ขรัว อินโข่ง มีแนวทางในการเขียนภาพแบบใด

          เกือบลืมไป คำว่า ขรัว หมายถึง คําเรียกภิกษุที่มีอายุมาก หรือที่บวชเมื่อแก่ หรือฆราวาสผู้เฒ่า ในกรณีของ ขรัวอินโข่ง หมายถึงคำเรียกของพระภิกษุที่มีอายุมาก คล้ายกับที่หนังเรื่องขรัวโต เรียกสมเด็จพุทธาจารย์โตพรมรังษี ว่าขรัวโต อันหมายถึงพระผู้ใกญ่นั่นแหละ

ขรัวอินโข่ง มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3-4 ศิลปินผู้ได้รับการยกย่องเป็นจิตรกรเอกประจำรัชกาลที่ 4 แห่งสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปินในสมณเพศ ศิลปินไทยคนแรกที่ใช้เทคนิคการเขียนภาพฝาผนังแบบตะวันตกที่แสดงปริมาตรใกล้ไกล นับเป็นศิลปินก้าวหน้าแห่งยุคที่ผสมผสานแนวดำเนินชีวิตแบบไทยกับตะวันตกเข้าด้วยกัน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงยกย่องว่า ขรัวอินโข่งเป็นช่างเขียนไม่มีตัวสู้ในสมัยนั้น

สารบัญ Show

  • ขรัวอินโข่ง
  • ไขความลับ ภาพปริศนาธรรม “วัดบรมนิวาส” ผลงานจิตรกรรมแบบตะวันตกสุดวิจิตรของ “ขรัวอินโข่ง”
  • เผยแพร่: 26 ก.ค. 2565 18:31   ปรับปรุง: 26 ก.ค. 2565 18:31   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
  • ขรัวอินโข่งมีแนวทางในการเขียนภาพอย่างไร
  • ขรัวอินโข่งเป็นช่างเขียนภาพในสมัยใด
  • ผลงานของ ขรัวอินโข่ง คือข้อใด
  • จิตรกรรม รัชกาลที่ 4 มีลักษณะ แบบ ใด

ในระยะแรกขรัวอินโข่งยังยึดแนวความคิดแบบเดิม คือวาด ภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนาตามคตินิยม ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นเขียนภาพเรื่องราวเกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา จนกระทั่งหลุดพ้นมาเป็นงานในรูปแบบปริศนาธรรม ความสามารถพิเศษเฉพาะตัวคือการ วาดภาพธรรมชาติโดยเฉพาะต้นไม้ และการควบคุมอารมณ์ของสีในภาพให้มีความกลมกลืนและ เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ผลงานที่สร้างชื่อเสียงคือภาพปริศนาธรรมที่ฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศและวัดบรมนิวาส

ชีวิตในวัยเด็กของขรัวอินโข่งไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด รวมทั้งปีที่เกิด ทราบเพียงว่าขรัวอินโข่งเกิดที่ตำบลบางจาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชื่อเดิมว่า "อิน" เดินทางเข้ามาบวชเป็นสามเณรที่กรุงเทพฯ แม้อายุเกินมากแล้วก็ยังไม่ยอมบวชพระจนถูกล้อเป็นเณรโค่ง แต่ในที่สุดสามเณรอินจึงได้ยอมบวชเป็นพระที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) ชื่อจึงสันนิษฐานกันว่ามาจากการถูกเรียกล้อว่า “อินโค่ง” ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงอธิบายว่า “โค่ง” กับ “โข่ง” แปลว่า “ใหญ่” ต่อมาโค่งเพี้ยนเป็น “โข่ง” จึงเรียกกันว่า “อินโข่ง” ส่วนคำว่า “ขรัว” ได้มาหลังจาก “พระอินโข่ง” มีพรรษาและทรงความรู้มากขึ้นจึงได้รับการเคารพนับถือเป็นพระอาจารย์ซึ่งเจ้านายสมัยนั้นนิยมเรียกว่า “ขรัว” คนทั่วไปจึงเรียกพระภิกษุอินว่า “ขรัวอินโข่ง” ถึงปัจจุบัน

ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าขรัวอินโข่งเรียนการเขียนภาพอย่างเป็นงานเป็นการจากที่ใดและเมื่อใด โดยเฉพาะในวัยเด็กและวัยหนุ่ม เข้าใจกันว่าอาศัยการมีพรสวรรค์และได้อาจได้หัดเขียนภาพแบบไทยกับช่างเขียนบางคนในสมัยนั้นจนเกิดความชำนาญขึ้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวดติวงศ์ทรงเล่าว่า ขรัวอินโข่งเป็นพระที่ชอบเก็บตัวไม่ค่อยยอมรับแขก มักชอบปิดกุฏิใส่กุญแจให้คนเห็นว่าไม่อยู่เพื่อใช้เวลาที่สงบทำสมาธิวางแนวเรื่องเพื่อใช้สำหรับเขียนภาพฝาผนังโบสถ์วิหารซึ่งในสมัยแรกๆ ยังคงเป็นภาพปริศนาธรรมแบบไทย

จากการสันนิษฐานเช่นเดียวกันว่า อิทธิพลของตะวันตกที่เริ่มหลั่งไหลเข้ามามากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 จึงมีการเร่งรัดพัฒนาประเทศเป็นแบบตะวันตกมากขึ้นทั้งด้านวัฒนธรรมและวิทยาการ ซึ่งรวมถึงรูปแบบศิลปะแบบตะวันตกจากทั้งยุโรปและอเมริกา เชื่อกันว่าขรัวอินโข่งเป็นศิลปินที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่แหวกแนวจากรูปแบบประเพณีเดิมอยู่แล้ว จึงกล้ารับเทคนิคแบบตะวันตกมาประยุกต์ด้วยตนเอง อย่างไรก็ดี ในระยะแรก ขรัวอินโข่งยังคงเขียนภาพจิตรกรรมไทยเป็นแบบดั้งเดิม โดยเขียนภาพเกี่ยวกับชาดกและพระพุทธศาสนาเป็นภาพแบบ 2 มิติ เช่น ภาพยักษ์ หน้าลิง ภาพวาดที่วัดมหาสมณารามและหอราชกรมานุสร


ขรัว อินโข่ง มีแนวทางในการเขียนภาพแบบใด

การเขียนภาพแบบตะวันตกที่ใช้แสงและเงาสร้างเป็นภาพ 3 มิติ

ภาพวาดที่วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร

ไขความลับ ภาพปริศนาธรรม “วัดบรมนิวาส” ผลงานจิตรกรรมแบบตะวันตกสุดวิจิตรของ “ขรัวอินโข่ง”

เผยแพร่: 26 ก.ค. 2565 18:31   ปรับปรุง: 26 ก.ค. 2565 18:31   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เคยสงสัยบ้างไหมว่า จิตรกรรมฝาผนังตามศาสนสถานสำคัญต่างๆในโลกมีปริศนาอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า ? สำหรับเมืองไทย หนึ่งในเรื่องราวอันน่าค้นหาต้องลองเดินทางไป “วัดบรมนิวาส” เข้าไปไขความลับจิตรกรรมที่เรียกว่า “ปริศนาธรรม” ในพระอุโบสถ อันเป็นผลงาน “ขรัวอินโข่ง” จิตรกรเอกแห่งยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นจิตรกรรมที่ใช้รูปแบบงานศิลปะแบบตะวันตกมาถ่ายทอดปริศนาธรรมของพุทธศาสนาได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ


วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร เดิมเรียกว่าวัดนอก บ้างเรียกว่าวัดบรมสุข เนื่องจากตั้งอยู่นอกเมืองในยุคนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2377 ครั้งยังทรงผนวชเป็นพระวชิรญาณภิกขุ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

วัดตั้งอยู่ริมคลองมหานาค ซึ่งอยู่นอกเขตกำแพงเมืองในสมัยก่อน จึงได้รับการสถาปนาเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี หรือวัดป่า คู่กับวัดบวรนิเวศฯ ซึ่งเป็นวัดฝ่ายคามวาสี หรือวัดในชุมชน


พระอุโบสถ วางผังตามแบบโบราณตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยลดขนาดพระอุโบสถและบริเวณโดยรอบให้เล็กลง เป็นอาคารมีพาไลอย่างนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ และทำมุขเด็จอย่างโบสถ์ในสมัยอยุธยา เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐถือปูนยกฐานสูง แนวเสาอยู่ด้านนอก หลังคาสองชั้นมุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันมีลายปูนปั้นรูปมหามงกุฎล้อมด้วยลายดอกไม้ ซึ่งเป็นตราประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔


พระประธานภายในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปลงรักปิดทองปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองพิษณุโลก นามว่า “พระทศพลญาณ” มีเศวตฉัตรกางกั้นอยู่เหนือองค์พระ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ “ขรัวอินโข่ง” พระสงฆ์ผู้เป็นจิตรกรเอกในสมัยนั้น วาดภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งห้ามพลาดเมื่อมาเยือนวัดบรมนิวาส เพราะเป็นผลงานสุดวิจิตร แปลกใหม่ในยุคสมัยก่อนที่รื้อขนบธรรมเนียมงานจิตรกรรมไทยตามวัดวาอารามแบบเดิมๆ มาเป็นการใช้ศิลปะตามแบบอย่างของศิลปะตะวันตก ซึ่งหาชมได้ที่วัดบรมนิวาส และวัดบวรนิเวศ เท่านั้น


การเปลี่ยนแนวการเขียนภาพยังรวมถึงการเสนอความคิดในรูปแบบ “ปริศนาธรรม” แทนการเขียนพุทธประวัติ โดยจิตรกรรมภาพแบบตะวันตกของขรัวอินโข่ง เน้นสีหลักเป็นสีน้ำเงินและสีดำ ให้ความรู้สึกเย็น มีระยะใกล้-ไกลตามหลักทัศนีวิทยา (perspective) มีมิติของแสงและเงาเป็นภาพเหมือนจริง โดยภาพปริศนาธรรมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน ผู้คนที่ปรากฏในภาพ และกิจกรรมต่างๆล้วนเป็นลายเส้นสีสันแบบศิลปะแบบตะวันตก

เอกลักษณ์เด่นของภาพเขียน มีการใช้จักรวาลวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ โดยมีภาพดวงดาวทั้งหมด 8 ดวง ครบตามดาราศาสตร์ตะวันตกสมัยนั้น ได้แก่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวพฤหัส ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ และดาวยูเรนัส โดยปรากฏภาพดวงอาทิตย์ด้านหลังพระประธาน เป็นศูนย์กลางระบบสุริยจักรวาล แทนเขาพระสุเมรุตามคติจักรวาลแบบไตรภูมิที่เป็นองค์ประกอบจักรวาลวิทยาของคนไทย จึงอาจกล่าวได้ว่า จิตรกรรมที่วัดบรมนิวาส คือ การจำลองระบบสุริยจักรวาลตามแบบวิทยาศาสตร์มาไว้ในประเทศไทยเป็นแห่งแรกก็ว่าได้

สำหรับ “ปริศนาธรรม”ภายในพระอุโบสถ มีจำนวนทั้งหมด 12 ภาพ ซึ่งหากมองดูอย่างผิวเผินก็คงมองว่าเป็นภาพวาดที่สวยงามแปลกตาศิลปะสไตล์ยุโรป แต่ทว่าแต่ละภาพแฝงปริศนาและหลักธรรมเข้าไปได้อย่างแนบเนียน การชมภาพเพื่อให้ได้อรรถรส จึงควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้น หรือมีผู้เชี่ยวชาญช่วยอธิบาย


ตัวอย่างปริศนาธรรมจากจิตรกรรม
สระดอกบัว
ภาพสระน้ำมีดอกบัวนานาพรรณชูช่ออยู่ในสระ มีดอกบัวใหญ่ดอกหนึ่งชูดอกสูงกว่าบัวดอกอื่นๆ มีผู้คนมาชมและดมกลิ่นหอมของดอกบัว ซึ่งเป็นหญิงชายชาวตะวันตก นั่งบ้างยืนบ้างอยู่ตามริมสระนั้น แฝงความหมายว่า ดอกบัวใหญ่เหมือนพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก และโผล่พ้นน้ำ มีคุณประเสริฐฟุ้งไปในทิศทั้งปวง กลิ่นดอกบัวใหญ่เหมือนพระธรรม เพราะเป็นของเกิดแต่พระพุทธเจ้า หมู่คนที่ชื่นชมดอกบัว เหมือนหมู่อริยเจ้าที่ได้พระธรรมพิเศษ ได้มรรคผลเพราะได้ฟังพระธรรมเทศนา


เรือกลางมหาสมุทร
ภาพเรือสำเภาอยู่กลางมหาสมุทรมีคลื่น ซึ่งเต็มไปด้วยเรือลำใหญ่และลำเล็กลำน้อย มีเรือขนาดเล็กกำลังจับวาฬ มีกลุ่มคนยืนชมอยู่ริมฝั่ง มองไปลิบๆอีกฟากมีเจดีย์ทรงมอญตั้งอยู่ แฝงปริศนาให้ตีความว่า เปรียบนายเรือสำเภาเป็นพระพุทธเจ้า นิพพานเหมือนฟากฝั่งตรงเจดีย์ ซึ่งว่ายไปถึงได้ยาก พระพุทธเจ้าทรงเหมือนผู้สร้างเรือ ขนคนข้ามไปถึงฝั่งนั้น


จิตรกรรมด้านหลังพระประธาน
มีภาพดวงอาทิตย์ลอยโดดเด่นตำแหน่งมองเห็นเหนือพระประธานขึ้นไป เบื้องล่างฝั่งซ้ายมีภาพกลุ่มคนส่องกล้องดูดาว มีอาคารสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่มีหอนาฬิกา (ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าสื่อถึงมหานครลอนดอน ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลกยุคนั้น) ฝั่งขวามีภาพสถานีรถไฟที่รถไฟกำลังลอดใต้ซุ้มโค้งของสถานี มีผู้คนยืนรอสองข้างทางรถไฟ ภาพนี้เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนดวงอาทิตย์ขับไล่ความมืดหรืออวิชชาด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา เปรียบพระธรรมเป็นเมืองใหญ่และรถไฟ และเหล่าผู้โดยสารบนรถไฟคือพระสงฆ์

วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
ถนนพระราม 1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

#########################################

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline

ขรัวอินโข่ง เขียนภาพไว้ที่ใด

ขรัวอินโข่งเป็นจิตรกรสมัยรัชกาลที่ 4 สร้างผลงานที่มีชื่อเสียงมากอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ วัดบรมนิวาสฯ และวัดมหาสมณาราม (เขาวัง) ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น เรื่องราวในจิตรกรรมของขรัวอินโข่งจะเป็นเรื่องความเป็นอยู่ของฝรั่ง และมีคำเขียนอุปมาอุปมัยเป็นลักษณะปริศนาธรรมประกอบภาพอยู่ด้วย

ขรัวอินโข่ง เป็นจิตกรเขียนภาพวาดประเภทใด

* ****ขรัวอินโข่งเป็นจิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 4 ถือเพศบรรพชิต เป็นจิตรกรไทยคนแรกที่นำเอา เทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตกมาใช้ ในระยะแรกขรัวอินโข่งยังยึดแนวความคิดแบบเดิม คือวาด ภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนาตามคตินิยม ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นเขียนภาพเรื่องราวเกี่ยวเนื่องในพระพุทธ

ขรัวอินโข่งเป็นช่างเขียนในรัชกาลใด

อาจนับว่าเป็นโชคดีที่สุดในชีวิตของขรัวอินโข่งที่ฝีมือของท่านไปต้องพระทัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ตั้งแต่ครั้งยังทรงเป็นมกุฎราชกุมารและออกผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ พระองค์ท่านโปรดฝีมือของขรัวอินโข่งมากถึงกับพระราชทานมอบหมายให้ขรัวอินโข่งเขียนผนังวัดที่สำคัญหลายแห่งเรื่อยมาจนตลอดรัชกาล งานจิตรกรรมฝาผนัง ...

จิตรกรรม รัชกาลที่ 4 มีลักษณะ แบบ ใด

นัก กล่าวคือ งานจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 นี้มีลักษณะพิเศษที่บ่งบอกถึงความเป็นพระราชนิยมได้อย่าง คือ เริ่มมีลักษณะเป็นภาพเหมือนจริงที่มีการใช้เงา มีความลึกแบบทัศนียวิสัย เงานูน และมีการนำ ชัดเจน