เรื่องอิเหนานี้มีเค้าความจริงจากอะไร

เพื่อน ๆ เคยได้ยินสำนวน ‘ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง’ ไหม แล้วรู้ความหมายและที่มาของสำนวนนี้    หรือเปล่า สำนวนนี้หมายถึงคนที่เคยว่ากล่าวคนอื่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ตัวเองกลับเป็นเช่นนั้นเสียเอง และแน่นอนตามชื่อ วรรณคดีไทยซึ่งเป็นที่มาของสำนวนนี้ก็คือ ‘อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง’ นั่นเอง ที่มาของสำนวนนี้จะเป็นอย่างไร เนื้อเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงจะสนุกสนานเข้มข้นแค่ไหน วันนี้ StartDee จะพาทุกคนไปดู !

 

นอกจากบทความนี้ StartDee ยังมีบทเรียน ‘อิหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง’ ในรูปแบบแอนิเมชันสุดสนุกด้วย ดาวน์โหลดแอป StartDee ให้พร้อม แล้วไปเรียนกับคุณครูไตเติ้ลได้เลย

เรื่องอิเหนานี้มีเค้าความจริงจากอะไร

 

ความเป็นมาและจุดมุ่งหมายในการแต่ง เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

หากเพื่อน ๆ สังเกตจากชื่อก็น่าจะเดาได้ว่าอิเหนาไม่ใช่วรรณคดีไทยแท้ เพราะอิเหนาเป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลมาจาก ‘ชวา’ หรือประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน ‘อิเหนา’ เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่มีเค้าโครงมาจากพงศาวดารของชาวชวา ถูกแต่งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ‘อิเหนา’ กษัตริย์ชวาที่เชี่ยวชาญทั้งการรบ การปกครอง และได้สร้างความเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมาก ชาวชวาจึงถือว่าอิเหนาเป็นวีรบุรุษและผู้มีฤทธิ์ ตามพงศาวดารเรียกอิเหนาว่า ‘ปันจี อินู กรัตปาตี’ (Punji Inu Kartapati) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าปันหยี เรื่องราวของอิเหนาจึงถูกเล่าสืบต่อกันมาจนกลายเป็นนิทานที่เต็มไปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์

อิเหนาเริ่มเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีเรื่องเล่าว่าพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้แก่ เจ้าฟ้าหญิงกุณฑล และเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ  ทรงไฟัง ‘นิทานปันหยี’ ซึ่งนางข้าหลวงจากปัตตานีเล่าถวาย เจ้าฟ้าหญิงทั้งสองจึงนำเค้าโครงเรื่องมาแต่งเป็นบทละคร โดยเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงนิพนธ์บทละครเรื่องดาหลัง (อิเหนาใหญ่) ส่วนเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎทรงนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา (อิเหนาเล็ก) และเมื่อเสียกรุงอยุธยา ต้นฉบับบทละครเรื่องอิเหนาทั้งสองก็หายไป ในสมัยกรุงธนบุรีก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการประพันธ์บทละครอิเหนาขึ้นใหม่ 

จนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ทรงมีพระราชประสงค์ให้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยที่เสื่อมโทรมขึ้นมาอีกครั้ง จึงโปรดเกล้าให้กวีแต่งละครใน* ขึ้นมาหลายเรื่อง เช่น อุณรุท ดาหลัง และอิเหนา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ได้พระราชนิพนธ์อิเหนาสำหรับบทละครใน ลักษณะคำประพันธ์เป็นรูปแบบกลอนบทละคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ข้าราชบริพารและประชาชน ดังในตอนท้ายของบทพระราชนิพนธ์ที่กล่าวว่า...

อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง        
สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์               
แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไปฯ
หากพระองค์ทรงพิภพปรารภเล่น          
ให้รำเต้นเล่นละครคิดกลอนใหม่
เติมแต้มต่อติดประดิษฐ์ไว้                   
บำรุงใจไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน

จึงสรุปได้ว่าจุดมุ่งหมายในการแต่งอิเหนาคือ เพื่อให้เป็นบทละครใน สำหรับเล่นเพื่อสร้างความบันเทิงแก่ข้าราชบริพารและประชาชน และผู้แต่งอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงที่เพื่อน ๆ ได้เรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ก็คือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) นั่นเอง

*ละครใน คือ ละครร้องรำในราชสำนัก เดิมทีใช้ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน แต่ภายหลังได้ปรับเปลี่ยนให้ใช้ผู้แสดงชายได้ในสมัยรัชกาลที่ ๑ บทละครที่ใช้แสดงละครในมีเพียง ๔ เรื่องเท่านั้น ได้แก่ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท

 

ตัวละคร เรื่องอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

เนื้อเรื่องของอิเหนาเล่าถึง ‘ราชวงศ์อสัญแดหวา’ ท้าวปะตาระกาหรา ต้นราชวงศ์อสัญแดหวามีพระราชโอรส ๔ พระองค์ คือ ท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ทุกพระองค์ต่างเป็นกษัตริย์ปกครองนคร ๔ นครตามชื่อของตนเอง ราชวงศ์อสัญแดหวาถือเป็นราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในดินแดนชวาเนื่องจากสืบเชื้อสายมาจากเทวดา โดยตัวละครของราชวงศ์นี้จะใช้คำนำหน้าว่า 'ระเด่น' ส่วนราชวงศ์อื่น ๆ ที่มียศต่ำกว่าจะใช้คำนำหน้าว่า 'ระตู'

เรื่องอิเหนานี้มีเค้าความจริงจากอะไร

เส้นตรง = ความสัมพันธ์ทางสายเลือด เส้นประ = ความสัมพันธ์ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันทางสายเลือด

 

วงศ์เทวัญ (ราชวงศ์อสัญแดหวา)

ราชวงศ์อสัญแดหวาสืบเชื้อสายมาจากท้าวปะตาระกาหลาซึ่งเป็นเทวดา* ท้าวปะตาระกาหลามีพระราชโอรส ๔ พระองค์ คือ ท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ทุกพระองค์ต่างเป็นกษัตริย์ปกครองนคร ๔ นครตามชื่อของตนเอง เนื่องจากเป็นวงศ์เทวัญที่สืบเชื้อสายมาจากเทวดา ราชวงศ์อสัญแดหวาจึงเป็นราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในดินแดนชวาทั้งในด้านเกียรติยศและศักดิ์ศรี สังเกตว่าตัวละครของราชวงศ์นี้จะใช้คำนำหน้าว่า ‘ระเด่น’ ส่วนราชวงศ์อื่นๆ ที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะใช้คำนำหน้าว่า ‘ระตู’ 

*ถึงจะเป็นเทวดา แต่ท้าวปะตาระกาหลาก็มีบทบาทในเส้นเรื่องอิเหนาเยอะมาก (หลัก ๆ จะเป็นการสั่งสอนอิเหนาเมื่อทำไม่ถูกต้อง) เช่น เมื่ออิเหนาปฏิเสธการแต่งงานกับบุษบา ท้าวปะตาระกาหลาก็โขมยรูปวาดบุษบาไปไว้กลางป่า และแปลงร่างเป็นกวางทองเพื่อล่อวิหยาสะกำให้มาพบรูปวาด เมื่ออิเหนาลักพาตัวบุษบาไปไว้ในถ้ำ ท้าวปะตาระกาหลาก็ไม่พอใจที่อิเหนาทำไม่ถูกต้อง จึงบันดาลให้เกิดลมหอบ พรากบุษบาไปจากอิเหนา เป็นต้น

 

  • เมืองกุเรปัน

ปกครองโดยท้าวกุเรปัน เบื้องต้นท้าวกุเรปันและลิกูมีโอรสชื่อกะหรัดตะปาตี (เป็นพี่ชายต่างแม่ของอิเหนา) ต่อมาท้าวกุเรปันก็มีโอรสกับประไหมสุหรี (นิหลาอรตา) อีกสองคน คนแรกคือ ‘อิเหนา’ ซึ่งเป็นหนุ่มรูปงาม เจ้าชู้ คารมดี มีความสามารถในการรบ อิเหนามี ‘กริชเทวา’ อาวุธวิเศษคู่กายที่ท้าวปะตาระกาหลา (ปู่) ประทานให้ตอนเกิด ชื่ออื่น ๆ ของอิเหนา เช่น ระเด่นมนตรี มิสาระปันหยี (เป็นชื่อในวงการโจรป่า) นอกจากนี้อิเหนายังมีน้องสาวชื่อวิยะดา (เกนหลง) อีกคนหนึ่งด้วย โดยท้าวกุเรปันได้หมั้นหมายอิเหนาไว้กับบุษบาแห่งเมืองดาหา และหมั้นหมายวิยะดาไว้กับสียะตราแห่งเมืองดาหาตามธรรมเนียมของวงศ์เทวัญ

 

  • เมืองดาหา

ปกครองโดยท้าวดาหา ซึ่งท้าวดาหาและประไหมสุหรี (ดาหราวาตี) มีธิดาองค์โตผู้เลอโฉมคือบุษบา (อุณากรรณ) และสียะตรา (ย่าหรัน) เป็นโอรสคนเล็ก ในอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงนี้ เมื่อมีศึกชิงตัวบุษบามาประชิดเมือง ท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือจากวงศ์เทวัญทั้ง ๓ เมือง ให้มาช่วยรบ อิเหนาจึงต้องยกทัพมาช่วยท้าวดาหา (อา) เพราะถ้าไม่ยกทัพมาช่วยอา ท้าวกุเรปันขู่ว่าจะตัดพ่อตัดลูกทันที

 

  • เมืองกาหลัง

ปกครองโดยท้าวกาหลัง ท้าวกาหลังมีธิดาสองคนคือสะการะหนึ่งหรัดและบุษบารากา* ในศึกกะหมังกุหนิงครั้งนี้ ท้าวกาหลังไม่มีโอรสจึงส่งตำมะหงงและดะหมังซึ่งเป็นเสนาบดีตำแหน่งใหญ่มาช่วยรบแทน

*ภายหลังบุษบารากาได้คู่กับกะหรัดตะปาตีแห่งเมืองกุเรปัน และสะการะหนึ่งหรัดคู่กับสุหรานากงแห่งเมืองสิงหัดส่าหรี

 

  • เมืองสิงหัดส่าหรี

ปกครองโดยท้าวสิงหัดส่าหรี ท้าวสิงหัดส่าหรีและประไหมสุหรีมีโอรสคือสุหรานากง และมีธิดาคือจินดาส่าหรี

 

วงศ์ระตู (ราชวงศ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่วงศ์เทวัญ)
  • เมืองหมันหยา

เมืองหมันหยาเป็นวงศ์ระตูที่มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวงศ์เทวัญมากที่สุด เพราะนิหลาอรตา ประไหมสุหรีแห่งเมืองกุเรปัน (แม่ของอิเหนา) เป็นธิดาของท้าวหมันหยาองค์ก่อนหน้า ส่วนดาหราวาตีประไหมสุหรีแห่งเมืองดาหา ​(แม่ของบุษบา) ก็เป็นธิดาของท้าวหมันหยาเช่นกัน ต่อมาท้าวหมันหยาองค์ปัจจุบันและประไหมสุหรีมีโอรสคือดาหยัน และมีธิดาคือ ‘จินตะหราวาตี’ ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับอิเหนา เมื่อพระอัยยิกา (ยาย) ผู้เป็นพระมารดาของนิหลาอรตาสิ้นพระชนม์ อิเหนาจึงต้องมางานพระเมรุที่เมืองหมันหยา และได้พบกับจินตะหราวาตีในตอนนี้เอง 

 

  • เมืองกะหมังกุหนิง

ระตูกะหมังกุหนิงผู้ครองเมืองกะหมังกุหนิงมีโอรสหัวแก้วหัวแหวนองค์หนึ่งคือ ‘วิหยาสะกำ’ ระตูกะหมังกุหนิงรักลูกชายมาก ๆ รู้ว่าการออกศึกครั้งนี้อาจถึงตาย แต่เพื่อความต้องการของลูกชายก็ยอมออกรบ ระตูกะหมังกุหนิงมีพี่น้องที่มาช่วยทำศึกในครั้งนี้คือระตูปาหยัง และระตูปาหมัน

 

  • เมืองจรกา

ปกครองโดยระตูจรกาผู้มีหน้าตาอัปลักษณ์ แต่จรกาก็ยังใฝ่ฝันอยากมีมเหสีที่งดงามหมดจด ถึงขั้นสั่งให้จิตรกรออกเดินทางวาดภาพสาวงามทั่วแผ่นดินชวามาให้ตนเลือก จนจรกาได้เห็นรูปวาดของบุษบาก็หลงใหลคลั่งใคล้จนสิ้นสติ และขอให้ระตูล่าสำผู้เป็นพี่ไปช่วยสู่ขอบุษบาทันที

 

  • เมืองปักมาหงัน

ปกครองโดยระตูปักมาหงัน ระตูปักมาหงันมีธิดาคือมาหยารัศมี (ซึ่งได้เป็นมะเดหวีฝั่งซ้ายของอิเหนาในเวลาต่อมา) และโอรสคือสังคามาระตา สังคามาระตาสนิทกับอิเหนามากราวกับเป็นพี่น้องร่วมสายเลือด ซึ่งในศึกกะหมังกุหนิงครั้งนี้สังคามาระตาก็มาช่วยอิเหนาออกรบ และเป็นผู้สังหารวิหยาสะกำ

 

เรื่องย่อ อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง 

ในแผ่นดินชวา มีกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่สืบเชื้อสายมาจากวงศ์เทวัญ (เทวดา) ๔ พระองค์ ได้แก่ ท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง และท้าวสิงหัดส่าหรี ทุกพระองค์ต่างเป็นกษัตริย์ปกครองนคร ๔ นครตามชื่อของตนเอง ท้าวกุเรปันมีโอรสรูปงามนามว่า ‘อิเหนา’ ส่วนท้าวดาหาก็มีพระธิดาคือ ‘บุษบา’ ผู้ทรงโฉม ตามประเพณีของกษัตริย์วงศ์เทวัญ ท้าวกุเรปันและท้าวดาหาจึงตุนาหงัน (หมั้นหมาย) อิเหนาและบุษบาไว้ตั้งแต่เกิด

แต่เมื่ออิเหนาโตเป็นหนุ่มอายุ ๑๕ ปีก็ไปพบรักกับจินตะหราวาตี ธิดาของท้าวหมันหยาที่พบในงานพระเมรุของพระอัยยิกา (ยาย) อิเหนาคลั่งไคล้นางจินตะหราวาตีมากจนไม่ยอมกลับบ้านกลับเมือง รวมถึงปฎิเสธการหมั้นหมายกับนางบุษบาด้วย ท้าวดาหาจึงโกรธมากและประกาศว่าจะยกบุษบาให้ใครก็ได้ที่มาสู่ขอ เมื่อระตูจรกาได้ทราบข่าวจึงให้ระตูล่าสำ พี่ชายของตนไปสู่ขอนางบุษบา ท้าวดาหาก็ต้องยกให้แม้จะไม่เต็มใจนักเพราะจรกานั้นรูปชั่วตัวดำ แต่ในขณะเดียวกัน ‘วิหยาสะกำ’ โอรสของท้าวกะหมังกุหนิงตามกวางทอง (องค์ปะตาระกาหลาแปลง) ได้พบรูปวาดของนางบุษบา (เป็นภาพที่องค์ปะตาระกาหลาจงใจให้ภาพที่จรกาสั่งให้ช่างวาดภาพไปวาดนั้นปลิวมาตกในป่าภาพหนึ่งจากภาพที่วาดไว้ 2 ภาพ) ขณะออกประพาสป่าและหลงใหลในตัวบุษบาเป็นอย่างมาก ท้าวกะหมังกุหนิงจึงไปสู่ขอนางบุษบาจากท้าวดาหา แต่ก็ถูกปฎิเสธเนื่องจากท้าวดาหายกนางบุษบาให้จรกาไปแล้ว ท้าวกะหมังกุหนิงโกรธมากจึงยกทัพมาล้อมกรุงดาหาเพื่อชิงตัวนางบุษบา ท้าวดาหาจึงได้ขอความช่วยเหลือจากท้าวกุเรปัน ท้าวกาหลัง ท้าวสิงหัดส่าหรี และจรกาให้ยกทัพมาช่วยกันรบ ท้าวกุเรปันสั่งให้อิเหนามาช่วยรบที่กรุงดาหาและเป็นที่มาของ อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง ที่เราเรียนกันในบทเรียนนั่นเอง

ซึ่งในท้ายที่สุดอิเหนาก็ยกทัพมากับกะหรัดตะปาตี (พี่ชายคนละแม่) ทำให้ท้าวดาหาดีใจมากเพราะเชื่อมั่นว่าอิเหนาต้องรบชนะ แต่ด้วยความที่อิเหนาเคยทำให้ท้าวดาหาโกรธเรื่องปฏิเสธการแต่งงานกับบุษบาจนทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้นมา อิเหนาจึงตัดสินใจสู้รบให้ชนะก่อนแล้วค่อยเข้าไปเฝ้าท้าวดาหา เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงยกทัพมาใกล้ดาหาก็เกิดการต่อสู้กับกองทัพของอิเหนา ในที่สุดสังคามาระตาก็สังหารวิหยาสะกำ ส่วนอิเหนาสังหารท้าวกะหมังกุหนิงตายในสนามรบด้วยกริชเทวา 

แต่เรื่องวุ่นวายก็ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะเมื่ออิเหนารบชนะก็ได้เข้าเฝ้าท้าวดาหาและได้พบกับนางบุษบา อิเหนาเมื่อได้พบนางบุษบาก็หลงรักนางทันทีและรู้สึกเสียดายมาก จากที่ก่อนหน้านี้อิเหนามีความเห็นว่า ความหลงใหลในตัวบุษบาของจรกาและวิหยาสะกำนั้นนำไปสู่การสู้รบแย่งชิงนางบุษบา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นเลย แต่เมื่อได้พบนางบุษบาอิเหนาก็กลับหลงรักนางเสียเอง แถมยังพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้นางบุษบามาครองจนนำไปสู่ความวุ่นวายต่าง ๆ และเหตุการณ์นี้ก็เป็นที่มาของสำนวน ‘ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง’ ที่เราได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ นั่นเอง

 

รู้หรือไม่ ตอน กษัตริย์ชวากับมเหสีทั้ง ๕ (ตำแหน่ง)

กษัตริย์ชวาในยุคนั้นจะมีมเหสีทั้งหมด ๕ องค์ ๕ ตำแหน่งเรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกู และเหมาหลาหงี ซึ่งจุดนี้ ๕ ตำแหน่งก็ดูเหมือนจะเยอะมากพอแล้ว แต่อิเหนาของเราไม่พอจ้า เพราะกว่าเรื่องราวจะจบ อิเหนาได้ครองเมืองครองรักกับบุษบา อิเหนาก็ได้ภรรยารวมทั้งหมด ๑๐ คน ซึ่งวิธีแก้ปัญหาตำแหน่งไม่พอแบบสวย ๆ ก็คือ… แบ่งเป็นฝั่งซ้ายฝั่งขวามันซะเลย โดยรายนามมเหสีทั้ง ๑๐​ ตามตำแหน่งฝั่งซ้ายและขวามีดังนี้

ตำแหน่งมเหสีฝั่งซ้ายตำแหน่งมเหสีฝั่งขวาประไหมสุหรี = บุษบาประไหมสุหรี = จินตะหรามะเดหวี = มาหยารัศมีมะเดหวี = สะการะวาตีมะโต = บุษบากันจะหนามะโต = บุษบาวิลิศลิกู = อรสานารีลิกู = ระหนากะระติกาเหมาหลาหงี = หงยาหยาเหมาหลาหงี = สุหรันกันจาส่าหรี

 

 

กลอนบทละครวรรคทองของอิเหนา

บทละครเรื่องอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) นั้นมีวรรคทองที่น่าศึกษาอยู่มาก ยกตัวอย่างเช่น

    แล้วว่าอนิจจาความรักพึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหลตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไปที่ไหนเลยจะไหลคืนมาสตรีใดในพิภพจบแดนไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้าด้วยใฝ่รักให้เกินพักตราจะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนักเพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงช้ำจิตจะออกชื่อหรือชั่วไปทั่วทิศเมื่อพลั้งคิดผิดแล้วจะโทษใครเสียแรงหวังฝังฝากชีวีพระจะมีเมตตาก็หาไม่หมายบำเหน็จจะรีบเสด็จไปก็รู้เท่าเข้าใจในทำนองด้วยระเด่นบุษบาโฉมตรูควรคู่ภิรมย์สมสองไม่ต่ำศักดิ์รูปชั่วเหมือนตัวน้องทั้งพวกพ้องสุริย์วงศ์พงศ์พันธุ์โอ้แต่นี้สืบไปภายหน้าจะอายชาวดาหาเป็นแม่นมั่นเขาจะค่อนนินทาทุกสิ่งอันนางรำพันว่าพลางทางโศกา

 

เริ่มด้วยบทโศกของจินตะหราวาตี เมื่ออิเหนาต้องจากเมืองหมันหยาไปรบในศึกชิงตัวบุษบา อิเหนาก็มาบอกลาจินตะหรา นางจึงเศร้าสร้อยเสียใจและเริ่มตัดพ้ออิเหนา ในกลอนบทนี้จินตะหราคร่ำครวญถึงความรักของตน โดยเปรียบเทียบความรักกับสายน้ำ นางกล่าวว่าความรักช่วงที่จีบกันใหม่ ๆ ก็เปรียบเหมือนสายน้ำเชี่ยว แต่เมื่อสายน้ำไหลผ่านไปแล้วก็ไม่ไหลย้อนกลับมาอีก เหมือนช่วงนี้ที่ความรักจากพี่อิเหนาเริ่มจะหมดโปรโมชัน นางผิดเองที่คิดผิดไปหลงรักและเชื่อใจอิเหนา จากนั้นจึงตัดพ้อว่าตนเองเป็นเพียงธิดาของวงศ์ระตูซึ่งต่ำศักดิ์กว่าวงศ์เทวัญ ไม่คู่ควรเท่าอิเหนากับบุษบา ถ้าไม่หวังสูงมากก็คงไม่เจ็บปวดอย่างนี้ และทิ้งท้ายว่าต่อไปนี้คงจะต้องอายชาวดาหาแน่ ๆ ทุกคนคงจะนินทาว่านางแย่งอิเหนามาจากบุษบาแล้วสุดท้ายก็โดนทิ้ง บทดราม่ามาก ๆ กวีโวหาร ที่ใช้ในบทนี้จึงเป็นสัลลาปังคพิไสย (บทโศก) และพิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ) นั่นเอง

     ว่าพลางทางชมคณานกโผนผกจับไม้อึงมี่เบญจวรรณจับวัลย์ชาลีเหมือนวันพี่ไกลสามสุดามานางนวลจับนางนวลนอนเหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหราจากพรากจับจากจำนรรจาเหมือนจากนางสการะวาตีแขกเต้าจับเต่าร้างร้องเหมือนร้างห้องมาหยารัศมีนกแก้วจับแก้วพาทีเหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมาตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพรเหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หาเค้าโมงจับโมงอยู่เอกาเหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนางคับแคจับแคสันโดดเดี่ยวเหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้างชมวิหคนกไม้ไปตามทางคะนึงนางพลางรีบโยธี

 

กลอนอีกบทที่น่าสนใจคือ ‘บทชมดง’ ของอิเหนาบทนี้ ขณะที่อิเหนาเดินทัพไปรบก็ได้พบธรรมชาติในป่า มีทั้งนก ทั้งต้นไม้ แต่ไม่ว่าอิเหนาจะพบเจออะไรก็ไม่วายคิดถึงนาง ๆ ที่จากมาตามประสาคนมีความรัก โดยกลอนบทนี้มีการใช้กวีโวหารแบบเสาวรจนีย์ หรือบทชมความงามของธรรมชาติ มีการใช้โวหารภาพพจน์คือการอุปมา เปรียบเทียบธรรมชาติที่พบเห็นกับเรื่องราวความรักของตน การเล่นคำพ้องรูปพ้องเสียงของชื่อนก ชื่อพรรณไม้ คำนามและคำกริยาอื่น ๆ ดังนี้

บรรทัดที่ชื่อนกชื่อต้นไม้คำนามและคำกริยาอื่น ๆ ที่พ้องกับชื่อนกหรือชื่อต้นไม้๑เบญจวรรณ (น. นกแก้วขนาดโตมีหลายสี)วัลย์ (น. เถาวัลย์ ไม้เถา)วัน (น. วันที่)๒นางนวล (น. นกนางนวล เป็นนกขนาดกลาง)-นวล (น. ผู้หญิง)๓จากพราก (น. เป็ดพม่า เป็นนกเป็ดน้ำขนาดใหญ่)จาก (น. ต้นจาก เป็นพืชตระกูลปาล์ม)จาก (ก. ลาจาก พลัดพราก)๔แขกเต้า (น. นกแขกเต้า)เต่าร้าง (น. ต้นเต่าร้าง เป็นพืชตระกูลปาล์ม)ร้าง (ก. ลาจาก)๕แก้ว (น. นกแก้ว)แก้ว (น. ต้นแก้ว)แก้ว (น. หญิงอันเป็นที่รัก)๖ตระเวนไพร (น. นกตระเวนไพร)-เวร (น. คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต)๗เค้าโมง (น. นกเค้าโมง)โมง (น. ต้นไม้ชนิดหนึ่งอยู่ตามป่า ใช้นํ้าเปลือกแช่ปูนขาวทำให้ปูนแข็ง)โมง (น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน)๘คับแค (น. นกคับแค เป็นนกเป็ดนํ้าที่เล็กที่สุดในประเทศไทย)แค (น. ต้นแค)-

 

นอกจากนี้กลอนบทดังกล่าวยังมีการแทรกชื่อนาง ๆ อันเป็นที่รักของอิเหนาไว้อย่างเนียน ๆ ด้วย เช่น สามสุดา แก้วพี่ทั้งสาม ซึ่งหมายถึงจินตะหรา สการะวาตี และมาหยารัศมีนั่นเอง

 

คำศัพท์น่าสนใจในเรื่องอิเหนา

เนื่องจากเป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลมาจากพงศาวดารชวา คำศัพท์หลาย ๆ คำในเรื่องจึงเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาชวาและภาษามลายูด้วย ไม่ใช่ คำไทยแท้ แต่อย่างใด ซึ่งหลายคำก็ยังใช้อยู่บ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันจนหลายคนคิดว่าเป็นภาษาไทยมาตลอด ในอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงจะมีคำศัพท์คำไหนน่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย

คำศัพท์ความหมายกระยาหงัน สวรรค์ มาจากคำว่า ‘กะยางัน’ ซึ่งเป็นภาษามลายูกะระตะกระตุ้นให้ม้าเดินหรือวิ่ง มาจากคำว่า gértak ในภาษาชวาดะหมังมาจากภาษาชวา แปลว่า เสนา ดะหมังเป็นตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ เทียบได้กับขุนนางฝ่ายมหาดไทย ตุนาหงันหมั้นหมาย (เพื่อแต่งงาน) มาจากคำว่า tunangan ที่แปลว่าคู่หมั้นในภาษาชวาและมลายูบุหรง นก (ภาษาชวา)ประเสบัน, ประเสบันอากงหมายถึงตำหนักหรือวังลูกหลวงในภาษาชวาระเด่นโอรสหรือธิดาของกษัตริย์เมืองใหญ่ (ภาษาชวา)ระตูคำเรียกเจ้าเมืองที่ไม่ใช่วงศ์เทวัญ เจ้าเมืองน้อย (ภาษาชวา)อะหนะลูก น้อง เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู มาจากคำว่า anak ที่แปลว่า ‘ลูก’ ในภาษาชวา (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)

 

บทละครเรื่องอิเหนามีการดำเนินเรื่องที่สนุก ตื่นเต้นและน่าติดตามเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะฉากที่มีการแสดงอารมณ์ความรู้สึก ฉากการสู้รบก็เขียนได้ดี ชวนให้ผู้อ่านเห็นภาพตามไปด้วยได้ และแม้จะมีเค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมืองชวา แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็ทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมืองและรสนิยมของคนไทย ถ้าอยากรู้ว่าเรื่องอิเหนามีธรรมเนียมและประเพณีอะไรบ้าง ต้องไปติดตามกันต่อในแอปพลิเคชัน StartDee นะ

อิเหนามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

๑. คุณค่าในด้านเนื้อเรื่อง บทละครเรื่องอิเหนา มีโครงเรื่องและเนื้อเรื่องที่สนุก โครงเรื่องสำคัญเป็นเรื่องการชิงบุษบาระหว่างอิเหนากับจรกา เรื่องความรักระหว่างอิเหนากับบุษบา เนื้อเรื่องสำคัญก็คือ อิเหนาไปหลงรักจินตะหรา ทั้งที่มีคู่หมั้นอยู่แล้วซึ่งก็คือบุษบา ทำให้เกิดปมปัญหาต่างๆ

ประเพณีในเรื่องอิเหนามีอะไรบ้าง

หนังสือบทละครอิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ นอกจากเป็นหนังสือดีในทางวรรณคดีดังกล่าวมา ยังเป็นหนังสือดีในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยแต่โบราณด้วยอีกสถานหนึ่ง ด้วยประเพณีต่างๆ ที่มีในเรื่องอินเหนา ดังเช่นประเพณีสมโภชลูกหลวงประสูติใหม่ (เมื่ออิเหนาเกิด) ก็ดี ประเพณีการพระเมรุ (ที่เมืองหมันหยา) ก็ดี ประเพณีรับแขกเมือง (เมื่อ ...

เรื่องอิเหนาแต่เดิมมีชื่ออะไร

แต่เมื่อพูดถึงวรรณคดีขึ้นชื่อของไทยที่เป็นที่รู้จัก 'อิเหนา' จะต้องเป็นวรรณคดีเล่มแรก ๆ ที่หลายคนเอ่ยถึง ซึ่งแต่เดิมอิเหนาเป็นเคยเป็นนิทานพื้นบ้านที่ชาวชวาแต่งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองพระมหากษัตริย์ มีชื่อเรียกว่า 'ปันจี อินู กรัตปาตี' หรือ 'ปันหยี' สำหรับในประเทศไทยจะมี ฉบับมาลัต ที่มีความตรงกันกับฉบับของชวา โดยใช้ภาษากวีของ ...

อิเหนาเป็นโอรสของใครมีลักษณะอย่างไร

๒.๓) อิเหนา เป็นโอรสท้าวกุเรปันกับประไหมสุหรี มีขนิษฐาชื่อ วิยะดา อิเหนาเป็นเจ้าชายหนุ่มรูปงาม เข้มแข็ง เด็ดขาด เอาแต่ใจตัว เจ้าชู้ มีมเหสีหลายพระองค์ คือ นางจินตะหรา นางสการะวาตี นางมาหยารัศมี และนางบุษบา