อาชีพ คือ อะไร มี กี่ ประเภท

อาชีพหมายถึง?, อาชีพหมายถึง? หมายถึง, อาชีพหมายถึง? คือ, อาชีพหมายถึง? ความหมาย, อาชีพหมายถึง? คืออะไร

อาชีพอิสระกับอาชีพเสริมต่างกันอย่างไรมีนิยามว่าอย่างไร คนอายุ15-60ปีประกอบอาชีพและมีรายได้ตำก่าว23000บาทต่อปีมีกี่คนต่อครัวเรือน คนที่จบชั้นป6ไม่ได้เรียนต่อชั้นมัธยมมีประมาณเท่าไรและได้รับการผึกอบรมบ้างหรือเปล่า nbsp

อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการที่ไม่เป็นโทษแก่สังคม และมีรายได้ตอบแทน โดยอาศัยแรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการ แตกต่างกันไป กลุ่มอาชีพตาม ลักษณะการประกอบอาชีพ   มี 2 ลักษณะ คือ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้าง 1 อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง แต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่ม อาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หากมีความจำเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้ เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่อง ซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพ เป็นไปอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหาร ขายของชำ ซ่อมรถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในการประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ ความสามารถในเรื่อง การบริหาร การจัดการ เช่น การตลาด ทำเลที่ตั้ง เงินทุน การตรวจสอบ และประเมินผล เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความอดทนต่องานหนัก ไม่ถ้อถอยต่อ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมองเห็นภาพการดำเนินงาน ของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง 2 อาชีพรับจ้าง หมายถึง อาชีพที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ โดยตัวเองเป็นผู้รับจ้าง ทำงานให้ และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือเงินเดือน อาชีพรับจ้างประกอบด้วย บุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งได้ตกลงว่าจ้างกัน บุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า quot นายจ้าง quot หรือผู้ว่าจ้าง บุคคลฝ่ายหลังเรียกว่า quot ลูกจ้าง quot หรือผู้รับจ้าง มีค่าตอบแทนที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ ผู้รับจ้างเรียกว่า quot ค่าจ้าง quot การประกอบอาชีพรับจ้าง โดยทั่วไปมีลักษณะ เป็นการรับจ้างทำงานในสถาน ประกอบการหรือโรงงาน เป็นการรับจ้างในลักษณะการขายแรงงาน โดยได้รับค่าตอบ แทนเป็นเงินเดือน หรือค่าตอบแทนที่คิดตามชิ้นงานที่ทำได้ อัตราค่าจ้างขึ้นอยู่กับการกำหนด ของเจ้าของสถานประกอบการ หรือนายจ้าง การทำงานผู้รับจ้างจะทำอยู่ภายในโรงงาน ตามเวลาที่นายจ้างกำหนด การประกอบอาชีพรับจ้างในลักษณะนี้มีข้อดีคือ ไม่ต้องเสี่ยง กับการลงทุน เพราะลูกจ้างจะใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่นายจ้างจัดไว้ให้ทำงานตามที่นายจ้าง กำหนด แต่มีข้อเสีย คือ มักจะเป็นงานที่ทำซ้ำ ๆ เหมือนกันทุกวัน และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของนายจ้าง ในการประกอบอาชีพรับจ้างนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบอาชีพ รับจ้างมีความเจริญก้าวหน้าได้ เช่น ความรู้ ความชำนาญในงาน มีนิสัยการทำงานที่ดี มีความกระตือรือร้น มานะ อดทน ในการทำงาน ยอมรับกฎเกณฑ์และเชื่อฟังคำสั่ง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ความขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้ง สุขภาพอนามัยที่ดี อาชีพต่าง ๆ ในโลกมีมากมาย หลากหลายอาชีพ ซึ่งบุคคลสามารถจะเลือกประกอบ อาชีพได้ตามความถนัด ความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ประเภทใด จะเป็นอาชีพอิสระ หรืออาชีพรับจ้าง ถ้าหากเป็นอาชีพที่สุจริตย่อมจะทำให้ เกิดรายได้มาสู่ตนเอง และครอบครัว ถ้าบุคคลผู้นั้นมีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน ตลอดจน มีความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ จะทำให้มองเห็นโอกาสในการเข้าสู่อาชีพ และพัฒนา อาชีพใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ

ประเภทของอาชีพ

มิ.ย. 26

Posted by kruree2014


ประเภทของอาชีพ แบ่งออกเป็น
1. อาชีพอิสระ
มีลักษณะเป็นเจ้าของกิจการ บริหารจัดการด้วยตนเอง อาจเป็นกิจการขนาดเล็ก หรือเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน อาชีพอิสระแยกย่อยออกไปเป็น 2 ประเภท ดังนี้
• อาชีพอิสระด้านการผลิต การแปรรูปผลผลิตเป็นสินค้า นำไปจำหน่ายในท้องตลาดเป็นการขายปลีกและขายส่ง เช่น อาหารไทย ขนมไทย ผักผลไม้
• อาชีพอิสระด้านการให้บริการ เป็นอาชีพที่นิยมกันแพร่หลาย เนื่องจากมีความเสี่ยงน้อย การลงทุนต่ำ เช่น บริการทำความสะอาด ทำนายโชคชะตา การนวดแผนไทย บริการซักรีดเสื้อผ้า ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่น ๆ
2. อาชีพรับจ้าง
เป็นการทำงานที่มีเจ้านายมอบหมาย ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน/ค่าจ้าง เช่น งานก่อสร้าง พนักงานในบริษัท ห้างร้านและโรงงาน
3. อาชีพงานฝีมือ
เป็นอาชีพที่ปฏิบัติงานโดยใช้ประสบการณ์และความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น งานศิลปะ
งานหัตถกรรม งานประติมากรรม
4. อาชีพรับราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งพนักงานรัฐวิสาหกิจ
เป็นอาชีพที่ให้บริการแก่ประชาชนให้ได้รับความสะดวกสบาย เช่นตำรวจดูแลทุกข์สุขของ
ประชาชนและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ทหารมีหน้าที่รักษาดินแดน ป้องกันการรุกรานจากศัตรูของประเทศ แพทย์ พยาบาล ดูแลเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชน ครู-อาจารย์ให้ความรู้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครองที่มีปลัดอำเภอ นายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด ทำหน้าที่ให้การดูแลเอาใจใส่ประชาชนการรับเรื่องร้องเรียน พร้อมทั้งให้บริการในด้านต่าง ๆ เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การจดทะเบียนสมรส เป็นต้น การทำงานมุ่งผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก มีวันทำการที่แน่นอน รายได้หรือค่าตอบแทนที่ได้รับเป็นเงินเดือนประจำ

แบ่งปันสิ่งนี้:

  • Twitter
  • Print
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ประเภทของอาชีพ
การประกอบอาชีพโดยทั่วไปสามารถแบ่งประเภทออกได้ 3 ประเภท ได้แก่
1. อาชีพข้าราชการ เป็นอาชีพที่รัฐบาลจ้างเพื่อให้ทำหน้าที่บริการแก่ประชาชนทั่วไป เช่น เกษตร ตำบล ปลัด อบต. ครู พยาบาล หมอ ตำรวจ ทหาร เป็นต้น ซึ่งได้รับรายได้หรือตอบแทนเป็นเงินเดือน

อาชีพ คือ อะไร มี กี่ ประเภท


2. อาชีพอิสระ บางครั้งเรียกว่าอาชีพส่วนตัว เป็นการประกอบอาชีพเป็นของตัวเอง ลงทุนเอง เป็นผู้ดำเนินการเอง และเป็นนายตัวเอง ซึ่งอาชีพอิสระแบ่งได้เป็น 3 อย่าง คือ
    1.2.1 อาชีพการผลิต (Manufacturing) หมายถึง การประกอบอาชีพในการทำสินค้าขึ้นมาสำหรับจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค
    1.2.2 อาชีพการค้า (Trading) หมายถึง การประกอบอาชีพซื้อมาขายไป หรือเป็นคนกลางในการซื้อขายสินค้า
    1.2.3 อาชีพบริการ(Service) หมายถึง การประกอบอาชีพที่ให้บริการลูกค้า เช่น ธนาคาร โรงแรม ร้านตัดผม เป็นต้น

อาชีพ คือ อะไร มี กี่ ประเภท


3. อาชีพลูกจ้าง ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ ทำงานโดยปฏิบัติตามคำสั่ง และได้รับค่าตอบแทน คือ เงินเดือน หรือรายได้ต่อวัน/สัปดาห์

อาชีพ คือ อะไร มี กี่ ประเภท


ประเภทของอาชีพมีอะไรบ้าง

เราได้แบ่งประเภทของอาชีพตามลักษณะได้ 2 ลักษณะ คือ แบ่งตามเนื้อหาวิชา ของอาชีพ ได้แก่ อาชีพเกษตรกรรม อาชีพอุตสาหกรรม อาชีพพาณิชยกรรมและบริการ อาชีพคหกรรม อาชีพ หัตถกรรม และอาชีพศิลปกรรม การแบ่งตามลักษณะของการ ประกอบอาชีพ ได้แก่ อาชีพอิสระ และ อาชีพรับจ้าง

ความหมายของการประกอบอาชีพคืออะไร

การประกอบอาชีพ หมายถึง การทำงานหรือทำกิจกรรมใดๆ ที่ก่อให้เกิดผลผลิตและบริการ เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว และอาชีพที่ดีจะต้องเป็นอาชีพสุจริต ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม และเป็นที่ยอมรับของสังคม

ความสําคัญของอาชีพ มีอะไรบ้าง

1. ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้เมื่อมีอาชีพ มีรายได้ สามารถจับจ่ายใช้สอย ซื้อสิ่งของต่างๆ มาใช้ประโยชน์ได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น 2. ช่วยสร้างครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ รายได้ส่วนที่เหลือจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเมื่อเก็บ สะสมไว้เป็นการสร้างอนาคตและดูแลครอบครัวให้ดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุข

ประเภทของอาชีพโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคืออะไร

1.2.1 อาชีพการผลิต (Manufacturing) หมายถึง การประกอบอาชีพในการทำสินค้าขึ้นมาสำหรับจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค 1.2.2 อาชีพการค้า (Trading) หมายถึง การประกอบอาชีพซื้อมาขายไป หรือเป็นคนกลางในการซื้อขายสินค้า 1.2.3 อาชีพบริการ(Service) หมายถึง การประกอบอาชีพที่ให้บริการลูกค้า เช่น ธนาคาร โรงแรม ร้านตัดผม เป็นต้น