เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

Computer Network Internet
Network

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

Computer มี 7 ประเภท
1. Super Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุด มีกำลังการประมวลผลสูงมาก ประมวลผลข้อมูลที่มีความซับซ้อน ทำงานเพื่อหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น การพยากรณ์อากาศ แผ่นดินไหว มีราคากว่า 100ล้านเหรียญ
2. Mainframe Computer ที่มีอยู่มานานแล้ว มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องแม่ข่าย เก็บข้อมูล มีความจุเยอะ ประมวลผลสูง ยังใช้อยู่ในปัจจุบันในบริษัทใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร เป็นต้น
3. Mini Computer ไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ แต่มีสมรรถภาพที่สูงและราคาสูงกว่า PC จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
4. Personal Computer (PC) จากกฎของมัวร์ (Moore's law) มีราคาที่ต่ำลง แต่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
5. Portable Computer ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา อย่าง iPad, Lab top, Tablet ซึ่ง Tablet สามารถแยกย่อยได้อีกเป็น Sleek Tablet คือ Tablet ที่เป็น touch screen อย่างเดียว และอีกประเภทคือ Convertible Tablet คือ Tablet ที่เป็น touch screen + keyboard
6. Network Computer (Thin Client, Dumb Terminal) มีKeyboard และหน้าจอ มีหน้าที่เพื่อป้อนข้อมูลและนำเสนอข้อมูล ส่วนการจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลเป็นหน้าที่ของแม่ข่าย ข้อดีคือเป็นการลดต้นทุนของบริษัทเพราะไม่ต้องใช้เครื่องที่มีสเปคสูง อย่าง e-choupal
7. PDA& Smartphone มีระบบ OSและ Mobile Application อย่าง IOS ของ iPhone, Android
นอกจากนั้นยังมีอีกประเภท ที่มีความสามารถเสมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ใช้เฉพาะทาง อย่าง Playstation4 จะมีSocial Network ให้เพื่อนได้รู้ว่ากำลังเล่นเกมส์อะไรอยู่ ซึ่งน่าจะออกวางขายเดือนพ.ย.นี้
Network คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เนตเวิร์ก (computer network) การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เพื่อแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน สะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในแชร์ไฟล์ข้อมูลระหว่างเครื่องได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย
Network แบ่งตามการเข้าถึง 3 ประเภท
- Internet Public Network
- Intranet ภายในองค์กร
- Extranet ระหว่างองค์กร เช่น ระหว่าง partner กับ องค์กร หรือ Supplier กับ องค์กร
Types of Network: แบ่งตาม network design
1.Peer to peer (P2P)

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

การเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์ ไม่ผ่านตัวกลาง ซึ่งง่ายต่อการset up เครือข่ายแบบนี้จะเก็บไฟล์และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละคน โดยไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางที่ทำหน้าที่นี้ เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer นี้เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันไม่เกิน 10 เครื่อง เนื่องจากติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง และการดูแลไม่ยุ่งยากนัก เช่นโทรศัพท์ใช้บลูทูธ 2 เครื่อง การใช้คอมพิวเตอร์บ้าน 2 เครื่อง, Application อย่าง Skype ,Bit Torrent ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับการต่อเครือข่ายแบบอื่น และยังสามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้
2. Client/server

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

Client คือมีเครื่องแม่ข่ายบริหารระบบในNetwork บริการข้อมูล serviceให้ลูกข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไปร้องขอบริการและรับบริการอย่างใดอย่างหนึ่งจาก Server ส่วน server คือเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โดยอาศัยโปรแกรมWeb server แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย ในระบบเครือข่าย ซึ่งสามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้มีระบบ Security ที่ดีมาก รับส่งข่าวสารในลักษณะของ Email ได้ดี สามารถจัดสรร แบ่งปันการใช้ทรัพยากรได้จากจุดศูนย์กลาง
Types of Servers

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

• File Server คือ เซิร์ฟเวอร์ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเก็บไฟล์ต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล มาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ และเปิดให้บริการดึงข้อมูลนั้น ๆ ลงมาใช้ (ดาวน์โหลด) ซึ่งมีทั้งแบบให้ใช้ฟรี และแบบจ่ายเงินค่าสมาชิกเพื่อการดาวน์โหลด
• Web Server เก็บ Web page เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการเว็บไซต์ ผู้ใช้เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์
• Database Server คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการ database ใช้ในการเก็บฐานข้อมูล ทำให้สามารถแบ่งปันการใช้งานในระบบเครือข่ายได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น
• Mail Server คือ เซิร์ฟเวอร์ซึ่งให้บริการรับส่งอีเมล ตัวอย่างโปรแกรมบริการอีเมล เช่น Send mail, Microsoft Exchange
• DNS Server (Domain Name System: DNS) เป็นระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน (โดเมนเนม) ซึ่งใช้ในเครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลที่เก็บมีหลายอย่าง แต่สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างชื่อโดเมนนั้นๆ กับหมายเลขไอพีที่ใช้งานอยู่ คำว่า DNS สามารถแทนความหมายได้ทั้ง Domain Name Service (บริการชื่อโดเมน) และ Domain Name Server (เครื่องบริการชื่อโดเมน) อีกด้วยประโยชน์ที่สำคัญของ DNS คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 207.142.131.206) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน (เช่น wikipedia.org)
• Print Server
• Authentication Text Server พิสูจน์ผู้ใช้ User Nameและ Password Authentication server คือ server ที่เก็บ database ของสิทธิ์ของ end-device หรือ users ต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะใช้ RADIUS server
• Application Server คือ เซิร์ฟเวอร์ที่ run โปรแกรมประยุกต์ได้ด้วย โดยการทำงานสอดคล้องกับ client เช่น Mail Server, Proxy Server หรือ Web Server เช่น Xitami, Apache

Client Server Vs. Peer2Peer
- การติดตั้ง : Client/Server ติดตั้งยากกว่า Peer2Peer
- การดูแลรักษา : Client/Server ดูแลรักษายากกว่า Peer2Peer
- ความปลอดภัย : Client/Server มีความปลอดภัยมากกว่า
- ค่าใช้จ่าย : Client/Server มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า
- Organization : Client/Server เหมาะสำหรับองค์กรที่มีขนาดกลางไปถึงขนาดใหญ่
Peer2Peer เหมาะสำหรับองค์กรที่มีขนาดเล็ก

Transmission Media

สื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูล มี 2 แบบ คือ แบบมีสายและ แบบไร้สาย
1. แบบมีสาย
Twisted Pair Cable

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

เป็นสายชนิดที่ใช้ตามสำนักงานต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์ สาย Land เป็นการแปลงข้อมูล analog มาเป็นกระแสไฟฟ้า สายชนิดนี้ได้ชื่อมาจากลักษณะองค์ประกอบภายในของสาย ที่เป็นสายลวดทองแดงพันเกลียวเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เกิดเป็นสนามแม่เหล็ก ซึ่งใช้เป็นเสมือนเกราะสำหรับป้องกันสัญญาณรบกวนทั่วไปได้ในตัวเอง สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดงจำนวนหนึ่ง หรือหลายคู่สาย ห่อหุ้มสายด้วยฉนวนบางๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจร แล้วนำมาพันเกลียวเข้าด้วยกันเป็นคู่ ทุกคู่จะถูกห่อหุ้มฉนวนอีกชั้นหนึ่งรวมกันเป็นสายขนาดใหญ่เพียงสายเดียว จำนวนรอบหรือความถี่ ในการพันเกลียว เช่น พันเกลียว 10 รอบต่อความยาว 1 ฟุต นั้นมีผลโดยตรงต่อกำลังของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น ถ้าจำนวนรอบสูงก็จะทำให้สนามแม่เหล็กมีกำลังแรงขึ้น สามารถป้องกัน สัญญาณรบกวนได้ดีขึ้น แต่ก็ทำให้สิ้นเปลืองสายมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วสายชนิดนี้จึงมีคุณสมบัติในการป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าสายที่ไม่มีการ พันเกลียวเลยบริเวณแกน (Core) ของสายคู่บิดเกลียว
สายลวดทองแดงที่นิยมใช้มากที่สุดคือ DSL (Digital Subscriber Line) เป็นสายโทรศัพท์ ที่แปลงโครงสร้างพื้นฐาน analog เป็นสัญญาณดิจิตอล
- ADSL(Asymmetrical DSL) ความเร็วในการอัพโหลดช้ากว่าดาวน์โหลด เหมาะสำหรับใช้กับที่บ้าน
- SDSL(Symmetrical DSL) ความเร็วในการอัพโหลดเท่ากับดาวน์โหลด ใช้กับ Server เป็นหลัก
จุดอ่อนของ twisted pair cable คือ ยิ่งห่าง ยิ่งช้า
Coaxial Cable

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

Coaxial cable นิยมใช้ในปัจจุบัน ไม่มีข้อจำกัดในระยะห่าง ต้อง share bandwidth เช่น เมื่อเวลาคนใช้งานเป็นจำนวนมากสัญญาณอาจติดขัด เป็นสายเคเบิลทองแดงชนิดหนึ่งใช้โดยผู้ให้บริการ เคเบิลทีวี ระหว่างสถานีส่งกับผู้ใช้ตามบ้าน และธุรกิจ coaxial cable บางครั้งใช้โดยบริษัทโทรศัพท์จาก central office ไปยังตู้โทรศัพท์ใกล้ผู้ใช้ และมีการใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับระบบเครือข่ายแบบ Ether net และเครือข่าย LAN อื่น ๆได้รับการเรียกว่า " Coaxial" เพราะภายใน 1 ช่องทางกายภาค มีการนำสัญญาณโดยรอบ (ต่อจากชั้นฉนวน) ด้วยช่องสัญญาณทางกายภาคที่ซ้ำซ้อน ซึ่งทั้งคู่ใช้ส่งสัญญาณตลอดแกนเดียวกัน ช่องสัญญาณชั้นนอกทำหน้าที่เป็นกราวด์ และสามารถนำสายสัญญาณหลายสัญญาณ ในตัวหุ้มเดียวกัน เมื่อใช้กับ repeater จะสามารถส่งสารสนเทศได้ไกลขึ้น
Note : Bandwidth คือ ปริมาณของข้อมูลที่ใช้รับส่งภายใน 1วินาที มีหน่วยเป็น Bit Per Second (bps) มีอยู่ 2 ประเภท
1. Broad band มี bandwidth สูงจึงส่งข้อมูลได้ในปริมาณมากๆ เปรียบเหมือนรถหลายๆคันวิ่งบนมอเตอร์เวย์
2. Narrow band รับส่งข้อมูลที่ต่ำ เปรียบเหมือนถนนแคบรถเข้าไปได้น้อย วิ่งค่อนข้างช้า
เมื่อ 5 ปีที่แล้ว Bandwidth 2 ประเภทนี้จุดแบ่งอยู่ที่ 56Kbps คือ ถ้าต่ำกว่า 56 Kbps เป็น Narrow band แต่ถ้าสูงกว่า 56 Kbps คือ Broad band ในปัจจุบันนี้ ถ้าต่ำกว่า 1Mbps คือ Narrow band ถ้าสูงกว่า 1Mbps คือ Broad band
Fiber Optic Cable

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

Fiber Optic คือ สายใยแก้วนำแสง มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ ประมาณ 2-25 กิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก Bandwidth ประมาณ 100 Mbps ถึงมากกว่า 2 Gbps โดยภายในทำจากแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก ต้องใช้ผู้ชำนาญ และเครื่องมือเฉพาะในการเข้าหัวสัญญาณ นิยมใช้ในตึกสูงๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ทำเป็น Backbone รวมถึงระบบการรับส่งสัญญาณภาพ วีดีโอ ตามพื้นที่ต่างๆ การเชื่อมต่อสัญญาณระยะไกลอีกด้วย แต่มีต้นทุนในการติดตั้งสูงเลยไม่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และสามารถใช้สื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูลประเภทอื่นที่ถูกกว่าได้ ในประเทศเกาหลีใช้ Fiber optic cable มาแล้วกว่า 10 ปี
Note : - Backbone network คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก จะเชื่อมต่อระหว่าง ISP กับ ISP หรือกับองค์กรขนาดใหญ่
เช่น CAT,TOT, and DTAC จะมีความเร็วสูงมาก
- Last Mile คือ ระยะห่างระหว่าง ISP กับ Home user จัดอยู่ในประเภท fiber optic cable ใช้เป็นตัวชี้วัดความเจริญ
ของเศรษฐกิจของประเทศได้

2. แบบไร้สาย : Wireless Transmission
ช่องทางสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Transmission) หมายถึงการส่งสัญญาณผ่านอากาศโดยไม่ต้องใช้สื่อตัวกลางใดที่มีลักษณะเป็นสาย กำลังเข้ามาทดแทนการสื่อสารแบบใช้สาย เพราะสะดวกในการติดตั้ง การเคลื่อนย้าย การสื่อสารไร้สายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้แก่ การสื่อสารด้วยคลื่นไมโครเวฟ วิทยุคลื่นสั้น บลูทูธ (Bluetooth) การสื่อสารผ่านดาวเทียม การใช้วิทยุติดตามตัว โทรศัพท์มือถือทั้งในระบบ Cellular และ GSM

Microwave

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

ระบบไมโครเวฟ (Microwave) ทั้งแบบที่ใช้บนผิวโลกและการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม ในกรณีการส่งสัญญาณไมโครเวฟบนผิวโลกจะเป็นการส่งคลื่นวิทยุความถี่สูงแบบจุดต่อจุดจากสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งแบบจุดต่อจุด เพราะคลื่นไมโครเวฟจะไม่โค้งงอไปตามผิวโลก คลื่นที่ส่งผ่านจะเดินทางเป็นเส้นตรงและไปได้ไกลเพียง 40 – 48 กิโลเมตร และจะทะลุชั้นบรรยากาศโลกออกไป จึงต้องมีสถานีรับ – ส่งสัญญาณ (Terrestrial stations) หลายสถานีทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก
การแก้ปัญหานี้ คือ การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม (Satellite) ซึ่งดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีรับสัญญาณจากพื้นโลกและส่งข้อมูลเดิมกลับลงมาที่สถานีรับปลายทางบนพื้นโลกก็เป็นวิธีการสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพดีอีกวิธีแต่มี ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีใช้สาย แต่ก็เหมาะสมกับพื้นที่ที่ห่างไกล บนที่สูง ภูเขา ในเรือเดินทะเล หรือเป็นเกาะ ซึ่งไม่สามารถเดินสายเคเบิลเข้าไปให้บริการได้ ดาวเทียมจะโคจรรอบโลกอยู่ที่ความสูงประมาณ 25,000 กิโลเมตรจากพื้นผิวโลก สามารถรับสัญญาณจากอุปกรณ์ขนาดเล็กได้ เช่น โครงการอิริเดียม ที่เป็นมือถือขนาดพกพา สามารถสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมได้โดยตรง ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใดก็สามารถติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่
Cellular Radio

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

ลักษณะของระบบสื่อสารวิทยุ เป็นสื่อกลางการสื่อสารแบบไร้สายที่สามารถแพร่ได้บนระยะทางไกล เช่น ระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ และยังไม่รวมถึงการแพร่บนระยะทางสั้นๆ อย่างไรก็ตาม คลื่นวิทยุนั้นมีความเร็วค่อนข้างต่ำ อีกทั้งไวต่อสัญญาณรบกวน แต่ข้อดีคือมีความยืดหยุ่นสูง สะดวกต่อการใช้งาน และผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
Wireless Media 802.11 Standard

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

เป็นเทคโนโลยีมาตรฐานแบบเปิดซึ่งกำหนดโดย Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE) โดยเลขหลักตัวหน้ามันจะเหมือนๆกัน แต่ความแตกต่างของเทคโนโลยีจะกำหนดด้วยตัวอักษรด้านหลัง เช่น 802.11b 802.11a 802.11g ซึ่งตัวอักษรต่อท้ายจะหมายถึงกลุ่มที่กำหนดมาตรฐาน โดยในแต่ละกลุ่มจะทำการพัฒนาขีดความสามารถของระบบเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
802.11a
มาตราฐาน 802.11a ได้มีการพัฒนาให้ใช้ย่านความถี่ที่ 5GHz โดยใช้เทคโนโลยี OFDM และปัญหาหลักของมาตรฐานนี้ก็คืออุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐาน 802.11b และ 802.11g จะไม่สามารถใข้งานร่วมกันกับมาตรฐาน 802.11a เพราะย่านความถี่ที่ใช้ไม่ตรงกัน และแม้ว่า 802.11a จะมีย่านความถี่สูงกว่าแต่กลับมีพื้นที่ของการส่งสัญญาณน้อยกว่า 802.11b และ 802.11g ด้วยระยะทางห่างจากจุดรับสัญญาณที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้สัญญาณที่ส่งให้อุปกรณ์ภายใต้มาตรฐาน 802.11x มีอัตราลดลงไปด้วย แต่มาตรฐาน 802.11g ค่อนข้างจะได้เปรียบในการรับสัญญาณกว่ามาตรฐาน 802.11b และ 802.11a ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากมาตรฐาน 802.11g มีการพัฒนามาจากมาตรฐาน 802.11b และใช้ย่านความถี่เดียวกัน ทำให้อุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐาน 802.11g สามารถใช้งานระยะเท่ากับมาตรฐาน 802.11b ในอัตราการส่งข้อมูลใกล้เคียงกัน
802.11b
มาตรฐาน 802.11b เป็นการพัฒนาต่อ เนื่องจากมาตรฐานกลาง IEEE 802.11 DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้สูงถึง 11 Mbps ในคลื่นความถี่ 2.4 GHz โดยใช้เทคโนโลยี CCK (Complementary Code Keying) มีระดับการส่งข้อมูล 4 แบบ 1, 2, 5.5 และ 11 Mbps 802.11b ได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐานกลางของเครือข่ายไร้สายซึ่งรับรองมาตรฐานโดย Wi-Fi Alliance 802.11g
802.11g
มาตรฐาน 802.11g เป็นมาตรฐานที่ประกาศใช้จาก IEEE เช่นกัน โดย 802.11g เป็นมาตรฐานที่มีการพัฒนาต่อเนื่องมาจากมาตรฐาน 802.11b โดยได้ขยายระดับการรับส่งข้อมูลให้เพิ่มขึ้นถึง 54Mbps ภายใต้ความถี่ 2.4GHz โดยใช้เทคโนโลยี OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) และ CCK
802.11n
มาตราฐาน 802.11n เป็นมาตรฐานของเครือข่ายไร้สายที่คาดหมายกันว่า จะเข้ามาแทนที่มาตรฐาน IEEE 802.11a, IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน โดยให้อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลในระดับ 600 เมกะบิตต่อวินาที

WIFI Architecture

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

ปัจจุบัน Wifi จะยืดหยุ่นกว่าแบบสายแต่ข้อจำกัดคือด้านความปลอดภัยของข้อมูล เพราะสัญญาณผ่านอากาศเป็นคลื่นวิทยุเลยมักถูกรบกวนได้ง่าย ถ้ามีสิ่งกีดขวางอยู่ เช่น ผนัง หรือวางใกล้ Microwave หรือมีการเคลื่อนไหว สัญญาณจะไม่ดีเท่ากับการอยู่กับที่
Note : AD HOC MODE คือ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์โดยตรง ไม่ผ่าน Access point
Infra structure คือ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์โดยผ่าน Access point

Network Navigation Devices
Hubs
Hub หรือบางทีก็เรียกว่า Repeater คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับข้อมูลกระจายไปทุกเครื่อง หรือ ส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์ bandwidth หรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้ bandwidth ต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง
Switches
นำส่งข้อมูลภายใน Network เดียวกัน แต่หากข้ามเครือข่ายต้องมี Router อุปกรณ์สวิตช์มีหลายแบบ หากแบ่งกลุ่มข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเล็ก ๆ และเรียกใหม่ว่า "เซล" (Cell) กลายเป็น "เซลสวิตช์" (Cell Switch) หรือที่รู้จักกันในนาม "เอทีเอ็มสวิตช์" (ATM Switch) ถ้าสวิตช์ข้อมูลในระดับเฟรมของอีเทอร์เน็ต ก็เรียกว่า "อีเทอร์เน็ตสวิตช์" (Ethernet Switch) และถ้าสวิตช์ตามมาตรฐานเฟรมข้อมูลที่เป็นกลาง และ สามารถนำข้อมูลอื่นมาประกอบภายในได้ก็เรียกว่า "เฟรมรีเลย์" (Frame Relay) การออกแบบและจัดรูปแบบเครือข่ายองค์กรที่เป็น "อินทราเน็ต" ซึ่งเชื่อมโยงได้ทั้งระบบ LAN และ WAN จึงต้องอาศัยอุปกรณ์เชื่อมโยงต่าง ๆ เหล่านี้ อุปกรณ์เชื่อมโยง ทั้งหมดนี้รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จากเครือข่ายพื้นฐานเป็นอีเทอร์เน็ต ก็สามารถเชื่อมเข้าสู่ ATM Switch, Frame Relay, or Bridge, Router ได้ ทำให้ขนาดของเครือข่ายมีขนาดใหญ่ขึ้น
Bridges
เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงของเครือข่ายที่แยกจากกัน เป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) ดังนั้น จึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้ packet ที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่ address ต่างเครือข่าย bridge จะนำข้อมูลเฉพาะ packet นั้นส่งให้ bridge จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูล ระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่ายของตน เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป
Routers
Router (เราท์เตอร์) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายต่างๆ Router จะฉลาดกว่า Hub และ Switch โดย Router จะอ่าน Address ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ของ packet ข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนด หรือเลือกเส้นทางที่จะส่ง packet นั้นต่อไป ใน Router จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเส้นทางให้ packer เรียกว่า Routing Table หรือ ตารางการจัดเส้นทาง ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นข้อมูลที่ Router ใช้ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดไปยังปลายทาง ถ้าเส้นทางหลักเกิดขัดข้อง Router ก็สามารถเลือกเส้นทางใหม่ได้

Connecting Networks
Network Adapters
Network Adapters คือ เครื่องมือสำหรับต่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาจมีลักษณะเป็น card หรือลักษณะอื่นใดก็ได้
Network Interface Card (NIC) หรือ Network Adapter คือ แผงวงจรที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบเดียวกัน การ์ดแลนรุ่นเก่าจะเป็นแบบ ISA (I-SA Bus) ต้องเสียบเข้ากับช่อง หรือ Slot แบบ ISA (16 bits) สีน้ำตาลเข้ม ส่วนอีกแบบหนึ่งคือ PCI ซึ่งต้องเสียบเข้ากับช่อง หรือ Slot PCI (32 bits) สีขาวหรือสีไข่ไก่ ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นแบบ PCI ทั้งหมด ส่วนเรื่องความเร็วสามารถเลือกได้ทั้ง 10 Mbps, 100 Mbps หรือ 10/100 Mpbs สำหรับการใช้งาน internet cafe ให้เลือกที่ความเร็ว 10 Mbps

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

ประเภทของ Network แบ่งตามขนาด ได้ดังนี้
LANs
LANs เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เครือข่าย LAN ออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน ในส่วนต่างๆ ขององค์กรในบริเวณที่ไม่ไกลกันมาก เช่นอยู่ในอาคารเดียวกัน ระหว่างชั้นอาคาร สามารถดูแลได้เองโดยไม่ต้องใช้ระบบสื่อสารข้อมูลแบบอื่น
Ethernet LAN
มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-1000 Mbps. ใช้พื้นฐาน Topology แบบบัส โดยอุปกรณ์ทุกอย่างจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียว โดยต้องมีการจัดการเรื่องการสื่อสารไม่ให้รับส่งพร้อมกันเกินกว่าหนึ่งคู่ โดยให้อุปกรณ์ที่จะส่งข้อมูลตรวจสอบว่ามีข้อมูลใดวิ่งอยู่บนสายหรือไม่ หากไม่มีจึงส่งได้ และถ้ามีการชนกันของข้อมูลบนสายก็จะส่งใหม่
MANs
MAN ใหญ่กว่า LANs ระดับเมืองเช่น True เป็นการเชื่อม LANs เข้าด้วยกัน ซึ่งย่อมาจาก Metropolitan Area Network คือ เครือข่ายระดับเมือง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มักเชื่อมโยงกันเฉพาะในเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ระบบเครือข่าย MAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน เช่น เครือข่ายเคเบิลทีวี หรืออาจเป็นการรวมเครือข่ายกันของเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน
WiMax
WiMAX เป็นเทคโนโลยีบนบรอดแบนด์แบบไร้สายที่มาแรง พื้นฐานครอบคลุม 50 กม มีข้อจำกัดของสิ่งกีดขวาง ซึ่งถ้าเป็นต่างจังหวัดจะใช้ได้ผลดี เมืองนอกใช้แทน DSL ในปัจจุบันต้องมีใบอนุญาต กสทช. ถึงจะสามารถใช้ได้แต่ยังไม่มีการประมูลใบอนุญาต WIMAX มีความเร็วสูงกว่า WIFI มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล ได้สูงสุดถึง 75 Mbps มีระยะรัศมีทำการที่ 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร WiMAX ถูกคาดหวังว่าจะมีการนำใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศกำลังพัฒนา
WANs
Wide Area Networks (WAN) คือ เครือข่ายที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ LAN ที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เข้าด้วยกัน ระดับประเทศ ระหว่างทวีป หน่วยงานรัฐบาลแบบมีสายก็จะเป็นเคเบิ้ลใต้ทะเล ถ้าเป็นไร้สายจะเป็นลักษณะของดาวเทียม โดยจะที่ครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่กว่าแบบ MAN เช่น การเชื่อมตอระบบเครือข่ายระหว่างจังหวัด หรือระหว่างประเทศ โดยจะเชื่อมต่อด้วย คู่สายเช่า (Leased line) ระบบไมโครเวฟ หรือผ่านดาวเทียม และการเชื่อมต่อระหว่างแต่ละโหนดนั้นอาจมีความเร็วไม่สูงมาก
PANs
เล็กที่สุด 2-3 ฟุต เช่น Bluetooth มาตรฐาน IEEE 802.15 สำหรับเครือข่ายการสื่อสารส่วนบุคคล Barcode RFID QRCODE และพวกอุปกรณ์ Ultra wideband ในอเมริกา และอุปกรณ์ Wireless USB เป็นต้น
RFID

.

ย่อมาจากคำว่า Radio Frequency Identification เป็นระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
RFID ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจ ติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆเช่น ผลิตภัณฑ์ กล่อง หรือสิ่งของใดๆ สามารถติดตามข้อมูลของวัตถุ 1 ชิ้นว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไร ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้น และแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้งของวัตถุนั้น ๆ ในปัจจุปันว่าอยู่ส่วนใดในโลก โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสัมผัส (Contact-Less) หรือต้องเห็นวัตถุนั้นๆ ก่อน ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียนข้อมูล
RFID มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าระบบบาร์โค้ดดังนี้
1.มีความละเอียด และสามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่า ซึ่งทำให้สามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละ ชิ้นแม้จะเป็น SKU (Stock Keeping Unit – ชนิดสินค้า) เดียวกันก็ตาม
2.ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแถบ RFID เร็วกว่าการอ่านข้อมูลจากแถบบาร์โค้ดหลายสิบเท่า
3.สามารถอ่านข้อมูลได้พร้อมกันหลาย ๆ แถบ RFID
4.สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจ่อในมุมที่เหมาะสมอย่างการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด
(Non-Line of Sight)
5.ค่าเฉลี่ยของความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยี RFID นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 99.5 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่ความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยระบบบาร์โค้ดอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์
6.สามารถเขียนทับข้อมูลได้ จึงทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งจะลดต้นทุนของการผลิตป้ายสินค้า
ซึ่งคิดเป็นประมาณ 5% ของรายรับของบริษัท
7.สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอ่านข้อมูลซ้ำที่อาจเกิดขึ้นจากระบบบาร์โค้ด
8.ความเสียหายของป้ายชื่อ (Tag) น้อยกว่าเนื่องจากไม่จำเป็นต้องติดไว้ภายนอกบรรจุภัณฑ์
9.ระบบความปลอดภัยสูงกว่า ยากต่อการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบ
10.ทนทานต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก
เราสามารถแบ่งชนิดของ RFID ออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. Active RFID เก็บข้อมูลได้มากกว่าและแพงกกว่า Passive จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ RFID ชนิดนี้จะมีแบตเตอรี่อยู่ภายใน เพื่อป้อนพลังงานไฟฟ้าให้ Tag ทำงานโดยปกติ เราจะสามารถทั้งอ่านและเขียนข้อมูลลงใน Tag ชนิดนี้ได้ และการที่ต้องใช้แบตเตอรี่จึงทำให้ Tag ชนิด Active มีอายุการใช้งานจำกัดตามอายุของแบตเตอรี่ เมื่อแบตเตอรี่หมดก็ต้องนำ Tag ไปทิ้ง ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากจะมีการ seal ที่ตัว Tag จึงไม่สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ อย่างไรก็ตามถ้าเราสามารถออกแบบวงจรของ Tag ให้กินกระแสไฟน้อยๆ ก็อาจจะมีอายุการใช้งานนานนับสิบปี Tag ชนิดนี้จะมีกำลังส่งสูงและระยะการรับส่งข้อมูลไกลกว่า นอกจากนี้ยังทำงานในบริเวณที่มีสัญญาณรบกวนได้ดี
2. Passive RFID ระยะการรับส่งข้อมูล 2-3 เมตร ขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า ใช้พลังงานจากคลื่นความถี่ของวิทยุ จะไม่มีแบตเตอรี่อยู่ภายใน แต่จะทำงานโดยอาศัยพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากการเหนี่ยวนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากตัวอ่านข้อมูล จึงทำให้มีน้ำหนักเบากว่า ราคาถูกกว่า และมีอายุการใช้งานไม่จำกัด แต่ข้อเสียก็คือระยะการรับส่งข้อมูลใกล้ และตัวอ่านข้อมูลจะต้องมีความไวสูง นอกจากนี้ Passive RFID มักจะมีปัญหาเมื่อนำไปใช้งานในสิ่งแวดล้อมที่มีสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนสูงอีกด้วย แต่ข้อได้เปรียบในเรื่องราคาและอายุการใช้งานทำให้ Tag ชนิดนี้เป็นที่นิยมมากกว่า
Reader หรือ Interrogator
หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบ
1.ตัวอ่านข้อมูลจะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาตลอดเวลา และคอยตรวจจับว่ามี Tag เข้ามาอยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการคอยตรวจจับว่ามีการมอดูเลตสัญญาณเกิดขึ้นหรือไม่
2.เมื่อมี Tag เข้ามาอยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้า Tag จะได้รับพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อให้ Tag เริ่มทำงาน และจะส่งข้อมูลในหน่วยความจำที่ผ่านการมอดูเลตกับคลื่นพาหะแล้วออกมาทางสายอากาศที่อยู่ภายใน Tag
3.คลื่นพาหะที่ถูกส่งออกมาจาก Tag จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแอมปลิจูด, ความถี่ หรือเฟส
4. ตัวอ่านข้อมูลจะตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของคลื่นพาหะแปลงออกมาเป็นข้อมูลแล้วทำการถอดรหัสเพื่อนำข้อมูลไปใช้งานต่อไป
การนำระบบ RFID ไปใช้งาน
เราสามารถนำระบบ RFID ไปใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมการผลิต การค้า หรือการบริการต่างๆ ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลที่ต้องการได้ เช่น บันทึกเวลาทำงานของพนักงาน เก็บเงินค่าใช้บริการทางด่วน หรือระบบกันขโมยรถยนต์ แต่การพิจารณานำระบบ RFID มาใช้งานยังคงต้องคำนึงถึงข้อจำกัดต่างๆ ในการใช้งานไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในสภาพแวดล้อม หรือกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับระเบียบการใช้คลื่นความถี่วิทยุและกำลังส่งของแต่ละประเทศ

Internet

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

Internet หมายถึง เป็น WANS ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้มาตรฐานเดียวกัน คือ TCP/IP เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Protocol ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
History of Internet
เนื่องจากมีความเกรงกลัวในสงคราม Nuclear ถ้าไม่แชร์ข้อมูลที่สำคัญ ข้อมูลอาจสูญหาย อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อที่โครงการหรือองค์กรรัฐสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย ต่อมาในมหาวิทยาลัยใน USA ก็ใช้ต่อ อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
Evolution of Internet
ช่วงที่ 1 Innovation Phase แต่ละ Network มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน คุยกันไม่ได้ แชร์กันไม่ได้ ขั้นตอนการคิดค้นนวัตกรรม (1964-1974) ยุคเริ่มต้นของ internet โดยในช่วงนี้จะมีการใช้ Internet ที่มีมาตรฐานที่หลากหลายตามแต่ละเครือข่ายที่แตกต่างกัน ในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลาย ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้
ช่วงที่ 2 Institutionalization (1975-1995) ใช้ภาษาเดียวกันด้วย TCP/IP จากปัญหาที่ Internet มีมาตรฐานแตกต่างกัน จึงทำให้เกิด การพัฒนามาตราฐาน TCP/IP ทำให้ Internet แพร่หลายไปในวงกว้าง
ช่วงที่ 3 Commercialization เกิด HTML ,WWW, Web server, Web Browser ในเชิงพาณิชย์ ช่วงการใช้เชิงพาณิชย์ (1995-ปัจจุบัน) เป็นช่วงที่เกิดการพัฒนาของ Internet และการใช้งานในรูปแบบองค์กร
Building Blocks of internet
เป็น Technology เบื้องหลัง สามองค์ประกอบหลักของ Internet
• Packet Switching Network
• TCP/IP
• Client Server
Circuit switching
คือ การเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างคู่สายนั้นๆแต่เมื่อมีการใช้งานอยู่คนอื่นไม่สารมารถใช้งานคู่สายนั้นได้ จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อการใช้งานนั้นจบลง เทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันแล้วจะติดต่อกันได้ตลอดเวลา ผู้อื่นจะแทรกเข้ามาไม่ได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นการติดต่อทางสายโทรศัพท์ เมื่อเริ่มพูดกันได้แล้ว คนอื่นจะต่อสายแทรกเข้ามาไม่ได้ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะวางหูลง(ปลดวงจร)

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

Packet switching
คือ ข้อมูล Digital แปลงออกเป็น 1 และ 0 แบ่งออกเป็น packet ซึ่งขนาด packet ขึ้นอยู่กับเครือข่าย ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1. เนื้อหาข้อมูล
2. IP address ของเครื่องส่งข้อมูล
3. IP address ของเครื่องรับข้อมูล
การส่งข้อมูล จะส่งในรูปแบบของ IP Packet แชร์เส้นทางเดียวกันได้ ใน 1 สายแชร์ได้หลาย Packet เช่น เปรียบเทียบกับการส่งข้อมูลส่วนหัวไปทางถนนลาดพร้าว ส่วนตัวไปวิภาวดี ส่วนขาไปทางด่วน เมื่อปลายทางมารวมตัวกันเป็นข้อมูล เช็คว่ามาครบหรือไม่ จึงประกอบกันเป็นตัว รูปภาพ, VDO, Face time เป็นเทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต)ข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่ง ๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกันเอง
TCP/IP
เครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สื่อสารระหว่างกันโดยใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และ Internet Protocol (IP) รวมเรียกว่า TCP/IP ข้อมูลที่ส่งจะถูกตัดออกเป็นส่วนๆ เรียก packet แล้วจ่าหน้าไปยังผู้รับด้วยการกำหนด IP Address เช่น สมมติเราส่ง e-mail ไปหาใครสักคน e-mail ของเราจะถูกตัดออกเป็น packet ขนาดเล็กๆ หลายๆ อัน ซึ่งแต่ละอันจะจ่าหน้าถึงผู้รับเดียวกัน packets พวกนี้ก็จะวิ่งไปรวมกับ packets ของคนอื่นๆ ด้วย ทำให้ในสายของข้อมูล packets ของเราอาจจะไม่ได้เรียงติดกัน packets พวกนี้จะวิ่งผ่าน ชุมทาง (gateway) ต่างๆ โดยตัว gateway (อาจเรียก router) จะอ่านที่อยู่ที่จ่าหน้า แล้วจะบอกทิศทางที่ไปของแต่ละ packet ว่าจะวิ่งไปในทิศทางไหน packet ก็จะวิ่งไปตามทิศทางนั้น เมื่อไปถึง gateway ใหม่ก็จะถูกกำหนดเส้นทางให้วิ่งไปยัง gateway ใหม่ที่อยู่ถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง เช่นเราติดต่อกับเครื่องในอเมริกา อาจจะต้องผ่าน gateway ถึง 10 แห่ง เมื่อ packet วิ่งมาถึงปลายทางแล้ว เครื่องปลายทางก็จะเอา packets เหล่านั้นมาเก็บสะสมจนกว่าจะครบ จึงจะต่อกลับคืนให้เป็น e-mail

Voice Over IP
เป็นระบบที่นำสัญญาณข้อมูลเสียงมาบรรจุลงเป็น packet IP แล้วส่งไปโดยที่ router มีวิธีการปรับตัวเพื่อรับสัญญาณ packet และยังแก้ปัญหาบางอย่างให้ เช่น การบีบอัดสัญญาณเสียง ให้มีขนาดเล็กลง การแก้ปัญหาเมื่อมีบาง packet สูญหาย หรือได้มาล่าช้า ระบบ VoIP เป็นระบบที่นำสัญญาณเสียงที่ผ่านการดิจิไตซ์ โดยหนึ่งช่องเสียงเมื่อแปลงเป็นข้อมูลจะมีขนาด 64 กิโลบิตต่อ วินาที การนำข้อมูลเสียงขนาด 64 Kbps นี้ ต้องนำมาบีบอัด โดยทั่วไปจะเหลือประมาณ 10 Kbps ต่อช่องสัญญาณเสียงแล้วจึง บรรจุลงในไอพี packet เพื่อส่งผ่านทางเครือข่ายไอพี การสื่อสารผ่านทางเครือข่ายไอพีต้องมี router ที่ทำหน้าที่พิเศษเพื่อประกันคุณภาพช่องสัญญาณไอพีนี้ เพื่อให้ข้อมูลไปถึง ปลายทางหรือกลับมาได้อย่างถูกต้อง และอาจมีการให้สิทธิพิเศษก่อน packetไอพีอื่น เพื่อการให้บริการที่ทำให้เสียงมีคุณภาพ จากระบบดังกล่าวนี้เอง จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์ระหว่างองค์กร โดยองค์กรสามารถ ใช้ระบบสื่อสารทางโทรศัพท์ผ่านทางเครือข่ายไอพี ด้วยวิธีการสื่อสารแบบ VoIP จึงทำให้ระบบโทรศัพท์ที่เป็นตู้ชุมสายภายในขององค์กร สามารถเชื่อมถึงกันผ่านทางเครือข่าย ไอพี การสื่อสารแบบนี้ทำให้สามารถใช้โทรศัพท์ข้ามถึงกันได้ในลักษณะ PABX กับ PABX และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
Internet (IP) Address
IP ในปัจจุบันขาดแคลน IP Address ซึ่งมีอยู่เพียง 4,000 ล้าน ซึ่ง IP Address ห้ามซ้ำกัน ซึ่งในปัจจุบันเป็น Version 4 มีแนวโน้มว่าในอนาคตจะเปลี่ยนเป็น Version 6 เป็น 128 bit ซึ่งต้องเปลี่ยนทั้งระบบ ซึ่งคาดว่าทุกอะตอมในโลกในอนาคตสามารถมี IP ของตัวเองได้ เช่น ปากกา ขวดน้ำ
IP Address ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับ address และข้อมูล และควบคุมการส่งข้อมูลบางอย่างที่ใช้ในการหาเส้นทางของ packet ซึ่งกลไกในการหาเส้นทางของ IP จะมีความสามารถในการหาเส้นทางที่ดีที่สุด และสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ในระหว่างการส่งข้อมูล
IPv4
คือ หมายเลข IP address มีขนาด 32 บิท IPv4 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 4 ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 บิท
IPv6
(Internet Protocol version 6) เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ Internet Protocol และได้รวมผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุน IP มาเป็นส่วนหนึ่งด้วย รวมถึงระบบปฏิบัติการหลัก IPv6 ได้รับการเรียกว่า "IPng" (IP Next Generation) โดย IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน 4 โดย host ของเครือข่ายสามารถดูแลแพ็คเกตของ IP เวอร์ชันอื่น ผู้ใช้และผู้ให้บริการสามารถปรับรุ่นเป็น IPv6 โดยอิสระ การปรับปรุงที่ชัดเจนของ IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 การขยายดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายของอินเตอร์เน็ต และเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนของตำแหน่งเครือข่าย
Domain Names
หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่าย ทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบ domain system ที่สามารถแก้ไข IP address ของชื่อ domain nameนั้นๆ ได้ทันที โดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำ IP address ที่มีการเปลี่ยนแปลง
Top-level domain name คือ นามสกุลที่อยู้หลัง dot ซึ่ง domain name มี dot อยู่หลายประเภท แต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็น dot ในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ
ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. Domain 2 ระดับ ชื่อ domain . ประเภทของ domain
2. Domain 3 ระดับ ชื่อ domain . ประเภทของ domain . ประเทศ
Domain name 2 ระดับ
จะประกอบด้วย www . ชื่อ domain . ประเภทของ domain เช่น www.b2ccreation.com
ประเภทของ domain คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้

  • .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
  • .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร ไม่มี Sponsor
  • .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย สมาคม
  • .edu คือ สถาบันการศึกษา
  • .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
  • .mil คือ องค์กรทางทหาร

Domain name 3 ระดับ
จะประกอบด้วย www . ชื่อ domain . ประเภทของ domain . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ

  • .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
  • .ac คือ สถาบันการศึกษา
  • .go คือ องค์กรของรัฐบาล
  • .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
  • .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร

ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร

  • .th คือ ประเทศไทย
  • .cn คือ ประเทศจีน
  • .uk คือ ประเทศอังกฤษ
  • .jp คือ ประเทศญี่ปุ่น
  • .au คือ ประเทศออสเตรเลีย

URL ที่อยู่กับ Webpage ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator คือ ที่อยู่ของข้อมูลต่างๆใน internet เช่น ที่อยู่ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต
Domain Name Server (DNS)
คือสิ่งที่นำมาอ้างถึงหมายเลขเครื่อง หรือ หมายเลข IP Address เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ DNS จะทำหน้าที่คล้ายกับสมุดโทรศัพท์ คือ เมื่อมีคนต้องการจะโทรศัพท์หาใคร คน ๆ นั้นก็จะต้องเปิดสมุดโทรศัพท์เพื่อค้นหาเบอร์โทรศัพท์ของคนที่ต้องการจะติดต่อ คอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นก็จะทำการสอบถามหมายเลข IP ของเครื่องที่ต้องการจะสื่อสาร กับ DNS server ซึ่งจะทำการค้นหาหมายเลขดังกล่าว ในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้ Host ดังกล่าวทราบ ระบบ DNS แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
1. Name Resolvers โดยเครื่อง Client ที่ต้องการสอบถามหมายเลขไอพีเรียกว่า Resolver ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่
เป็น Resolvers นั้นจะถูกสร้างมากับแอพพลิเคชันหรือเป็น Library ที่มีอยู่ใน Client
2. Domain Name Space เป็นฐานข้อมูลของ DNS ซึ่งมีโครงสร้างเป็น Tree หรือเป็นลำดับชั้น แต่ละโหนดคือ
Domain โดยสามารถมี domain ย่อย (Sub Domain) ซึ่งจะใช้จุดในการแบ่งแยก
3. Name Servers เป็นคอมพิวเตอร์ที่ run โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลบางส่วนของ DNS โดย Name Server จะ
ตอบการร้องขอทันที โดยการหาข้อมูลตัวเอง หรือส่งต่อการร้องขอไปยัง Name Server อื่น ซึ่งถ้า Name Server
มีข้อมูลของส่วน domain แสดงว่า Server นั้นเป็นเจ้าของ domain เรียกว่า Authoritative แต่ถ้าไม่มีเรียกว่า Non-Authoritative
Development of the Web
Web เป็น Subset ของ Internet CERN พัฒนาโดยวิทยาศาสตร์ที่นำ Nuclear Research อยู่ที่ Geneva ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ บิดาของ Website ทิม เบอร์เนอร์สลี (Tim Berners-Lee) ภาษา HTML ให้แชร์เอกสารกันได้ ผ่าน Hyperlink เป็นที่มาของ WWW เป็นสถาบันวิจัย Particle Physic ที่จำลองการเกิด Big bang ที่เคยเกิดขึ้น 14,000 ล้านปีที่แล้วด้วยการสร้างท่อ In-proton ใต้ดินรอบ Geneva World Wide Web หรือที่เรามักเรียกสั้นๆว่า Web หรือ W3 (WWW) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้ (กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะบราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Netscape

Hypertext
ไฮเปอร์เท็กซ์(Hypertext) คือ คำหรือวลีเรืองแสงหรือมีสีแตกต่างจากข้อความธรรมดา หรือ มีการขีดเส้นใต้ในเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ถ้าใช้เมาส์ชี้ที่ ไฮเปอร์เท็กซ์จะเห็นเป็นรูปมือ และเมื่อคลิกเมาส์ที่ไฮเปอร์เท็กซ์ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ จะเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นซึ่งอาจจะเป็นจุดอื่นในไฟล์เดียวกัน หรืออาจจะเชื่อมโยงไปยัง ไฟล์เอกสารอื่น หรือเว็บไซต์อื่น การเชื่อมโยงดังกล่าว เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink) ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ไฮเปอร์มีเดีย(Hypermedia) หมายถึง ส่วนที่เพิ่มเติมจากไฮเปอร์เท็กซ์ นั่นคือนอกเหนือ จากการเชื่อมโยงข้อมูลในแบบตัวอักษรแล้ว เรายังสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ภาพถ่าย วิดีโอ เสียง ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว ได้ด้วย
Web Server
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์
Web Browser

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

Web Browser คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่แสดงเนื้อหาเว็บไซต์ โดยแปลง เป็น html script เป็นข้อความที่เรา สามารถดูได้ เว็บบราวเซอร์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ Internet Explorer, Netscape, Mozilla Firefox Google Chome

Trends
Cloud computing
Cloud computing เปลี่ยนตั้งแต่ระดับองค์กรถึงระดับบุคคล ในด้านขององค์กรทำให้ลด Cost ค่าใช้จ่ายด้าน IT ส่วนด้านระดับบุคคล ปกติจะต้องเก็บข้อมูลในเครื่องใครเครื่องมันแต่ระบบ Cloud ทำให้เก็บข้อมูลไว้ในอากาศ เป็นการเช่า Model ปัจจุบันทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยทุก Device เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการของเวอร์ชัวไลเซชันและเว็บเซอร์วิส โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

• Cloud Service Models : 3 รูปแบบ ที่เหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่แตกต่างกันออกไป
o Software as a service (SaaS)
คือการที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้ซอฟแวร์ที่ติดตั้งไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ โดยที่ตนเองไม่ต้องติดตั้งซอฟแวร์เหล่านั้นลงบนเครื่องของตนเองเลย แต่สามารถเข้าถึงซอฟแวร์ผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ต่างๆ ได้ บริการอย่าง facebook, Microsoft Office 365 ก็ถือเป็นการให้บริการในลักษณะนี้

o Platform as a service (PaaS)
คือการที่นักพัฒนาเช่าใช้ทั้งระบบ ตั้งแต่การพัฒนา, การทดสอบ, การผลิตแอพพลิเคชั่น ฯลฯ และชำระค่าเช่าเฉพาะเวลาที่ใช้งานจริงเท่านั้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก เหมาะกับกลุ่มธุรกิจ Startup และบริษัทต่างๆ บริการประเภทนี้ยกตัวอย่างเช่น Windows Azure

o Infra structure as a service (IaaS)
คือการที่นักพัฒนาหรือผู้ประกอบการเช่าใช้สถานที่, เซิร์ฟเวอร์ และระบบเครือข่ายได้ตามต้องการโดยที่ไม่ต้องควบคุมดูแลรักษาระบบด้วยตนเอง
• Type of Cloud : 3 รูปแบบ ตามลักษณะการเข้าถึงข้อมูล
o Public Clouds
o Private Clouds ในองค์กรเช่น ปตท
o Hybrid Clouds ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีบางส่วนบริการให้องค์กรและข้อมูลบางส่วนให้บริการทุกคนภายนอก
Grid Computing
เป็นการรวมการประมวลผลหลายๆ เครื่องเพื่อประมวลผลระดับสูงมี Cost ที่ต่ำเพราะประมวลผลร่วมกัน ทำให้กลายเป็น Super Computer โดย Grid Computing สามารถที่จะรองรับการประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลได้
Grid Computing เป็นเทคโนโลยี(Grid Technology) หรือนวัตกรรม(Innovation) ที่ได้ผ่านการวิจัยและพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้ระบบทำการคำนวณหรือประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อน ด้วยสมรรถนะสูง โดยได้จัดเอาทรัพยากรด้านคำนวณหรือทรัพยากรประมวลผลด้านคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ มาทำการต่อเชื่อมโยงให้ถึงกัน ให้ทำงานร่วมกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่เพียงระบบเดียว ในรูปแบบของ Grid เพื่อทำการคำนวณหรือประมวลผลข้อมูลพร้อมกันในเวลาเดียวกัน โอนถ่ายข้อมูลระหว่างกัน ไม่ว่าทรัพยากรดังกล่าวจะมีลักษณะแตกต่างกัน รุ่นเก่า หรือรุ่นใหม่ ไม่ได้ใช้งานบางช่วงเวลา หรือไม่ถูกใช้งาน จะอยู่ใน Cluster เดียวกัน หรืออยู่คนละ Cluster อยู่ในสถานที่คนละแห่งที่ห่างไกลกันแค่ไหน ก็สามารถจะทำการประมวลผลร่วมกันได้ โดยระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ระบบเดียวที่ได้ดังกล่าวนี้ จะทำงานเสมือน เป็น ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่เครื่องเดียว ที่มีราคาต้นทุนต่ำ ประมวลผลข้อมูลตามแบบของ Grid Computing คือจัดให้ประมวลผลแบบขนาน (Parallel Processing หรือ Parallel Computing) เพื่อให้ทำงานพร้อมกัน หากส่วนใดในระบบขัดข้องหรือไม่ทำงาน ระบบก็ยังทำงานต่อไปได้ เพราะมีซอฟต์แวร์กลางพิเศษช่วยจัดการดูแลตรวจสอบสถานะของระบบ grid ดตลอดเวลา ซึ่งเรียกว่า Middleware
IP Convergence

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

IP Convergence คือ การที่ Device สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อโดยใช้ IP Technology
วีโอไอพี (VoIP) ย่อมาจาก วอยส์โอเวอร์ไอพี (Voice over Internet Protocol) (หรือชื่ออื่น IP Telephony, Internet telephony, หรือ Digital Phone) เป็นการสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือโครงข่ายอื่นๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล สัญญาณเสียงจะถูกตัดแบ่งเป็นแพ็คเก็ตวิ่งผ่านไปบนโครงข่ายที่ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลทั่วไป แทนการใช้วงจรเฉพาะตามวิธีการสื่อสารในระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม
Videoconference over IP เป็นการรวมเทคโนโลยี 2 อย่าง เข้าไว้ด้วยกัน นั่นคือ เทคโนโลยีวีดีโอและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งจุดประสงค์ของการใช้เทคโนโลยี Videoconference นั้นเพื่อสนับสนุนการประชุมทางไกลเป็นหลัก นอกจากนี้การใช้ Videoconference ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อไปประชุมในสถานที่ใกล้ ๆ ได้ และยังช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางด้วย
เทคโนโลยี Videoconference เป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้อุปกรณ์ต่อไปนี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งการ์ดเสียง หรือ Sound on Board กล้องถ่ายวีดีโอขนาดเล็ก ไมโครโฟน ลำโพง (หรือหูฟัง หรือ Head-Set) และต้องมีโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการรับส่งข้อความ ภาพ และเสียง ตลอดจนไฟล์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ผู้ร่วมประชุมเห็นภาพและได้ยินเสียงของผู้ร่วมประชุมคนอื่น ๆ ได้ นอกจากเทคโนโลยีที่กล่าวมาแล้วยังมีเทคโนโลยีอีกอย่างที่ทำหน้าที่ไม่ต่างกับ Videoconference นั่นคือ Web Conference ที่เป็นการประชุมผ่านเว็บไซต์ และ Video Telephone Call ที่สามารถสนทนาผ่านโทรศัพท์พร้อมทั้งเห็นภาพอีกฝ่ายหนึ่งได้พร้อมกัน ซึ่งทั้ง 2 เทคโนโลยีนี้มักจะนิยมใช้ภายในที่พักอาศัยเป็นการส่วนตัว
Green computing

เครือข่ายชนิดใดที่มีการส่งข้อมูลแบบไม่ติดขัดได้ระยะทางประมาณ 100 เมตร

Green computing ใช้ IT อย่างประหยัดพลังงาน เป็นการความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมของคอมพิวเตอร์และทรัพยากรที่สัมพันธ์ การปฏิบัติเช่นนี้รวมถึง การใช้ซีพียูที่ใช้พลังงานประหยัด แม่ข่ายและส่วนต่อพ่วง พร้อมถึงลดการบริโภคทรัพยากรและขยะอีเลคโทรนิคส์
o Virtualization การที่ระบบปฏิบัติการหลายระบบแชร์กันได้ เช่น Mac ใช้ Window
o Virtual machines


Issue

o Internet abuse in workplace – ควรอนุญาตให้ใช้ Internet ระหว่างทำงานได้หรือไม่? ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหาข้อสรุปไม่ได้ เนื่องจาก การอนุญาตให้ใช้ internet ในที่ทำงาน จะมีทั้งมุมประโยชน์และโทษเสมอ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานจริงๆ เพราะการที่พนักงานสามารถเข้าถึง internet ได้ง่าย ก็จะสามารถสืบค้นข้อมูลต่างๆ ได้ง่าย เป็นการพัฒนาศักยภาพในการทำงาน แต่ถ้าพนักงานนำ internet ไปใช้ในทางที่ผิด เช่น เล่นเกมส์ หรือ chat ก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

o Internet addiction- โรคติด Internet เป็นอาการของผู้ที่จะต้องใช้เทคโนโลยี หรือ internet ตอลดเวลา เสมือนรู้สึกว่าถ้าไม่ได้ connect internet แล้ว จะพลาดข้อมูลข่าวสารสำคัญ เนื่องจากข่าวสารทุกวันนี้ รวดเร็ว และ update ตลอดเวลา ถ้าพลาดข่าวสารไปเพียงเสี้ยววินาที อาจเป็นการพลาดเรื่องสำคัญ ซึ่งทางที่จะเข้าถึงข่าวสารได้เร็วที่สุด คือ การเชื่อมต่อโดย internet ด้วยเหตุผลนี้ อาจทำให้เป็นสาเหตุของการเกิด internet addicion ได้

o Net Neutrality- การเปลี่ยนราคา Internet มีประเด็นสองประเด็นที่ถกเถียง
1) ควรคิดค่า Internet ตามการใช้จริง
2) Net Neutrality ไม่ควรแบ่งตามการใช้งานจริง ควรจะจ่ายเท่ากัน ไม่ว่าจะใช้เท่าไหร่ก็ตาม

o Laws and Regulations- ความผิดในการใช้ Internet ในแต่ละประเทศแตกต่างกัน แต่เมื่อมี Internet ทำให้การเข้าถึงได้ทุกที่ เช่น ในจีนหรือเวียตนามมีกฎหมายห้ามวิจารณ์รัฐบาล ในเยอรมันมีกฎหมายไม่กล่าวถึง Nazi ส่วนประเทศไทยสถาบันของชาติไม่ควรมีการวิพากษ์วิจารณ์ เช่น Joe Gordon ลูกครึ่งไทย อเมริกัน สัญชาติ อเมริกัน ได้แปลหนังสือ “THE KING NEVER SMILES” ลงบน Blog ส่วนตัว ซึ่งผิดต่อมาตรา 17(3) กฎหมายของไทย แต่เมื่อนาย Joe Gordon เดินทางมาไทยเพื่อรักษาสุขภาพที่ รพ. เมื่อเข้าประเทศไทย ตม.ได้รวบตัวทันทีแต่นาย Joe Gordon อ้างว่าไม่ใช่คนไทยและขณะที่โพสข้อความที่ผิดต่อมาตรา 17(3) นาย Gordon อยู่ที่ USA server อยู่ที่ USA แต่สุดท้ายนาย Joe Gordon ก็ถูกเข้าคุก

o Digital Divide Gap ระหว่างคนสองกลุ่ม ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึง Internet และการใช้ Computer ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างคนที่เข้าถึงและไม่เข้าถึง ไม่ว่าจะเป็นโอกาสทางการศึกษา โอกาสในการหางาน และในทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดกับประเทศที่กำลังพัฒนา อย่างเช่นประเทศไทย ถือว่ามี digital divide gap ที่กว้าง ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว internet เปรียบเสมือนปัจจัยพื้นฐานอื่นๆที่สำคัญอย่างถนนหนทาง