เอกลักษณ์ของไทยที่สําคัญที่สุดคืออะไร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เอกลักษณ์ของไทยที่สําคัญที่สุดคืออะไร

การไหว้เป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ความเป็นไทย

ความเป็นไทย เป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการแสดงเอกลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเป็นคนไทย หรืออีกความหมายหนึ่งคือ การแสดงให้เห็นสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทย

ประวัติ[แก้]

แนวคิดเรื่องความเป็นไทยถูกกำหนดอย่างเป็นแบบแผนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนมุมมองความเป็นไทย กำหนดแนวทางความเป็นไทยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง[1] ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มมีการใช้แนวคิดชาตินิยมเพื่อการสร้างอุดมการณ์ร่วมให้เกิดในสังคมไทย สาระของแนวคิดคือ ปลูกฝังการรักชาติ ความจงรักภักดีต่อศาสนาและพระมหากษัตริย์ เป็นแนวคิดแบบชาตินิยมแบบอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโบราณ มีเจตนาแสดงความเป็นไทยให้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมอันดีของไทยที่มีแต่อดีตและแสดงให้เห็นว่าชาติไทยไม่ใช่ชาติใหม่หรือชาติที่ป่าเถื่อน[2] ดังปรากฏในรูปแบบศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมตามแบบแผนประเพณีนิยม และทรงสร้างสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ธงไตรรงค์

ในยุคของรัฐบาลคณะราษฎรมีการสืบทอดสาระสำคัญของสำนักความคิดไทย มุ่งหล่อหลอมความเป็นไทย ความรักชาติไทย และความพยายามพึ่งตนเอง ไม่ยอมให้อยู่ในความครอบงำของต่างชาติ[3] แต่ทางด้านศิลปกรรมได้ประยุกต์ นิยมลดทอนรายละเอียดและความซับซ้อนขององค์ประกอบตามอย่างไทย

ในช่วงหลัง พ.ศ. 2475 ถึงสงครามโลกครั้งที่สอง แนวคิดเรื่องความเป็นไทยเปลี่ยนศูนย์กลางจากสถาบันกษัตริย์ หันมาให้ความสำคัญกับพลเมือง โดยการสร้างวาทะกรรมความเป็นคนไทยที่เน้นอุปนิสัย คือ เป็นคนที่มีศิลปะไทย รักอิสรภาพ มีนิสัยใจคอที่รักความก้าวหน้า มุมานะอุตสาหะขยันหมั่นเพียร มีความสามัคคี แต่ไม่ขัดแย้งกับฐานคติเรื่องการจงรักภักดีต่อกษัตริย์และนับถือศาสนาพุทธ เมื่อเข้าสู่สงครามเย็น ความหมายของความเป็นไทย กลับมารวมศูนย์ทางความคิดที่การมีความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ เน้นย้ำว่าคนไทยต้องรู้ที่ต่ำที่สูง ไม่เบียดเบียนกัน รักการปกครองแบบไทย พูดภาษาไทย รู้วรรณคดีไทยและศิลปะไทย มีขนบธรรมเนียมและประเพณีแบบไทย[4]

พ.ศ. 2558 รัฐบาลนำแนวคิด "2015 Discover Thainess" (ปีท่องเที่ยววิถีไทย) มาเป็นจุดเด่นการตลาดของการท่องเที่ยวประเทศไทย[5]

ลักษณะ[แก้]

เอกลักษณ์ของไทยที่สําคัญที่สุดคืออะไร

ผู้หญิงไทยนุ่งผ้าถุงและห่มสไบ

ความเป็นไทย แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ ความเป็นไทยที่เป็นรูปธรรมหรือความเป็นไทยเชิงประจักษ์และความเป็นไทยที่มีลักษณะเป็นนามธรรมหรือความเป็นไทยทางใจ ความเป็นไทยทางวัตถุ ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เช่น ผ้าถุง ผ้าซิ่น โจงกระเบน สถาปัตยกรรม เช่น เรือนไทย เครื่องมือ เครื่องใช้ เช่น ไถ คราด กระบุง ของเล่น เช่น ตระกร้อ สะบ้า งานศิลปะต่าง ๆ เช่น เครื่องดนตรีไทย เพลงไทย เป็นต้น รวมถึงลักษณะทางพฤติกรรมทางกายและการพูด เช่น ความสุภาพอ่อนน้อม อ่อนน้อมถ่อมตน รักความสงบ ประนีประนอม เป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส ส่วนความเป็นไทยทางใจ เช่น เรื่องค่านิยมที่ทำให้คนไทยไม่เคร่งครัด ความเชื่อต่าง ๆ[1]

ความเป็นไทยที่เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ เช่น อาหารไทย การนวดไทย[6] ผ้าไทย และมวยไทย เป็นต้น[7]

เอกลักษณ์ความเป็นไทยยังแบ่งออกได้เป็นแต่ละภาค ความเป็นไทยของภาคอีสาน เช่น การทอผ้า หมอลำ อาหารอีสาน ความเป็นไทยของภาคเหนือ เช่น เครื่องเงิน เครื่องเขิน ร่มบ่อสร้าง เสื้อม่อฮ่อม อาหารภาคเหนือ ความเป็นไทยของภาคใต้ เช่น ผ้าบาติก สวนยาง อาหารท้องถิ่นภาคใต้[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 1.2 ธันยชนก มูลนิลตา. "กระบวนการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยและการรับรู้ภาพลักษณ์ความเป็นไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีนผ่านสื่อสังคมออนไลน์" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์.
  2. กฤษกนก ลิมวัฒนานนท์ชัย. "พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อการก่อรูปของงานสถาปัตยกรรมแบบ "รักชาติ" ในรัชสมัย (พ.ศ. 2453-2468)". Veridian E-Journal.
  3. "รัฐบาลคณะราษฎร พ.ศ. 2476-90 ทำอะไรไว้บ้าง?". ศิลปวัฒนธรรม.
  4. สายชล สัตยานุรักษ์, การสร้าง “ความเป็นไทย” กระแสหลัก และ “ความจริง” ที่ “ความเป็นไทย” สร้าง, ใน ประวัติศาสตร์วิธีคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทย, (เชียงใหม่, 2550), หน้า 42–43.
  5. สรัญญา จันทร์สว่าง. "'วิถีท่องเที่ยวไทย' อย่าให้เสียของ". กรุงเทพธุรกิจ.
  6. "ความเป็นไทยมีคุณค่า และสร้างมูลค่าได้ในต่างประเทศ". โพสต์ทูเดย์.
  7. "'การทูตวัฒนธรรม' บอกความเป็นไทยมุมใหม่". กรุงเทพธุรกิจ.

เอกลักษณ์ของชาติไทยคืออะไร

เอกลักษณ์ไทยเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงลักษณะเฉพาะโดย รวมของวัฒนธรรมไทย ที่ทำาให้ประเทศไทย มีความแตกต่างไป จากสังคมอื่นๆ เอกลักษณ์ไทยก็เหมือนกับเอกลักษณ์ของชาติ อื่นๆ ที่มีรูปแบบเฉพาะที่เป็นตัวของตัวเอง มีระบบระเบียบและ แบบแผน อาจปรากฏออกมาในรูปแบบของประเพณีที่ได้ยึดถือ ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา (นิวัฒน์ สุขประเสริฐ, 2556) ถึง ...

เอกลักษณ์ไทยที่สำคัญมีอะไรบ้าง

ความส าคัญของเอกลักษณ์ไทย ๑. แสดงออกถึงความเป็นไทยเด่นชัด เช่น สยามเมืองยิ้ม มวย ไทย ลิเก ต้มย ากุ้ง ช้างไทย บ้านทรงไทย เป็นต้น ๒. เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย เช่น สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ๓. ท าให้มีความภาคภูมิใจ ในความเป็นเอกราชและได้รับการ ยอมรับจากชาวต่างชาติ

เอกลักษณ์ไทยที่ชาวต่างประเทศยอมรับมากที่สุดคืออะไร

เช่น จรรยามารยาท จิตใจของคนไทย เป็นต้น ลักษณะเฉพาะของคนไทยที่ทั่วโลกต่างก็ ยอมรับก็คือ ความสุภาพ อ่อนน้อมถ่อม ตน จิตใจดีที่แสดงออกมาในหลาย รูปแบบเช่น การยิ้ม การไหว้เป็นต้น เชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อและ ศาสนา

เอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติคืออะไร

7. นิยาม “เอกลักษณ์ของชาติ” ลักษณะที่แสดงถึงความเด่นและดีงามเฉพาะที่ร่วมกันของชาติไทย เกี่ยวกับ ประชากร ดินแดน ศิลปวัฒนธรรม ภาษาไทย ความเป็นเอกราช และ อธิปไตย เกียรติภูมิของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันเป็นเครื่องบ่งชี้ถึง ความเป็นชาติ ช่วยให้ประเทศไทยสามารถ ...