Spss data editor เป็นส่วนที่ใช้สําหรับทําอะไร

โปรแกรม SPSS

ความหมายของโปรแกรม SPSS

กกกกกโปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows) เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูง ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติประเภทต่าง ๆ และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกมาในรูปของตาราง หรือแผนภูมิชนิดต่าง ๆ ได้ทั้งแบบ ๒ มิติ และ ๓ มิติ การใช้งานโปรแกรมไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว แต่ก็ยังมีคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่ยังมีแนวคิดที่ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้ความรู้ทางสถิติเป็นอย่างดีบ้าง โอกาสในการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานค่อนข้างน้อยบ้าง แต่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากการใช้โปรแกรม SPSS ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางสถิติ

เป็นอย่างดีเสมอไป แต่ขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น เช่น ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วการใช้งานโปรแกรม SPSS มักจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย แต่ก็ไม่เสมอไป กล่าวคือ SPSS สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี เช่น การทำบัญชีและคำนวณรายรับรายจ่ายในครอบครัว ใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงาน วิเคราะห์ทัศนคติ และความพึงพอใจต่อสิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้ SPSS ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือบุคคลในระดับอื่น ๆ อยู่ที่ว่าจะรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

Title Bar

Menu Bar

Cell Editors = กำหนดค่าตัวแปร

Cell = สำหรับกำหนดค่าตัวแปร

Status Bar = แสดงสถานะการทำงาน

Cases = ชุดของตัวแปร

View Bar = Data View, Variable View

Data View = เพิ่มและแก้ไขตัวแปร

Variable View = สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร

ส่วนประกอบของหน้าจอ

การใช้โปรแกรม SPSS

กกกกกSPSS เป็นโปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดย SPSS ย่อมาจาก Statistical Package for the Social Sciences ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท SPSS จำกัดแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา

กกกกกSPSS เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Personal Computer) หรือเครื่องขนาดใหญ่ก็ได้ โดย SPSS เป็นโปรแกรมที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงปรับปรุงมาโดยตลอด

กกกกก1. SPSSx เป็นโปรแกรมที่ใช้กับเครื่องขนาดใหญ่ที่เป็นประเภท Main ‟ frame computer

กกกกก2. SPSS/PC เป็นโปรแกรมที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Personal Computer) ที่ท างานบนระบบ Dos
กกกกก3. SPSS for Windows เป็นโปรแกรมประเภทเดียวกับ SPSS/PC เพียงแต่ทำงานบนระบบ Windows
กกกกกโปรแกรม SPSS for Windows ได้ถูกพัฒนาให้สามารถท างานบนโปรแกรมควบคุม ระบบ Microsoft Windows โดยมีการปรับปรุงรูปแบบการใช้งานให้ดูง่ายส าหรับผู้ใช้และมี ประสิทธิภาพสูง สะดวกในการท างานและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้อย่างละเอียด พร้อมกันนี้สามารถน าเสนอข้อมูลในรูปกราฟและตารางที่หลากหลาย และสามารถรับข้อมูลที่สร้างจากโปรแกรมประเภทอื่นได้ด้วย เช่น Microsoft Excel , LOTUS ฯลฯ

หลักการใช้งาน SPSS for Windows

กกกกกในการใช้งาน SPSS ผู้ใช้จะต้องทราบก่อนว่าจะทาการวิเคราะห์อะไร นั่นคือตัวแปรที่ จะท าการวิเคราะห์มีตัวแปรอะไรบ้าง ค่าที่เป็นไปได้แต่ละตัวแปรคืออะไร ข้อมูลของแต่ละตัวแปรเก็บไว้ที่ใด และระเบียบวิธีสถิติที่จะใช้เป็นอะไร เมื่อทราบสิ่งเหล่านี้แล้วขั้นตอนการใช้งาน SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลก็สามารถทำได้ง่าย

กกกกกขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS โดยทั่วไปจะเป็นดังนี้

กกกกก1. ขั้นการอ่านข้อมูลเข้าระบบ

กกกกกเป็นการนิยามตัวแปรว่าจะมีตัวแปรอะไรบ้างที่ต้องการวิเคราะห์ รูปแบบของข้อมูลสำหรับตัวแปรนั้นเป็นแบบใด ข้อมูลจะอ่านเข้า SPSS โดยตรงหรืออ่านจากไฟล์ข้อมูลที่เก็บไว้

กกกกก2. ขั้นการคำนวณทางสถิติ

กกกกกเป็นการนำข้อมูลที่อ่านเก็บไว้ในระบบแล้วมาวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีทางสถิติโดย 13ใช้คำสั่งใน SPSS เช่น Descriptives Statistics สำหรับคำนวณค่าสถิติพรรณนา

กกกกก 3. ขั้นการอ่านผลลัพธ์

กกกกกSPSS จะแสดงผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ข้อมูลในหน้าต่างแสดงผลลัพธ์ ซึ่งผู้ใช้สามารถสั่งพิมพ์ ออกมาหรือน าไปใช้ในการน าเสนอร่วมกับรายงานอื่น ๆ หรือบันทึกเก็บไว้ในไฟล์เพื่อใช้ในภายหลังก็ได้

การเริ่มเข้าสู่โปรแกรม SPSS for Windows

  • การเรียกโปรแกรม

  • Run the tutorial หมายถึง การเปิดบทเรียนช่วยสอนเรื่อง SPSS for Windows
  • Type in data หมายถึง การเริ่มต้นกำหนดตัวแปรและให้ค่าตัวแก่แปร
  • Run an existing หมายถึง การทำงาน SPSS ร่วมกับระบบฐานข้อมูล
  • Create new query using Database Wizard หมายถึง การสร้างส่วนทำงานร่วมกับระบบฐานข้อมูล
  • Open an existing data source หมายถึง การนำข้อมูลโปรแกรม SPSS มาทำการแก้ไข เพิ่มให้ค่าตัวแปร และ วิเคราะห์ผล
  • Open another type of file หมายถึง การนำข้อมูลโปรแกรมอื่นๆ มาทำงานร่วมกับโปรแกรม SPSS

  • ส่วนประกอบของกรอบ SPSS for windown

เมื่อเลือก Type in data แล้วคลิก OK จะปรากฏหน้าต่าง SPSS Data Editor สำหรับป้อนข้อมูล

คลิกที่ Open an existing data source เพื่อเลือกไฟล์ที่เคยป้อนข้อมูลไว้แล้ว

คลิกที่ Open another type of file เพื่อเลือกไฟล์ที่เคยป้อนข้อมูลไว้แล้วแต่ไม่ใช่ไฟล์ที่เป็นแผ่นงาน

  • การเปิดแฟ้มข้อมูลสำหรับทำงาน

  • เลือกเมนู View-> Fonts
  • เลือก Font และ Size ตามที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่มที่ OK

  • ขั้นตอนแรกคือการกำหนดตัวแปร ตัวแปรก็คือข้อคำถามต่างๆ ในแบบสอบถามนั่นเอง

โดยจะใช้มุมมอง Variable view เป็นการกำหนดตัวแปร โดยให้กำหนดชื่อ (Name) ค่า (Value)

มาตราวัด (Measure) ของตัวแปรในแต่ละข้อคำถามดังนี้

สิ่งที่จะต้องเตรียมคือ

  • การตั้งชื่อตัวแปร (Naming a variable)
  • ฉลากตัวแปร (Variable labels)
  • ค่าฉลาก (Value labels)
  • ค่าสูญหาย (Missing values)
  • ชนิดตัวแปร (Variable type)
  • รูปแบบสดมภ์ (Column format)
  • ระดับการวัด (Measurement level)

การตั้งชื่อ (Name) กำหนดดังนี้

    • ข้อ 1 เพศ = Sex
    • ข้อ 2 วุฒิการศึกษา = Degree
    • ข้อ 3 ภาควิชา = Department
    • ข้อ 4 ระดับความคิดเห็น
      • ข้อ 4.1 = Topic1
      • ข้อ 4.2 = Topic2
      • ข้อ 4.3 = Topic3
      • ข้อ 4.4 = Topic4
      • ข้อ 4.5 = Topic5
      • ข้อ 4.6 = Topic6
      • ข้อ 4.7 = Topic7

การกำหนดค่าตัวแปร

กำหนดค่าตัวแปร (Value) ดังต่อไปนี้

  • Sex มีได้ 2 ค่าคือ ชาย, หญิง
  • Degree มี 3 ค่าคือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
  • Department มี 14 ค่าคือ กายวิภาคศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น
  • Topic1, Topic 2, Topic 3, Topic 4, Topic 5, Topic 6, Topic 7 มีค่าตัวแปรที่เหมือนกัน 5 ค่าคือ
             พึงพอใจมากที่สุด
             พึงพอใจมาก
             พึงพอใจปานกลาง
             พึงพอใจน้อย
             ไม่พึงพอใจ

การกำหนดมาตราในการวัด

การกำหนดมาตราวัดเราจำเป็นต้องเข้าใจมาตราวัดมาก่อน จึงจะสามารถกำหนดมาตรา(Measure) ได้อย่างถูกต้อง โดยมาตราวัดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

  • Norminal เป็นมาตราวัดที่สามารถแบ่งค่าของกลุ่มตัวแปรที่แตกต่างกันได้เป็นส่วนๆ แต่ไม่สามารถทราบว่าค่าตัวแปรใดมากกว่ากันและมากกว่ากันเท่าไร เช่น เพศ ชาย หญิง, คำนำหน้าชื่อ นาย นางสาว เป็นต้น
  • Ordinal เป็นมาตราวัดที่สามารถแบ่งค่าของกลุ่มตัวแปรที่แตกต่างกันได้เป็นส่วนๆ และสามารถทราบด้วยว่าค่าตัวแปรใดมากกว่ากัน แต่ไม่ทราบว่ามากกว่ากันเท่าไร เช่น เกรด A B C D, ชั้นเรียน ม.1 ม.2 ม.3 เป็นต้น

  • Scale เป็นมาตราวัดที่สามารถแบ่งค่าของกลุ่มตัวแปรที่แตกต่างกันได้เป็นส่วนๆ สามารถทราบด้วยว่าค่าตัวแปรใดมากกว่ากัน และทราบว่ามากกว่าค่าตัวแปรใดมากกว่ากันเท่าไร เช่น อายุ, น้ำหนัก, ระยะทาง, ความยาว เป็นต้น

สำหรับแบบสอบถามที่เป็นตัวอย่างในครั้งนี้สามารถกำหนดมาตราวัด (Measure) ได้ดังนี้

  • Sex = Norminal
  • Degree = Ordinal
  • Department = Norminal
  • Topic1,Topic2,Topic3,Topic4,Topic5,Topic6,Topic7 = Ordinal

การบันทึกข้อมูล

  • ไปยัง File->Save Data As
  • กำหนดสถานที่จัดเก็บข้อมูลในช่อง Save in และกำหนดชื่อ File ในช่อง File name File ที่ได้จะมีนามสกุลเป็น .sav

จบการนำเสนอ