เงินพระคลังข้างที่ คือเงินอะไร

เงินพระคลังข้างที่ คือเงินอะไร
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
พระมหาเจษฎาราชเจ้า
เจ้าสัวทับ

เงินถุงแดง เงินพระคลังข้างที่ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงเก็บสะสมไว้ เป็นเงินที่ได้จากการค้าขายทางเรือสำเภากับประเทศจีน ในสมัยที่ทรงยังดำรงพระยศเป็น พระองค์เจ้าชายทับ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 กับเจ้าจอมมารดาเรียม

ในหลวง รัชกาลที่ 3 ทรงทรงปรีชาสามารถ ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การค้าพาณิชย์ และยังทรงสถิตในธรรม มีพระราชศรัทธาต่อบวรพุทธศาสนา เป็นอย่างมาก ทั้งสร้างและบูรณะวัดวาอาราม บำรุงสงฆ์บำเพ็ญศีล และเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับทางจีนเป็นอย่างดี สมัยนั้นเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าทรงโปรดสร้างวัดทำบุญ

พระราชทรัพย์ที่ทรงใช้ก็คือ เงินถุงแดง ที่ทรงค้าขายได้กำไรมา ส่วนนอกเหนือจากการใช้บำเพ็ญพระราชกุศลแล้วยังทรงเก็บเงินใส่ถุงแดง และเอาไว้ข้างพระที่ (เตียงนอน) ตรัสกับข้าราชบริพาร ข้าราชการ และ บรมวงศ์ศานุวงศ์ว่า เงินนี้ให้เก็บไว้ ไถ่บ้านไถ่เมือง ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง เพราะในเวลาต่อมา พระราชทีพย์ส่วนพระองค์ เงินถุงแดง 80,000 กว่าชั่งนี้ก็ได้ใช้ประโยชน์จริงตามพระราชกระแสรับสั่ง

ใน วิกฤตกาลกรณีพิพาท ไทยฝรั่งเศส รศ.112 ที่ประเทศสยาม ต้องเสียเงินค่าปฏิกรรมวงครามให้แต่ฝรั่งเศส เป็นเงินถึง 3 ล้านฟรัง ซึ่งก็ได้ตั้งต้นที่ เงินถุงแดง ก้อนใหญ่นี้ รวมกับเงินที่พระบรมวงศ์ศานุวงศ์ รวบรวบกันมาเอาไปไถ่บ้านเมืองในครั้งนั้น

เรื่องราวรายละเอียดฟังจากในคลิปได้เลยค่ะ เล่าไว้ครบถ้วนพอสมควร ให้สามารถเห็นสภาพการณ์บ้านเมืองในยุคเปลี่ยนผ่าน สมัยรัชกาลที่ 5 ยุคล่าอาณานิคม และพระปรีชาสามารถของ พระปิยะมหาราช ที่ทรงนำพาประเทศรอดพ้นการเป็นเมืองขึ้น และมีอิสระเสรีภาพ มาจนทุกวันนี้ โดยที่ได้เงินถุงแดง เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย

กรณีพิพาท ไทย ฝรั่งเศส รศ.112 การค้าสำเภากับจีน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เจ้าชายทับ รัชกาลที่ 3 เงินกองทุนสำรองของแผ่นดิน เงินถุงแดง เงินพระคลังข้างที่ เงินไถ่บ้านไถ่เมือง

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงทรงเหน็ดเหนื่อยกับศึกภายนอก คือ พวกฝรั่งที่รุกเข้ามาล่าอาณานิคม ศึกภายใน...กับระบบราชการ ก็มีปัญหาใหญ่ให้ทรงสะสาง

ความคับข้องพระทัย ในเรื่องนี้หนักหน่วงเพียงไหน อ่านได้จากพระราชนิพนธ์ วันที่ 27-28 ตุลาคม ร.ศ.122 (พ.ศ.2447) เรื่อง...เงินแผ่นดิน

เงินพระคลังข้างที่ที่มีมาแต่รัชกาลที่ 1 คือเงินกำไรค้าสำเภา เหตุเพราะเงินแผ่นดินไม่พอจ่ายราชการ จึงเอาเงินนี้...ไปจ่ายราชการ ต่อเนื่องไปถึงรัชกาลที่ 2

ถึงรัชกาลที่ 3 บ้านเมืองสมบูรณ์ขึ้น จึงตั้งภาษีขึ้นใหม่ ได้เงินพอใช้ราชการ ทรงเริ่มแต่งกำปั่นไปค้า เงินส่วนค้าขายจึงจัดไว้เป็นพระคลังข้างที่

ครั้นถึงรัชกาลที่ 4 ทรงเริ่มแต่งกำปั่นไปค้า ก็ไม่สู้ดีเหมือนรัชกาลที่ 3 ผลประโยชน์พระคลังข้างที่ ยังมีอยู่อีกส่วนหนึ่งคือเงินภาษีอากร เวลานั้นแบ่งขึ้นเจ้านาย...

เงินพระคลังข้างที่จึงขึ้นได้น้อย รวมเงินแผ่นดินรัชกาลที่ 4 ปีเถาะนพศก 40,000 ชั่งเท่านั้น

ครั้นถึงแผ่นดินปัจจุบัน เงินพระคลังข้างที่ ในคลังพระมหาสมบัติ กรมวิษณุนารถฯ กรมมเหศวรฯ (2 พระเจ้าลูกยาเธอ รัชกาลที่ 4 ก่อนเสวยราชย์) แลหม่อมฉัน เป็นผู้ตรวจตราต่อกันมา

คลังสินค้าก็ไปอยู่ในมือกรมหลวงวงษา (กรมหลวงวงศาธิราชสนิท) ซึ่งถือตัวว่าเป็นเสนาบดีองค์หนึ่ง

เงินพระคลังข้างที่ี่ที่ได้ในส่วนอื่นๆ นอกจากเงินค่านา จึงมีปีละ 20,000 ชั่ง

เงินค่านา 2,000 ชั่งนั้นจึงเป็นสำคัญ เพราะได้ตัวเงินมาจริงทันที เมื่อเจ้าพระยาพลเทพตัดเงิน 2,000 ชั่งนี้เสีย เงินพระคลังข้างที่ก็คงเหลือ 2,000 ชั่งตามเดิม

แต่วิบัติอันมีขึ้นแต่รัชกาลที่ 4 ชาวต่างประเทศเอาสุราเมืองจีนเข้ามาขาย ไม่ยอมเสียภาษี ทำให้เงินอากรสุรากรุงเทพฯ ในกระทรวงกลาโหมลดมากในคลังพระมหาสมบัติ

สุราหัวเมืองก็ลดลงบ้าง แต่ไม่สู้มากนัก

ภายหลังสมเด็จเจ้าพระยา (บรมมหาสุริยวงศ์ ช่วง บุนนาค) ยกทำเป็นรัฐบาล ก็ตัดเงินพระคลังข้างที่หมด เงินคลังนั้นก็หาได้ส่งไม่ ผลประโยชน์สุราเกิดขึ้นเท่าใด

ก็เป็นของเจ้าพระยาสุรวงศ์ (วัยวัฒน์ วร บุนนาค บุตรหมายเลข 6) หมด

ครั้นเมื่อนายนุชอาหารว่ากรมนา ก็ยกเงิน 2,000 ชั่ง ที่เคยเป็นพระคลังข้างที่ ไปให้สมเด็จเจ้าพระยาฯ ในเวลารุ่งปีต่อมา เงินภาษีอากรก็ลดเกือบทุกอย่าง ลดลงไปเป็นลำดับ

จนถึงปีมะแมตรีศก เงินแผ่นดินที่เคยได้ปีละ 50,000-60,000 ชั่งนั้น เหลือเพียง 40,000 ชั่ง แต่ไม่ได้ตัวเงินกี่มากน้อย

เงินเบี้ยหวัดปีละ 11,000 ชั่งก็วิ่งตาแตก ได้ตัวเงินจริงประมาณ 20,000 ชั่ง ไม่พอจ่ายราชการ ต้องเป็นหนี้ตั้งแต่งานพระบรมศพจนถึงปีมะแมนี้ เป็นเงิน 100,000 ชั่ง

เพราะเหตุนี้ หม่อมฉันจึงนิ่งอยู่ไม่ได้ จับจัดการคลังพระมหาสมบัติ ลงมือจัดหวยและบ่อนเบี้ย ได้ 8,000 ชั่งในปีแรก

จากนั้นก็ไปจับกรมนา เหตุที่กรมนานั้นรู้ง่าย เข้าออกจากประเทศเท่าใด มีจำนวนชัดเจนอยู่ที่โรงภาษี ที่กินกันเสียในบ้านเมืองไม่คิด ปีแรกได้ 9,000 ชั่ง ปีที่สองได้ 12,000 ชั่ง

ในเวลานี้เงินขึ้นเจ้านายทุกๆคนถูกตัด อากรสุราถูกเฉลี่ย ร้องขาดเงินแผ่นดินตก ลูกต้องไปทวงเอง พ่อ ( ) ตาย เจ๊กมันไม่ยำเกรงมันก็ให้บ้าง ไม่ให้บ้าง...เป็นที่น่าสังเวชถึงเพียงนี้.....

รวมเงินแผ่นดิน เมื่อแรกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน กำหนดว่าจะได้ 4,000,000 บาท ใช้ในราชการทั้งแผ่นดิน แต่หาได้จริงไม่ มาจนปีนี้ เงินแผ่นดินขึ้นเป็น 40,000,000 บาท

อ่านพระราชนิพนธ์ฉบับนี้แล้ว จึงรู้ว่าต้นรัชกาล พระเจ้าแผ่นดินทรงพระเยาว์ กระบวนการเก็บภาษีอากร อยู่ในมือขุนนางใหญ่ กว่าราชสำนักจะรวบมาไว้ได้ ก็ต้องใช้ทั้งปัญญาและเวลา โดยไม่เสียเลือดเสียเนื้อ

เงินที่ได้ ก็ทรงใช้ในการพัฒนาใช้ในการเลิกทาส ฯลฯ ใช้ในการปฏิรูประบบราชการ...นำประเทศไทยไปสู่ความเป็นอิสรเสรี ศิวิไลซ์ รอดปากเหยี่ยวปากกา (ฝรั่ง) มาได้ ด้วยประการฉะนี้.

เงินพระคลังข้างมีที่มาจากเงินใด

ยุคกรมพระคลังข้างที่: รายได้จากเงินแผ่นดินและการลงทุน สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครองโดยรวมศูนย์อำนาจไว้ที่พระมหากษัตริย์ และตั้งกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้นเพื่อควบคุมการเก็บภาษีอากรและดูแลเงินแผ่นดินที่เก็บได้จากประชาชน ทำให้ฐานะทางการคลังดีขึ้นอย่างมาก

ข้อใดหมายถึงเงินพระคลังข้างที่

พูดถึงเงินที่ใช้สอยในการเล่าเรียน รวมถึงการใช้สอยต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันนั้นเป็น เงินพระคลังข้างที่ คือเงินที่เป็นสิทธิ์ขาดแก่ตัวรัชกาลที่ ๕ เอง ไม่ใช่เงินของแผ่นดินใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งก็คือเงินตอบแทนจากการทำงานให้กับประเทศในฐานะพระมหากษัตริย์นั่นเอง โดยเป็นเงินที่สามารถใช้ในกิจการส่วนตัวใด ๆ ก็ได้

เงินพระคลังหมายถึงอะไร

เงินแผ่นดิน เงินพระคลังข้างที่ที่มีมาแต่รัชกาลที่ 1 คือเงินกำไรค้าสำเภา เหตุเพราะเงินแผ่นดินไม่พอจ่ายราชการ จึงเอาเงินนี้...ไปจ่ายราชการ ต่อเนื่องไปถึงรัชกาลที่ 2. ถึงรัชกาลที่ 3 บ้านเมืองสมบูรณ์ขึ้น จึงตั้งภาษีขึ้นใหม่ ได้เงินพอใช้ราชการ ทรงเริ่มแต่งกำปั่นไปค้า เงินส่วนค้าขายจึงจัดไว้เป็นพระคลังข้างที่

เงินถุงแดงหมายถึงอะไร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเก็บออมเงินส่วนพระองค์ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเก็บใส่ถุงผ้าสีแดงจึงเป็นที่มาของเงินถุงแดง เพื่อสำรองไว้สำหรับใช้เวลาบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ เงินส่วนนี้เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่รัชกาลที่ 3 ทรงเก็บไว้ตั้งแต่สมัยยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎา ...