งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการ คืออะไร

งบการเงินมีความสำคัญต่อทั้งบุคคลภายในและภายนอกองค์กรธุรกิจ กล่าวคือ งบการเงินมีความสำคัญต่อธุรกิจที่จัดเตรียมงบการเงิน ในแง่ของการแสดงให้เห็นภาพรวมและเพื่อใช้วิเคราะห์ผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแบบแผนที่วางไว้ได้หรือไม่ หรือใช้เป็นบรรทัดฐานในการตั้งเป้าหมายและใช้วางกลยุทธ์ทางธุรกิจในอนาคตได้อีกด้วย

นอกจากนี้ความสำคัญของงบการเงินในแต่ละธุรกิจยังมีความสำคัญต่อบุคคลภายนอก กล่าวคือ “นักลงทุน” ที่มีความสนใจในการลงทุนในธุรกิจนั้นๆ งบการเงินที่สะท้อนผลการดำเนินงานที่ดี ย่อมดึงดูดนักลงทุนในการตัดสินใจร่วมลงทุนในธุรกิจดังกล่าวนั่นเอง หรือจะเป็นในส่วนของการดำเนินการกู้ยืมเงินจากผู้ให้บริการแหล่งเงินทุก ซึ่งก็ถือเป็นอีกหนึ่งบุคคลภายนอกที่ใช้งบการเงินในการพิจารณาการอนุมัติเงินกู้ยืมธุรกิจ งบการเงิน จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญของธุรกิจในการใช้จัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินต่างๆ นั่นเอง

งบการเงิน หลักๆ ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของธุรกิจได้มากที่สุดนั่นก็คือ

  • งบแสดงฐานะทางการเงิน หรือ งบดุล ประกอบด้วยข้อมูลอันเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างธุรกิจได้แก่ ทรัพย์สิน หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ ทุน นั่นเอง โดยสัดส่วนของ “สินทรัพย์” จะแสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบสำคัญต่างๆ ที่กิจการใช้ในการดำเนินธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น เงินสด ลูกหนี้ อาคาร และ/หรือเครื่องจักร เป็นต้น ตัวเลขที่แสดงในส่วนของ “หนี้สิน” ยกตัวอย่างเช่น หนี้สินระยะสั้น (Short-term Loan) และ/หรือ หนี้สินระยะยาว (Long-term Loan) แสดงภาระหนี้สินของธุรกิจที่มีอยู่ และส่วนสุดท้ายคือ “ทุน” หมายถึง ทุนที่เจ้าของกิจการนำมาลงทุนโดยอาจเป็น เงินสด หรือกำไรสะสมที่ยังไม่ได้แบ่งออกให้เจ้าของกิจการก็ได้

    การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก “งบดุล” ช่วยให้ผู้ประกอบกิจการ รวมถึงนักลงทุน ทราบถึงฐานะและความมั่นคงของกิจการ รวมถึงสภาพคล่อง (Liquidity) เพื่อใช้ในการพิจารณาการกู้ยืมเงินเพื่อธุรกิจก็ได้ โดยสามารถสะท้อนความสามารถในการชำระหนี้คืนได้อีกด้วย

  • งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หรืองบกำไรขาดทุน แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ รายได้ ค่าใช้จ่าย รวมถึงกำไรหรือขาดทุนในหนึ่งงวดบัญชีหรือ 12 เดือน โดยตัวเลขในงบกำไรขาดทุนสามารถสะท้อนความสามารถในการดำเนินงานของกิจการได้ ผู้ประกอบการสามารถใช้ตัวเลขเพื่อคำนวณอัตราส่วนทางการเงินเพื่อวางแผนนโยบาย และกลยุทธ์ต่างๆ เช่น อัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการทำกำไร (Gross Profit Margins) เพื่อวางแผนการลดค่าใช้จ่ายเพื่อการทำกำไรให้มากขึ้น เป็นต้น

    ในแง่ของนักลงทุนเอง การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนของกิจการ ทำให้นักลงทุนเห็นภาพเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกิจการ เพื่อเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ช่วยในการประกอบการตัดสินใจลงทุนในกิจการนั้น เช่น การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของบริษัทกับบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรทเดียวกัน หรือการวิเคาระห์มีแนวโน้มของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ว่าจะมีทิศทางใดในอนาคต เป็นต้น (อ่านเกี่ยวกับ “การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน”)

แม้ว่า “งบกระแสเงินสด” จะไม่มีความจำเป็นในการจัดทำในธุรกิจขนาดเล็ก และ “งบกระแสเงินสด” ก็ถือว่ามีความสำคัญไปไม่น้อยกว่า “งบดุล” และ “งบกำไรขาดทุน” เลย เพราะ งบกระแสเงินสดนี้เองที่จะสะท้อนให้เห็นภาพเกี่ยวกับการรับ-จ่ายเงินสด ออกไปในกิจกรรมต่างๆ ของกิจการ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความตระหนักถึงสภาพคล่องของกระแสเงินสดได้อย่างแท้จริง โดยธุรกิจขนาดเล็ก อาจจัดทำงบกระแสเงินสดเพื่อใช้แต่ภายในบริษัทก็ได้

ที่มา: https://www.moneywecan.com/related-contents/financial-statements-for-businesses-and-investors/

งบการเงิน คือ รายงานทางบัญชีที่แสดงรายละเอียดทางการเงินในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา โดยงบการเงิน (Financial Statements) จะประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน, งบกำไรขาดทุน, งบกระแสเงินสด, งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ, และหมายเหตุประกอบงบการเงิน

โดยแต่ละส่วนของงบการเงินมีหน้าที่ ดังนี้:

  • งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) ใช้แสดงฐานะทางการเงินของธุรกิจ
  • งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement) ใช้แสดงผลประกอบการของธุรกิจ
  • งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) ใช้แสดงเงินหมุนเวียนภายในธุรกิจ
  • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ (Statement of Changes Equity) ใช้แสดงความเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
  • หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statement) แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมของงบการเงินนั้น

โดยหน้าที่ของงบการเงิน (Financial Statements) คือใช้แสดงผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา โดยผู้ที่ใช้ประโยชน์จากงบการเงิน (Financial Statements) ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น นักลงทุนที่สนใจ องค์กรรัฐาลที่เข้ามาตรวจสอบ ลูกจ้าง และลูกค้าที่ใช้พิจารณาความสามารถของคู่ค้า

อย่างไรก็ตาม งบการเงิน (Financial Statement) ก็ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ เป็นข้อมูลในอดีต อีกทั้งข้อมูลบางอย่างที่อยู่ในงบการเงิน ไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน อย่างเช่น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอย่างที่ดิน ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตลอดทุกปี

ซึ่งงบการเงิน (Financial Statements) ในแต่ละส่วนจะแสดงรายละเอียดทางการเงินที่แตกต่างกัน ดังนี้

งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position)

งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position) เป็นงบแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ โดยงบแสดงฐานะทางการเงินจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ

  • สินทรัพย์ (Assets) คือ ทรัพยากรของกิจการ เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต
  • หนี้สิน (Liabilities) คือ เป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องไปจ่ายคืนในอนาคต (เพราะกู้มาก่อนหน้านี้)
  • ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity) คือ แหล่งที่มาของเงินทุนของธุรกิจจากเจ้าของผู้ถือหุ้น

โดยความสัมพันธ์ของงบแสดงฐานะทางการเงินทั้ง 3 ส่วน เรียกว่า สมการบัญชี (Accounting Equation)

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)

งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement) จะเป็นงบที่แสดงผลการดำเนินงานของบริษัทในรอบระยะเวลาหนึ่งว่าบริษัทมีกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ โดยรอบระยะเวลาดังกล่าวอาจเป็นรายไตรมาส (บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) หรือ 1 ปี (บริษัทที่ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์)

โดยงบกำไรขาดทุนประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ

  • รายได้ (Income) คือ รายได้ที่ธุรกิจได้รับจากการดำเนินธุรกิจ
  • ค่าใช้จ่าย (Expenses) คือ ต้นทุนในการประกอบธุรกิจต้นทุนขาย ต้นทุนการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ต้นทุนทางการเงิน
  • กำไร/ขาดทุนสุทธิ จากการหักรายได้ด้วยค่าใช้จ่าย

กำไร = รายได้ – ค่าใช้จ่าย

งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement)

งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) เป็นงบที่แสดงเงินหมุนเวียนภายในกิจการ โดยจะแสดงว่าเงินนี้ได้มาอย่างไร ใช้ไปอย่างไร ซึ่งงบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) จะประกอบด้วย 3 กิจการรรม ได้แก่

  1. กิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities)
  2. กิจกรรมลงทุน (Investing Activities)
  3. กิจกรรมจัดหาเงินทุน (Financing Activities)

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ (Statement of Changes Equity)

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ (Statement of Changes Equity) คือ งบที่แสดงความเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของของกิจการหรือบริษัทนั้น ๆ (ตามชื่องบ) ตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นปีบัญชี

หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statement)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statement) คือ รายละเอียดเพิ่มเติมอื่น ๆ ของการจัดทำงบการเงินนั้น รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใส่ไว้ในงบการเงินใน 4 ส่วนที่เหลือ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนหมายเหตุทั่วไป

โดยรายละเอียดที่สามารถพบได้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statement) ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของธุรกิจ นโยบายการบัญชี และวิธีการจัดทำบัญชี เป็นต้น

งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการคืองบใด

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หรือ งบกำไรขาดทุน เป็นงบการเงินที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีรายได้และค่าใช้จ่ายเท่าไร ยังสามารถทำกำไรได้หรือไม่

รูปแบบของงบแสดงฐานะการเงิน มีกี่รูปแบบ แบบใดบ้าง

งบแสดงฐานะการเงิน สามารถจัดท าได้2 รูปแบบ คือ 1. แบบบัญชี (Account form) เป็นการจัดท าในรูปของบัญชี โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ด้านซ้าย แสดงรายการเกี่ยวกับสินทรัพย์ๆ ด้านขวาจะแสดงรายการเกี่ยวกับหนี้สิน และส่วนทุนเหมือนกับสมการ บัญชี 2. แบบรายงาน (Report form) เป็นการจัดท าในรูปของรายงานโดยแสดงรายการเริ่มตั้งแต่ สินทรัพย์ ...

งบการเงินที่แสดงให้เห็นผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงเวลาหนึ่งคือข้อใด

งบกำไรขาดทุน คือ งบที่แสดงถึงผลการดำเนินงาน ของบริษัทในงวดระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะกำหนด ให้เป็นรอบ 3 เดือน หรือ 1 ปี งบกำไรขาดทุนประกอบด้วย รายการหลัก 3 รายการ คือ 1) ยอดขายหรือรายได 2) ค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือต้นทุน 3) ผลต่างของตัวเลข ดังกล่าว ซึ่งก็คือ กำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิ D LO 5 Page 8 บริษัท สำหรับปี ...

งบการเงินที่สําคัญมีอะไรบ้าง

รู้หรือไม่งบการเงินนั้นประกอบด้วย 5 อย่าง.
1. งบดุล หรือในชื่อใหม่ว่า งบแสดงฐานะการเงิน (เปลี่ยนชื่อให้ดูดีขึ้น 55) ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าแสดงฐานะของกิจการว่ามั่งคั่งแค่ไหน ... .
2. งบกำไรขาดทุน ... .
3. งบกระแสเงินสด ... .
4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น ... .
5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน.