ขั้นตอนในการหาแหล่งสมัครงานต้องปฏิบัติอย่างไร

เตรียมตัวก่อนการสมัครงาน
โดย กองบรรณาธิการ

ขั้นตอนในการหาแหล่งสมัครงานต้องปฏิบัติอย่างไร

สำรวจตนเองก่อนสมัครงาน

• ความสนใจ ผู้สมัครงานต้องรู้แน่ชัดว่า ชอบหรือไม่ชอบงานลักษณะใดบ้าง ถ้าคุณชอบก็หมายความว่าสนใจในงานนั้นด้วย

• ความสามารถ โดยประเมินจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาและการทดสอบ

• บุคลิกส่วนตัว ว่ามีบุคลิกเหมาะสมกับงานอาชีพใดบ้าง

• การศึกษา ว่าอยู่ในระดับ ดี ปานกลาง หรือพอใช้

• การฝึกงานในขณะเรียน การฝึกงานอย่างเอาใจใส่ สนใจซักถามเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับงานที่ฝึก ซึ่งจะมีผลต่อความสำเร็จในการหางานทำ

• ทักษะในการสื่อข้อความ

• ความรู้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะความรู้ในการใช้ PC คอมพิวเตอร์ การใช้ Software พื้นฐานต่างๆ เช่น Word Processing Lotus และ DBase เป็นต้น

• วิชาเอกที่เรียน การเรียนวิชาเอกอย่างมีเป้าหมาย จะช่วยให้ตัวของคุณพบกับความสำเร็จในการมองหางานทำได้เป็นอย่างดี

• กิจกรรมนอกหลักสูตร แสดงให้เห็นถึงความสำพันธ์ และความสามารถในการเผชิญหน้ากับผู้ที่เราร่วมงานด้วย ประสบการณ์ในการทำงานนอกเวลา จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะรับผิดชอบในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ทำงาน

รู้แหล่งข้อมูลการสมัครงาน

• การติดต่อเป็นส่วนตัว เช่น ญาติ เพื่อน หรือคนรู้จักมักคุ้น

• สำนักจัดหางานเอกชน ควรตรวจสอบก่อนว่า สำนักงานนั้นได้จดทะเบียนกับกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคมแล้วหรือไม่ เพื่อป้องกันการหลอกลวง

• สถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งมีบริษัทหรือหน่วยงาน ไปปิดรับประกาศสมัครงานไว้เสมอ

• กรมการจัดหางาน โดยติดต่อโดยตรงที่สำนักจัดหางานกรุงเทพ กรมแรงงานจัดหางาน 9 พื้นที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานอำเภอทั่วไป

• ประกาศจากสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุ โทรทัศน์ งานนัดพบแรงงาน เป็นงานที่จัดให้คนหางาน และนายจ้างได้มีโอกาสพบกัน และคัดเลือกกันโดยตรง

รู้ข้อมูลการสมัครงาน

• ผู้สมัครงานควรต้องรู้จักทักษะที่จะไปสมัครงาน ทั้งนี้จะต้องรู้ว่าบริษัทนั้นดำเนินธุรกิจประเภทใด เช่น อุตสาหกรรมบริการ หรือค้าขายผล ผลิตของบริษัทนั้นคืออะไร เช่น เครื่องไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ การเงิน การธนาคาร และที่ตั้งของบริษัท การเดินทางอย่างไร บริษัทมีสวัสดิการ รถรับ-ส่งหรือไม่ และรู้ตำแหน่งงานคือ จะต้องรู้ลักษณะงาน ควรจะทราบว่าตำแหน่งที่ประกาศรับสมัครมีเนื้องานอะไรบ้าง เนื้องานย่อยเหล่านั้นจะต้องปฏิบัติอย่างไร ตำแหน่งงานที่รับสมัครซึ่งต้องปฏิบัติงานสัมพันธ์กับตำแหน่งใดบ้าง และค่าตอบแทน เช่น เงินเดือน ค่าคอมมิชชั่น โบนัส เป็นต้น

มีข้อคิดสำหรับการเลือกอาชีพ

• ผู้ที่จะตัดสินใจเลือกอาชีพควรรู้จักตนเองให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะในด้านอุปนิสัย ความสามารถ ความสนใจ บุคลิกภาพ ทัศนคติที่เกี่ยวกับอาชีพนั้น ๆ

• ควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ลักษณะของงานอาชีพ สถานที่จะศึกษาอาชีพนั้นๆ ความก้าวหน้า และความมั่นคงของงาน ตลอดจนความต้องการของตลาดแรงงาน

• พิจารณาว่าอาชีพที่เลือกนั้นเหมาะสมกับความรู้ และความสามารถที่มีอยู่ หรือไม่

• กลุ่มประชากรที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งกำลังจะจบการศึกษา ควรได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน มีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพ ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาบุคลากรควรให้ความสำคัญ และหาแนวทางในการพัฒนาประชากรกลุ่มนี้ให้มีประสิทธิภาพที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน

• สำหรับผู้ที่อยู่ในตลาดแรงงานก็ควรทำงานไปก่อน ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรจะเปลี่ยนงานในขณะนี้ หรือผู้ที่สถานประกอบการกำลังจะปิดกิจการ ก็ต้องเตรียมตัวรับกับสภาพเศรษฐกิจ ต้องไม่เลือกงาน และสามารถเลือกประกอบอาชีพอิสระได้ โดยนำเงินค่าชดเชยที่ได้รับจากสถานประกอบการมาร่วมกันลงทุน หากผู้ใดไม่มีเงินทุนในการลงทุนในกิจการขนาดเล็กๆ ก็สามารถติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขอความช่วยเหลือได้

• นอกจากผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน และผู้ที่อยู่ในตลาดแรงงานแล้ว สถานประกอบการหรือนายจ้างก็ควรต้องเตรียมความพร้อมในการที่จะรองรับสถานการณ์ในขณะนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การหางานทำในภาวะเศรษฐกิจประชากรในวัยทำงาน จะต้องมีการเตรียมความพร้อม และสามารถ

• ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันให้ได้ หากทุกคนมีความพร้อมและสามารถปรับตัวได้จะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เอกสารประกอบการสมัครงาน

• จดหมายสมัครงาน คือ หนังสือหรือจดหมายที่ผู้ที่ต้องการจะทำงานเขียน ยื่นต่อสถานที่ประกอบการเพื่อแสดงความจำนงว่า ตนเองต้องการสมัครงาน

• การเขียนจดหมายสมัครงาน จะไม่เขียนเป็นข้อความยืดยาว และไม่แสดงประวัติส่วนตัวมากนัก ดังนั้น จดหมายสมัครงาน จะเป็นเพียงจดหมายที่แสดงว่าผู้ส่งมีความประสงค์อะไรเท่านั้น

• ใบประวัติส่วนตัว (RESUME) คือ หนังสือที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติของผู้สมัครงานโดยเน้นแต่ส่วนที่เกี่ยวข้องหรือข้อมูลที่เสนอให้รับสมัคร หรือสถานที่ประกอบการจะใช้พิจารณาเรียกตัวผู้สมัครงานนั้นไปสัมภาษณ์ หรือเข้างาน แต่จะไม่มีข้อมูลเฉพาะเจาะจงว่าผู้สมัครงานนั้นมีความสนใจในตำแหน่งงานใด ของสถานประกอบการนั้น

• ใบสมัครงาน (APPLICATIONFORM) คือ หนังสือแสดงความจำนงของผู้เขียนใบสมัครที่ประสงค์จะเข้าทำงานกับสถานประกอบการนั้น ซึ่งส่วนใหญ่แบบใบสมัครงาน ของสถานประกอบการแต่ละแห่ง เป็นแบบเฉพาะของสถานประกอบการนั้น ผู้สมัครจึงต้องไปเขียนใบสมัครที่สถานที่ประกอบการ ที่ประสงค์จะสมัครงานด้วยตนเอง รายละเอียดใบสมัครงานควรประกอบด้วยข้อมูลแสดงความจำนงของผู้สมัครงานว่าประสงค์จะสมัครงานในตำแหน่งใด และข้อมูลในส่วนที่เป็นประวัติส่วนตัวของผู้สมัครประกอบกันจึงจะสมบูรณ์

โครงสร้างจดหมายสมัครงาน

โครงสร้างหรือรูปแบบของการเขียนจดหมายสมัครงาน มีมากมายหลายรูปแบบ แต่ที่สำคัญคือ ควรจะต้องระมัดระวังในเรื่องของภาษา สำนวน หลักไวยากรณ์ ต้องมีความสละสลวยพอสมควร และในที่นี้จะแบ่งโครงสร้างของจดหมายออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. โครงสร้างจดหมายที่มีประวัติย่อแนบไปด้วย (COVERING LETTER) เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์มากๆ ควรจะเขียนเป็นจดหมายซึ่งจบใน 1 หรือ 2 หน้ากระดาษ แล้วมีประวัติย่อแนบไปด้วย เพราะถ้าหากต้องการรวมรายละเอียดทั้งหมดเข้าไว้ในจดหมาย ก็จะทำให้จดหมายฉบับนั้นยาว ซึ่งนายจ้างอาจไม่สนใจที่จะอ่านอย่างละเอียดก็ได้ หรืออาจจะใช้กับตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบสูง เพื่อความน่าเชื่อถือ

2. โครงสร้างของจดหมายที่ไม่มีประวัติ (APPLICATION LETTER) เหมาะสำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์มาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ หรือไม่เช่นนั้นนายจ้างเพียงแต่ระบุว่าให้ส่งจดหมายสมัครงานพร้อมรูปถ่ายเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็อาจเขียนจดหมายสมัครงานในรูปแบบนี้ ซึ่งก็รวมรายละเอียดอื่นๆ เข้าไว้ คล้ายกับจดหมายที่มีประวัติรวมอยู่ด้วย

ข้อดีและข้อควรระวังในการเขียนจดหมายสมัครงาน

• การเขียนจดหมายสมัครงานนั้น จะช่วยคุณประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และคุณยังมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นอย่างไม่จำกัด แต่กระนั้นก็มีข้อเสียและข้อควรระวังคือ

• ในกรณีที่คุณต้องการ ส่งจดหมายสมัครงานไปยังบริษัทหลายๆ บริษัท ก็ควรให้ความระวังอย่าให้ซองจดหมาย และเนื้อความในจดหมายสลับกัน และไม่ควรลืมที่จะทำการตรวจ ทวนตัวอักษร ไม่ควรสะกดผิด ที่สำคัญก็คือระบุตำแหน่งที่ต้องการสมัคร ให้ถูกต้องซึ่งต้องดูคุณสมบัติของตนเอง ว่าตรงกับที่บริษัทต้องการหรือไม่ ไม่แสดงความต้องการเงินเดือนที่สูงเกินไป และอย่าลืมเซ็นชื่อ

• การเขียนจดหมายสมัครงาน ไม่ควรเขียนบรรยายสรรพคุณตัวเองจนเกินความจริง ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านคิดว่าคุณโกหก ขี้โม้ หรือเก่งแต่คุยได้ ไม่ควรเขียนจดหมายเยิ่นเย้อวกวน

ขั้นตอนการเขียนจดหมายสมัครงานที่ถูกต้อง

• เขียนจดหมายถึงบริษัทที่คุณจะสมัครงาน ให้เขียนทีละฉบับ และก่อนจะเขียนจดหมายให้ทำเครื่องหมายหรือจดจำตำแหน่งงานที่คุณจะสมัครให้ดี เพื่อป้องกันการสับสน

• ทบทวนคุณสมบัติของตัวเองอีกครั้งว่าตนเองมีคุณสมบัติตรงหรือใกล้เคียงกับตำแหน่งงานที่จะสมัครหรือไม่

• ลงมือเขียนจดหมาย โดยอ่านประกาศโฆษณาให้ดีว่า บริษัทนั้นแจ้งว่าให้เขียนด้วยลายมือ หรือให้พิมพ์ ถ้าไม่ระบุคุณก็ทำตามที่คุณถนัด และอย่าลืมอ่านทบทวนและแก้ไขข้อความ คำผิดให้ถูกต้อง และเซ็นชื่อ นามสกุล

• เตรียมเอกสารประกอบการสมัครงานให้พร้อม ซึ่งประกอบด้วย ประวัติย่อ สำเนาแสดงวุฒิการศึกษา สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน พร้อมด้วยเอกสารอื่นๆ และอย่าลืมรูปถ่ายหน้าตรง 1 รูป ติดไว้ที่เอกสารประวัติย่อ

• เรียงเอกสารตามลำดับ คือ

- ตัวจดหมาย

- ประวัติย่อ

- สำเนาแสดงวุฒิการศึกษา

- สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน

- ใบผ่านงาน (ถ้ามี)

- เอกสารอื่น (ถ้ามี)

• ควรเว้นระยะประมาณ 2 สัปดาห์ ลองโทรศัพท์ติดตามจดหมายว่า ทางบริษัทได้รับหรือยัง และจะนัดสัมภาษณ์ได้เมื่อใด

ข้อควรระวังในการเขียนจดหมายสมัครงาน

• การเขียนจดหมาย ถ้าสถานประกอบการมิได้กำหนดให้เขียนด้วยลายมือตนเอง คุณควรจะพิมพ์ซึ่งดูดีกว่า แต่ถ้าหากว่าลายมือคุณดี ก็จะเป็นผลดีแก่คุณ

• อย่าลืมระบุที่อยู่หรือสถานที่ติดต่อคุณได้สะดวกในจดหมาย หรือประวัติย่อ และถ้ามีโทรศัพท์ที่ติดต่อกับคุณได้ก็ยิ่งดี

• อย่าลืมลงลายมือชื่อในท้ายจดหมายสมัครงาน

• อย่าลืมติดแสตมป์ เพราะจดหมายอาจจะไม่ถึงปลายทาง หรือ ผู้รับอาจโดนปรับถึง 2 เท่า และทำให้คิดว่าคุณเป็นคนเลินเล่อ อาจทำความเสียหายให้กับงานได้หากรับเข้าทำงานา

• ไม่ควรถ่ายสำเนาจดหมายสมัครงานแบบเขียนฉบับเดียวแล้วส่งไปหลายๆ บริษัท จะถูกมองว่าไม่มีความตั้งใจจะสมัครงานกับเขาจริง

• อย่าผลัดวัน ประกันพรุ่ง ถ้าตั้งใจจะสมัครงานกับบริษัทใดก็ให้รีบเขียนจดหมาย และรีบส่งจดหมายนั้นภายในวันเดียวกัน จงจำไว้ว่า วันพรุ่งนี้ ไม่มีวันมาถึง

JobDST Job จ็อบดีเอสที สมัครงาน งาน หางาน หางานดี งานราชการ งานบัญชี งานนอกเวลางานอิสระ งานบริษัท มหาชน เอกชน รัฐวิสาหกิจ บรรษัท ค้นหาคนค้นหางาน ค้นหาพนักงานรับสมัครงาน รับสมัครพนักงาน ค้นหาคนดี ค้นหาคนเก่ง แหล่งรวบรวมข้อมูล บริษัทชั้นนำคนหางานทั่วประเทศ

การรับสมัครงานมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

1. จัดทำ Job Description. ... .
2. กำหนดทีมผู้สัมภาษณ์งาน ... .
3. เตรียมการสัมภาษณ์งาน ... .
4. ดำเนินการสัมภาษณ์งานอย่างมืออาชีพ ... .
5. อธิบายรายละเอียดงานให้ชัดเจน ... .
6. สื่อสารอย่างมืออาชีพ ... .
7. คัดเลือกผู้สมัครงาน ... .
8. รับเข้าทำงาน.

การสมัครงานทางอินเทอร์เน็ต มี ขั้น ตอน การ ปฏิบัติ อย่างไร บาง

วิธีสมัครงาน ผ่าน www.ไทยมีงานทำ.com 1.เข้าไปที่ www.ไทยมีงานทำ.com. 2.เข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิก จากนั้นกดลงทะเบียน 3.กรอกข้อมูลประวัติส่วนตัว ข้อมูลการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ความความสามารถพิเศษ จากนั้นกดบันทึกข้อมูล 4.เมื่อระบบบันทึกข้อมูลเรียบร้อย เราจะสามารถเลือกสมัครงานที่หน่วยงานและค้นหาหลักสูตรอบรมได้ทันที

สิ่งที่ควรรู้ก่อนไปสมัครงานมีอะไรบ้าง

สิ่งที่ควรรู้ก่อนสมัครงาน : 5 วิธีหางานให้เหมาะสมกับตัวเอง.
รู้จักตนเอง และค้นหาอาชีพในฝัน ... .
ทำความเข้าใจกับงาน และค้นหางานที่แตกต่างกันไป ... .
เลือกงานที่ตรงกับความถนัดของเรา ... .
พิจารณาความมั่นคงในอนาคตของงานที่เลือก ... .
ทำแบบทดสอบ เพื่อประเมินทักษะของเรา.

การเตรียมตัวหางานควรปฏิบัติตามขั้นตอนใดเป็นอันดับแรก

1. ค้นพบตัวเองให้ชัดเจน.
ขั้นตอนแห่งค้นพบตัวเอง 1. การค้นหาทักษะ (Skills) ... .
2. ติดตามข่าวสาร.
3. มองหาแหล่งงาน.
สรุปขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในการหางานอย่างมีประสิทธิภาพ.
1. การวิเคราะห์เกี่ยวกับตนเอง ... .
2. การวิเคราะห์หน่วยงานที่คุณสนใจ.