ภารกิจของสหกรณ์ มีอะไรบ้าง

แผนยุทธศาสตร์

 สหกรณ์ออมทรัพย์การยางแห่งประเทศไทย จำกัด

 ฉบับที่ 2 ปี 2559 – 2563

คณะกรรมการดำเนินการ ได้พิจารณาจัดทำแผนกลยุทธ์สหกรณ์ออมทรัพย์การยางแห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งได้ผ่านการระดมความคิดจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อยกระดับมาตรฐานของ สอ.กยท. ให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ (Cooperative Quality Award : CQA) โดยกำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยม พันธกิจ นโยบาย และแผนกลยุทธ์ ทุกแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มีการกำหนดตัวชี้วัด และการติดตามประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางกำกับดูแลที่ชัดเจน  ทำให้การบริหารจัดการเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นคงให้แก่สหกรณ์ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สมาชิก

              วิสัยทัศน์ (Vision) ให้ครอบคลุมสี่ด้าน บริหาร จัดการ ตรวจสอบและพัฒนา

“บริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล  กิจการมั่นคง พัฒนาองค์ความรู้  สู่ความยั่งยืน”

ค่านิยม (Culture)

“บริหารจริงจัง  บริการด้วยใจ  โปร่งใสทุกขั้นตอน”      

 พันธกิจ (Mission)

1. พัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล โดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ

2. สร้างเสริมคุณภาพชีวิตให้แก่สมาชิก ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรม และการจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก

3. พัฒนาสมาชิกให้มีความรู้ความเข้าใจตามหลักการสหกรณ์

4. สนับสนุนการเชื่อมโยงเครือข่ายขบวนการสหกรณ์ และกิจกรรมช่วยเหลือชุมชน

5. พัฒนาการบริหารงานสหกรณ์ให้เป็นสถาบันการเงินที่มีความมั่นคง มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และการลงทุนที่ก่อให้เกิดรายได้แก่สหกรณ์

6. กำหนดทิศทางการบริหาร การบริการและพัฒนาภายใต้พื้นฐานข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์

วิสัยทัศน์          :     “การสหกรณ์มั่นคง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็ง เศรษฐกิจและสังคมของชุมชนยั่งยืน”

GOAL             :     ระบบสหกรณ์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน  
 

KPI GOAL      :     

1. รายได้ของสถาบันเกษตรกรจากการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 3 ต่อปี)

2. จำนวนเงินออมของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 1 ต่อปี)

3. อัตราส่วนเงินออมต่อหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 1 ต่อปี) 

พันธกิจ           :

1. กำกับดูแลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้อยู่ในกรอบของกฎหมายและทันต่อสถานการณ์

2. เสริมสร้างการเรียนรู้และทักษะด้านการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์และประชาชนทั่วไป

3. ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. สนับสนุนด้านเงินทุน สารสนเทศ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้แก่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร

ยุทธศาสตร์

1. เสริมสร้างการสหกรณ์ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน

กลยุทธ์

1. สร้างกระบวนการของการสหกรณ์ ให้เกิดความเชื่อมโยง ตั้งแต่ต้นน้ำจรดปลายน้ำให้กับภาคการเกษตร สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร (End to End process)

2. สร้างกลไกการเข้าถึงข้อมูลการผลิตและการตลาดให้กับสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร

3. การเสริมสร้างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้สหกรณ์และสมาชิกมีสภาพความเป็นอยู่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดภาระหนี้สิน

ยุทธศาสตร์

2. พัฒนาและสร้างศักยภาพของสถาบันเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการตลาดตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain)

กลยุทธ์

1. พัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีและการจัดการสมัยใหม่

2. การส่งเสริมและสนับสนุนความรู้ที่ตรงตามความต้องการเฉพาะกลุ่มและนำไปใช้งานได้

3. การสร้างเครือข่าย (Networking Builder) ระหว่างกลุ่มสหกรณ์ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain)

4. ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

5. ส่งเสริมมูลค่าเพิ่มสินค้าของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยการสร้างตราสินค้า (Brand)

ยุทธศาสตร์

3. พัฒนาการบริหารจัดการและธรรมาภิบาลในระบบสหกรณ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการสร้างนวัตกรรม
ในการบริหารจัดการ

กลยุทธ์

1. ยกระดับ (พัฒนา ปรับปรุงและช่วยเหลือ) สหกรณ์ไม่ผ่านมาตรฐานไปสู่มาตรฐานชั้นดี

2. Revisit and reinforce ทบทวน ปรับแก้ และเสริมสร้างกระบวนการส่งเสริมสหกรณ์ให้เข้มแข็ง

3. ยกระดับ (พัฒนา และช่วยเหลือ) สหกรณ์ที่ผ่านมาตรฐานไปสู่มาตรฐานชั้นดีมากและดีเลิศ

4. สร้างระบบการรายงานที่สามารถตรวจสอบและรู้เท่าทัน (Integrity Risk)

5. สร้างมาตรฐานระบบการบริหารจัดการสหกรณ์ชั้นดี และระบบตรวจสอบ

6. พัฒนาคณะกรรมการสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ ในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการบริหารจัดการสหกรณ์

ยุทธศาสตร์ 

4. พัฒนาระบบบริหารจัดการของกรมส่งเสริมสหกรณ์

กลยุทธ์

1. การปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความคล่องตัว

2. สร้างระบบฐานข้อมูล พร้อมระบบแจ้งเตือน ปรับข้อมูลให้เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น และตัววัดที่ใช้ในการติดตามได้รวดเร็วฉับไวยิ่งขึ้น และมีการบูรณาการเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจ

3. การพัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะของบุคลากร โดยเสริมสร้างองค์ความรู้สมัยใหม่และรูปแบบการพัฒนา และการทำงานต้องมีความเชื่อมโยงเครือข่ายภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

4. เสริมสร้างการจูงใจความผูกพัน การเรียนรู้รูปแบบใหม่ และความก้าวหน้าทางอาชีพ

5. การพัฒนากระบวนงาน งานวิจัย สร้างองค์ความรู้ สร้างการรับรู้ในการพัฒนากระบวนการด้านการสหกรณ์