การดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมีอะไรบ้าง

           เมื่อเรื่องของสิ่งแวดล้อมได้ถูกยกระดับความสำคัญถึงจุดที่บรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ( พ.ศ. 2560 – 2579) โดย ยุทธศาสตร์ที่ 5 ได้ระบุชัดเจนว่า “การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ซึ่งนำไปสู่ยุทธศาสตร์ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 5 ว่าด้วย “การจัดการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ย่อมจะเป็นผลให้สถานศึกษาทั่วประเทศต้องปรับตัวเพื่อรับกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการศึกษา 20 ปี ที่กล่าวถึงนี้

            ในส่วนของสถานศึกษานั้น การจัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน รวมไปถึงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มักจะถูกกำหนดตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงอยู่แล้ว แต่ในแต่ละสถานศึกษาอาจจะมีการปรับหรือพลิกแพลงให้เหมาะกับนักเรียนและท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป แต่หากจะทำให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีต่อเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมจริงๆ สถานศึกษาจำเป็นจะต้องมีการสอดแทรกเรื่องงพลังงานและสิ่งแวดล้อมเข้าสู่กระบวนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน ตลอดจนไปถึงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และเมื่อนักเรียนได้ผ่านกระบวนการเหล่านี้แล้ว เขาจะได้แนวคิดรวบยอดเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้อย่างครบถ้วน ชัดเจน และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางบวกมากขึ้น

           สำหรับกิจกรรมที่จะสอดแทรกในการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีหลากหลายให้เลือก ทั้งนี้ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมในแง่ของการสอดคล้องและเชื่อมโยงกับเนื้อหาวิชาในกลุ่มเนื้อหาสาระต่างๆ ซึ่งสมาคมฯมีตัวอย่างกิจกรรมที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

  1. กิจกรรมประเภทส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักเรียนในการอนุรักษ์พลังงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
    • สายตรวจพลังงาน / น้ำ / ขยะ
    • สารวัตรพลังงาน / น้ำ /ขยะ
    • กิจกรรมติดสติ๊กเกอร์รณรงค์ประหยัดไฟฟ้าและน้ำ
    • กิจกรรมร่วมกันจัดบอร์ดให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
    • การเดินรณรงค์แจกแผ่นพับความรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
    • จัดเวรทำความสะอาดห้องเรียนรายวัน(ทำเวร) และจัดการทำความสะอาดครั้งใหญ่รายเดือน หรือ Big Cleaning Day
    • การจัดประกวดห้องเรียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
  2. กิจกรรมประเภทให้ความรู้และปลูกสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
    • การจัดทัศนศึกษาหรือดูงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
    • การจัดการฝึกอบรมสัญจรหรือ Daycamp ที่โรงเรียน
      • จัดโดยโรงเรียนเอง
      • ประสานให้หน่วยงานอื่นๆมาร่วมจัดให้ในลักษณะการฝึกอบรมสัญจร เช่น บริษัทเอกชนที่ทำเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม,การไฟฟ้านครหลวง,บางจาก,ปตท.,สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือ สำนักงานเขตกทม. เป็นต้น
    • การจัด walk rally พลังงานและสิ่งแวดล้อม
    • การแทรกเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น ในกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี,การจัดกีฬาสี,การจัดงานลอยกระทง,การจัดงานไหว้ครู
    • การจัดค่ายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมนอกสถานที่เพื่อเพิ่มประสบการณ์แปลกใหม่ สัมผัสประสบการณ์ตรง

            ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมาอีมากมายที่ไม่ได้กล่าว โดยทางสถานศึกษาอาจมีการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น แอพลิเคชั่นในมือถือ มาประยกต์ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ หรือ การบูรณาการวิธีการต่างๆสร้างนวตกรรมการเรียนการสอนใหม่ๆ เพื่อตอบสนองให้เท่าทันกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้หากมีไอเดียดีๆสามารถนำมาแบ่งปันกันเพิ่มเติมได้ สมาคมฯยินดีเป็นอย่างยิ่ง


?

การดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมีอะไรบ้าง
 สนใจหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษาหรือติดต่อสอบถามเรื่องจัดค่ายฝึกอบรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ติดต่อประสานงานโดยตรงที่ โทร : 096 – 6421093 หรือ 02-408-1600 หรือ อินบ๊อกซ์สอบถามทาง Facebook : ศูนย์รวมตะวัน ณ กาญจนบุรี
การดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมีอะไรบ้าง
สำหรับท่านที่สนใจหลักสูตรสำหรับ

เยาวชน นักเรียน นักศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ https://goo.gl/l8pYNv

การดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมีอะไรบ้าง
บรรยากาศของโรงเรียนเป็นสภาวะอันเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน แล้วส่งผลถึงความรู้สึกของบุคคล เป็นสภาพการณ์ที่ไม่อาจมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่เป็นภาพสะท้อนทางความรู้สึกของบุคคล เมื่อคนปะทะกับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดความรู้สึกที่ดีก็เรียกว่า "บรรยากาศดี" ในทางตรงกันข้าม เมื่อคนปะทะกับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีก็เรียกว่า "บรรยากาศไม่ดี"

             โรงเรียนซึ่งมีบรรยากาศที่ดี จะทำให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเกิดความรู้สึกพอใจภูมิใจ อบอุ่นใจ สบายใจ รู้สึกในความเป็นเจ้าของ และอยากมาโรงเรียน โรงเรียนที่มีบรรยากาศไม่ดีจะทำให้สมาชิกเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ห่างเหิน เฉยเมย ว้าเหว่ และไม่อยากมาโรงเรียน

            โรงเรียนที่มีบรรยากาศดี จะทำให้ทุกคนทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ และมีความสุข แต่ถ้าบรรยากาศของโรงเรียนไม่ดี ทุกคนก็จะมีแต่ความระทมทุกข์

จะจัดและสร้างอย่างไร

       ดังที่กล่าวแล้วว่า บรรยากาศของโรงเรียนเป็นสภาวะอันเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน แล้วส่งผลถึงความรู้สึกของบุคคล ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะส่งผลให้เกิดสภาพบรรยากาศที่ดีก็คือ การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน

สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เป็นวัตถุ เช่น บริเวณโรงเรียน อาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องประกอบ ครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ สิ่งชี้วัดถึงลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี ได้แก่ ความชุ่มชื่น การถูกสุขลักษณะ ความร่มรื่น ความสวยงาม ความสะอาด ความเป็นระเบียบ ความสะดวก ฯลฯ

       การจะจัดและสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพอย่างไรนั้นเป็นเรื่องของแต่ละโรงเรียนที่ต่างก็มีสภาพของปัญหาหรือความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับแนวความคิดและดุลยพินิจของบุคคลภายในโรงเรียนนั้น ๆ ที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น แต่ควรอยู่ภายใต้หลักการของ "การร่วมคิด ร่วมทำ" ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความรู้สึกที่ดี ความรู้สึกของการมีส่วนร่วม ความรู้สึกของความเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะนักเรียนซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา ผู้บริหารและคุณครูควรยอมรับว่า นักเรียนทุกคนมีความสามารถและเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ที่มีความรักความผูกพันและปรารถนาดีต่อโรงเรียนของเขา จึงควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นตัดสินใจร่วมวางแผน จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนภายใต้การแนะนำของผู้บริหารและครูอาจารย์

สภาพแวดล้อมทางวิชาการ ได้แก่ การจัดบรรยากาศการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน ตลอดจนการจัดบริการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนทางวิชาการต่าง ๆ ที่จะทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ประสบการณ์ให้มากที่สุด ภายใต้บรรยากาศที่มีชีวิตชีวา แจ่มใส น่าเรียนรู้ สอนสนุก เรียนสนุก ครูรักเด็ก เด็กรักครู รักเพื่อน ไม่มีบรรยากาศแห่งความกลัว หวาดผวา วิตกกังวล ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "อยากมาโรงเรียน"

       การจัดสภาพแวดล้อมทางวิชาการ ที่ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศดังกล่าว ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ส่งเสริมความสามารถของนักเรียนแต่ละบุคคล ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน แล้วดำเนินกิจกรรมด้วยความเป็นกันเอง ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ส่งเสริมการเรียนเป็นกลุ่ม ช่วยกันคิด ช่วยกันทำระหว่างผู้สอนและผู้เรียน สภาพแวดล้อมเช่นนี้จะทำให้ทุกคนมีความสุขมีความมั่นใจ และตระหนักในคุณค่าของตนเอง

      โรงเรียนทุกแห่งย่อมปรารถนาให้นักเรียนของตนมีความสุขทั้งอยู่ที่บ้านและที่โรงเรียน ทุกข์หรือสุขที่บ้าน บางครั้งโรงเรียนก็ไม่สามารถเข้าไปช่วยผ่อนคลายได้ แต่ทุกข์หรือสุขที่โรงเรียน น่าจะเป็นความรับผิดชอบของทุกฝ่ายในโรงเรียน การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีของโรงเรียนจะมีส่วนในการเสริมสร้างความคิด จิตใจ และคุณธรรมต่าง ๆ อันพึงประสงค์ได้ โรงเรียนที่สะอาด สดชื่น ร่มรื่น เรียบง่าย สงบ แจ่มใส มีชีวิตชีวา วัสดุอาคารสถานที่ที่ได้รับการดูแลมีความเป็นปัจจุบันพร้อมที่จะให้ครูและนักเรียนได้ใช้ตลอดเวลา ย่อมจะทำให้ครูและนักเรียนได้รับอิทธิพลทำให้เป็นคนละเอียดอ่อน จิตใจแจ่มใส รักสวยรักงาม รักความสะอาด รักความสงบ เรียบง่าย ทำให้เข้าใจตนเอง และผู้อื่นไปด้วย

       จึงเป็นการสมควรที่โรงเรียนจะต้องพยายามจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีของโรงเรียน เพื่อประโยชน์และความสุขของนักเรียนโดยถ้วนหน้า

ผู้เขียน ธเนศ  ขำเกิด

......ฝ่ายอาคารและสถานที่...........