ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่ (The Johari Window) ที่คนอื่นรู้แต่เราไม่รู้เรียกว่าอะไร

ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่ (The Johari Window) ที่คนอื่นรู้แต่เราไม่รู้เรียกว่าอะไร

‘ไม่รู้ว่าชอบอะไร’ ‘ไม่รู้จักตัวเอง’ ‘หาคณะที่ใช่ไม่เจอ’ แทบทุกคนคงเคยเผชิญความรู้สึกแบบนี้กันบ้างแหละ ไม่งั้นประเด็นนี้คงไม่ติดท็อปปัญหายอดนิยมของน้องๆ มัธยมทุกรุ่นอย่างเหนียวแน่นขนาดนี้แน่ พี่หลิงว่าการค้นหาตัวเองต้องใช้เวลาค่ะ ใครยังไม่เจอตอนนี้ ไม่เป็นไรนะคะ ลองหาช่วงว่างๆ ลองอยู่เงียบๆ คนเดียวดู จะคุยกับตัวเองบ้างก็ได้ ถ้า Recap ความรู้สึกของเราในแต่ละวันออกมาเป็นบันทึกได้จะดีมาก ลองสังเกตมันไปเรื่อยๆ ไม่แน่อาจจะเจอตัวตนที่ซ่อนอยู่ในตัวเราก็ได้นะ

พูดมาขนาดนี้ จะไม่แชร์ทริคค้นหาตัวเองก็กระไรอยู่ พี่หลิงไม่ได้มามือเปล่าค่ะ แต่ยังนำทฤษฎีการสื่อสารอย่าง ‘Johari Window’ ซึ่งเป็นเทคนิคค้นหาตัวเองง่ายๆ แบบใครก็ทำได้มาฝากกันด้วย ไหนใครพร้อมแล้วบ้าง เรามาสำรวจและค้นหาตัวตนที่ซ่อนอยู่ในใจเราเลยดีกว่า!

Johari Window คืออะไร?

‘Johari Window’ หรือ ‘หน้าต่างโจฮารี’ คือทฤษฎีการสื่อสารที่แบ่งตัวตนของมนุษย์ออกเป็น 4 มิติใหญ่ๆ ซึ่งมีทั้งด้านที่เรารู้ว่านี่แหละคือนิสัย บุคลิก ตัวตนของเรา และด้านที่เราไม่รู้ หลงลืมไป หรือแม้แต่ไม่เคยสังเกตมาก่อนว่าเรามีตัวตนด้านนี้ซ่อนอยู่ ดังนี้เลยค่ะ

ขอบคุณรูปภาพจาก  :  communicationtheory.org

Open Area : ตัวตนด้านที่เรารู้ คนอื่นรู้ เป็นมิติที่เรามักจะแสดงออกมาให้คนรอบข้างเห็น ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เอาง่ายๆ คือ ถ้าพูดถึงเรา ใครๆ ก็จะนึกถึงนิสัยข้อนี้ และเราเองก็รู้ว่าคนอื่นมองเราเป็นแบบนั้น นั่นแหละค่ะคือหน้าต่าง Open

Hidden Area : ตัวตนด้านที่เรารู้ แต่คนอื่นไม่รู้ หรือว่ามีคนรู้น้อยมากๆ ประมาณว่าเป็นอะไรที่เราลงในแอคหลุมที่ไม่มีผู้ติดตาม หรือในไอจีสตอรี่แบบที่เห็นแค่เราคนเดียว มิติด้านนี้คือตัวตนที่เราซ่อนไว้ ไม่กล้าเปิดเผยต่อคนรอบข้าง สาเหตุอาจมาจากกำแพงในใจเราเอง ประสบการณ์ที่เคยประสบ หรือค่านิยมต่างๆ ในสังคมก็ได้ทั้งนั้นค่ะ

Hidden คือด้านที่เรามักไม่ค่อยแสดงออกให้ใครเห็น ถึงจะมีคนรู้ก็น้อยมากๆ

Blind Spot : ตัวตนด้านที่คนอื่นรู้ แต่เราไม่รู้ เป็นนิสัยบางอย่างที่เราอาจไม่เคยสังเกตมาก่อนว่าตัวเองก็มีมุมนี้เหมือนกันนะ ถ้าจะพูดให้เห็นภาพ ก็คงเหมือนเวลาเราสร้างคำถามลงโซเชียลทำนองว่า ‘คิดว่าเราเป็นคนยังไง’ ‘มองเราเป็นสีอะไร’ แล้วมีเพื่อนมารีพลายด้วยคำตอบที่ทำเราร้อง ‘ฮะ!? จริงดิ?’ หรือมึนตึ้บไปเลย

Unknown : ตัวตนด้านที่เราไม่รู้ และคนอื่นก็ไม่รู้ น้องๆ อาจสงสัยว่าแบบนี้ก็มีด้วยเหรอ บอกเลยว่ามีค่ะ เพราะบุคลิกของแต่ละคนเนี่ยซับซ้อนเอามากๆ เราเลยต้องใช้เวลาค้นหาและทำความรู้จักมันตลอดชีวิต ทั้งนี้ทั้งนั้น การคอยค้นหาตัวเองไปเรื่อยๆ จะช่วยเปิดพื้นที่ Unknown ของเราได้ ใช่ว่ามันจะซ่อนอยู่ตลอดไปซะหน่อย

สัดส่วนของ Johari Window เป็นเท่าไรจึงจะดี?

แน่นอนว่าพื้นที่ทั้ง 4 มิตินั้น จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคนค่ะ เรียกว่าสัดส่วน Area นั้นแปรผันได้หลากหลายมากๆ ถ้าเป็นคนที่ไม่ค่อยแสดงออก ก็อาจมี Open Area น้อยหน่อย ส่วนคนที่เปิดเผย แสดงตัวตนออกมาเต็มที่ ก็อาจแทบไม่มี Hidden Area เลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นว่าต้องมีพื้นที่ทั้งสี่เท่ากันหมด หรือว่ามีด้านไหนมากเป็นพิเศษถึงจะดีนะคะ ขอแค่เราค่อยๆ ค้นหาตัวเองไป แล้วรู้จักพื้นที่แต่ละด้านมากขึ้น ให้มันช่วยเราใช้ชีวิตแบบที่ใช่ได้ก็โอเคแล้วค่ะ 

อย่ากดดันตัวเองว่าต้องหาพื้นที่ทั้งสี่ด้านเจอได้เท่ากันหมด เพราะมันไม่มีสัดส่วนอุดมคติอยู่แล้ว  แฮปปี้ไว้ก็พอ :)

วิธีค้นหาตัวตนในแต่ละ Area

สำหรับการค้นหาตัวตนของเราในแต่ละ Area นั้น ต้องบอกเลยว่าใช้แค่วิธีเดียวไม่พอค่ะ พี่หลิงจะขออธิบายง่ายๆ โดยแบ่งเป็นทีละพื้นที่ไปนะคะ

Open Area : ข้อนี้ไม่ยาก เพราะเป็นตัวตนที่เรารู้ๆ กันอยู่แล้ว แต่ถ้าอยากไล่ลิสต์ให้ครบ น้องๆ ควรใช้วิธีสังเกตตัวเองให้มาก ประกอบกับพูดคุยสื่อสารกับคนรอบข้างค่ะ 

Hidden Area : สำหรับตัวตนที่ซ่อนอยู่ ต้องพึ่งการคุยกับตัวเอง สังเกตตัวเองมากๆ เป็นหลักค่ะ หรือไม่ก็คุยกับคนสนิทจริงๆ ที่รู้จักเราแม้แต่ในตัวตนที่คนอื่นไม่รู้ เช่น เพื่อนสนิท พ่อแม่ พี่น้อง ถ้าจะคัดง่ายๆ ว่าใครเข้าข่ายบ้าง พี่หลิงแนะนำให้เลือกคนที่เป็น Comfort Zone ของเราค่ะ ใครสักคนที่ยินดีรับฟังเราในวันแย่ๆ เห็นเราในมุมที่ดูขัดกับภาพลักษณ์จริงๆ รับข้อเสียเราได้ คนนั้นแหละค่ะที่ใช่ ลองคุยกับเขาดูนะ

นอกจากสังเกตตัวเองให้มาก อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเปิดพื้นที่  Hidden ได้ คือการคุยกับคนที่สนิทจริงๆ 

Blind Spot : ในเมื่อเป็นตัวตนที่เรามองไม่เห็น แต่คนอื่นเห็น งานนี้จะขาดการสื่อสารกับคนรอบข้างไปไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องแค่คนสนิทนะ ใครก็ได้ค่ะ คุยไปเลย ยิ่งคุยเยอะ ก็ยิ่งได้เห็นตัวเราในอีกหลายๆ มุม ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าลืมจดเก็บไว้ แล้วมาทบทวนอีกทีว่าเราเป็นแบบที่เขาว่าจริงไหม สิ่งนั้นเป็นแค่ความเข้าใจผิดของอีกฝ่าย หรือเป็นตัวตนที่เราไม่เคยรู้มาก่อนกันแน่ แยกแยะให้ดี แล้วเราจะรู้จักตัวเองมากขึ้นได้แน่

Unknown : พื้นที่ที่เราไม่รู้จัก คนอื่นก็ไม่รู้จัก ยากขนาดนี้ เห็นทีคงต้องใช้ทุกวิธีที่ทำได้มารับมือ ทั้งสังเกตตัวเอง (หรือคุยกับตัวเองนั่นแหละ) พูดคุยสื่อสารกับคนรอบข้าง และอีกเทคนิคที่ควรทำมากๆ คือการลองหาอะไรใหม่ๆ ทำค่ะ เพราะถ้าไม่ลอง จะรู้ได้ไงว่าเราชอบหรือไม่ชอบอะไร จริงไหมคะ ยิ่งลองยิ่งรู้ว่าสิ่งไหนใช่ไม่ใช่สำหรับเราบ้าง ต่อให้ไม่เวิร์ก อย่างน้อยที่สุดก็ได้รู้ว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ทางเรานะ ตัดตัวเลือกไปได้อีกหนึ่ง ไม่มีอะไรเสียหายเลยค่ะ เพราะงั้นลองเถอะค่ะ อย่าไปกลัว ไม่แน่ เราอาจเจอตัวตนหรือพรสวรรค์ที่ซ่อนอยู่ก็ได้นะ!

การลองอะไรใหม่ๆ จะช่วยให้เรารู้จักตัวเองในมุมที่ไม่เคยรู้มาก่อน 

ทั้งหมดนี้ก็คือทฤษฎี Johari Window และเทคนิคนำไปปรับใช้ที่พี่หลิงนำมาฝากในวันนี้ค่ะ หวังว่าบทความนี้จะช่วยน้องๆ รู้จักตัวเองมากขึ้นได้นะคะ ค่อยๆ ค้นหาตัวตนที่ซ่อนอยู่ไปเรื่อยๆ ไม่ช้าก็เร็ว เราจะต้องเจอทางที่ใช่แน่ๆ สู้ๆ พี่หลิงเป็นกำลังใจให้ทุกคนเสมอค่ะ :)

ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่ (The Johari Window) ที่เราไม่รู้แต่คนอื่นไม่รู้เรียกว่าอะไร

2. Blind Area หรือ บริเวณจุดบอด (เราไม่รู้ เขารู้) เป็นพื้นที่บอด เพราะเราแสดงพฤติกรรมออกไปโดยไม่รู้ตัว แต่ผู้อื่นรับรู้ได้ เขามองเห็นตัวเราในมุมที่เราเองไม่เคยสังเกตมาก่อน ส่วนใหญ่เป็นข้อเสียหรือจุดบกพร่องที่เราอาจทำผิดพลาดจากความไม่ตั้งใจและไม่ได้ตระหนักรู้ว่าตนเองได้ทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมลงไป เราจะรับรู้ได้ก็ต่อเมื่อ ...

หน้าต่างหัวใจของโจฮารี่ (Johari) ทดสอบเรื่องอะไร

หน้าต่างของโจฮารีจึงยืนยันความจริงเกี่ยวกับตัวตนของมนุษย์ว่า ไม่มีใครรู้จักตนเองได้อย่างถ่องแท้ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่นตลอดเวลา จุดนี้เองเป็นทั้งเหตุผลและความหวังที่ทำให้คนเรารู้จักปรับพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นได้เสมอ นำไปสู่เป้าหมายหลักที่ลุฟท์และอิงแกรมเสนอไว้เป็น ...

ทฤษฎีหน้าต่างของโจฮารี่ คืออะไร

ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี แบ่งหน้าต่างออกเป็น 4 ส่วน คือ ตนที่เปิดเผย ตนที่บอด ตนที่ซ่อนเร้น และตนที่ไม่รู้ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรม เจตคติ ความรู้สึก ความปรารถณา การจูงใจ แนวความคิด และอื่นๆ ซึ่งแต่ละคนจะมีทั้ง 4 ส่วน คือมีทั้งส่วนที่เปิดเผย ที่บอด ที่ซ่อนเร้น และที่ตนไม่รู้ และในแต่ละบุคคลส่วนทั้งสี่ไม่จำเป็นจะต้อง ...

หน้าต่างพฤติกรรมโจฮารี ช่องที่1 คืออะไร

1หน้าต่างบานแรก (ด้านซ้ายบน) บานนี้คือ 'เรารู้เขาก็รู้' เป็นด้านที่เรารู้ว่าตัวเองเป็นและคนอื่นก็มองเห็นเหมือนกัน 2 – หน้าต่างบานที่สอง (ด้านขวาบน) บานนี้คือ 'จุดบอด' เป็นจุดที่คนอื่นรู้ว่าเราเป็นแต่เราไม่รู้ตัวเอง เช่น เราอาจจะชอบกรอกตาเวลาพูดแต่เราไม่รู้ตัว