็ก โลหะต่างๆ ที่เปียกชื้นระหว่างฝนตก
  4. สามารถปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขณะฝนตก เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วได้
  5. ไม่อยู่แหล่งกำเนิดไฟฟ้าขณะฝนตก เช่น เสาไฟฟ้าแรงสูง หม้อแปลง เป็นต้น
  6. ไม่ควรใช้ไฟฟ้าหลายอย่างกับปลั๊กไฟตัวเดียว
  7. ไม่ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้ เพราะอาจเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วโดยที่เราไม่รู้ตัวได้
  8. อย่าให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ (ยกเว้นเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดที่มีการออกแบบการใช้งานที่สามารถโดนน้ำได้)

วิธีช่วยเหลือคนที่ถูกไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อต

  1. ถ้าผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูดอยู่ติดกับสายไฟฟ้า ควรเอาผ้าพันมือ สวมรองเท้า หรือเหยียบบนผ้าแห้งที่มีความหนา แล้วถอดปลั๊กออก หรือหากอยู่ใกล้คัทเอาท์ ให้รีบสับคัทเอาท์เพื่อตัดการนำจ่ายกระแสไฟฟ้าโดยเร็วที่สุด
  2. หากไม่ทราบว่าแหล่งกำเนิดไฟฟ้าดูด ไฟฟ้ารั่ว อยู่ตรงไหน ให้ใช้วัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไม้ ผ้า ผลัก หรือฉุดผู้ที่โดนไฟฟ้าดูดออกมาโดยเร็ว อาจต้องใช้แรงมากกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อให้เขาหรือเธอหลุดออกมาจากกระแสไฟฟ้าที่รั่ว (แต่ไม่ต้องแรงมากจนเกินไป อาจเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้บาดเจ็บขึ้นได้) แล้วรีบสับคัทเอาท์ต่อ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วมาทำร้ายเรา หรือผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ
  3. ตรวจสอบดูที่ร่างกายของผู้ที่โดดไฟฟ้าดูดว่ายังมีสติอยู่หรือไม่ หัวใจยังเต้นเป็นปกติหรือเปล่า ถ้าหัวใจไม่เต้น หรือไม่หายใจ ให้รีบปั้มหัวใจ หรือนวดหัวใจ (ทำ CPR) แล้วรีบนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

อ่านต่อ >> CPR ปั๊มหัวใจ ทำตอนไหน? ทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง?

  • อบรมความปลอดภัย
    • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
      • จป บริหาร
      • จป หัวหน้างาน
      • จป เทคนิค
      • คปอ
    • หลักสูตรตามกฎหมาย
      • พนักงานใหม่ 6 ชม.
      • ดับเพลิงขั้นต้น
      • การทำงานในที่อับอากาศ
      • การทำงานกับสารเคมี
      • การทำงานกับปั้นจั่น 4 ผู้
      • การทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
    • การทำงานบนที่สูง
      • ที่สูง ผู้ปฏิบัติงาน
      • ที่สูง เสาส่งสัญญาณ
      • โรยตัวทำงานบนที่สูง
    • หลักสูตรทั่วไป
      • ปฐมพยาบาล
      • การทำงานกับนั่งร้าน
      • การขับรถยก (โฟคลิฟท์)
      • ผู้เฝ้าระวังไฟ
      • อันตรายจากเสียงดัง
  • ตรวจรับรอง
    • ตรวจเครน ปจ.1 ปจ.2
    • ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
    • ตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
    • ตรวจสอบระบบดับเพลิง
    • บริการตรวจสอบอาคารประจําปี
    • ฉีดพ่นฆ่าเชื้อโควิด19
  • สินค้า
  • บริการช่วยเหลือ

  • จัดโปรโมชั่นลด 40% - ธันวาคม 2565

  • Newsroom

  • Privacy Notice

วิธีการใดบ้างที่สามารถป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

    แม้ว่าอันตรายจากไฟฟ้าจะพบได้น้อยกว่าอันตรายจากน้ำร้อนลวก หรือ บาดเจ็บจากของร้อน แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความรุนแรง และอันตรายจากไฟฟ้านั้นเสี่ยงต่อชีวิตมากจริง ๆ วันนี้เราจึงมาแนะนำ ภัยอันตรายจากไฟฟ้า รวมถึงวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไรให้ปลอดภัย เผื่อเกิดเหตุด่วนเหตุร้ายจากไฟฟ้า เราจะได้ช่วยเหลือคนอื่นได้ทัน

         เมื่อมีเหตุเกิดเพลิงไหม้เรามักจะได้ยินข้อสันนิษฐานว่ามีเหตุ มาจากไฟฟ้าลัดวงจร ภาวะหรือสาเหตุการลัดวงจรคือกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรโดยไม่ผ่านเครื่องใช้ ไฟฟ้า (LOAD) การลัดวงจรของไฟฟ้ามีมากมายหลายสาเหตุ สาเหตุหลักเกิดจากการใช้ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อย คือ

1.1 ฉนวนไฟฟ้าชำรุดและเสื่อมสภาพ อาจเนื่องมาจากอายุการใช้งานนาน สภาพแวดล้อมมีความร้อนสูง
ใช้พลังงานไฟฟ้าเกินพิกัดทำให้เกิดความร้อนภายในสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า

1.2 มีสิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ หรือสิ่งอื่น ๆ ไปพาดทับหรือสัมผัสสายไฟฟ้า เกิดการขัดสี จนฉนวนชำรุด ลวดตัวนำ ภายในสายสัมผัสกันเองจนเกิดการลุกไหม้

1.3 สายไฟฟ้าหลุด หรือขาดลงพื้น ทำให้กระแสไฟฟ้ากระจายอยู่ในบริเวณนั้น หากพื้นผิวบริเวณนั้นเปียกชื้น อันตรายต่อผู้สัญจรยิ่งสูงตามไปด้วย

         เป็นภาวะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็ง จนไม่สามารถสะบัดให้หลุดได้ ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายทำให้เสียชีวิต หรือพิการไฟฟ้าดูดในบางกรณี เป็นการดูดที่ผู้ประสบเหตุไม่ได้สัมผัสกับไฟฟ้าโดยตรงก็ได้ เช่นจับตัว ผู้สัมผัสไฟฟ้า หรือใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าใต้แนวไฟฟ้า แรงสูงก็เคยมีกรณีให้เป็นตัวอย่างมาแล้ว ปกติพื้นดินเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีแรงดันทางไฟฟ้าเป็นศูนย์ ดังนั้น เมื่อเราสัมผัส ส่วนใดใดที่มีแรงดันไฟฟ้าขณะที่ร่างกายยืนอยู่บนพื้นดิน กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านร่างกายลงดินครบวงจร เราจึงถูกไฟฟ้าดูด การถูกไฟฟ้าดูดจากการสัมผัส สามารถแยกแยะตามลักษณะของการสัมผัสได้เป็น 2 แบบคือ

2.1 การสัมผัสโดยตรง(Direct Contact)คือการที่ส่วนร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่น สายไฟฟ้ารั่ว เพราะฉนวนชำรุดแล้วมีบุคคลเอามือไปจับหรือจากการที่เด็กเอาโลหะหรือตะปูแหย่ เข้าไปในปลั๊ก(เต้ารับไฟฟ้า)

2.2 การสัมผัสโดยอ้อม(Indirect Contact) ลักษณะนี้ บุคคลไม่ได้สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง แต่เกิดจากการที่ บุคคลไปสัมผัสกับส่วนที่ปกติไม่มีไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีไฟฟ้าเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ รั่ว ไฟฟ้าจึงปรากฏ อยู่บนพื้นผิวของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ เมื่อบุคคลไปสัมผัสจึงถูกไฟฟ้าดูด

  •  1 mA หรือ น้อยกว่า ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย
  • มากกว่า 5 mA ทำให้เกิดการช็อก และเกิดความเจ็บปวด
  • มากกว่า 15 mA กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดเกิดการหดตัว และร่างกายจะเกิดอาการเกร็ง
  • มากกว่า 30 mA การหายใจติดขัด และสามารถทำให้หมดสติได้
  • 50 ถึง 200 mA ขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ และอาจจะเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที
  • มากกว่า 200 mA เกิดการไหม้บริเวณผิวหนังที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูด และหัวใจจะหยุดเต้นภายในเวลาไม่กี่วินาที
  • ตั้งแต่ 1A ขึ้นไป ผิวหนังบริเวณที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดถูกทำลายอย่างถาวร และหัวใจจะหยุดเต้นภายในเวลาไม่กี่วินาที

  • ให้หมั่นตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอยู่เป็นประจำ ถ้าพบสายไฟฟ้ารั่ว สายไฟฟ้าชำรุด หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เสียหายจากระบบไฟฟ้ารั่ว ให้เรียกช่างมาซ่อม หรือเลิกใช้เครื่องไฟฟ้าเหล่านั้นทันที
  • อย่าลืมเช็ก ว่ามีเครื่องตัดไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้านหรือไม่ และต่อสายดินเรียบร้อยหรือไม่ด้วยนะ
  • หากมือของเราเปียก ตัวเปียก อย่าสัมผัสกับสวิตช์ไฟ หรือปลั๊กไฟเด็ดขาด
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับโครงสร้างของบ้านที่มีวัสดุทำจากเหล็ก โลหะต่าง ๆ ที่เปียกชื้นเวลาฝนตก
  • ไม่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดไฟฟ้าขณะฝนตก เช่น เสาไฟฟ้าแรงสูง หม้อแปลง เป็นต้น
  • ไม่ควรใช้ไฟฟ้าหลายอย่างกับปลั๊กไฟตัวเดียว เพราะอาจทำให้เกิดการชอร์ตได้
  • ไม่ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเองโดยไม่มีความรู้ เพราะอาจเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วโดยที่เราไม่รู้ตัวได้
  • อย่าให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ (ยกเว้นเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดที่มีการออกแบบการใช้งานที่สามารถโดนน้ำได้)

  • เคลื่อนย้ายผู้ที่โดนไฟดูดออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟชอร์ตให้เร็วที่สุด
  • ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย บ่อยครั้งพบว่าผู้เข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่ได้ระวังตรงจุดนี้ กลับถูกกระแสไฟฟ้าดูดเสียชีวิตไปด้วย 
  • พยายามตรวจดูให้ละเอียดถึงอาการบาดเจ็บ ที่อาจเกิดร่วมกับผู้ที่โดนไฟดูดได้ เช่น อาจพลัดตกจากที่สูง อาจมีบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือ กระดูกส่วนต่าง ๆ เช่น กระดูกคอ กระดูกแขนขา กระดูกสันหลังหักร่วมด้วย
  • ต้องให้ความเอาใจใส่และระมัดระวังในจุดนี้ โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ เพราะถ้าทำไม่ถูกต้องอาจ ทำให้ได้รับบาดเจ็บหนักกว่าเดิม
  • ตรวจดูหัวใจว่าหยุดเต้นหรือไม่ เพราะกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ไหลผ่านหัวใจ อาจทำให้คลื่นหัวใจหยุดเต้นได้ โดยใช้นิ้วมือคลำดูจากการเต้นของชีพจรบริเวณคอ ถ้าหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อม ๆ กับการผายปอด
  • หลังจากช่วยเหลือผู้ที่โดนไฟดูดออกมาได้แล้ว ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ

  • ความปลอดภัยในการทํางานกับไฟฟ้า
  • PM ระบบไฟฟ้าประจำปี บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า PMตู้ MDB ตู้ DB
  • มาตรการป้องกันอันตรายและการควบคุม เกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง 2564
  • บำรุงรักษาโดยรวม (Total Productive Maintenance)
  • การทำงานบนที่สูงจำเป็นอย่างมากจะได้รับการอบรมก่อน
  • หลักสูตร ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ
  • ส่วนประกอบนั่งร้าน BS

วิธีใดบ้างที่สามารถป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

แนวทางป้องกันความเสี่ยงที่มีต่อคน ใช้ฉนวนป้องกัน อุปกรณ์ไฟฟ้ามีฉนวนป้องกันการสัมผัสจากผู้ใช้งาน ใช้เครื่องตัดไฟรั่ว อุปกรณ์ที่ใช้กันไฟดูด-ไฟช็อตจะเรียกรวมๆว่า Residual-Current Device (RCD) ติดตั้งสายดิน ให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นที่มีโครงสร้างโลหะ

เรามีวิธีการใดบ้างที่ป้องกันไฟฟ้าไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้งาน

ห้ามนำสารไวไฟ หรือสารลุกติดไฟง่ายเข้าใกล้สวิทช์ไฟฟ้า หมั่นตรวจสอบฉนวนหุ้มอุปกรณ์อยู่เสมอ ในบริเวณที่อาจสัมผัส หรือทำงาน เมื่อมีผู้ได้รับอันตราย ควรสับสวิทช์ให้วงจรเปิด (ตัดกระแสไฟฟ้า) เมื่อไฟฟ้าดับ หรือเกิดไฟฟ้าช๊อต ควรสับสวิทช์วงจรไฟฟ้าให้เปิด

การป้องกันอันตรายขณะทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทำได้โดยวิธีใด

การป้องกันอันตรายขณะทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทำได้โดยวิธีใด สวมเสื้อผ้าไม่รัดกุมมาทำงาน สวมรองเท้าแตะมาปฏิบัติงาน สวมรองเท้า safety มาปฏิบัติงาน

อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าที่สามารถป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดได้คืออะไร

การป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้า 2. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าดูด อาทิ เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เบรกเกอร์ควบคุมไฟ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโครงหรือวัสดุหุ้มเป็นโลหะ เช่น ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น ไมโครเวฟ ตู้น้ำดื่ม เป็นต้น ควรติดตั้งสายดิน หากกระแสไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าจะไหลลงสู่พื้นดิน จึงช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด