ลักษณะสำคัญของระบบศักดินาสวามิภักดิ์คือข้อใด *

สถานการณ์ทางการเมืองไทยที่กล่าวได้ว่ากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญแต่ก่อนที่เราจะเดินไปสู่อนาคตเราอาจเรียนรู้จากอดีตของความรุ่งเรืองการต่อสู้ทางอำนาจและการล่มสลายได้ด้วยการทบทวนสายธารแห่งประวัติศาสตร์อันยาวนานเช่นเดียวกับงานเสวนาวิชาการ "วิวัฒนาการรัฐจากฟิวดัลถึงการปฏิวัติ" ที่จะนำเราไปส่องประวัติศาสตร์การปฏิวัติในยุโรป ถึงสาเหตุและปัจจัยทางเศรษฐกิจทุนนิยมชนชั้นวัฒนธรรมและการเมืองอะไรทำให้เกิดเหตุแล้วเหตุจะส่งผลอย่างไรต่อไปพร้อมชวนย้อนกลับมามองสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองไทยด้วยแว่นวิธีวิทยาทางประวัติศาสตร์

งานดังกล่าวเนื่องในโอกาสตีพิมพ์หนังสือวิวัฒนาการรัฐอังกฤษ ฝรั่งเศสในกระแสเศรษฐกิจโลกจากระบบฟิวดัลถึงการปฏิวัติ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3) จัดขึ้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561 ห้องประชุมริมน้ำคณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์

ระบบฟิวดัล หรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ เป็นระบบความสัมพันธ์ในสังคมที่เริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยโรมัน เกิดจากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลระหว่างผู้มีฐานะทางสังคมทีแตกต่างกันโดยมีผู้อยู่ในฐานะสูงกว่าเป็นผู้อุปถัมภ์ (patron) และผู้อยู่ในฐานะต่ำกว่าเป็นผู้รับการอุปถัมภ์ (cilent) ระบบฟิวดัลในทางการเมืองจึงเป็นความสัมพันธ์ในเชิงอุปถัมภ์

ลักษณะสำคัญของระบบศักดินาสวามิภักดิ์คือข้อใด *

กุลลดา เกดบุญชูมี้ด นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และผู้เขียนหนังสือ วิวัฒนาการรัฐอังกฤษฝรั่งเศสในกระแสเศรษฐกิจโลกจากระบบฟิวดัลถึงการปฏิวัติกล่าวว่าหนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในรัฐไทยตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งพบว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนจากรัฐศักดินา มาเป็นรัฐสมบูรณายาสิทธิราชย์ซึ่งมีคนที่ศึกษาเรื่องนี้ไว้แล้วพอสมควรในเชิงสังคมศาสตร์โจทย์ก็คือจะต้องอธิบายให้ได้ว่ารัฐไทยเปลี่ยนแปลงเพราะอะไรด้วยพลังอะไรที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐไทยในกลางศตวรรษที่ 19 ทีนี้ก็ยังไม่มีคำตอบนอกจากคำตอบที่ว่าเราต้องปฏิรูปเพราะการคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมซึ่งจนบัดนี้การอธิบายก็ยังคงติดอยู่ทั้งๆ ที่ในที่สุดเมื่อเขียนหนังสือเสร็จแล้วก็มีคำอธิบายที่แตกต่างไปเป็นที่น่าเสียใจว่าคำอธิบายอันนี้ไม่ได้ปรากฏอยู่ในการรับรู้คนอาจจะฟังว่าดูดีแต่สักพักก็จะลืมไป 

กุลลดากล่าวว่าเมื่อมองไปที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็พบว่ารัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ก็ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาเช่นเดียวกับรัฐไทย ในช่วงศตวรรษที่ 19 - ต้นศตวรรษที่ 20 เราจะใช้คำอธิบายเรื่องลัทธิอาณานิคมมาอธิบายการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ไหมคำถามว่ารัฐไทยไม่ได้เป็นอาณานิคมทำไมถึงมีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับรัฐอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็อาจจะตอบแบบกำปั้นทุบดินได้ว่าเพราะเราเป็น ลัทธิจักวรรดินิยมแบบใหม่ (Neo Colonialism) ซึ่งก็ยังไม่ตอบคำถามที่ต้องการจะหาคำตอบ 

กุลลดากล่าวว่ากระทั่งได้ไปเจอหนังสือเรื่องหนึ่งที่จุดประกายความคิดที่สำคัญซึ่งมีอิทธิพลต่อการเขียนหนังสือเล่มนี้นั่นก็คือหนังสือของ "แฟร์น็องโบรแดล" (Fernand Braudel, 1902-1985) นักวิชาการชาวฝรั่งเศสกุลลดาเล่าว่าได้ไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งจากร้านหนังสือชื่อเรื่องว่า “Civilization and Capitalism” ศตวรรษที่ 14-18 

"ดิฉันก็ติดใจด้วยสามสาเหตุมีคำว่า “Capitalism” (ทุนนิยม) เรื่องที่สองคือรูปประกอบสวยและเรื่องที่สามคือผู้เขียนกำลังจะอธิบาย Capitalism จากประวัติศาสตร์ซึ่งก็เป็นวิธีการที่ดิฉันให้ความสนใจจึงซื้อหนังสือมาอ่านซึ่งเป็นหนังสือชุดเล่มที่ 2 จากทั้ง 3 เล่ม พอหลังจากที่อ่านจบแล้วก็รีบไปหาเล่มที่ 1 กับ 3 มาอ่านแล้วก็พบว่ามันอธิบายอะไรให้ดิฉันมากมากจนพอใจกับคำอธิบายมันเล่าถึงการเกิดของระบบทุนนิยมที่ในยุโรปตะวันตกแต่ว่าเขาก็พาดพิงถึงทุนนิยมที่เกิดขึ้นในที่อื่นๆด้วยไม่ว่าจะเป็นจีนอินเดียกุลลดากล่าว

ข้อสรุปของโบรแดลที่จุดประกายก็คือการมองให้เห็นว่าสิ่งที่เรียกว่าทุนนิยม (Capitalism) มันอยู่กับเรามาตั้งแต่โบราณกาลมากมากเกินกว่าคนที่ใช้ทฤษฎีของคาร์ลมากซ์ (Karl Marx, 2361-2426) จะเข้าใจทุนนิยม ในทัศนะของโบรแดลคือการประกอบธุรกิจที่ใช้ทุนขนาดใหญ่และมุ่งหวังผลกำไรในระดับที่สูงซึ่งหลายคนอาจจะไม่พอใจมีคนที่ถกเถียงกับแนวคิดของโบรเดลมากพอสมควรเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับนักสังคมวิทยาที่สำคัญ 2 คนคือคาร์ลมากซ์ที่เน้นที่ทุนนิยมในเชิงอุตสาหกรรมการผลิต (Indrustrial Capitalism) และแมกซ์เวเบอร์ (Max Weber, 1864-1920) ที่บอกว่าทุนนิยมเริ่มต้นจากยุคโปรเตสแตนต์ (Protestantism)

โบรแดลบอกว่าทุนนิยมอยู่กับเรามาอย่างช้านานแล้วเป็นรูปแบบที่ต้องใช้ทุนจำนวนมากแล้วต้องได้กำไรมากที่สุดนั่นคือการค้าระยะไกล” พอจะทำให้คิดขึ้นมาได้ว่าถ้าอย่างนั้นสนธิสัญญาเบาว์ริ่งซึ่งอังกฤษมาขอให้เราเปิดประเทศมันก็น่าจะมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนรูปแบบรัฐทั้งหมด

"ดิฉันก็ไปหาเอกสารในหอจดหมายเหตุ แล้วก็เห็นหลักฐานที่ยืนยันว่าการปฏิรูปของรัชกาลที่ 5 เกิดขึ้นเพราะได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริบททางเศรษฐกิจที่สำคัญคือการที่เราเข้ามาเป็นผู้ค้ากับอังกฤษส่งข้าวออกไปอังกฤษแล้วก็ซื้อฝิ่นมาจากอังกฤษก็เลยเป็นต้นแบบของการที่จะวิจารณ์สิ่งที่เรียกว่า state transformation (การเปลี่ยนแปลงโดยรัฐและ Capitalism (ทุนนิยมทีเป็นแกนกลางของหนังสือเล่มนี้"  กุลลดากล่าว

ย้อนมองปฏิวัติฝรั่งเศส” หลากข้อถกเถียง เกิดขึ้นโดยเอกเทศหรือเป็นกลุ่มก้อนเดียวของสายธารการปฏิวัติปัจจัยอะไรผลักดันให้เกิดการปฏิวัติ

ปิยบุตรแสงกนกกุล หนึ่งในวิทยากรผู้ร่วมเสวนากล่าวว่า จากหนังสือที่กุลลดาได้พูดถึงระบบฟิวดัลในฝรั่งเศสการเกิดขึ้นมาของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์และการล่มสลายของมันก็คือปฏิวัติฝรั่งเศสกุลลดาได้สรุปว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสและอังกฤษมีปัจจัยของพลังใหญ่ๆคือระบบโลกพลังของทุนนิยมอีกประการคือความขัดแย้งภายในเองซึ่งในบทสรุปของฝรั่งเศสคือกรณีความขัดแย้งภายในน่าจะมีบทบาทมากกว่าในขณะที่ของอังกฤษ ระบบทุนนิยมมีบทบาทมากกว่าที่ทำให้เกิดการปฏิวัติ

ปิยบุตรกล่าวว่าในกรณีของฝรั่งเศสที่แตกต่างจากของที่อื่นเพราะมันมีความรุนแรงมากกว่าที่อื่นแต่พลังของการล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ได้เกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เกิดจากการร่วมมือกันทั้งฝ่ายกระฎุมพีและชนชั้นล่างทั้งที่อยู่ในเมืองและชนบททั้งฝ่ายหัวก้าวหน้าและอนุรักษ์นิยม พูดง่ายๆว่ารุมกินโต๊ะเพื่อล้มระบอบสถาบันกษัตริย์ต่อไป

ปิยบุตรกล่าวว่าสังคมไทยเวลาพูดถึงปฏิวัติฝรั่งเศสจะพูดในลักษณะของการทำให้เป็นละครสร้างเรื่องให้โรแมนติกมากขึ้นฝ่ายหนึ่งก็ชอบมากอยากเห็นเกิดขึ้นอีกฝ่ายหนึ่งก็รังเกียจรู้สึกว่าน่ากลัวจะมีอยู่แค่สองแบบจนละเลยความเข้าใจมิติด้านสังคม เศรษฐกิจการเมืองของฝรั่งเศสว่าตอนนั้นเป็นอย่างไรอะไรเป็นเหตุปัจจัยชี้ขาดอะไรเป็นเหตุปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้การปฏิวัติเดินหน้าไปได้เป็นการต่อสู้ของพลังอะไรบ้างมีวิธีคิดปรัชญาอะไรอยู่เบื้องหลังบ้างเรามักจะไม่ค่อยสนใจเรามักจะสนใจมันแบบละครหลายท่านก็อ่านมันพูดถึงมันในลักษณะของนิทานที่ฝ่ายหนึ่งอยากเห็นอีกฝ่ายหนึ่งรังเกียจหลังๆ จึงอยากนำเรื่องนี้มาพูดที่พูดไม่ใช่ใฝ่ฝันอยากจะให้เกิดหรือว่าต่อต้านแต่ให้จับประเด็นไปที่ปรัชญาการเมืองหรือมีเหตุปัจจัยอะไรอยู่เบื้องหลังงานชิ้นนี้จึงมีคุณค่าในการมองภาพที่กว้าง

พอเราพูดถึงปฏิวัติฝรั่งเศสแม้แต่คนในประเทศเขาเองก็ยังมองไม่เหมือนกันพูดง่ายๆมันกลายเป็นวัตถุแห่งการตีความความคิด อุดมการณ์ของคนสองกลุ่มคือเอาเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศสไปตีความไม่เหมือนกันซึ่งก็มีความคิดมากำกับว่าทำไมฝ่ายหนึ่งมองแบบหนึ่งอีกฝ่ายมองแบบหนึ่ง  

ปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มถูกเขียนประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบในช่วงสาธารณรัฐที่ 3 เนื่องจากว่าเป็นเครื่องไม้เครื่องมือในการสร้างชาติพูดง่ายๆว่าชาติฝรั่งเศสเริ่มจากศูนย์ คือที่นี่ ทุกๆอย่างจุดเริ่มต้นของประเทศมาจากที่นี่แล้วก็ถูกนำไปใส่ในบทเรียนถ้าไปเรียนหนังสือที่นั่นก็จะพูดถึงเรื่องนี้ตลอดในฐานะเป็นหมุดหมายสำคัญในการลงหลักปักฐาน

ต่อมาช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ก็เกิดฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายมากซิสต์ (Marxist) ขึ้นมามีบทบาทมากขึ้นเขาก็ตีความการปฏิวัติและมองว่าการปฏิวัติเป็นสังคมนิยม โดยชนชั้นล่างมีบทบาทในการผลักนำให้การปฏิวัติรุดหน้าแต่ก็ถูกโจมตีจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมว่าเอาไปเป็นฝ่ายซ้ายไม่ถูก

หลังจากนั้นมีการถกเถียงอีกครั้งหนึ่งคือช่วง 200 ปีปฏิวัติฝรั่งเศสเวลานั้นสอดคล้องกับสังคมโลกที่คอมมิวนิสต์กำลังอยู่ในช่วงขาลงกำแพงเบอร์ลินล่มสลายเกิดเหตุการณ์เทียนอันเหมินพอเกิดเหตุการณ์ขาลงมากขึ้น นักคิดฝ่ายซ้ายด้วยกันก็แตกเป็นสองปีกด้านหนึ่งปีกซ้ายกลางก็เอาปฏิวัติฝรั่งเศสแล้วบอกว่าไม่เกี่ยวสตาลินเป็นเรื่องของพวกเราแล้วมันจบไปตั้งนานแล้วทุกวันนี้ระบอบการปกครองที่เกิดขึ้สมบูรณ์แล้วเพราะฉะนั้นก็เกิดการถกเถียงกันนำโดยฟร็องซัวฟูเร่ต์ที่เขียนเลยว่าปฏิวัติฝรั่งเศสจบไปแล้ว” 

ท่ามกลางการถกเถียงว่าปฏิวัติฝรั่งเศสคืออะไร ปิยบุตรกล่าวว่ามีข้อถกเถียงที่สำคัญอยู่สามประเด็นจากคำถามที่ว่า “ปฏิวัติฝรั่งเศสแยกตัวเป็นเอกเทศจากปฏิวัติที่อื่นหรือไม่ในช่วงเวลาศตวรรษที่ 18

1.ฝ่ายหนึ่งปฏิเสธแล้วบอกว่าปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติทั้งหมดการปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ได้แยกออกจากที่อื่นในเวลานั้นเป็นก้อนเดียวกัน เขาก็จะบอกว่าการปฏิวัติในครั้งนั้นมันสืบเนื่องมาจากระบบเศรษฐกิจเกิดชนชั้นใหม่ที่เรียกว่าชนชั้นกระฎุมพีแล้วชนชั้นกระฎุมพีของแต่ละรัฐก็ต้องการที่ยืนมีบทบาทแต่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ปิดเอาไว้ให้เข้าไปมีบทบาทดังนั้นก็เกิดการต่อต้านระบบที่เป็นอยู่ เพราะฉะนั้นฝรั่งเศสก็ไม่ได้แตกต่างจากที่อื่นเป็นสายธารอันหนึ่งของการปฏิวัติ ที่สอดคล้องกับเวลาของโลกและยุโรปในขณะนั้นจะแตกต่างก็เพียงมีความรุนแรงกว่า

ปิยบุตรกล่าวว่า สาเหตุที่รุนแรงกว่าเพราะตัวระบบที่ยึดอยู่ในเวลานั้นเขาไม่ปรับตัวมันเลยรุนแรงกว่าที่อื่น

ถ้าสรุปก็คือเขามองว่าพัฒนาสภาพเศรษฐกิจสังคมในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 17-18 ต่อเนื่องมา มันเป็นพัฒนาการของระบบทุนนิยมแล้วมันก็สร้างชนชั้นใหม่ทางเศรษฐกิจขึ้นมาก็คือชนชั้นกระฎุมพีแล้วชนชั้นนี้ก็ต้องการมีบทบาททางการเมืองเศรษฐกิจจึงเข้ามาต่อต้านระบบที่เป็นอยู่ แล้วผลที่ตามมาก็คือชนชั้นกระฎุมพีเข้าไปมีบทบาททางเศรษฐกิจและการเมืองเหมือนกับที่ปฏิวัติในที่อื่นๆเกิดขึ้น

2.การปฏิวัติฝรั่งเศสแยกเป็นเอกเทศจากที่อื่น โดยเฉพาะเขาเอาไปเปรียบเทียบปฏิวัติอเมริกาที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกันในช่วงเวลานั้นเขามองว่ามันเป็นปฏิวัติของสองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกแล้วฝรั่งเศสก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีส่วนเข้าไป mobilize (ระดมพล) ให้คนอเมริกาลุกฮือขึ้นมาประกาศเอกราชจากอังกฤษมีคนจำนวนมากจากฝรั่งเศสเดินทางไปอเมริกาแล้วมีบทบาทในการกระตุ้นแต่ฝ่ายนี้เขายืนยันว่าไม่ใช่ไม่เหมือนกัน อาจจะมีคนบางคนไปร่วมปฏิวัติอเมริกาแต่เนื้อหาไม่เหมือนกันจุดหนึ่งที่ไม่เหมือนกันคือเขาเรียกร้องคนละอย่างตอนที่อเมริกาประกาศเอกราชจากอังกฤษในเวลานั้นอังกฤษสามัญชนและกระฎุมพีเข้ามามีบทบาททางการเมืองเรียบร้อยแล้วสถาบันกษัตริย์ได้เปิดโอกาสให้คนพวกนี้เข้ามาแล้วมีสภาแล้วมีการรับรองสิทธิให้แก่สามัญชนมีบทบาทในสภามากขึ้นแล้ว แต่ที่อเมริกาปฏิวัติเพราะเขามองว่าอังกฤษมีอเมริกาก็ต้องมีเพราะเป็นประเทศเดียวกันกติกาที่เอามาใช้ในแผ่นดินอังกฤษก็ต้องเอามาใช้กับอเมริกาด้วยนี่คือจุดเริ่มต้นดังนั้นการปฏิวัติอเมริกาไม่ได้มาจากการล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในขณะที่ถ้ามาดูปฏิวัติฝรั่งเศสจะเห็นปฏิกิริยาต่อต้านระบอบกษัตริย์ในเวลานั้นอย่างชัดเจนไม่ยอมแบ่งสันปันส่วนอำนาจให้แก่ชนชั้นกระฎุมพี 

ถ้าลองดูรายละเอียดของความแตกต่างในสหรัฐอเมริกาบิดาที่ร่วมก่อตั้งสหรัฐจะพบว่าแนวความคิดของเขาชัดเจนมากคือมีลักษณะที่ไม่ชอบอำนาจรัฐรังเกียจอำนาจรัฐสหรัฐอเมริกาจึงไม่ยอมเป็นรัฐเดียวหลังจากประกาศเอกราชใหม่ๆมลรัฐมีอำนาจมากสหรัฐมีอำนาจน้อยเน้นไปที่การประกันสิทธิและเสรีภาพแก่บุคคลขณะที่ปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้นมา เน้นไปที่การรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นไม่มีการกระจายอำนาจพูดกันแบบตรงไปตรงมาคือปฏิวัติฝรั่งเศสที่เกิดขึ้นไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างรัฐฝรั่งเศส”  แต่เปลี่ยนแค่ผู้ถืออำนาจรัฐเพราะฉะนั้นเนื้อหาจึงไม่เหมือนสหรัฐที่ต้องการลดอำนาจรัฐและเพิ่มเสรีภาพประชาชน

การปฏิวัติอเมริกาค่อนข้างกังวลใจเรื่องเสียงข้างมาก ดังนั้นจะต้องมีระบบตรวจสอบจึงเป็นที่มาของระบบศาลสหรัฐอเมริกาที่คอยตรวจสอบว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ส่วนฝรั่งเศสเกลียดศาลมากศาลคืออภิสิทธิ์ชนใส่เสื้อครุยเพราะฉะนั้นเขาจะเน้นไปที่ประชาชนแล้วก็มองว่ากฎหมายที่ออกมาแต่ละฉบับเป็นเจตจำนงร่วมกันของประชาชนซึ่งศาลจะมาล้มไม่ได้ดังนั้นจึงมีวิธีคิดที่แตกต่างกันเมื่อมีความแตกต่างหลากหลายกันแบบนี้ทำให้นักคิดฝ่ายนี้สรุปว่า ปฏิวัติฝรั่งเศสไม่เหมือนที่อื่นและไม่เหมือนสหรัฐอเมริกา” 

3.ปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นของกระฎุมพีหรือประชาชน 

ปิยบุตรกล่าวต่อว่าฝ่ายแรกมองว่าปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นของประชาชนเมื่อเข้าช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ความคิดแบบมากซิสต์เริ่มขึ้นมาทำให้มีการตีความปฏิวัติฝรั่งเศสว่าไม่ใช่พวกกระฎุมพีหรอกที่ทำ แต่เอาจริงๆแล้วคือชนชั้นล่างต่างหากที่ผลักดันให้การปฏิวัติรุดหน้าจุดเริ่มต้นก็คือนักประวัติศาสตร์ฝ่ายซ้ายถือโอกาสตอนครบรอบ 100 ปีปฏิวัติฝรั่งเศสปลุกความสำคัญของปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้นมา

ชนชั้นกระฎุมพีเป็นกำลังสำคัญในการเปิดฉากปฏิวัติแต่ก็เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้นสุดท้ายแล้วการปฏิวัติขยายตัวออกไปแล้วก้าวหน้ามากขึ้น ด้วยการต่อสู้ของชนชั้นล่างโดยพบว่ามวลชนที่อยู่ในชนบทเป็นกำลังสำคัญในการต่อต้านเวลาพูดถึงปฏิวัติฝรั่งเศสเราอาจจะนึกถึงในปารีสแต่จริงๆแล้วในจังหวัดหัวเมืองต่างๆก็มีเหมือนกันชนชั้นล่างมีการเดินขบวนเพื่อกดดันให้มีการเร่งการปฏิวัติ ซองกูลอตต์  (sans-culottes) คือคนตัวเล็กๆที่ร่วมกันเดินขบวนกดดันสภา

ต่อมาในช่วงปี 1972 ถึงทางแยกที่ต้องเลือกเดิน พวกกระฎุมพีเข้าไปมีอำนาจอยู่ในสภาก็ถึงทางเลือกว่าปฏิวัติฝรั่งเศสจะเดินหน้าต่อหรือจะหยุดเพื่อหันไปประนีประนอมพวกซองกูลอตต์คือพวกที่พลักดันให้เดินหน้าอย่าประนีประนอมและจุดสุดท้ายก็คือการล้มสถาบันกษัตริย์การประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แล้วประกาศฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐ 

นอกจากนี้แล้วขบวนการต่อสู้ต่างๆ ทั้งในชนบทและในเมืองก็แตกต่างกันขบวนการที่อยู่ในชนบทส่วนใหญ่ก็จะทะเลาะกับพระเจ้าของที่ดินส่วนพวกขบวนการในเมืองก็จะสนใจประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญกรรมสิทธิ์ที่ดินของตัวเองเพราะฉะนั้นการศึกษาบทบาทชนชั้นล่างนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าชนชั้นกระฎุมพีมีพลังในการก่อการปฏิวัติล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการรักษาการปฏิวัตินั้นไว้ พวกชนชั้นล่างและพวกซองคูลอตต่างหากที่เข้ามาเติมทำให้ปฏิวัติฝรั่งเศสเดินหน้าได้ต่อไม่ย้อนกลับไปสู่ระบอบเก่าหรือการประนีประนอมนักคิดกลุ่มนี้จึงสรุปว่าปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ใช่ปฏิวัติกระฎุมพี

แต่ความคิดเหล่านี้มาสู่ขาลงพร้อมกับขาลงของคอมมิวนิสต์สังคมนิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 1980 เป็นต้นมาคนเริ่มรู้ว่าระบอบว่าสตาลินกลายเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ มีการฆ่าคนและจำกัดเสรีภาพจำนวนมากจึงเปลี่ยนผ่านมาเป็นเสรีประชาธิปไตย 

จากวิธีวิทยาของโบรแดลสู่ข้อค้นพบหรือแท้จริงปฏิวัติฝรั่งเศสจบไปแล้วตามทัศนะฟร็องซัวฟูเร่ต์ 

อาจกล่าวได้ว่าการจะเข้าใจสถาการณ์ทางการเมือง ไม่อาจมองได้ในระยะเวลาเพียง 4-5 ปีหรือสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านและความขัดแย้งเพียงแค่ตรงหน้าหากใช้วิธีวิทยาแบบโบรแดล ซึ่งคือการศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงระยะเวลายาวนาน มาเป็นกรอบในการมอง

ลักษณะสำคัญของระบบศักดินาสวามิภักดิ์คือข้อใด *

ปิยบุตรแนะนำให้รู้จักกับ ฟร็องซัวฟูเร่ต์ (Francois Furet) นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ก็เดินตามทางของโบรแดล คือ ใช้วิธีคิดแบบโบรแดลเวลามองประวัติศาสตร์วิทยาคือการศึกษาประวัติศาสตร์ในช่วงระยะเวลายาวนานโดยไม่พิจารณาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งอย่างเฉพาะเพื่อจะดูว่ามีปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจภูมิศาสตร์อะไรที่ส่งผลต่อระบบอันนี้คือแนวคิดของโบรแดลแล้วฟูเร่ต์นำวิธีคิดแบบนี้มาจับกับปฏิวัติฝรั่งเศสนั่นหมายถึงเขาไม่ได้มองปฏิวัติฝรั่งเศสแค่ 10 ปีต้องมองไปก่อนหน้านั้นแล้วมองไปหลังจากนั้นอีกในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกระแสธารประวัติศาสตร์อันยาวนานวิธีคิดแบบนี้ทำให้ฟูเร่ต์ ขึ้นมามีบทบาทสำคัญเป็นนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส 

เริ่มต้นฟูเร่ต์บอกว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ใช่ผลพวงของการต่อสู้กันระหว่างชนชั้นของกระฎุมพีเสรีนิยมกับขุนนางอนุรักษ์นิยมการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หรือปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นเอาเข้าจริงแล้วสามารถหลีกเลี่ยงได้ถ้าต้องการจะหลีกเลี่ยง

ความคิดเหล่านี้ต่อสู้กับชาโคแปงมากซิสต์โดยกลุ่มชาโคแปงมากซิสต์มองว่ามันเป็นการต่อสู้เชิงชนชั้นเริ่มต้นจากกระฎุมพีกับขุนนางจากนั้นกระฎุมพีก็มาสู้กับชนชั้นล่างแล้วก็ผลักดันการปฏิวัติให้รุดหน้าไป

ดังนั้นจากวิธีวิทยาของโบรแดลฟูเร่ต์ก็นำมาใช้แล้วอธิบายว่าปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ได้โดดออกมาจากเหตุการณ์อื่นๆแต่เป็นเหตุการณ์หนึ่งตามสายธารประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปฏิวัติฝรั่งเศสจึงไม่ใช่หมุดหมายที่สำคัญมากถึงขนาดที่เวลาพูดถึงฝรั่งเศสจะต้องพูดถึงปฏิวัติฝรั่งเศสตลอดเวลาซึ่งเป็นมายาคติที่ฝังอยู่ในสังคมฝรั่งเศสมาโดยตลอดตรงกันข้ามจะต้องพิจารณาว่าเกิดจากอะไรไม่ใช่ว่าทุกๆอย่างในฝรั่งเศสเริ่มต้นมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศสแล้วมันจบแล้วเมื่อปี 1880 ที่ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐที่สามอย่างมั่นคงดังนั้นเขาจึงยืนยันว่า ปฏิวัติฝรั่งเศสจบแล้วที่เหลือหลังจากนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกันดังนั้นการเกิดขึ้นของเหมาเจ๋อตงสตาลินปฏิวัติสังคมในที่ต่างๆไม่เกี่ยวกับปฏิวัติฝรั่งเศสเพราะมันจบแล้ว 

ปิยบุตรกล่าวว่าเอาเข้าจริงการปฏิวัติฝรั่งเศสสร้างชาติขึ้นมาใหม่คือสร้างภาษาสร้างกฎหมาย พรหมแดนของตัวเองขึ้นมาถามว่าเป็นแนวคิดของใครเป็นแนวคิดของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เขาอยากทำแต่ทำไม่สำเร็จอย่างที่บอกว่าเอาเข้าจริงปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างรัฐรัฐยังมีอำนาจเข้มเหมือนเดิมฝรั่งเศสไปกระจายอำนาจอีกที่ปี 1982 โดยรัฐบาลของฟร็องซัวมีแตร็อง (Francois Mitterrand) แล้วทำแบบพอมีอำนาจแล้วทำเลย

จากที่กุลลดาสรุปในหนังสือ ปิยบุตรกล่าวว่าการปฏิวัติอังกฤษระบบโลกระบบทุนนิยมเข้ามามีบทบาทของฝรั่งเศสความขัดแย้งภายในเข้ามามีบทบาทเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญแต่การปฏิวัติของไทย 2475 ระบบโลกมีผลน้อยมากแต่ว่าหลัง 2475 ก็มีมากขึ้นส่วนสำคัญที่กุลลดาทิ้งท้ายไว้ในบทสรุปคือ 

เป็นที่น่าเสียดาย ที่เราไม่ได้เข้าไปสนใจกับคำว่าชาติในขณะที่การปฏิวัติในที่ต่างๆฉกฉวยแย่งชิงคำว่าชาติชาติในยุคสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในไทยก็เอาคำว่าชาติเท่ากับพระมหากษัตริย์แล้วก็มีแนวคิดอีกอันที่บอกว่าชาติเท่ากับประชาชนแต่คำว่าชาติในปัจจุบันมันถูกมองว่าเป็นชาตินิยมน่ารังเกียจเป็นพวกล้าหลังอันนี้เป็นที่น่าเสียดาย” 

เมื่ออำนาจว่าง - สิ่งเก่าตาย สิ่งใหม่ยังไม่เกิด

"สิ่งเก่าตาย สิ่งใหม่ยังไม่เกิด ยังอยู่ในช่วงของ transition (การเปลี่ยนผ่านไม่รู้ว่าจะนานเท่าไหร่ อาจจะนานหรืออาจจะสั้นก็ได้แล้วแต่จังหวะปิยบุตร กล่าว

ปิยบุตรชวนกลับมาดูแนวโน้มสถาการณ์ทางการเมืองของไทยคือ ศูนย์รวมอำนาจหายไปแล้ว "ศูนย์อำนาจที่มีอำนาจครอบงำหายไปแล้วในเวลานี้ไม่มีศูนย์อำนาจที่แข็งแกร่งเพียงพอที่จะสามารถครอบงำรัฐศูนย์อำนาจรัฐเดียว เพราะฉะนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อแย่งชิงว่าใครจะกลับขึ้นมามีอำนาจนำ ฝ่ายหนึ่งก็การเมืองจากการเลือกตั้งอีกฝ่ายหนึ่งคือทหารระบบราชการอีกฝ่ายหนึ่งคือชนชั้นนำจารีตประเพณีทั้งสามก้อนนี้ต่างก็ยังขึ้นมานำไม่ได้กำลังอยู่ในช่วงแสวงหาความชอบธรรมสถาปนาแย่งชิงกันเป็นอำนาจหนึ่งแล้วก็แสวงหาพันธมิตรว่าใครจะเป็นพันธมิตรกับใครดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาสำคัญเมื่อศูนย์อำนาจว่างลงพลังทางการเมืองกลุ่มไหนจะขึ้นไปได้และจะใช้วิธีการใดขึ้นไป ถ้าพูดแบบ อันโตนิโยกรัมชี่ (Antonio Gramsci) มากซิสต์และนักคิดชาวอิตาลี่ ก็คือ crisis (ช่วงวิกฤติ)" ปิยบุตร กล่าว

ปิยบุตร ยังกล่าวอีกว่า จากหนังสือของกุลลดาทำให้เห็นภาพชัดว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรป มีแรงผลักดันทางเศรษฐกิจเข้ามาแล้วทำให้กลุ่มคนที่อยู่ในรัฐเดียวกันมีพลังพอที่จะลุกขึ้นมาต่อรอง (nigociated) เวลาเราเอาประสบการณ์นี้มาเทียบกับรัฐไทยมีความต่างต่อให้เราพูดถึงว่ารัฐไทยลอยอยู่ท่ามกลางกระแสทุนนิยมโลกซึ่งมีพัฒนาการมาในช่วง 200 - 300 ปี แต่ข้อสังเกตุอย่างหนึ่งตอนที่เราเห็นตรงกันว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการปรับตัวในรัฐไทยซึ่งแรงกดดันที่มาจากคนระดับล่างมีน้อยมากเพราะสังคมมีความเป็นช่วงชั้นสูงมากถ้าไปดูงานของนิธิเอียวศรีวงศ์ จะเห็นว่าชนชั้นสูงไทยมีการสะสมทุนมาตั้งแต่ช่วงต้นรัตนโกสินทร์โดยที่มีแรงต้านจากในประเทศน้อยมากในการที่จะใช้ทรัพยากรในประเทศ 

จากพลังสามฝ่ายที่แย่งชิงกันอยู่ แล้วใครจะได้ขึ้นมามีอำนาจนำปิยบุตรสะท้อนว่าด้านหนึ่งก็คือการเมืองจากการเลือกตั้งด้านหนึ่งก็คือทหารรัฐราชการ ด้านหนึ่งคือชนชั้นนำจารีตประเพณีอันแรกเกาะเรื่องการเลือกตั้งเอาไว้เกาะเรื่องคาวมชอบธรรมทางประชาธิปไตยเอาไว้แต่ความชอบธรรมทางประชาธิปไตยเสื่อมทรุดลงไปเรื่อยๆเพราะคนไม่เชื่อมั่นในการเมืองแบบเลือกตั้งเลือกแล้วเละเทะมีปัญหาแต่ทหารอยู่ได้ด้วยการล่อเลี้ยงความชอบธรรมเรื่องความแตกแยกว่าการเมืองห่วยต้องให้เขาจัดการส่วนอันสุดท้ายคืออยู่ด้วยความชอบธรรมแบบจารีตประเพณี ทั้งสามกลุ่มนี้ยังไม่มีใครสถาปนาขึ้นมาได้ในช่วงเวลานี้ หลังจากเราเข้าสู่อีกสมัยหนึ่งเท่าที่สังเกตุตอนนี้คือไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตามจำเป็นต้องเกาะความชอบธรรมเรื่องประชาธิปไตยไม่มากก็น้อยเกาะจริงไม่จริงไม่รู้บทพิสูจน์ก็คือทุกคนต้องกลับไปสู่ "การเลือกตั้ง"

ส่วนคำถามที่ว่าแล้วอำนาจจะไปต่ออย่างไร ศุภวิทย์ ถาวรบุตร นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์หนึ่งในวิทยากรของวงเสวนาสะท้อนว่าถ้ามองสิ่งที่เป็นอยู่ในประเทศไทยตอนนี้แค่ช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาแทบจะเป็นครั้งแรกจริงๆที่แรงกดดันจาก stake holder ในสังคมที่คนในระดับล่างสุดสามารถส่งเสียงขึ้นมาได้ถึงขนาดนี้ 

ลักษณะสำคัญของระบบศักดินาสวามิภักดิ์คือข้อใด *

"เวลาคนบอกว่ามันมีผีอย่าง 'ผีทักษิณ' ถ้ามองจากประวัติศาสตร์ว่าสังคมไทยเสียความสงบสุขไปจากตรงนั้น ก็จะเอาตรงนั้นเป็นหมุดหมายว่าเป็นเพราะคุณมาสร้างระบบการเมืองแบบนี้มันถึงทำให้เสียงที่ไม่เคยต้องแคร์มันลุกขึ้นมามากขึ้นซึ่ง 'เขา' ก็พยายามกดเอาไว้อยู่ศุภวิทย์กล่าว

ปฏิวัติ 2475 จบแล้วหรือยัง

จากที่ปิยบุตรบรรยายว่าในทัศนะของฟูเรต์ปฏิวัติฝรั่งเศสได้จบไปแล้วจึงมีคำถามในช่วงท้ายจากผู้ร่วมเสวนาที่น่าสนใจว่าแล้วปฏิวัติ 2475 ของไทยจบหรือยัง 

ศุภวิทย์ กล่าวว่าคำถามที่ว่าปฏิวัติ 2475 จบหรือยังแน่นอนเราพูดถึงปฏิวัติ 2475 ในเชิงการเมืองเยอะเพราะชัดเจนว่าเป็นการเปลี่ยนระบอบแต่ว่าถ้าเราสนใจประวัติศาสตร์เศรษฐกิจช่วง 25 ปีหลังปฏิวัติ 2475 มีปัญหาทางเศรษฐกิจชุดใหญ่กับระบบทุนนิยมไทยในสภาพแวดล้อมของระบบทุนนิยมโลกเพราะไม่เกิดทุนนิยมในแบบที่เราเข้าใจกันว่ามันเป็นทุนนิยมเอกชน เป็นช่วงระยะที่ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยเรียกว่า "ทุนนิยมโดยรัฐ" สิ่งที่รัฐบาลคณะราษฎรเข้าไปทำเป็นทุนนิยมโดยรัฐ (State Capitalism) ทั้งหมด 

จริงๆอเมริกาพยายามผลักดันตั้งแต่ช่วงสมัยจอมพล. พิบูลสงครามแล้วแต่ว่าไปสำเร็จในช่วงรัฐบาลสฤษดิ์ธนะรัชต์ตรงนั้นเป็นโจทย์ที่ว่าปฏิวัติ 2475 ทำให้รัฐไทยปรับตัวทางเศรษฐกิจได้ดีแค่ไหนถ้าใช้ kpi วัดคงตรงพรวดเพราะฉะนั้นในปี..2500 จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญว่าเราจะเริ่มเห็นหน้าตาของพลังทุนนิยมใหม่ในแบบที่อเมริกามาจัดการอยู่พอสมควร 

ด้านปิยบุตรกล่าวถึงคำถามที่โยงไปถึง "นครินทร์เมฆไตรรัตน์" ที่เคยกล่าวว่า "การปฏิวัติ 2475 จบแล้ว" 

ปิยบุตรกล่าวว่าวิธีคิดของนครินทร์ที่บอกว่าจบแล้วเพราะว่าผลพวงของ 2475 เป็นระบอบการปกครองที่ตกลงกันได้แล้วคือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอันนี้คือจบแล้ว ส่วนที่เหลือหลังจากนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งเพราะฉะนั้นแนวคิดมันจะคล้ายๆกับที่ฟูเร่ต์เสนอ  แต่ด้านหนึ่งถ้าเรากลับมาคิดให้ดีๆต้องกลับไปถามนครินทร์ใหม่ว่า.. นี้เวลานี้ยังคิดว่าการปฏิวัติ  2475 จบลงแล้วหรือยังระบอบที่เป็นอยู่ตอนนี้เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปล่า

"ถ้าดูหลักที่คณะราษฎรเขียนไว้ในมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญฉบับแรกอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ทุกท่านในที่นี้คงเห็นเป็นประจักษ์พยานชัดเจนว่ามันยังไม่เกิดผมยืนยันว่ายังไม่จบเพราะว่าการถกเถียงกันเรื่ออำนาจสูงสุดเป็นของใครในประเทศนี้มันยังไม่จบผมจึงยืนยันว่า 2475 ยังไม่จบปิยบุตรกล่าว

ปิยบุตรทิ้งท้ายไว้ด้วยสุนทรพจน์ของ มักซีมีเลียงรอแบ็สปีแยร์ (Maximilien Robespierre) ที่ครอบคลุมการปฏิวัติฝรั่งเศส 10 ปีแรกได้อย่างดีเขาพูดเอาไว้ตอนปี 1792 ว่า 

"หากลองย้อนคิดคำนึงถึงการเดินทางของการปฏิวัติเกือบทุกประเทศของยุโรปจะมีสามพลังอำนาจคือกษัตริย์อภิชนและประชาชนหากการปฏิวัติเกิดขึ้นในประเทศเหล่านี้แล้วมันก็จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆค่อยๆเป็นค่อยๆไป การปฏิวัติเริ่มขึ้นโดยขุนนางนักบวชคนรวยแล้วประชาชนคนชั้นล่างก็เข้ามาสนับสนุนเพราะคิดว่าหากประโยชน์สอดคล้องต้องกันก็จะเข้ามาสนับสนุนได้ก็คือมาร่วมกันต่อต้านอำนาจที่ครอบงำอยู่นั่นคืออำนาจของกษัตริย์เช่นเดียวกับรอบๆตัวของพวกท่านในรัฐสภาท่านก็จะมีขุนนางนักบวชคนรวยที่เริ่มการปฏิวัติจากนั้นประชาชนก็เริ่มปรากฏกายขึ้น บรรดาสมาชิกสภาขุนนางนักบวชคนรวยอาจเริ่มรู้สึกสำนึกผิดเสียใจ (คล้ายๆว่าไม่น่าเริ่มปฏิวัติเลยกู) หรืออาจยุติการปฏิวัติแต่เมื่อพวกเขาเห็นว่าประชาชนเริ่มเข้ามากอบกู้อำนาจที่เป็นของตัวเองคุณเห็นว่ามันจะไปไกลแล้วอยากหยุดแต่มันหยุดไม่ได้"

ข้อใด คือลักษณะสำคัญของระบอบศักดินาสวามิภักดิ์

ระบบฟิวดัลเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง Lord (เจ้านาย) กับVassal (ผู้พึ่ง) เป็นระบบการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางกษัตริย์ไปยังขุนนางแคว้นต่างๆ ขุนนางต่างมีกองทัพของตนเอง หน้าที่ของ Lord คือพิทักษ์รักษาVassalและที่ดินของ Vassalจากศัตรูและให้ความยุติธรรม ปกป้องคุ้มครองในการพิจารณาคดี

ระบบศักดินาสวามิภักดิ์มีความเป็นมาอย่างไร

ระบบฟิวดัล หรือ ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ เป็นระบบความสัมพันธ์ในสังคมที่เริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยโรมัน เกิดจากความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลระหว่างผู้มีฐานะทางสังคมทีแตกต่างกัน โดยมีผู้อยู่ในฐานะสูงกว่าเป็นผู้อุปถัมภ์ (patron) และผู้อยู่ในฐานะต่ำกว่าเป็นผู้รับการอุปถัมภ์ (cilent) ระบบฟิว ...

ข้อใดเป็นลักษณะการปกครองระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ feudalism (ฟิวดัล) ในยุโรป

ระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ หรือระบอบฟิวดัล (Feudalism) เป็นลักษณะการปกครองและ สังคมของชนเผ่าเยอรมัน เน้นความผูกพันระหว่างนักรบกับหัวหน้านักรบตามประเพณีคอมิเตตัส (Comitatus) โดยกษัตริย์กระจายอานาจไปสู่หัวหน้าหรือกลุ่มนักรบ และลักษณะการปกครอง ที่สืบทอดมาจากโรมัน ระหว่างผู้อุปการะกับผู้รับอุปการะและความสัมพันธ์ระหว่าง นายกับ ...

ข้อใดคือลักษณะของเศรษฐกิจในระบบฟิวดัล

ระบบฟิวดัล เป็นระบบที่ ระบบฟิวดัลทำให้เกิดเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ (MANOR) โดยมีปราสาทขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่อยู่ของขุนนางเจ้าของที่ดินเป็นศูนย์กลาง รอบๆ ปราสาทเป็นไร่นา ทุ่งหญ้า เลี้ยงสัตว์ของชาวนา ชาวไร่ แมนเนอร์จึงเป็นที่ชุมชนที่สมบูรณ์ในตัวเอง โดยมีระบบแลกเปลี่ยนกันแบบสินค้ากับสินค้าเป็นหลักในแมนเนอร์นั้นๆ