การสื่อสารในชีวิตประจําวัน มีอะไรบ้าง

ความหมายและความสำคัญของการสื่อสาร

การสื่อสารในชีวิตประจําวัน มีอะไรบ้าง

       ในปัจจุบันเรามีวิธีการสื่อสารได้หลายทาง เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรสาร วิทยุติดตามตัว การส่งจดหมายทางอินเตอร์เนต (E-mail) ทำให้เราสามารถติดต่อกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในรูปแบบต่างๆได้ตลอดเวลา โดยมีจุดประสงค์ที่จะเสนอเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความคิด ความต้องการ รวมไปถึงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลรับรู้ ชีวิตประจำวันของเราจึงต้องเกี่ยวข้องกับการสื่อสารตลอดเวลาซึ่งดูได้จากในปี 2538 รัฐบาลได้ประกาศให้เป็น ปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย หรือ THAILAND IT YEAR 1995 แสดงให้เห็นว่าการสื่อสารมีความสำคัญมากเพียงใด คำว่าสารสนเทศ หมายถึง เรื่องราวต่างๆที่ได้จากการนำข้อมูล ประมวลหรือคำนวณทางสถิติ ไม่ใช่ข้อมูลดิบ เมื่อนำมารวมกับคำว่า เทคโนโลยีซึ่งครอบคลุมถึง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การสื่อสารโทรคมนาคม รวมทั้งเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลข่าวสารมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทำให้การสื่อสารในปัจจุบันมีได้หลายรูปแบบ และจะเพิ่มมากขึ้นอย่างหาที่สิ้นสุดไม่ได้

       การสื่อสารมีประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อบุคคลและสังคม บุคคลสามารถรับรู้ความ รู้สึกนึกคิดและความต้องการของผู้อื่น ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน สังคมทุกระดับจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการสื่อสารทั้งสิ้น การสื่อสารก่อให้เกิดสังคมตั้งแต่ระดับกลุ่มคน ครอบครัว ไปจนถึงตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ และสังคมโลก หากขาดการสื่อสารมนุษย์จะร่วมกลุ่มกันเป็นสังคมไม่ได้ การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดและพัฒนาวัฒนธรรมของตนเอง รวมทั้งเรียนรู้และรับรู้วัฒนธรรมของสังคมอื่นเพื่อนำมาปรับปรุงวัฒนธรรมของตน ตลอดจนสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมไปสู่คนรุ่นใหม่ได้อย่างไม่จบสิ้น ปัจจุบันการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีมีมากมาย เช่น โทรสาร(FAX) อินเตอร์เนต (INTERNET) ซี่งช่วยให้สังคมสื่อสารได้รวดเร็วทันใจยิ่งขึ้น อาจพิจารณาแบ่งเป็นหัวข้อได้ดังนี้

       1. ความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของปัจเจกบุคคล – คนจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้จะต้องใช้การพูดจาสร้างมิตรภาพ ทั้งในบ้าน สถานศึกษา ที่ทำงาน และสังคมภายนอกอื่นๆ เช่น ร้านค้า โรงพยาบาล งานเลี้ยง เป็นต้น บางครั้งอาจอยู่ในรูปของสัญลักษณ์ เช่น สัญญาณไฟเขียวไฟแดง การส่งดอกไม้ ก็ได้

       2. ความสำคัญต่อการติดต่อระหว่างปัจเจกบุคคลกับสังคม - บุคคลทั่วไปที่ต้องการทราบความเป็นไปของสังคมสามารถค้นหาได้จากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรืออินเตอร์เนต สื่อมวลชนจะเป็นผู้กระจายข้อมูลข่าวสารของสังคม ไปสู่ปัจเจกบุคคลที่อยู่ทั่วไปให้ได้รับข้อมูล ข่าวสารเดียวกัน

       3. ความสำคัญต่อการพัฒนาสังคม และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี – สังคมจะพัฒนาก้าวไกลได้อย่างทั่วถึงต้องอาศัยการสื่อสารทั้งระดับบุคคล เช่น พัฒนากร ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน จนกระทั่งถึงสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เนต จากสื่อมวลชนเหล่านี้ทำให้สังคมเจริญก้าวไกล ทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม โดยส่วนรวม

       4. ความสำคัญต่อความเป็นมาและเป็นไปของประชาชนในสังคม – การค้นคว้าศึกษาและจดบันทึก ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ทำให้เกิดการศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของสังคมว่าเจริญมาอย่างไร และยังสามารถประมาณการความเป็นไปของสังคมในอนาคตได้ด้วยการใช้การสื่อสารให้การศึกษา ก่อแนวคิด และปลูกฝังคนรุ่นใหม่ของสังคม

นักวิชาการในสาขาต่างๆได้ให้คำนิยามของการสื่อสารไว้มากมายแตกต่างกันออกไป คำนิยามที่เข้าใจง่ายสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ต่างๆได้ คือ คำนิยามของ EVERETT M. ROGERS นักนิเทศน์ศาสตร์ที่มีชื่อเสียงได้กล่าวไว้ว่า

       “การสื่อสาร คือ กระบวนการที่ความคิดหรือข่าวสารถูกส่งจากแหล่งสารไปยังผู้รับสารโดยมีเจตนาที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการของผู้รับสาร” เมื่อผู้ส่งสารส่งสารไปยังผู้รับสารย่อมก่อให้เกิดผลบางประการที่ผู้ส่งสารปรารถนาในตัวผู้รับสาร ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับสารก็ได้ จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ที่สำคัญยิ่งของการสื่อสารก็คือ การก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ส่วนกรมวิชาการได้ให้นิยามของการสื่อสารไว้ว่า “การสื่อสาร คือ การติดต่อกับมนุษย์ด้วยวิธีการต่างๆ อันทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายของอีกฝ่ายหนึ่ง และการตอบสนอง” การสื่อสารมีลักษณะเป็นกระบวนการซึ่งหมายความว่ามีลักษณะต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดสิ้นสุด ไม่มีการหยุดนิ่งจะต้องมีบางสิ่งเกิดขึ้นก่อนกระบวนการ และมีบางสิ่งบางอย่างที่เกิดหลังกระบวนการต่อเนื่องกันไปอยู่เสมอ เป็นการกระทำโต้ตอบกลับไปกลับมาระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารตลอดเวลา ผู้ส่งสารกลายเป็นผู้รับสารและผู้รับสารกลายเป็น ผู้ส่งสารในเวลาเดียวกัน

       คำว่าการสื่อสาร (Communication) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Communis ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Commonness มีความหมายว่า ความเหมือนกันหรือความร่วมกัน เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่เราทำการสื่อสาร ย่อมหมายความว่าเรากำลังสร้างความร่วมมือหรือเหมือนกับคนอื่น นั่นคือ พยายามที่จะมีส่วนร่วมรู้ข่าวสาร ความคิดเห็น และท่าทีอย่างเดียวกันนั่นเอง โดยพจนานุกรมภาษาอังกฤษได้อธิบายความหมายของคำว่าการ สื่อสาร ไว้ว่า มีลักษณะ 2 ประการ คือ

1. เป็นเรื่องเกี่ยวกับคำพูด ตัวหนังสือ หรือข่าวสาร

2. เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือมติร่วมกัน

       การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิต มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนความรู้ ข่าวสาร และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อที่จะเข้าใจ จูงใจหรือความสัมพันธ์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งต้องอาศัยการสื่อสาร ดังที่ E.EMERY,P.M. ASULY AND W.K. AGEE ได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เรายังมีความต้องการขั้นพื้นฐานอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือไปจากความต้องการทางร่างกายในเรื่อง อาหาร และที่อยู่อาศัย ก็คือ ความต้องการที่จะสื่อสารกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ความจำเป็นในด้านการสื่อสารเป็นความจำเป็นพื้นฐานทางอารยธรรมยุคปัจจุบันของมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีเพื่อให้ชีวิตอยู่รอด”

       การสื่อสารเป็นกระบวนการติดต่อระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เท่านั้น หากเป็นการติดต่อระหว่างมนุษย์กับสัตว์ เช่น คนพูดคุยกับนกแก้ว นกขุนทอง หรือสุนัขกระดิกหางให้ผู้ที่ให้อาหารมัน สถานการณ์ดังกล่าวนี้ไม่จัดว่าเป็นการสื่อสาร

การสื่อสารมีลักษณะเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุด ไม่มีการหยุดนิ่ง จะต้องมีบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นก่อนกระบวนการ และมีบางสิ่งบางอย่างที่เกิดหลังกระบวนการต่อเนื่องกันไปอยู่เสมอ นั่นคือการสื่อสารเป็นการกระทำโต้ตอบกลับไปกลับมาระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารตลอดเวลา ผู้ส่งสารอาจกลายเป็นผู้รับสาร และผู้รับสารกลายเป็นผู้ส่งสารในเวลาเดียวกันก็ได้ การสื่อสารไม่จำเป็นต้องมีสองหรือหลายคน การคิดอยู่ในใจตัวเองก็นับว่าเป็นการสื่อสารเช่นกัน

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

1. เพื่อให้ข่าวสารและความรู้ (Inform) เช่นการเรียนการสอน การเสนอข่าวในหนังสือพิมพ์

2. เพื่อชักจูงใจ (Persuade) เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของผู้รับสารให้คล้อยตามเรื่องที่เราต้องการจะสื่อสาร เช่น การโฆษณาเพื่อจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้า

       3. เพื่อความบันเทิง (Entertain) เช่น การจัดรายการเพลง หรือเกมต่างๆ ทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์

       ในการสื่อสารที่ดีควรรวบรวมวัตถุประสงค์เหล่านี้เข้าด้วยกัน เพราะในกิจกรรมการสื่อสารแต่ละอย่างนั้นมักจะมีหลายวัตถุประสงค์แฝงอยู่ เช่น การเรียนการสอนโดยแทรกอารมณ์ขัน เป็นต้น

องค์ประกอบของการสื่อสาร

การสื่อสารเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นและดำเนินไปในสังคม โดยอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 7 ประการ คือ

1. ผู้ส่งสาร (Transmitter,Source,Sender,Originator) หมายถึง แหล่งกำเนิดของสารหรือผู้ที่เลือกสรรข่าวสารที่เกี่ยวกับความคิด หรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วส่งต่อไปยังผู้รับสาร อาจเป็นคนเดียว คณะ หรือสถาบันก็ได้

       David K Berlo ได้เสนอแนวความคิดไว้ว่า การสื่อสารจะบรรลุผล ถ้าหากว่าผู้ส่งสารและผู้รับสารมีทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) ทัศนคติ (Attitude) และระดับความรู้ (Level of Knowledge) ในระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันและอยู่ในระบบสังคม (Social System) และวัฒนธรรม(Culture) เดียวกัน

2. สาร (Message) หมายถึง สาระหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือเรื่องราว ทั้งวัจนะภาษา และอวัจนะภาษา องค์ประกอบของสารมี 3 ประการ คือ สัญลักษณ์ของสาร (Message Code) เนื้อหาของสาร(Message Content) การเลือกหรือจัดลำดับข่าวสาร(Message Treatment)

       คำว่า “สาร” ในความหมายที่ใช้โดยทั่วไปมักหมายถึง เนื้อหาสาระของสารมากกว่า ซี่งก็คือข้อความที่ผู้ส่งสารเลือกใช้เพื่อสื่อความหมายตามที่ต้องการ ทั้งนี้อาจจะรวมถึงข้อเสนอ บทสรุป และความคิดเห็นต่างๆที่ผู้ส่งสารแสดงออกมาในข่าวสารนั้นๆ

3. ผู้รับสารหรือผู้ฟัง (Receiver or Audience ,Destination) หมายถึง ผู้ที่ได้รับข่าวสารจากผู้ส่งสารแล้วถอดรหัสข่าวสารนั้นออกเป็นความหมายซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง และเป้าหมายของการสื่อสาร ผู้รับสารอาจจะเป็นบุคคลคนเดียว กลุ่มคน หรือหลายคนก็ได้ ซึ่งแบ่งผู้รับสารได้เป็น 2 ประเภท คือ ผู้รับสารตามเจตนาของผู้ส่งสาร(Intened Receiver) และผู้รับสารที่มิใช่เป้าหมายในการสื่อสารของผู้ส่งสาร ( Unintened Receiver)

4. สื่อหรือช่องทางการสื่อสาร (Channel, Media) หมายถึง ช่องทางที่สารจากผู้ส่งสารผ่านออกไปยังผู้รับสาร สิ่งใช้สื่อสารเป็นสัญลักษณ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

       4.1 ท่าทาง (Gestures) การใช้ท่าทางในการแสดงออกนั้นจะต้องเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด หรือสามารถทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้

       4.2 ภาษาพูด (Language Spoken) มนุษย์ทุกชนชาติต่างมีภาษาพูดเป็นของตนเองมาแต่โบราณกาล ภาษาพูดมีข้อจำกัดอยู้ 2 ประการ คือ ระยะทาง (Space) กับ เวลา (Time)

       4.3 ภาษาเขียน (Language Written) ภาษาเขียนไม่ได้หมายถึงตัวอักษรเท่านั้น แต่รวมไปถึงรูปภาพ สี เส้น ขนาดของตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ต่างๆที่แสดงออกด้วยการเขียน ก็นับว่าเป็นการสื่อสารโดยทางภาษาเขียนทั้งสิ้น

ดังนั้นในการสื่อสารผู้ส่งสารจะต้องเลือกสื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้รับสารและวัตถุประสงค์ในการสื่อสารด้วย

5. เสียงหรือสิ่งรบกวน (Noise) หมายถึง ปัญหาเกี่ยวกับเสียง หรือสิ่งรบกวนใดๆก็ตามที่แทรกเข้ามาในช่องทางสื่อสารซึ่งผู้ส่งสารไม่ปรารถนาให้สอดแทรกเข้ามา ทำให้การสื่อสารดำเนินไปอย่างไม่ราบรื่น ไม่บรรลุเป้าหมาย หรือไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร สิ่งรบกวนเหล่านี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

5.1 สิ่งรบกวนภายนอก (Physical Noise) ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของผู้รับสาร เช่น เสียงเครื่องจักรทำงาน เสียงเพลงที่ดังเกินไป

5.2 สิ่งรบกวนภายใน (Phychological Noise) ซึ่งเกิดภายในตัวผู้รับสารเอง เช่น หิวข้าว การเหม่อลอย

6. ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) หมายถึง วิธีการที่ผู้รับสารแสดงออกมาให้ผู้ส่งสารได้ทราบผลของการสื่อสารว่าสำเร็จแค่ไหน บรรลุเป้าหมายและสร้างความพอใจให้ผู้รับสารมากน้อยเพียงใด เพื่อผู้ส่งสารจะได้นำมาปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือคงสภาพ วิธีการ เนื้อหาสาระของสารและการเลือกสื่อ ซึ่งจะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น หรือพิจารณาว่าควรจะสื่อสารต่อไปหรือไม่เพียงใด ปฏิกิริยาตอบกลับนี้อาจจะแสดงออกทางสีหน้า การตั้งคำถาม การพูดโต้ตอบ หรือแสดงความคิดเห็นก็ได้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

       6.1 ปฏิกิริยาตอบกลับแบบทันทีทันใด (Immediate Feedback) จะเกิดขึ้นในการสื่อสารแบบที่ผู้ส่งสารหรือผู้รับสารสามารถเห็นหน้ากันได้ (Face to Face Communication) หรือการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)

       6.2 ปฏิกิริยาตอบกลับแบบช้าๆ (Delayed Feedback) ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารมวลชน

ปฏิกิริยาตอบกลับมีด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ ปฏิกิริยาตอบกลับเชิงบวก (Positive) และปฏิกิริยาตอบกลับเชิงลบ (Negative) ในการสื่อสารนั้นปฏิกิริยาตอบกลับเชิงบวกมักจะก่อให้เกิดผลดี เพราะทำให้ผู้ส่งสารสามารถประเมินผลความสำเร็จของการสื่อสารได้ ส่วนปฏิกิริยาตอบกลับเชิงลบจะแจ้งให้ทราบว่าการสื่อสารนั้นผิดพลาด ล้มเหลว หรือบกพร่องอย่างไร ฉะนั้นปฏิกิริยาตอบกลับจึงเป็นกลไกควบคุมกระบวนการสื่อสารด้วย แต่บางครั้งที่ผู้รับสารไม่แสดงปฏิกิริยาตอบกลับให้ผู้ส่งสารทราบ เข่น การสื่อสารมวลชน จะทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารได้

7. ประสบการณ์ (Frame of Reference/Field of Experience) หมายถึง ประสบการณ์ของผู้ส่งสารหรือผู้รับสาร รวมทั้งความรู้และความรู้สึกนึกคิด อารมณ์และทัศนคติ ซึ่งทำให้ความเข้าใจสารของผู้รับสารเหมือนหรือคล้ายคลึงกับผู้ส่งสาร ทำให้ผู้รับสารเข้าใจสารได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร โดยการใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ตีความหมายของสัญลักษณ์ หรือสารที่รับหรือส่งมา Wilbur Schramm กล่าวว่า มนุษย์เราจะรับรู้และเข้าใจความหมายของสิ่งต่างๆได้ไม่หมด เราจะรับสารได้แต่เพียงเฉพาะสิ่งที่เรามีประสบการณ์ร่วมกับผู้ส่งสารเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน ผู้ส่งสารก็มีความสามารถจำกัดที่จะส่งสารได้ภายในขอบเขตของประสบการณ์ของตนเองเท่านั้น ดังนั้นการสื่อสารจะสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ส่งสารและผู้รับสารมีประสบการณ์ร่วมกันหรือไม่นั่นเอง

การสื่อสารในชีวิตประจำวันมีวิธีการใดบ้าง

การสื่อสารมีหลายรูปแบบ เช่น การพูดคุยกับเพื่อนกับ การพูดในห้องประชุมซึ่งมีผู้ฟัง เป็นต้น การสื่อสารจึง เกี่ยวข้องทุกคน การพูด การอ่าน การเขียน และการฟัง เป็นทักษะส าคัญส าหรับการสื่อสารให้สัมฤทธิ์ผลผู้สื่อสารจึงควร ฝึกพูดและสื่อสารให้เหมาะสมกับกาลเทศะ สามารถเลือกใช้ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาในการสื่อความหมายให้ชัดเจน ...

การติดต่อสื่อสารมีความสําคัญต่อการดําเนินชีวิตประจําวันอย่างไร

2. การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง วิถีชีวิตของผู้คน ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

ประเภทของภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.วัจนภาษา คือ ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ ตัวอักษรเป็นสื่อการติดต่อ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน 2.อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่ใช่ถ้อยคำเป็นสื่อ แต่ใช้สีหน้า กิริยา ท่าทาง และสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นสื่อการติดต่อ เช่น ภาษาใบ้ ภาษาคนตาบอด สัญญาณต่างๆ

การสื่อสารแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

ระดับของการสื่อสาร.
1. การสื่อสารระดับตัวเอง (Intrapersonal Communication) ... .
2. การสื่อสารระดับบุคคล (Interpersonal Communication) ... .
3. การสื่อสารระดับกลุ่มย่อย ... .
4. การสื่อสารระดับเทคโนโลยี ... .
5. การสื่อสารระดับชุมชน (Public Communication) ... .
6. การสื่อสารระดับมวลชน (Mass Communication).