เงินเดือนคิดเป็นรายวันยังไง

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

มาตรา 5 "ในพระราชบัญญัตินี้ “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทน ในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่นหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และ ให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันทำงานและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิ ได้รับตามพระราชบัญญัตินี้"

มาตรา 68  "เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และ ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานหมายถึง ค่าจ้างรายเดือนหารด้วยผลคูณของสามสิบและจำนวนชั่วโมงทำงานในวันทำงานต่อวันโดยเฉลี่ย"

ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนการคำนวณค่าจ้างเป็นรายวันนั้น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มิได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องบังคับตาม มาตรา 193/6 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยให้ถือว่าเดือนหนึ่งมี 30 วัน โดยถือว่า หนึ่งเดือนมี 30 วันเท่ากันทุกเดือน

แต่หาก นายจ้างเลือกใช้หลักเกณฑ์อื่นในการคำนวณ หากคำนวณแล้วเป็นคุณกับลูกจ้างมากกว่าที่คำนวณตามมาตรา 193/6 ก็สามารถใช้บังคับได้ 

        การจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานรายชั่วโมง จะจ่ายเฉพาะวันที่พนักงานมาทำงาน และตามจำนวนชั่วโมงที่พนักงานทำงานจริงเท่านั้น โดยรอบการคำนวณค่าจ้างของพนักงานรายวัน คือ คำนวณตั้งแต่วันที่ 21 ของเดือนก่อนหน้า – วันที่ 20 ของเดือนปัจจุบัน เช่น เงินเดือน หรือ ค่าจ้างที่พนักงานจะได้รับในเดือน มิถุนายน จะถูกคำนวณจากวันทำงานของวันที่ 21/05-20/06 เป็นต้น

สำหรับนายจ้างนั้นตามกฏหมายแล้วต้องมีการจ่ายค่าจ้าง จ่ายเงินเดือนพนักงานตามสัญญาที่ได้ทำการตกลงกันไว้ ซึ่งแบ่งประเภทพนักงานได้ออกเป็น 3 ประเภท ก็คือ ประเภทรายชั่วโมง รายวัน และรายเดือน โดยแต่ละประเภทจะมีการคิดเงินเดือนที่ต่างกันออกไป โดยวิธีคิดการจ่ายเงินให้กับพนักงานนั้น จะมีวิธีคิดเงินเดือนที่ใช้สูตรการคำนวณตามกฏหมายแรงงาน เพื่อที่จะสามารถเก็บข้อมูลทางสถิติสำหรับการประเมินผลพนักงานเมื่อทำงานครบปีได้ และจ่ายเงินได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยวันนี้ BeeHR นำวิธีคิดเงินเดือนประเภทต่าง ๆ มาฝากทุกคนกันค่ะ

โปรแกรมเงินเดือน
ทดลองใช้งานฟรีได้แล้ววันนี้ !!! โทร. 02-551-2097 ต่อ 601

วิธีคิดค่าตอบแทนพนักงานรายชั่วโมง

การคิดเงินเดือนพนักงานแบบรายชั่วโมง จะคิดเงินเฉพาะวันที่พนักงานมาทำงาน และตามจำนวนชั่วโมงที่พนักงานทำงานตามจริงเท่านั้น สูตรการคำนวณ : อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง x จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน

วิธีคิดเงินเดือนของพนักงานรายวัน

สูตรการคำนวณ : ค่าแรงต่อวัน x จำนวนวันที่ทำงาน – ขาด + ลา

ตัวอย่างการคิดเงินเดือนพนักงานรายวัน : บริษัทได้มีการตกลงว่าจ้าง พนักงานนาย A ด้วยค่าแรง 450 บาทต่อวัน ซึ่งจะต้องมาทำงานในเดือน มกราคม รวมทั้งสิ้น 25 วัน แต่นาย A มีการลาป่วย 2 วัน และขาดงานอีก 1 วัน ดังนั้นจะสามารถคำนวณได้ 450 x (25 – 3) = 9,900

คำตอบ : ดังนั้นนาย A จะได้รับค่าแรงอยู่ที่ 9,900 บาท

วิธีคิดเงินเดือนพนักงานรายวันนั้นจะไม่ซับซ้อน คือคิดอย่างตรงไปตรงมา จ่ายเงินเฉพาะวันที่พนักงานมาทำงานเท่านั้น รวมกับวันลา หรือขาดงานตามกำหนด จากสูตรที่กล่าวมานั้น HR สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปสรุปการจ่ายเงินเดือนได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงใช้เพื่อการประเมินผลการทำงาน และตรวจสอบทางสถิติการลาตามกฏหมายของพนักงานได้

วิธีคิดเงินเดือนของพนักงานรายเดือน

สำหรับพนักงานรายเดือนนั้นส่วนใหญ่เป็นที่นิยมในการจ้างงานมากกว่าประเภทอื่น ๆ มีการทำสัญญาว่าจ้าง มีความสะดวกในการคิดเงินเดือน รวมไปถึงรอบของการจ่ายเงินเดือนที่มีความตรงไปตรงมา ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งวิธีคิดเงินเดือนให้กับพนักงานรายเดือนจะมีการระบุในสัญญาว่าจ้าง และเป็นการยินยอม เข้าใจตรงกันของนายจ้าง และลูกจ้าง โดยมีวิธีคิดดังนี้

ตัวอย่างการคิดเงินเดือนพนักงานรายเดือน : พนักงาน นาย B ได้เงินเดือน 20,000 บาท โดยเฉลี่ย นาย B จะได้รับเงินเดือน/วัน = 20,000/30 เฉลี่ยวันละประมาณ 667 บาท ซึ่งตามกฏหมายแล้วกำหนดให้พนักงานสามารถหยุดได้ สัปดาห์ละ 1 วัน ดังนั้นใน 1 เดือน นาย B จะสามารถหยุดได้ 4 วัน ซึ่งถึงแม้ว่านาย B จะหยุดก็ยังได้รับเงินเดือนตามค่าจ้าง และบริษัท หรือนายจ้างไม่มีสิทธิ์หักเงินในส่วนนี้

เงินเดือนคิดเป็นรายวันยังไง

นอกจากนี้ยังมีวิธีคำนวณเงินเดือนตามหลักกฏหมายแรงงานที่ BeeHR เคยนำมาเขียนสรุปให้ทุกคนได้อ่านกัน หากมีข้อสงสัย

อ่านเพิ่มเติม : วิธีคำนวณโอที ตามหลักกระทรวงแรงงานที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ !!

ปรึกษาเกี่ยวกับระบบการจัดการพนักงาน

สอบถามเพิ่มเติม ..

สรุป

จะเห็นได้ว่าวิธีการคิดเงินเดือนสำหรับพนักงาน รายชั่วโมง รายวัน และรายเดือนนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นควรมีการคิดที่รอบคอบ และระมัดระวังความถูกต้องโดยอ้างอิงจากกฏหมายแรงงาน ซึ่งเป็นเกณฑ์สำหรับคุ้มครองลูกจ้าง และสามารถช่วยให้นายจ้างคิดเรทอัตราการจ่ายเงินเดือนอย่างเป็นธรรม และเหมาะสมเพื่อประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย

เรื่องเงินเดือนที่เป็นปัญหากวนใจของ HR หรือคนทำเงินเดือน เรามีโปรแกรมเงินเดือนดี ๆ มาแนะนำ โปรแกรมเงินเดือน ออนไลน์ คิดเงินเดือนเร็ว คำนวณเงินหักแม่นยำ เหมาะกับธุรกิจยุคใหม่ สนใจติดต่อ BeeHR หรือโทร. 02-551-2097 กด 601