หลักฐานทางประวัติศาสตร์คืออะไรมีกี่อย่างอะไรบ้าง

หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ ร่องรอยการกระทำของมนุษย์ในอดีต ที่ใช้เครื่องมือสำคัญในการสืบค้นแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสังคมมนุษย์ในอดีตที่ผ่านมาการจำแนกหลักฐานทางประวัติศาสตร์มี 2 ประเภท คือ
1. ประเภทหลักฐานที่แบ่งตามลักษณะยุคสมัย
2. ประเภทหลักฐานที่แบ่งตามลักษณะการบันทึก
หลักฐานที่แบ่งตามลักษณะยุคสมัยแบ่งออกเป็น 2 ยุคคือ
1. หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานที่ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ถือเอาหลักฐานทางโบราณคดีเป็นหลักฐานที่สำคัญ เช่นซากโครงกระดูกมนุษย์ โครงกระดูกสัตว์ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ รูปภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ สถานที่ฝังศพ เป็นต้น
2. หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์อักษรและบันทึกบนวัสดุต่าง ๆ เช่นหนังสัตว์ ศิลา ( หิน ) เป็นต้น จึงมีหลักฐานประเภทที่มีลายลักษณ์อักษรขึ้น ได้แก่ศิลาจารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกและประกาศทางราชการ
หลักฐานที่แบ่งตามลักษณะการบันทึก แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่
จารึก
ตำนาน
พระราชพงศาวดาร
จดหมายเหตุ
เอกสารการปกครอง
งามเขียนทางประวัติศาสตร์ หรือประวัติศาสตร์นิพนธ์
2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่
2.1โบราณสถาน โบราณวัตถุ
2.2เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา
2.3วัด เจดีย์ อนุสาวรีย์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์คืออะไรมีกี่อย่างอะไรบ้าง

                                                              หลักฐานทางประวัติศาสตร์
            การสืบค้นเรื่องราวสังคมในอดีตต้องอาศัยร่องรอยที่มนุษย์ได้กระทำไว้และหลงเหลือจนปัจจุบัน เรียกว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ส่วนวิธีการในการแสวงหาข้อเท็จจริงในอดีต เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นวิธีการสืบค้นเรื่องราวในอดีตอย่างเป็นระบบ โดยจะให้ความสำคัญในเรื่องการตรวจสอบหลักฐาน การประเมินความน่าเชื่อถือและคุณค่าทางหลักฐาน รวมทั้งวิเคราะห์ตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่บนพื้นฐานความเป็นเหตุเป็นผล

                                                   

ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

  1. จำแนกตามยุคสมัย
    1) หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ร่องรอยการกระทำของมนุษย์ตั้งแต่สมัยที่ชุมชนนั้นยังไม่มีตัวอักษรใช้ 
    2) หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ ร่องรอยการกระทำของมนุษย์ในสมัยที่ชุมชนนั้นรู้จักใช้ตัวอักษรแล้ว หลักฐานประเภทนี้มีทั้งสิ่งที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และสิ่งที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

  2.จำแนกตามลักษณะ แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1) หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written source ) คือหลักฐานจำพวกคำจารึกในแผ่นศิลา แผ่นโลหะ ใบลานหรือวัสดุอื่น รวมถึงตัวเขียนตัวพิพม์ในแผ่นกระดาษหรือวัสดุอื่น เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์
    2) หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten source ) คือหลักฐานที่เป็นโบราณวัตถุ โบราณสถาน ศิลปกรรม คำบอกเล่า ฯลฯ ทั้งของสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์


3.จำแนกตามความสำคัญ แบ่งเป็น 2 ประเภท
    1) หลักฐานชั้นต้น (Primary source ) คือหลักฐานที่บันทึกไว้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์หรือรู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง รวมทั้งโบราณวัตถุ โบราณสถาน ที่สร้างขึ้นในยุคสมัยนั้น
    2) หลักฐานชั้นรอง (Secondary source ) คือหลักฐานที่ผู้บันทึกรับทราบเหตุการณ์มาจากคำบอกเล่าหรือข้อเขียนของผู้อื่นอีกต่อหนึ่ง

 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย 

1.หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่

  1. จารึก 

  2. ตำนาน          

  3.  พระราชพงศาวดาร 

  4.  จดหมายเหตุ

  5.  เอกสารการปกครอง 

  6. บันทึกเหตุการณ์ของบุคคลต่างๆ      

  7. ชีวประวัติ   

  8.กฎหมาย

  9. งานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์ และวิทยานิพนธ์

  10.หนังสือพิมพ์

  11.วรรณกรรม

  12. เว็บไซต์

2.หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

                                                                            

หลักฐานทางประวัติศาสตร์คืออะไรมีกี่อย่างอะไรบ้าง
     Back