ข้อใดคือสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหลากหลายทางชีวภาพ (อังกฤษ: biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่าย ๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetics) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก

ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ

ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่าง ๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม วัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น

ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชกับสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้ง ๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ค.ศ. 1995)

ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่าง ๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน

ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ "บริการทางสิ่งแวดล้อม" (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิ ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น

อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ[แก้]

จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development) หรือการประชุมสุดยอดด้านสิ่งแวดล้อม (Earth Summit) ณ นครรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 5–14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ประเทศทั่วโลกได้ให้การรับรองอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีทั้งสิ้น 157 ประเทศร่วมลงนาม อนุสัญญาฯ ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ปัจจุบันมีภาคี 191 ประเทศ ในส่วนของประเทศไทย ได้ลงนามในอนุสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2535 และให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2546 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2547

อนุสัญญาฯ เป็นความตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ที่มีเจตนารมณ์ให้รัฐบาลทุกประเทศเคร่งครัดต่อการรักษาวินัยสิ่งแวดล้อม อนุสัญญาฯ ฉบับนี้เป็นอนุสัญญานานาชาติฉบับแรกที่ครอบคลุมการอนุรักษ์ ทั้งพันธุกรรม ชนิดพันธุ์ และระบบนิเวศ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ

  1. เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
  2. เพื่อใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
  3. เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม

อ้างอิง[แก้]

  • สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ
  • ในมิติแห่งความหลากหลายทางชีวภาพและกฎหมายสิ่งแวดล้อม โดย วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ เก็บถาวร 2011-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • กองบรรณาธิการ. "อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ" วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย กรกฎาคม - สิงหาคม 2554: 62.

ที่มา: 

กลุ่มงานคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย

อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพกับศาลรัฐธรรมนูญเสมือนหนึ่งเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ


เกริ่นนำ

        โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP) ได้ประมาณการไว้ว่า มีพืชประมาณ 4,000 ชนิดในโลกนี้ใกล้จะสูญพันธ์ (Endangered) และอัมมาร สยามวาลาอ้างข้อมูลจาก MIDAS ว่าประเทศไทยมีพืชชั้นสูงอยู่ทั้งหมดประมาณ 10,000 กว่าชนิด ในจำนวนนี้มีประมาณ 2,000 ชนิดเป็นพืชที่มีอยู่เฉพาะในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่อยู่ในระดับสูงบริเวณรอบๆ ยอดดอย

        ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ประมาณการว่า โลกได้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพวันละ 100 ชนิด และศัตรูที่สำคัญที่สุดคือ "มนุษย์" นักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นวัตกรรมต่างๆ เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาธรรมชาติ จนในที่สุดเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพและทรงอิทธิพลยิ่งชนิดหนึ่ง ด้วยกระแสพาณิชย์นิยมผนวกกับระบบทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้มากขึ้น และเกิดแสวงหากำไรโดยระบบผูกขาดทางการค้า ความต้องการแสวงหาสารพันธุกรรมที่หลากชนิดหลายสายพันธุ์เกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว เพื่อผลิตอาหารและยาตามความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนผลิตภัณฑ์ธรรมชาติต่างๆ ตามแต่ลักษณะและคุณภาพที่มนุษย์ต้องการในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เข้มงวดในการควบคุมการเข้าถึงทรัพยากร เช่น กฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์พื้นที่ป่า, อุทยานแห่งชาติ การสงวนและคุ้มครองพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ต่างๆ แต่ในทางปฏิบัติเป็นที่ยอมรับว่าไม่สามารถป้องกันการลักลอบนำเอาทรัพยากรพันธุกรรมออกไปได้ สถานการณ์เช่นนี้จึงกลายเป็นข้ออ้างเพื่อให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการนำเอาอนุสัญญาฯ อนุวัตรเข้ามาใช้ภายในประเทศ ให้ประเทศไทยได้มีนโยบายและกฎหมายโดยอัตโนมัติ แต่เหตุผลดังกล่าวไม่เพียงพอที่ฝ่ายประชาชน นักวิชาการ องค์การเอกชนพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข สมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตและขายยาแผนโบราณและกระทรวงสาธารณสุขจะวางใจการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ดังกล่าว จึงกลายเป็นข้อโต้แย้งทางประวัติศาสตร์การเมืองสีเขียวภายในประเทศไทย โดยในภาคราชการมีทั้งฝ่ายสนับสนุนได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และฝ่ายกังวลใจ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข มานับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 ล่าสุดในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2541 คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า โดยที่เรื่องนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังมีความเห็นไม่สอดคล้องกันในปัญหาข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวกับการตีความคำว่า "บทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ" ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 224 วรรคสอง

        ดังนั้น เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการถือปฏิบัติ เลขานุการคณะรัฐมนตรีจัดประชุมหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และได้ลงมติให้เสนอศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย โดยให้กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการพิจารณายกร่าง กำหนดประเด็นพร้อมความเห็นในเรื่องนี้ ซึ่งย่อมแสดงนัยยะว่า มีความพยายามที่จะให้สัตยาบันโดยเลี่ยงรัฐสภา ไม่ต้องการให้สาธารณชนและผู้แทนปวงชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบสิทธิแห่งรัฐธรรมนูญ กว่าที่บทความฉบับนี้จะตีพิมพ์ ตุลาการรัฐธรรมนูญคงได้พิจารณาตัดสินไปแล้ว ไม่ว่าการตัดสินใจของตุลาการจะเป็นอย่างไร เรายังคงยืนยันเรื่องการให้สัตยาบัน เพื่อเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมควรผ่านการพิจารณาของรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์ต้นเรื่องสามารถร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ไปดำเนินการให้สัตยาบันได้โดยเพียงลำพัง กระนั้นหรือ อำนาจการบริหารทรัพยากรของประเทศประชาชนมิได้มีสิทธิในการตรวจสอบเลยหรือบทความนี้จึงถือเป็นควันหลง ทั้งไม่ได้มีเจตนาปฏิเสธหรือโต้แย้งผลการตัดสินใจของคณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ต้องการจุดประกายทางปัญญาเกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรชีวภาพ และบรรทัดฐานกฎหมายระหว่างประเทศในอนาคต ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 224 (ฉบับเดิม มาตรา 181) ได้ระบุว่า

"พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึกและสัญญาอื่นๆ กับนานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา"

        จากความที่ระบุในรัฐธรรมนูญ จึงเป็นที่มาของ การที่คณะรัฐมนตรีนำเรื่องการเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เข้าสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความในข้อคิดเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่างหน่วยราชการ เนื่องจาก กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า สามารถให้สัตยาบันได้โดยเห็นว่า ประเทศไทยมีกฎหมายพร้อมแล้วสามารถไปให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ได้ และเรื่องนี้ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตอำนาจแห่งรัฐไทย ในขณะที่ความเห็นขัดแย้งอีกฝ่ายหนึ่ง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรเห็นว่า การให้สัตยาบันต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภา เนื่องจากอนุสัญญาฯ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจนิติบัญญัติของรัฐไทย กล่าวคือต้องตามมาตรา 224 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และอนุสัญญาฯ เป็นกฎหมายเบ็ดเสร็จเมื่อเข้าเป็นภาคีแล้ว ประเทศสมาชิกจะต้องผูกพันและดำเนินการอนุวัตรการตามอนุสัญญาฯ ทุกประการ หากกฎระเบียบใด กฎหมายภายใดใดขัดต่ออนุสัญญาฯ จักต้องเปลี่ยนให้สอดคล้องกับอนุสัญญาทุกประการ โดยปราศจากข้อสงวนใดใด (มาตรา 37) และปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายแม่บทและกฎหมายรอง ที่จะกำหนดทิศทางการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะจุลชีพที่ไม่ใช่เชื้อโรค, กฎหมายคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น, กฎหมายการแบ่งปันผลประโยชน์ กฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ ฯลฯ เพื่อรองรับอนุสัญญาฯ


เบื้องหลังความพยายามผูกพันประเทศไทย

        นับแต่ประเทศไทยโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ ได้ลงนามเห็นชอบในหลักการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ในการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลก (Earth Summit) ปี พ.ศ. 2535 ณ เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ก็เกิดความพยายามเร่งรัดให้ประเทศไทยผูกพันตนเอง ด้วยการให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ได้มีการตอบโต้กันทางความคิด โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมอย่างบริสุทธิ์ใจ ในขณะที่อีกฝ่ายขอเตรียมความพร้อมเพื่ออนุวัตการได้อย่างเท่าเทียม โดยวิเคราะห์อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพว่า เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มิได้พัฒนาขึ้นเพียงเพื่ออนุรักษ์ แต่กลับกล่าวถึงโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพจากประเทศภาคีสมาชิกอื่น รวมทั้งการระบุว่า ให้ภาคีต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งรวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งนี้ให้อยู่ภายใต้ระบบทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอ ถ้าตีความตามเนื้อผ้าคือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่มีคุณค่าในระบบทรัพย์สินทางปัญญาแต่อย่างใด หากมีการแลกเปลี่ยนความรู้ตามระบบทรัพย์สินทางปัญญา มีแต่ไทยต้องควักเม็ดเงินจ่ายแลกให้กับองค์ความรู้ใหม่เท่านั้น และนับแต่ปี 2535 ถึงปัจจุบันที่ระยะเวลาได้ทอดยาวเนิ่นนาน บัดนี้ยังไม่มีพิธีสารใดเกี่ยวกับการแบ่งปันผลประโยชน์เท่าเทียม, การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือความปลอดภัยทางชีวภาพ ฯลฯ เว้นเสียแต่ว่าเราจะมีระบบกฎหมายที่คุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนั้นการเข้าเป็นภาคีสมาชิกจะมีผลดังนี้

        - ประเทศไทยจำต้องถูกบีบบังคับภายใต้อนุสัญญา ด้วยอนุสัญญาฯ มีศักดิ์และสิทธิทางกฎหมายที่เหนือกว่าประเทศสมาชิกมีแต่จะต้องแก้ไขกฎหมายต่างๆ ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ ไม่มีข้อสงวนใดๆ ตามมาตรา 37

        - โดยคำปรารภอนุสัญญาฯ ให้ตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นจุดเด่นของอนุสัญญาฯ ที่ประเทศด้อยพัฒนาคาดหวังว่าจะได้รับความตระหนักถึงคุณค่า แต่จนปัจจุบันอนุสัญญาฯ ยังไม่มีพิธีสารคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแบ่งปันผลประโยชน์

        - การสนับสนุนทรัพยากรการเงิน ตามมาตรา 20 อาจไม่เป็นตามความคาดหวังของประเทศไทย เพราะการได้รับทุนสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้วเป็นการบริจาคตามความสมัครใจ ทั้งกลไกการเงินขึ้นอยู่กับสมัชชาภาคีที่จะวางลำดับความสำคัญ (มาตรา 21 และมาตรา 39) โดยกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกภายใต้ธนาคารโลกก่อนจนกว่าจะมีการตัดสินใจใหม่

        - การแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยี ประเทศไทยอาจไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเท่าที่ควรด้วยโครงสร้าง และกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพของไทยไม่สามารถรองรับได้ และถูกจำกัดโดยกฎหมายสิทธิบัตร

        - ประเทศไทยสามารถดำเนินการพัฒนา ระบบการจัดการด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพ ทั้งในด้านนโยบาย กฎหมาย และองค์กรได้เองโดยไม่ต้องมีการเร่งรัดหรือนำกฎหมายสากลมาครอบใช้

        - อนุสัญญาฯ ไม่อนุญาตให้มีข้อสงวนสิทธิใดๆ (มาตรา 37) นอกจากนี้การออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแทนการตราพระราชบัญญัติ จะไม่มีศักดิ์และสิทธิเพียงพอที่จะให้ความคุ้มครอง หรือเรียกร้องสิทธิประโยชน์จากผู้มาใช้ทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย นับแต่นั้นมา การนำเสนอความเห็นแลกเปลี่ยนไปมาระหว่าง 2 ฝ่าย และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งทางหนังสือราชการ และการติดต่อตรงกับระดับผู้บริหาร โดยมีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ประสานประเด็นความขัดแย้งให้เหลือน้อยที่สุด ก่อนเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ดังนี้

        - คณะรัฐมนตรีมีมติ (15 กรกฎาคม 2540) เห็นชอบในหลักการเข้าเป็นภาคีโดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เสนอและการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้จะต้องมีกฎหมายบังคับ เพื่อให้การเป็นไปตามอนุสัญญา และให้นำข้อเสนอเข้าสภา

        - กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอขอให้แก้ไขมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2540 เป็น "เนื่องจากกฎหมายภายในของประเทศไทยที่มีอยู่แล้ว ในขณะนี้เพียงพอต่อการอนุวัตการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติอนุวัติการอีก และไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ทั้งนี้ให้แสดงไว้ชัดเจนในแถลงการณ์แนบท้ายสัตยาบันสาร declaration upon ratification ว่าการเป็นภาคีอนุสัญญาไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตย และขอบเขตอำนาจรัฐ และการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ จะเป็นไปตามกฎหมายภายใน" ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้แก้ไขได้ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ

        - กระทรวงการต่างประเทศได้เสนอขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี โดยขอให้กระทรวงการต่างประเทศให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าว โดยไม่ต้องทำแถลงการณ์แนบท้ายสัตยาบันสาร เพราะทราบดีว่าอนุสัญญาห้ามมีข้อสงวน การมีมติในข้อสองแสดงให้เห็นว่าผู้เสนอไม่รู้จริงเกี่ยวกับอนุสัญญา

        - สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีมติว่า การเข้าเป็นภาคีต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน โดยมีความเห็นว่า ตามบทบัญญัติ Article 15 ของอนุสัญญาดังกล่าว จะทำให้เนื้อหากฎหมายไทยเปลี่ยนแปลงไป มีผลระดับเดียวกับการต้องมีกฎหมายบังคับ เพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญา โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจของรัฐในทางนิติบัญญัติ

        - สำนักเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งบัญชาของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เสนอความเห็นของคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า การให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ มีผลกระทบต่อ "เขตอำนาจรัฐ" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 224 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และจำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามอนุสัญญาฯ ด้วย

        - เลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีการนัดประชุมเพื่อพิจารณาหารือ เพื่อหาข้อยุติในเรื่องนี้เป็นการภายใน ระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2541 ที่สุดเห็นควรส่งเรื่องนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความคำว่า "เขตอำนาจแห่งรัฐ" ตามความหมายของมาตรา 224 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญฯ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานต่อไป จากความเคลื่อนไหวผลักดันการเร่งรัดเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ โดยเลี่ยงสภา และซ้ำให้ทำแถลงการณ์แนบท้ายสัตยาบันสาร ได้ย้ำถึงพฤติกรรมเลี่ยงรัฐธรรมนูญและอำพรางฝ่ายนิติบัญญัติฝ่ายการเมืองว่า สามารถทำแถลงการณ์แนบท้ายได้ ทั้งที่อนุสัญญาฯ ห้ามมีข้อสงวนใดใด (มาตรา 37)


อำนาจอธิปไตย คืออะไร

        ประเด็นการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง "อำนาจอธิบไตย" จึงนับเป็นการโยนเผือกร้อนให้ศาลรัฐธรรมนูญถึง 2 ชั้น คือ

        1) ชั้นแรก ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องตีความรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 224 โดยเฉพาะวรรค 2 "หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ" ว่าต้องตามกรณีของอนุสัญญาฯ หรือไม่ ? ซึ่งการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ จะมีผลต่อการดำเนินการในชั้นที่สองทันที หากศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าไม่ต้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 224 ก็เปรียบเสมือนหนึ่งส่งประเทศไทยให้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา เหมือนกับศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตัดสินใจแทนรัฐบาลให้สัตยาบันนั่นเอง เพราะผลที่ได้เท่ากันคือให้สัตยาบันได้โดยกระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการให้สัตยาบันทันที

        2) ชั้นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญย่อมตกเป็นผู้ใช้อำนาจให้ไปดำเนินการให้สัตยาบันสารแทนรัฐสภา หากเกิดความผิดพลาดในการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญก็คงต้องตกเป็นจำเลยในการวิพากษ์วิจารณ์ความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศไทยไปชั่วนิรันดร์ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญคงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

        แต่ในการนี้ ตุลาการรัฐธรรมนูญคงไม่จำเป็นต้องพิจารณาให้ละเอียดลึกซึ้ง ด้วย "เขตอำนาจรัฐ" มิใช่หมายถึงดินแดนหรือเขตแดงของประเทศ แต่หมายถึงการใช้อำนาจรัฐผ่านกฎหมายด้วย ซึ่งในการนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยได้วินิจฉัยเรื่องดังกล่าวแล้ว และได้มีการตอบโต้จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องดังนี้

        1. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร และกระทรวงสาธารณสุข เห็นควรว่า การให้สัตยาบันดังกล่าวต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภา เนื่องจาก

        - มีผลกระทบต่อ "เขตอำนาจแห่งรัฐ" ในทางนิติบัญญัติ กล่าวคือ ประเทศไทยได้มีกฎหมายคุ้มครองการเข้าถึงทรัพยากร อาทิ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ว่า จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาต ซึ่งในระบบการอนุญาตนั้น เจ้าหน้าที่ต้องใช้ดุลยพินิจในการที่จะอนุญาต หรือไม่อนุญาตได้ตามที่ตนเห็นสมควร แต่ตามบทบัญญัติ Article 15 ของอนุสัญญาดังกล่าวจะทำให้เนื้อหาของกฎหมายไทยเปลี่ยนแปลงไป นั่นคือ จะต้องอนุญาตการขอเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมในทุกกรณี หากการเข้าถึงไม่เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์ยั่งยืน และต่อไปประเทศไทยจะออกกฎหมายให้ขัดต่ออนุสัญญานี้ไม่ได้ด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของกฎหมายไทยนั้น มีผลระดับเดียวกับการต้องมีกฎหมายบังคับเพื่อให้การเป็นไปตามอนุสัญญา โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจของรัฐในการนิติบัญญัติ

        อนึ่ง "เขตอำนาจแห่งรัฐ" ไม่ได้หมายถึง พื้นที่อาณาเขตรัฐเพียงอย่างเดียว แต่มีความหมายเกี่ยวกับอำนาจของรัฐอย่างแท้จริง การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว ที่จะกระทบกระเทือนคือ อำนาจอธิปไตยของรัฐที่ถูกจำกัด จึงควรให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบก่อน การมีกฎหมายภายในประเทศครบ หรือไม่ครบไม่เกี่ยวกับการเสนอให้รัฐสภา ให้ความเห็นชอบ แต่ต่อไปเมื่อเป็นภาคีแล้ว การออกกฎหมายต้องเป็นไปตามอนุสัญญา รัฐบาลไม่สามารถออกกฎหมายห้ามการเข้าถึงพันธุกรรมได้

        - อนุสัญญานี้มีกำหนดใน Article 37 รัฐภาคีไม่อาจตั้งข้อสงวน (reservation) ใดๆ ในการเข้าเป็นภาคี กล่าวคือ รัฐภาคีต้องยอมรับปฏิบัติตามอนุสัญญานี้ทั้งหมด จะยกเว้นข้อหนึ่งข้อใดไม่ได้ ด้วยเหตุนี้การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเมื่อต้องยอมรับปฏิบัติตามเงื่อนไขของ Article 15 จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน

        - การให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าว จำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติ เพื่อให้การเป็นไปตามอนุสัญญา ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 224 วรรค 2 ในกรณีนี้รัฐจำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติอย่างน้อย 3 ฉบับ อาทิ พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช และพระราชบัญญัติป่าชุมชน ดังนั้นการให้สัตยาบันดังกล่าวจึงต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน


        2. กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ เห็นว่าไม่ต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภา เนื่องจากกฎหมายภายในประเทศที่มีอยู่ในขณะนี้ เพียงพอกับการอนุวัตการอนุสัญญานี้แล้ว ไม่จำเป็นต้องออกกฎหมายเพิ่มเติมอีก และไม่ใช่เรื่องเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศ หรือเขตอำนาจรัฐ รัฐบาลสามารถมอบให้กระทรวงต่างประเทศดำเนินการต่อไปได้ ความคิดเห็นที่แตกต่างนี้ดูเหมือนนักกฎหมายก็แบ่งเป็นสองค่ายเช่นกัน


        3 เพื่อคุ้มครองและป้องกันการเสียเปรียบ จึงเห็นสมควรให้ประกาศใช้กลไกกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช กฎหมายป่าชุมชนเสียก่อนที่จะลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ ดังกล่าว


วิเคราะห์อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

        1. ปรัชญา เจตนารมย์ วัตถุประสงค์ และสาระสำคัญ

        วัตถุประสงค์หลักของอนุสัญญาฯ

        1. การอนุรักษ์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ

        2. การใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

        3. การแบ่งปันผลประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึง

สิทธิอธิปไตย
การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี
การสนับสนุนทุนอย่างเหมาะสม
        ระบุ : มาตรา 1 - 4, ม. 15


        2. ความร่วมมือในการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

        - ระบุความร่วมมือ โดยเฉพาะบริเวณที่นอกเหนือขอบเขต อำนาจความรับผิดชอบของชาตินั้น

        - วางแผนมาตรการระดับชาติ

        - จำแนก ระบุการติดตามตรวจสอบ ชี้ให้เห็นภัยคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพ

        - การอนุรักษ์ในถิ่นที่อยู่อาศัย

        - การอนุรักษ์นอกถิ่นที่อยู่อาศัย

        - การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

        - การวิจัยและพัฒนาฝึกอบรมเพื่อสร้างจิตสำนึก

        - การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

        ระบุ : ม.5-14


        3. การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม

        แต่ละภาคีจักต้องพยายามในการสร้างเงื่อนไขเพื่อเอื้ออำนวยแก่ภาคีอื่นๆ ในการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม โดยการเข้าถึงจะต้องอยู่ภายใต้พื้นฐาน "การตกลงร่วมกัน" และ "การบอกกล่าวล่วงหน้า" ทรัพยากรซึ่งถูกจัดหาให้โดยภาคี(ทั้งภาคีที่จัดหาให้ และหรือภาคีเจ้าของแหล่งกำเนิด) ต้องดำเนินการวิจัยทรัพยากรพันธุกรรม ในประเทศแหล่งกำเนิดพันธุกรรมนั้น และควรแบ่งปันผลประโยชน์แก่ภาคีซึ่งให้ทรัพยากรเหล่านั้น

        ระบุ : ม.15


        4. การเข้าถึงและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ภาคีจักต้องอำนวยความสะดวก แก่การเข้าถึงและถ่ายทอดเทคโนโลยี 2 ประเภท คือ

        - เทคโนโลยีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

        - เทคโนโลยีในการใช้ทรัพยาพันธุกรรม และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ภายใต้เงื่อนไขที่ยุติธรรม และสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

        ระบุ : ม.16


        5.การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และความร่วมมือทางด้านวิชาการและวิทยาศาสตร์

        สนับสนุนให้ภาคีเอื้ออำนวยการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล และผลการวิจัย ให้ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกับความรู้เฉพาะ เช่นภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการส่งข้อมูลข่าวสารกลับคืนสู่ประเทศเดิมด้วย

        ระบุ : ม.17-18


        6. เทคโนโลยีชีวภาพ กำหนดให้ภาคีต่างๆ จัดให้ภาคีประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งให้สารพันธุกรรมให้เข้าร่วมในกิจกรรมการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ และได้รับความสำคัญก่อน ในการเข้าถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากทรัพยากรพันธุกรรม

        โดยอยู่บนพื้นฐานความยุติธรรมและเท่าเทียม อีกทั้งต้องพิจารณาถึงความต้องการ และความจำเป็นในการถ่ายทอดสิ่งมีชีวิต ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมอย่างปลอดภัย

        ระบุ : ม.19


        7. ทรัพยากรการเงิน

        - ภาคีต้องหาทุนสนับสนุน เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาใช้จ่าย โดยคำนึงถึงลำดับความสำคัญและการขจัดความยากจน

        - จัดตั้งกลไกเพื่อจัดหาเงิน วางนโยบาย กฎเกณฑ์และมาตรการ

        - กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ภายใต้ธนาคารโลกจะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้าง เพื่อเป็นกลไกการเงินเฉพาะกาลก่อน

        ระบุ : ม.20-21,ม.39


        8. การสงวนสิทธิ์

        ระบุ : ม.37


        9. การเพิกถอนสิทธิ์

        ระบุ : ม.38 กฎหมายภายในประเทศไทยและข้อคิดเห็น


        1. การอนุรักษ์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ กฎหมายไทยได้ให้การคุ้มครององค์ประกอบความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น พื้นที่ ชนิดพันธุ์ สายพันธุ์ น้ำ อากาศ แร่ธาตุ ฯลฯ โดยมุ่งที่ "คน" เป็นเป้าหมายหลัก แต่การให้ความสำคัญแก่ทรัพยากรชีวภาพองค์รวมเป็นหลัก ไม่ปรากฎในกรอบระดับนโยบาย ซึ่งให้น้ำหนักกับการพัฒนารายได้มวลรวมของชาติเป็นสำคัญ


        2. อนุสัญญาฯ เป็นกฎหมายระดับนานาชาติสำเร็จรูป การปรากฎตัวของอนุสัญญาเป็นผลดีที่จะทำให้ระดับนโยบายของไทยเข้าใจ และตระหนักถึงความหลากหลายทางชีวภาพ ในขณะเดียวกันก็สามารถนำกรอบกฎหมายสากล เป็นกรอบกฎหมายไทยอย่างเบ็ดเสร็จสำเร็จรูป


        3. ปัจจุบันกฎหมายไทย ให้ความคุ้มครององค์ประกอบความหลากหลายทางชีวภาพ 2 กรณี คือ

        ก.) การคุ้มครองพื้นที่ หรือแหล่งที่อยู่อาศัย มีกฎหมายคุ้มครอง 4 ฉบับ ดังนี้ คือ

        - พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490

        (ห้ามให้บุคคลใดทำการประมง...ในที่รักษาพืชพันธุ์ : ม.9)

        - พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2540

        (ในเขตอุทยานฯ ห้ามให้เข้าไปดำเนินกิจการใดใดให้เป็นอันตราย หรือเสื่อมสลายซึ่งไม้ สัตว์ ดอกไม้ ใบไม้ ผลไม้หรือ ทรัพยากรธรรมชาติอื่น หรือเข้าไปดำเนินกิจกรรมใดๆ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ : ม.16)

        - พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507

        (ในเขตป่าสงวนแห่งชาติห้ามให้บุคคลใด...ทำไม้ เก็บของป่า: ม.14)

        - พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535         (ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้ามให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่าสงวนแห่งชาติหรือสัตว์คุ้มครอง หรือมิใช่... : ม.36)

        - พ.ร.บ.บำรุงพันธุ์สัตว์ พ.ศ……….         คุ้มครองภายในพื้นที่และคุ้มครองพันธุ์สัตว์บางประเภท

        ข.) การคุ้มครองชนิดพันธุ์ สายพันธุ์โดยเฉพาะ มีกฎหมายคุ้มครอง 4 ฉบับ ดังนี้

        - พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2532

        (ผู้ใดเก็บหาของป่าหวงห้ามหรือทำอันตรายใดๆแก่ของป่าหวงห้ามในป่า ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ : ม.11, ม.29)

        - พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535

        (ห้ามให้ผู้ใดล่า ส่งออก สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศ : ม.16-23 )

        - พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518,2535

        (ห้ามให้ผู้ใดรวบรวมขาย นำ หรือส่งออก ซึ่งเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า พืชอนุรักษ์ และซากของพืชอนุรักษ์ พืชสงวน : ม.12,ม.29, ม.31)

        - พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509

        คุ้มครองเฉพาะพืชยาสูบ และการรวบรวมการส่งออกจะต้องได้รับอนุญาต

        พ.ร.บ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525

        คุ้มครองเฉพาะจุลินทรีย์ที่ก่อโรคโดยห้ามบุคคลกระทำการผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือครอบครองเชื้อโรคและพิษที่ได้รับการคุ้มครองตามวาระนี้ กฎหมายทั้งหมดมิได้คุ้มครองเข้มงวดเด็ดขาด มีข้อยกเว้นและสามารถขออนุญาตเจ้าหน้าที่ได้หรือยกเว้นการศึกษาวิจัย

        นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบความหลากหลาย เช่น พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 พ.ร.บ. เหมืองแร่ ฯลฯ


        "สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม" กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำนโยบายมาตรการ และแผนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ…. อันเป็นความรับผิดชอบของภาคีสมาชิก ประเทศไทยพยายามที่จะรองรับพันธะกรณี ในลักษณะการจัดการเพื่อการใช้ประโยชน์ มากกว่าที่จะเป็นการควบคู่กันไประหว่างการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ โดยอาจสังเกตร่างระเบียบฯ ที่ร่างใหม่ล่าสุดมีการเพิ่มเรื่อง "ความปลอดภัยทางชีวภาพ" (ข้อ 9.9) แต่ข้อจำกัดคือร่างระเบียบฯ ไม่ได้กำหนดมาตรการที่ชัดเจนใดๆ และไม่สามารถบังคับใช้หน่วยงานอื่นๆ เพราะมีศักดิ์และสิทธิต่ำกว่าพระราชบัญญัติ ในขณะเดียวกันไม่สามารถบังคับเอกชนได้ด้วย มีเพียงการประสานและขอความร่วมมือได้เท่านั้น

        แม้อนุสัญญาฯ จะกำหนดหลักการที่ดูเหมือนจะเป็นธรรม ได้แก่

        1.การแจ้งล่วงหน้า อาจทำต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐหรืออาจกระทำต่อปัจเจกชน หรือสถาบันที่เป็นเจ้าของหรือภาคีประเทศนายหน้าจัดหาสารพันธุกรรมก็ได้ โดยเฉพาะการติดต่อผ่านเอกชนจะเป็นไปโดยเสรี อนุสัญญาฯ ไม่มีผลอย่างไร ร่างระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ไม่สามารถควบคุมกำกับหน่วยงานราชการอื่น ซึ่งส่วนใหญ่คือ เกษตรกรและสหกรณ์ หรือเอกชนหรือสถาบัน ฯลฯ ได้ ดังนั้น หลักการแจ้งล่วงหน้าเพื่อให้เกิดความยินยอมแก่บุคคล ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงจากการเข้าถึง และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ คือ ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนหมอยา กลุ่มเกษตรกรฯ ซึ่งขณะนี้กฎหมายไทยและระดับนโยบายกำลังกระจายอำนาจให้ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 46 ได้แก่ พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ….. พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ…. และพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ….

        2.การตกลงร่วมกัน เป็นการตกลงแบบทวิภาคี 2 ฝ่าย โดยภาคีที่จัดหาให้และ หรือภาคีเจ้าของแหล่งกำเนิดกับประเทศที่ต้องการสารพันธุกรรม ยังเป็นความคลุมเครือในสิทธิของการแบ่งปันผลประโยชน์ และการได้ประโยชน์จากการดำเนินการวิจัยทรัพยากรพันธุกรรมในประเทศภาคี ที่เป็นแหล่งกำเนิดทรัพยากร และประเทศภาคีที่จัดหาสารพันธุกรรมให้ การแจ้งล่วงหน้าในการเข้าถึงและทำความตกลงทั้ง 2 ฝ่ายต้องมีข้อมูลที่ทัดเทียม และสามารถต่อรองล่วงหน้าได้ แต่ประเทศกำลังพัฒนาไม่ค่อยรู้ข้อมูลของตน จึงมักเสียเปรียบทำนองรู้เขาแต่ไม่รู้เรา หรือไม่รู้เขา และไม่รู้เรา การต่อรองผลประโยชน์ที่ยุติธรรมได้ยาก

        1) การเข้าถึง และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ภายใต้ระบบทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งหมายความว่าภูมิปัญญาพื้นบ้านจะไม่มีคุณค่าใดๆ นอกจากค่าแรงเก็บตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ

        2) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ จึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการเจรจาต่อรอง และศักยภาพในการดูดซับเทคโนโลยีของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ ในขณะนี้ผู้เหนือกว่ามีพระราชบัญญัติสิทธิบัตรเป็นเครื่องมือ แต่ชุมชนพื้นเมืองไม่มีกฎหมายใดๆ ให้การคุ้มครองต่อรอง

        3) หลักการในอนุสัญญาฯ ไม่มีผลใช้บังคับกับภาคธุรกิจเอกชน การเข้าถึงและถ่ายทอดเทคโนโลยีจึงเป็นไปตามการเจรจาต่อรอง หรือกลไกตลาด โดยไม่คำนึงถึงมาตรา 16 ของอนุสัญญาก็ได้ ซึ่งตรงกับการตีความของสหรัฐ

        4) การรับรองสิทธิอธิปไตยของรัฐเหนือทรัพยากรชีวภาพ (ม.3) กรณีธนาคารพันธุกรรม (Gene Bank) ยังเป็นความขัดแย้งซึ่งยังไม่มีคำตอบว่า ระหว่างประเทศเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรม ซึ่งบริจาคสารพันธุกรรมให้กับประเทศที่ตั้งธนาคารพันธุกรรม ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสารพันธุกรรมเหล่านั้น

        5) ผู้จัดหาสารพันธุกรรม กับผู้เป็นเจ้าของพืชพื้นบ้านถิ่นกำเนิดพันธุกรรม ยังมีสิทธิเท่ากันตามอนุสัญญาฯ อีกด้วย มาตรา 17-18 นี้ ถือเป็นจารีตประเพณีของกฎหมายสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมา ความได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นอยู่กับศักยภาพในการดูดซับ และต่อยอดเทคโนโลยีตลอดถึงการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ผู้ไล่ล่าสารพันธุกรรมย่อมทำตนเป็นศูนย์ข้อมูล และมีอำนาจที่จะคัดสรรข้อมูลส่วนใดที่ควรให้คืนแก่เจ้าของ และไม่มีหลักประกันว่าผู้แชร์ข้อมูลจะได้ข้อมูลของผู้อื่น

        ในการเข้าถึงผลประโยชน์กำหนดให้ภาคีผู้ให้สารพันธุกรรม ได้รับความสำคัญก่อน ทำให้ต้องมาตีความว่า ภาคีผู้ให้สารพันธุกรรม กับประเทศเข้าของสารพันธุกรรมจะมีสิทธิเท่าเทียมกันหรือไม่? และในการเข้าไปค้นหาสารพันธุกรรม มักมีนายหน้าขายสารพันธุกรรมรับจ้างสำรวจข้อมูล และตัวอย่างมักถูกแบ่งเป็น 3 ขั้น ผู้เป็นเจ้าของสารพันธูกรรมถิ่นกำเนิดจึงต้องสูญเสียให้ผู้อื่น เป็นผู้จัดหาสารพันธุกรรมถึง 2 คน อย่างน้อยก็เพิ่มคู่แข่ง ในการแสวงหาผลประโยชน์ในอนาคต อีกทั้งเปิดโอกาสให้เปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมจากพ่อแม่เดิมเป็นพันธุ์ใหม่ แล้วให้ประเทศอื่นจดเป็นเจ้าของได้อย่างสมบูรณ์

        การเข้าเป็นภาคีสมาชิก ประเทศไทยต้องจัดหาทุนสมทบให้ด้วยหรือไม่ และความช่วยเหลือทางการเงิน ต้องเป็นไปตามลำดับการพิจารณาความจำเป็น ตลอดจนชนิดของเงินอุดหนุนจะเป็นการยืม การให้เปล่า หรือกองทุนหมุนเวียนการอนุมัติเงินและกลไกเป็นครั้งๆ ตามแต่การเขียนโครงการ การประเมินผลโครงการ จะเป็นลักษณะใดยังไม่มีพิธีสารชัดเจนออกมา หรือถ้ามีออกมาแน่ใจเพียงใด ว่าจะสามารถต่อรองให้มีผลในการเอื้อประโยชน์ต่อสมาชิก การสนับสนุนการเงินคงเป็นไปในทำนองเงินกู้เสียมากกว่า ก็จะกลายเป็นอัฐยายซื้อขนมยาย กู้เขามาเพื่อจ้างเขามาสำรวจอีกด้วย แล้วใครได้ประโยชน์ ประเทศกำลังพัฒนาเป็นหนี้ แต่ธนาคารโลกได้ประโยชน์ ใช่หรือไม่

        อนุสัญญาไม่อนุญาตให้มีการสงวนสิทธิ์หรือยกเว้นใดๆ

        การเพิกถอนสิทธิจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อภาคีเข้าร่วมในอนุสัญญาฯ แล้ว 2 ปี และการเพิกถอนจะมีผลต่อเมื่อ 1 ปีหลังจากวันที่ผู้รับมอบได้รับเรื่องการเพิกถอน รวมสรุปเมื่อตัดสินใจเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ วันใด แล้วต้องการถอนตัวต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี

        ดังนั้น หากมีความผิดพลาดเสียหายเกิดขึ้นแก่ประเทศไทย และประเทศไทยมีนโยบายถอนตัวจากอนุสัญญาฯ ต้องใช้เวลาถึง 3 ปี จึงสามารถถอนตัวได้และในระยะเวลา 3 ปี หากเป็นโครงการวิจัยใด ก็สามารถเก็บข้อมูลวิจัยได้ครบรอบการวิจัยพอดี การประกาศถอนตัวเมื่อรู้สึกพลาดในทันที จึงไม่อาจเกิดผลในการปกป้องหรือแก้ไข หรือหยุดข้อผิดพลาดได้เลย ก็คงต้องเป็นเรื่องเลยตามเลย ทำไมต้องรอ 3 ปี ก็เพราะมั่นใจได้ว่าโครงการจะสิ้นสุดลงได้ แล้วก็มิต้องง้ออะไรอีก เพราะยิ่งเร่งตักตวงหนักขึ้นจนครบสัญญา

        การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นเสมือนการเข้าหรือไม่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ทั้งๆ ที่ประเด็นการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ หรือไม่? ไม่ควรจะเป็นความรับผิดหรือรับชอบของตุลาการรัฐธรรมนูญ หน่วยงานที่เร่งรัดการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ จึงทำตัวเสมือนผู้ยื่นดาบให้ตุลาการรัฐธรรมนูญประหาร และรับผิดชอบต่อประเด็นนี้อย่างชัดเจนชั่วนิรันดร์ ทั้งๆ ที่มิใช่หน้าที่รับผิดชอบของศาลรัฐธรรมนูญ โดยผู้อยู่เบื้องหลังย่อมลอยนวล และอยู่เหนือความขัดแย้งใดใดต่อผลแห่งอนาคตที่จะเกิดขึ้น


--------------------------------------------------------------------------------


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

กลุ่มงานคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย

ประเภทของหน้า: บทความกฎหมาย

อะไรคือสาระสำคัญของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ มีสถานะเป็น "กฎหมายระหว่างประเทศ" ที่จัดตั้งขึ้น เพื่อสร้างความร่วมมือของประชาคมโลกในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิด ความยั่งยืนและเป็นธรรม เนื่องจากปัญหาในด้านต่าง ๆ ของความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การทําลาย ระบบนิเวศน์ป่าเขตร้อนอันเป็นแหล่งกําเนิดและถิ่นที่ ...

ข้อใดคือสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) *

เป็นอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่มีเจตนารมณ์ ให้รัฐบาลทุกประเทศ พัฒนาประเทศโดยไม่ละเลยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักไว้ 3 ประการ คือ เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และ ...

ข้อใดคือวัตถุประสงค์หลักของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

อนุสัญญาฯ นี้มีเป้าประสงค์หลัก “เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน” โดยเน้นว่า การอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันของทุกคน และตระหนักว่าแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิอธิปไตยเหนือทรัพยากรชีวภาพในเขตแดนของตน

อนุสัญญาใดคืออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

เป็นความตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม ที่ต้องการให้มี ความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่างหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และ เอกชน ระหว่างประชาชนชาวโลก ในการรักษาความ หลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์ระบบนิเวศ ชนิด พันธุ์และพันธุกรรมอย่างยั่งยืน

อะไรคือสาระสำคัญของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ข้อใดคือสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) * ข้อใดคือวัตถุประสงค์หลักของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ อนุสัญญาใดคืออนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ จุดประสงค์ บุคคลใดดำเนินการตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ o-net 2563 พิธีสารนาโงยา คือ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ผลกระทบ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ มาตรา อนุสัญญา CBD คือ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สัญลักษณ์ ข้อสอบ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ