การประเมินหลักฐานภายนอก คืออะไร

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน


       ขั้นตอนที่สามของวิธีการทางประวัติศาสตร์ คือการประเมินหลักฐาน ขั้นตอนนี้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์การประเมินหลักฐานมี 2 วิธีดังนี้

การประเมินภายนอก

       การประเมินภายนอก เป็นการประเมินที่มุ่งพิสูจน์หลักฐานว่าเป็นของจริงหรือปลอม โดยมีข้อพิจารณาเบื้องต้นดังนี้

การประเมินภายใน

       การประเมินภายใน เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง

คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอกการวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายในการวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริงวิธีการประเมินหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีอยู่ 2 กรณีคือ

1. การประเมินหลักฐานภายนอก - เป็นการประเมินตัวหลักฐานจากภายนอก ว่าใครเป็นผู้บันทึกหลักฐานนั้น มีสถานภาพใดในขณะนั้น บันทึกโดยจุดมุ่งหมายใด มีความเป็นกลางเพียงใด
2. การประเมินหลักฐานภายใน - เป็นการประเมินเนื้อหาของข้อมูลที่ปรากาฏในหลักฐานนั้นๆ ว่าน่าเชื่อถือ และมีอคติหรือไม่ ตรงกับข้อเท็จจริงหรือมีการบิดเบือนข้อมูลหรือไม่

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน

           การประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ การประเมินหลักฐานผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

          วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

1. การประเมินภายนอก

          การพิจารณาจากลักษณะภายนอกของหลักฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักตัวหลักฐานนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้ว่าเป็นหลักฐานจริงหรือปลอม สิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่

          1. อายุของหลักฐาน การรู้ว่าหลักฐานสร้างหรือเขียนขึ้นเมื่อไร ทำให้เราตีความสำนวนภาษาที่ใช้ได้ถูกต้อง และเข้าใจสิ่งที่หลักฐานกล่าวถึงโดยอาศัยสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของยุคสมัยนั้นมาประกอบ

          2. ผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐาน การรู้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐานทำให้เราสืบค้นได้ว่า ผู้นั้นมีภูมิหลังอย่างไร เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเหตุการณ์หรือไม่ มีอคติต่อสิ่งที่สร้างหรือเขียนหรือไม่

          3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานช่วยให้ประเมินความน่าเชื่อถือได้ เช่น โคลงที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ย่อมหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึงด้านลบของพระมหากษัตริย์องค์นั้น จากหลักฐานที่ยกตัวอย่างมานั้น เมื่อนำมาใช้จะต้องแยกแยะข้อเท็จจริงออกมาให้ได้

          4. รูปเดิมของหลักฐาน หลักฐานเป็นจำนวนมาไม่ใช่หลักฐานดั้งเดิม แต่ผ่านการคัดลอกต่อๆ กันมาจึงเกิดความคลาดเคลื่อนได้ หลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารที่ผ่านการชำระมักมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมเนื้อความ แก้ไขสำนวนโวหาร รวมทั้งแทรกทัศนคติของยุคสมัยที่มีการชำระพระราชพงศาวดารนั้นลงไปด้วย ทำให้ผิดไปจากหลักฐานเดิม

2. การประเมินภายใน

           เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง

           ตัวอย่าง ปีที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก ในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ระบุไว้ตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง เช่น

          พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติช มิวเซียม และ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่าสร้างเมื่อศักราช 810 ปีมะโรงสัมฤทธิศก (ตรงกับพ.ศ. 1991)

          พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่าสร้างเมื่อศักราช 826 วอกศก (ตรงกับพ.ศ. 2007)

          จะเห็นว่า หลักฐานชิ้นหลังระบุเวลาห่างจากหลักฐาน 2 ชิ้นแรก 16 ปี

          หลักฐานทั้งหมดที่ยกมาเป็นหลักฐานชั้นรอง ควรหาหลักฐานชั้นต้นมาเทียบ คือ ศิลาจารึกวัดจุฬามณี ปรากฏว่าจารึกระบุว่า พระวิหารวัดจุฬามณีสร้างเมื่อ “ศักราช 826 ปีวอกนักษัตร” ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ

          หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องเป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลที่เป็นจริง หลักฐานที่ให้ข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง นำส่วนที่เป็นจริงไปใช้ได้ ส่วนหลักฐานที่เป็นเท็จทั้งหมดไม่นำไปใช้ในการศึกษา

การประเมินหลักฐานคืออะไร

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน หรือการวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและ ข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดย ขั้นตอนทั้งสอง จะกระท าควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูล ภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูล ...

การประเมินคุณค่าภายนอกคืออะไร

1. การประเมินภายนอก การพิจารณาจากลักษณะภายนอกของหลักฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักตัวหลักฐานนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้ว่าเป็นหลักฐานจริงหรือปลอม สิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่

เพราะเหตุใดจึงต้องมีการประเมินภายนอกหลักฐานทางประวัติศาสตร์

เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับมากที่สุด โดยมีการประเมินหลักฐานภายในและหลักฐานภายนอก Page 8 การพิจารณาจากลักษณะภายนอกของหลักฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้รู้จักตัว หลักฐานนั้นเป็นอย่างดีรวมทั้งรู้ว่าเป็นหลักฐานจริงหรือปลอม สิ่งที่ควรพิจารณา ได้แก่ 1. อายุของหลักฐาน

การประเมินคุณค่าภายนอกของหลักฐานคืออะไรต่างจากการประเมินภายในอย่างไร

การประเมินหลักฐานภายนอก เป็นการที่เราดูว่าหลักฐานนี้จริงหรือปลอม ส่วนการประเมินหลักฐานภายใน เป็นการประเมินสิ่งที่มีอยู่บนหลักฐาน เช่น รูปภาพ ตัวอักษร ว่ามีความน่าเชื่อถือมั้ย ค่า 5. แสดงความคิดเห็น

การประเมินหลักฐานคืออะไร การประเมินคุณค่าภายนอกคืออะไร เพราะเหตุใดจึงต้องมีการประเมินภายนอกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ การประเมินคุณค่าภายนอกของหลักฐานคืออะไรต่างจากการประเมินภายในอย่างไร การประเมินหลักฐานภายนอก เช่น การประเมินหลักฐานคือ เพราะเหตุใดจึงต้องมีการประเมินภายใน ประวัติศาสตร์ ในการประเมินคุณค่าของหลักฐาน ผู้ศึกษาควรมีความระมัดระวังในเรื่องใดบ้าง การคัดเลือกและประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายนอก คือ ใบงานที่ 1.2 เรื่องการประเมินหลักฐานทางประวัติศาสตร์ วิธีการประเมินหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีกี่ลักษณะ มีอะไรบ้าง