ธุรกิจประกันภัย มีอะไรบ้าง

ภารกิจทรานส์ฟอร์มธุรกิจประกันภัยของ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ

 

ธุรกิจประกันภัย มีอะไรบ้าง

ในวันที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด 19 ได้ส่งแรงสั่นสะเทือนการขับเคลื่อนให้ทุกแวดวงอุตสาหกรรมต้องปรับตัว รวมถึงวงการธุรกิจประกันภัยที่กำลังเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จึงถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลอย่าง ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) คนปัจจุบัน ในการนำพาอุตสาหกรรมประกันภัยฝ่าวิกฤตครั้งนี้

          "ประกันภัยโควิด 19 ถือเป็นครั้งแรกในโลกที่ทั้งอุตสาหกรรมยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน แต่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น สำนักงาน คปภ. ต้องกล้าออกคำสั่ง ต้องเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนให้ได้" ดร.สุทธิพลกล่าวถึงกรณีล่าสุดที่บริษัทประกันภัยบางแห่งมีทีท่าว่าจะยกเลิกกรมธรรม์โควิด 19 หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดทวีความรุนแรงขึ้น จนสำนักงาน คปภ. ต้องออกคำสั่งให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด 19

          ดร.สุทธิพลได้ผ่านประสบการณ์การทำงานมาหลายองค์กร ตั้งแต่กระทรวงพาณิชย์ ศาลยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และล่าสุดคือ เลขาธิการ คปภ. ซึ่งแม้จะดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 แต่ก็ถือว่ายังใหม่สำหรับอุตสาหกรรมนี้

          "ธุรกิจประกันภัยถือเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับผม แต่ด้วยหลักคิดที่ยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอดคือ 'ทำดีที่สุด ในจุดที่เป็น' ด้วยการนำเอาความรู้และประสบการณ์ที่ผมมีมาสร้างประโยชน์ให้กับองค์กร และทำให้องค์กรพัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป" ดร.สุทธิพลกล่าวถึงวิธีคิดในการทำงานที่ยึดมั่นมาโดยตลอด

โควิด 19 ความท้าทายครั้งใหญ่

          ดร.สุทธิพลผ่านวาระแรกด้วยการวางรากฐานใหม่ให้ธุรกิจประกันภัยของประเทศ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการสร้างกลไกการกำกับดูแลที่เป็นธรรมระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เอาประกันภัย พอเข้าสู่วาระที่ 2 เจอกับสถานการณ์โควิด 19 ซึ่งถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของวงการประกันภัย รวมถึงผู้กำกับดูแลที่ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

          "เมื่อเกิดวิกฤตโควิด 19 ทำให้สิ่งที่เตรียมไว้ ทั้งกฎ กติกา ผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่มีอยู่ไม่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การประกันภัยโควิด 19 ต้องขยายความคุ้มครองให้ครอบคลุม ทั้งเรื่อง home isolation และ community isolation ซึ่งถ้าใช้กระบวนการเคลมประกันภัยปกติ ย่อมไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว" ดร.สุทธิพลกล่าว

          กรณีสถานการณ์โควิด 19 ที่เกิดขึ้นถือเป็นภาพสะท้อนของเหรียญ 2 ด้านของอุตสาหกรรมประกันภัย ด้านดีคือ ทำให้คนเห็นประโยชน์ของการทำประกันภัยแบบเจอ จ่าย จบ ซึ่งการระบาดระลอกแรก รัฐบาลควบคุมสถานการณ์ได้ ทำให้ยอดเคลมประกันไม่มากนัก อยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท ขณะที่บริษัทประกันภัยมีรายได้จากประกันโควิด 19 หลักพันล้านบาท ส่วนในด้านลบคือ การระบาดระลอก 3 และ 4 ในปีนี้ ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ทำให้การคาดการณ์ค่าสินไหมทดแทนมีข้อมูลไม่เพียงพอ บริษัทประกันภัยจึงต้องรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น

          อย่างไรก็ตาม ดร.สุทธิพลมองว่าโควิด 19 ที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนเห็นประโยชน์ที่ชัดเจนขึ้นของหลักการประกันภัย ที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงสำหรับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ การเข้าไปเยียวยาความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ในหลายมิติ ทั้งในด้านความเจ็บป่วย เยียวยาการเสียโอกาสทางธุรกิจ และช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐได้ ซึ่งที่ผ่านมา ประชาชนอาจยังขาดความเข้าใจ และไม่อยากเสียเงินเพื่อจ่ายเบี้ยประกันภัยเพื่อป้องกันความเสี่ยง

          "ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลที่บังคับใช้กฎหมายต้องยึดหลักการเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องปรับวิธีการ การตีความ หรือการใช้กฎหมายให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น หรือพัฒนากฎหมายให้มีลักษณะเป็น principle based สามารถทำให้กฎหมายนั้นทันสมัย ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งเรื่องนี้ สำนักงาน คปภ. ได้มีการปรับตัวตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ผ่านมา" ดร.สุทธิพลระบุ

ธุรกิจประกันภัย มีอะไรบ้าง

          ยกตัวอย่างในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ที่เกิดขึ้น ประชาชนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ต้องทำงานจากบ้าน ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งเดิมการขายประกันภัยต้องขายต่อหน้า (face-to-face) เมื่อไม่สามารถทำได้ ก็ต้องทำให้เสมือนขายประกันแบบ face-to-face โดยทดลองทำใน sandbox เป็นกติกาเฉพาะกิจชั่วคราว ก่อนที่คณะกรรมการ คปภ. ได้ประกาศหลักเกณฑ์ให้เสมือนขายแบบ face-to-face ผ่านช่องทางดิจิทัลได้ หรือที่เรียกว่า digital face-to-face เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อประกัน

เร่งแผนก้าวสู่เทคโนโลยีเต็มตัว

          ดร.สุทธิพลกล่าวว่า สำหรับสำนักงาน คปภ. เองได้นำกระบวนการ digital transformation มาใช้ เพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว โดยมีเป้าหมายการก้าวสู่ Smart OIC ที่ครอบคลุมทั้งด้านการเปลี่ยนสู่องค์กรกำกับดูแลผ่านระบบดิจิทัล มีโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เอื้อต่อการส่งเสริมและลดต้นทุนการดำเนินงาน ขณะที่พนักงานของสำนักงาน คปภ. ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และใช้เทคโนโลยีในการทำงาน เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ และเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น

          สำนักงาน คปภ. ได้เร่งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในหลากหลายมิติ พร้อมวางเป้าหมายว่าภายใน 3 ปีนี้ บริษัทประกันภัยจะมีการใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลาย ทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความต้องการของลูกค้า การออกแบบและนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เหมาะสม รวมถึงการให้บริการและการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่สะดวกและรวดเร็ว

          การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว สำนักงาน คปภ. จำเป็นต้องสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสม ทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ฐานข้อมูล รวมถึงหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลที่เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยี เช่น โครงการพัฒนาฐานข้อมูลกลางประกันภัย หรือ Insurance Bureau System (IBS) ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว โดยในอนาคตจะแยกเป็นหน่วยงานอิสระ เป็นฐานข้อมูลสำคัญให้ภาคธุรกิจสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ พัฒนา business model ใหม่ ๆ ถือเป็นหน่วยสนับสนุนเพิ่มแต้มต่อให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและเล็กให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคได้

          นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ยังได้จัดตั้ง Center of InsurTech, Thailand (CIT) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและส่งเสริมองค์ความรู้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการประกันภัยของไทย เพื่อส่งเสริม InsurTech อย่างเป็นรูปธรรม เน้นการสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและสตาร์ทอัป โดยให้ทุนสนับสนุน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้วงการประกันภัย เช่น ระบบ OIC Gateway แพลตฟอร์มกลางที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสำนักงาน คปภ. ภาคธุรกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนาแชทบอท เพื่อให้ความรู้และตอบคำถามด้านประกันภัยให้กับประชาชน

          นอกจากนี้ ในเรื่องประกันภัยไซเบอร์ อันถือเป็นเรื่องใหม่เช่นเดียวกัน เมื่อภาคธุรกิจมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น มีการจัดเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ แต่ก็มีผู้ไม่หวังดีใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อหาประโยชน์ มีอาชญากรไซเบอร์ แฮกเกอร์สร้างความเสียหายให้ภาคธุรกิจและประชาชนมากขึ้น สำนักงาน คปภ. จึงอนุมัติกรมธรรม์ประเภท cyber insurance ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ cyber insurance เชิงพาณิชย์ และ cyber insurance สำหรับบุคคล เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมออนไลน์

ธุรกิจประกันภัย มีอะไรบ้าง

พร้อมรับความท้าทาย 5 ด้านในอนาคต

          ดร.สุทธิพลฉายภาพใหญ่ให้เห็นว่า ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน สถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ความผันผวนทางเศรษฐกิจ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการพัฒนาของเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ล้วนแล้วแต่เป็นความเสี่ยงใหม่ที่เกิดขึ้น และเป็นความท้าทายของสำนักงาน คปภ. ในฐานะผู้กำกับดูแล ซึ่งมี 5 ด้านสำคัญที่ต้องเตรียมรับมือ คือ

          1. การสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยปรับเปลี่ยน และเพิ่มมิติการกำกับดูแลให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ความเสี่ยงใหม่ที่เกิดขึ้น รวมทั้งให้สอดคล้องกับกติกาสากล

          2. การสร้างความเชื่อมั่นและปลูกฝังค่านิยมประกันภัย โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการประกันภัยได้สะดวกรวดเร็ว เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยได้ประสบการณ์ที่ดี และมีความเชื่อมั่นในกลไกการประกันภัยมากขึ้น

          3. การสนับสนุนธุรกิจประกันภัยปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยใช้ฐานข้อมูลลูกค้ามาพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ พัฒนาผลิตภัณฑ์และรูปแบบธุรกิจที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

          4. การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่สามารถรับความเสี่ยงที่สอดคล้องกับภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมี พ.ร.บ. ประกันสุขภาพภาคสมัครใจ หรือความเสี่ยงจากโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด 19 หรือร่าง พ.ร.บ. ประกันพืชผลทางการเกษตร อันเนื่องมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

          5. การผลักดันให้สำนักงาน คปภ. เป็นที่ยอมรับ เป็นองค์กรชั้นนำที่มีบุคลากรคุณภาพสูง มีกระบวนการทำงานที่คล่องตัว ขับเคลื่อนองค์กรด้วยฐานข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และที่สำคัญต้องเป็นที่พึ่งให้กับประชาชน

          "ต้องทำให้ประชาชนเห็นสำนักงาน คปภ. เป็นที่พึ่ง ทำให้ประกันภัยเป็นเรื่องของคนทุกระดับ สร้างความเชื่อมั่นในระบบประกันภัย ผมวางเป็นนโยบายเลยว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น สำนักงาน คปภ. ต้องสามารถเข้าไปดำเนินการได้ทันที ต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง คงหลักการสำคัญของการประกันภัย แต่ต้องมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนรวดเร็ว ให้ทันกับสถานการณ์ เพื่อสนองตอบต่อประชาชน มุ่งกำกับดูแลให้เกิดความเป็นธรรมและต้องมองไปข้างหน้า ก้าวนำอุตสาหกรรมประกันภัยไปสู่อนาคต"

          แน่นอนว่าการที่จะนำองค์กรไปสู่เป้าหมายให้ได้นั้น ดร.สุทธิพลขอเริ่มที่ตัวเองก่อน ด้วยการทำให้องค์กรเกิดความเชื่อมั่น โดยนำประสบการณ์การทำงานถึง 7 องค์กรมาเป็นบทเรียนในการวางนโยบายของสำนักงาน คปภ. และพร้อมพิสูจน์ว่าสิ่งที่ตัดสินใจเดินหน้าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อทำให้อุตสาหกรรมประกันภัยได้รับความเชื่อมั่น ทำให้ประชาชนเห็นสำนักงาน คปภ. เป็นที่พึ่งให้ได้ "ทำดีที่สุด ในจุดที่เป็น" จึงเป็นหลักคิดที่เลขาธิการ คปภ. ยึดมั่นมาโดยตลอด ซึ่งจากสถานการณ์โควิด 19 ที่เกิดขึ้น ก็เป็นบทพิสูจน์ที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า สำนักงาน คปภ. เป็นที่พึ่งให้ประชาชนได้มากเพียงใด

บริษัทประกันภัยมีอะไรบ้าง

รายชื่อและที่ตั้งของ บริษัทประกันวินาศภัย.

บริษัทประกันภัย ทําอะไรบ้าง

เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในการรับประกันภัย รับทำสัญญา (ออกกรมธรรม์) ให้ความคุ้มครองชีวิตและการออมเงิน และคุ้มครองภัยพิบัติต่างๆ เช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยรถยนต์ ประกันสุขภาพ ฯลฯ เป็นการดำเนินธุรกิจให้บริการทางด้านการเงินอีกรูปแบบหนึ่ง บริษัทประกันภัยจะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงภัยต่างๆ เพื่อคำนวณหาค่าเบี้ยประกันภัย ...

การประกันภัยมีความสําคัญอย่างไร

ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน เป็นหลักประกันต่อบุคคลและครอบครัวของผู้เอาประกันภัย เช่น กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินชดเชยจำนวนหนึ่ง ทำให้ไม่ต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่น ช่วยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายนั้นจากผู้รับประกันภัย

คปภ.เกี่ยวข้องกับธุรกิจอะไร

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ในฐานะหน่วยงานของรัฐ ที่ทำหน้าที่ใน การกำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มี ประสิทธิภาพ และคุ้มครองประชาชนให้ได้รับสิทธิประโยชน์