เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีอะไรบ้าง

ความหมาย รูปแบบ ประเภท และวิธีการใช้ระบบ e-Tourism สำหรับการจัดการท่องเที่ยวและโรงแรม การเรียนรู้ระบบสารสนเทศ เป็นแนวทางการพัฒนาไปสู่มิติใหม่ของการท่องเที่ยว และเกิดความสะดวกในการเผยแพร่รูปแบบการท่องเที่ยวประเภทต่างๆ ต่อสาธารณชน เพื่อก่อเกิดประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์

  1. อธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศได้
  2. ระบุความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศที่มีต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้
  3. ระบุแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้
  4. ระบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้

4.    บรรณานุกรมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2548) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมหลัก. หจก. บางกอกบล็อก: กรุงเทพBaum, T. (2007). Human resources in tourism: Still waiting for change. Tourism Management.  [Online]  Retrieved on June 14, 2007 from the World Wide Web www.elsevier.com/locate/tourman.Esichaikul R. & Baum T. (1998). The case for government involvement in human resource development: A study of the Thai Hotel Industry. Tourism Management, Vol. 19 (4), pp. 359-370.UNWTO OMT IOHBTO (2006) Mega-Trends of Tourism In Asia-Pacific. [Online]  Retrieved on June 18, 2007 from the World Wide Web http://www.world-tourism.org/regional/south_asia/publications/17.htm.  

1.1 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ecotourism) หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวของภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่นเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

1.2 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (marine ecotourism) หมายถึงการท่อง เที่ยว อย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติทางทะเลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศทางทะเล โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวของภายใต ้ การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอยางยั้งยืน

1.3   การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (geo-tourism) หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่เป็น   หินผา ลานหินทราย อุโมงค์โพรง ถ้ำน้ำลอด ถ้ำหินงอกหินย้อย เพื่อดูความงามของภูมิทัศน์ที่มีความแปลกของการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่โลก  ศึกษาธรรมชาติของหิน ดิน แร่ต่างๆ และฟอสซิล ได้ความรู้ได้มีประสบการณ์ใหม่ บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว

1.4 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (agro tourism) หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรมสวนเกษตร วนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์และเลี้ยงสัตว์เพื่อชื่นชมความสวยงาม ความสำเร็จและเพลิดเพลินในสวนเกษตร ได้ความรู้มีประสบการณ์ใหม่บนพื้นฐานความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดลอมของสถานที่แห่งนั้น

1.5 การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ (astrological tourism) หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการไปชมปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวาระ เช่น สุริยุปราคา ฝนดาวตก จันทรุปราคา และการดูดาวจักราศีที่ปรากฏในท้องฟ้าแต่ละเดือน เพื่อการเรียนรู้ระบบสุริยะจักรวาล มีความรู้ความประทับใจ ความทรงจำและประสบการณ์เพิ่มขึ้น บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบมีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการร่วมกันอย่างยั่งยืน

2.  รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (cultural based tourism) ประกอบด้วย

2.1 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (historical tourism) หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เพื่อชื่นชมและเพลิดเพลินในสถานที่ท่องเที่ยวได้ความรู้มีความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในท้องถิ่นพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสํานึกต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่า ของสภาพแวดลอมโดยที่ประชาชนในท้องถิ่น มีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว

2.2 การท่องเที่ยวงานชมวัฒนธรรมและประเพณี (cultural and traditional tourism) หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยว เพื่อชมงานประเพณีต่างๆ ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ จัดขึ้น ได้รับความเพลิดเพลินตื่นตาตื่นใจในสุนทรียะศิลป์เพื่อศึกษาความเชื่อ การยอมรับนับถือ   การเคารพพิธีกรรมต่างๆ และได้รับความรู้มีความเข้าใจต่อสภาพสังคมและวัฒนธรรม   มีประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นบนพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสํานึกต่อการรักษาสภาพแวดลอมและมรดกทางวัฒนธรรม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมตอการจัดการท่องเที่ยว

2.3 การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท (rural tourism / village tourism) หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวในหมู่บ้าน ชนบทที่มีลักษณะวิถีชีวิต และผลงานสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์พิเศษมีความโดดเด่นเพื่อความเพลิดเพลินได้ความรู้ดูผลงานสร้างสรรค์และภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น บนพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่าของสภาพแวดล้อม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว

3.  รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (special interest tourism) ประกอบด้วย

3.1 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (health tourism) หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติและแหล่งวัฒนธรรมเพื่อการพักผ่อนและเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพกายใจได้รับความเพลิดเพลิน และสุนทรียภาพ มีความรู้ต่อการรักษาคุณค่า และคุณภาพชีวิตที่ดี มีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อนึ่ง การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนี้บางแห่งอาจจัดรูปแบบเป็นการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและความงาม (health beauty and spa)

3.2  การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา (edu-meditation tourism)  หมายถึง การเดินทางเพื่อทัศนศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปรัชญาทางศาสนา หาความรู้ สัจธรรมแห่งชีวิตมีการฝึกทำสมาธิเพื่อมีประสบการณ์และความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น มีคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวบางกลุ่มมุ่งการเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย เช่น  การทําอาหารไทยการนวดแผนไทย รําไทย มวยไทย การช่างและงานศิลปหัตถกรรมไทย   รวมถึงการบังคับช้างและเป็นควาญช้าง เป็นต้น

3.3 การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (ethnic tourism) หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรมของชาวบ้านวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยหรือชนเผาต่าง ๆ เช่น หมู่บ้านชาวไทยโซ่ง หมู่บ้านผู้ไทย  หมู่บ้านชาวกูย หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง  หมู่บ้านชาวจีนฮ่อ เป็นต้น เพื่อมีประสบการณ์และความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นมีคุณคาและคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดลอมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

3.4 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (sports tourism) หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเล่นกีฬาตามความถนัดความสนใจ ในประเภทกีฬา เช่น กอล์ฟ ดําน้ำ ตกปลา สนุกเกอร์ กระดานโตคลื่น สกีนํ้า เป็นต้น ให้ได้รับความเพลิดเพลินความสนุกสนานตื่นเต้น ได้รับประสบการณ์และความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น มีคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้น มีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดลอมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

3.5 การท่องเที่ยวแบบผจญภัย (adventure travel) หมายถึง การเดินทางท่อง เที่ยวไปยงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษ ที่นักท่องเที่ยวเขาไปเที่ยวแล้วได้รับความสนุกสนานตื่นเต้น หวาดเสียว ผจญภัย มีความทรงจํา ความปลอดภัย และได้ประสบการณ์ใหม่

3.6 การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์และฟาร์มสเตย์ (home stay & farm stay) หมายถึง นักท่องเที่ยวกลุ่มที่ต้องการใช้ชีวิตใกล้ชิดกับครอบครัวในท้องถิ่นที่ไปเยือนเพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้รับประสบการณ์ในชีวิตเพิ่มขึ้น โดยมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดลอมและวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการจัดการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่นที่ยั่งยืน

3.7 การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว (long stay)  หมายถึง  กลุ่มผู้ใช้ชีวิตในบั้นปลายหลังเกษียณอายุจากการทำงานที่ต้องการมาใช้ชีวิตต่างแดนเป็นหลัก เพื่อเพิ่มปัจจัยที่ห้าของชีวิตคือ การท่องเที่ยว โดยเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเฉลี่ย 3 – 4  ครั้งต่อปี คราวละนาน ๆ อย่างน้อย  1 เดือน

3.8  การท่องเที่ยวแบบให้รางวัล (incentive travel)  หมายถึงการจัดนำเที่ยวให้แก่กลุ่มลูกค้าของบริษัทที่ประสบความสำเร็จ (มีความเป็นเลิศ) ในการขายสินค้านั้นๆ ตามเป้าหมายหรือเกินเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้แทนบริษัทจำหน่ายรถยนต์   ผู้แทนบริษัทจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้แทนบริษัทจาหน่ายเครื่องสำอาง  จากภูมิภาคหรือจังหวัดต่างๆ ที่สามารถขายสินค้าประเภทนั้นได้มากตามที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายในประเทศตั้งเป้าหมายไว้เป็นการให้รางวัลและจัดนำเที่ยว โดยออกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าพักแรมและค่าอาหารระหว่างการเดินทางให้กับผู้ร่วมเดินทาง เป็นการจัดรายการพักแรมตั้งแต่  2 – 7  วัน เป็นรายการนำเที่ยวชมสถานท่องที่ต่างๆ อาจเป็นรายการนำเที่ยวแบบผสมผสาน หรือรายการนำเที่ยวในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

3.9  การท่องเที่ยวเพื่อการประชุม (MICE หมายถึง M=meeting/I= incentive/ C=conference / E=exhibition)  เป็นการจัดนำเที่ยวให้แก่กลุ่มลูกค้าของผู้ที่จัดประชุม มีรายการจัดนำเที่ยวก่อนการประชุม (pre-tour)  และการจัดรายการนำเที่ยวหลังการประชุม (post-tour)  โดยการจัดรายการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ ไปทั่วประเทศ เพื่อบริการให้กับผู้เข้าร่วมประชุมโดยตรง หรือสำหรับผู้ที่ร่วมเดินทางกับผู้ประชุม  (สามีหรือภรรยา) อาจเป็นรายการท่องเที่ยววันเดียว หรือรายการเที่ยวพักค้างแรม 2 – 4 วัน โดยคิดราคาแบบเหมารวมค่าอาหารและบริการท่องเที่ยว

3.10   การท่องเที่ยวแบบผสมผสานเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้จัดการการท่อง เที่ยวคัดสรรรูปแบบการท่องเที่ยวที่กล่าวมาแล้วข้างต้น นำมาจัดรายการนำเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความแตกต่างระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวในระยะยาวนานตั้งแต่ 2 – 7 วันหรือมากกว่านั้นเช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเกษตร (eco–agro tourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและประวัติศาสตร์ (agro-historical tourism)  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย (eco-adventure travel) การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาและประวัติศาสตร์ (geo- historical tourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม  (agro-cultural tourism) เป็นต้น

นอกจากนี้ในปัจจุบัน การท่องเที่ยวได้พิจารณาจากความต้องการหรือพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเพิ่มเติมทําให้มีรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีแนวคิดใหม่ ขึ้นมาเช่น Green tourism ที่คนมาท่องเที่ยวจะต้องการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือช่วยลดภาวะโลกร้อน เช่น  การท่องเที่ยวในเกาะสมุย หรือ War tourism  ที่นักท่องเที่ยวต้องการสัมผัสกับอดีตในสมัยสงคราม เช่น  การท่องเที่ยวสะพานข้ามแม่นํ้าแคว จังหวัดกาญจนบุรีหรือ Volunteer tourism  ที่นักท่องเที่ยวเป็นอาสาสมัครมาช่วยทำกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ ในสถานที่และเดินทางท่องเที่ยวต่อ เช่น การที่มีอาสาสมัครมาช่วยงานสึนามิในประเทศไทย เป็นต้น

โดยสรุป การท่องเที่ยวในประเทศไทย มีหลากหลายขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเอง และขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม ผลของการท่องเที่ยวจะเกิดมิติในแง่บวกหรือลบ ขึ้นอยู่กับนักท่องเที่ยวว่ามีพฤติกรรมอย่างไร (วารัชต์ มัธยมบุรุษ,  ม.ป.ป.)อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีอะไรบ้าง
              ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ICT

             ความสำคัญของ ICT และองค์ประกอบของ ICT

            ถ้า กล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology :IT) หรือที่เรียกกันอีกประโยคหนึ่งคือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( Information Communication Technology :ICT) ก็คงจะทราบโดยทั่วกันว่ามีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนา ทรัพยากรในหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการปฏิบัติงานรวมทั้งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ อย่างมากมาย รวมถึงสถานศึกษาที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน จำเป็นต้องใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( ICT) ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู อาจารย์ นักเรียนนักศึกษา ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ICT ยังมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการส่งเสริม สนับสนุนในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศภายในองค์การและภายนอกองค์กรเพื่อ เกิดความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

       1.ฮาร์ดแวร์ ( hardware) เป็นเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการจัดระบบสารสนเทศ ในแต่ละประเภทของการใช้งาน

      2.ซอฟต์แวร์ ( software) ต้องมีซอฟต์แวร์ ที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ ที่เหมาะสมและมีประสิทธิ ซึ่งจะต้องมีทั้งโปรแกรมจัดการระบบฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ( Network Operating System) และโปรแกรมประเภทต่าง ๆ ให้เกิดระบบการไหลเวียนของข้อมูลและสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุด

      3.พีเพิลแวร์ ( peopleware) ควรมีทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบข้อมูลและสารสนเทศ การพัฒนาซอฟต์แวร์ การดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่มีความจำเป็นอย่างเหมาะสม

      4.เครือข่าย ( network ) ระบบเครือข่ายมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการติดต่อ สื่อสาร แลกเปลี่ยน การใช้ร่วมกันของ ข้อมูลและสารสนเทศ ระหว่างหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Nertwork) ในระบบต่าง ๆ เช่น เครือข่ายท้องถิ่น ( Local Area Network : LAN) เครือข่ายอินทราเน็ต เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายเอ็กทราเน็ต เป็นต้น

      5.การบริหาร จัดการสารสนเทศ ( Management Information System) ควรมีการ บริหารจัดการระบบข้อมูลและสารสนเทศอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนการดำเนินการ การไหลเวียนของข้อมูลสารเทศ ระบบรักษาความปลอดภัย การกำหนดสิทธิการใช้ระบบฐานข้อมูล การบำรุงดูแลรักษา การตรวจความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน เป็นต้น

      รูปแบบการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร 

      1.การพิมพ์เอกสาร เป็นการพิมพ์เอกสารเพื่อใช้ในสำนักงาน และการติดต่อภายนอก โปรแกรมที่ใช้เรียกว่า โปรแกรมประมวลผลคำ (word processor) เช่นโปรแกรม microsoft word ของค่ายไมโครซอฟท์ โปรแกรม Writer ของค่ายปลาดาวออฟฟิศ เป็นต้น โปรแกรมประมวลผลคำ เป็นโปรแกรมพื้นฐานที่ใช้ในการสร้างเอกสาร (document) ซึ่งมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือตามองค์กรต่างๆ ใช้ในการสร้างเอกสารต่างๆ การพิมพ์เอกสารมีความจำเป็นที่ทุกองค์กรต้องใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการ สื่อสารภายในและภายนอก

      2.การคำนวณ เป็นการใช้งานเพื่อการคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นตัวเลข ทำบัญชี การสร้างกราฟ แผนภูมิต่าง หรือ สร้างตารางเพื่อใช้ในการบริหารสำนักงาน ส่วนใหญ่มักจะใช้ในด้านการเงิน การขาย โปรแกรมที่ใช้เรียกว่า โปรแกรมตารางคำนวณ หรือโปรแกรมตารางทำการ ( Spreadsheet) เช่นโปรแกรม Microsoft excel ของค่ายไมโครซอพท์ หรือ โปรแกรม Calc ของค่ายปลาดาวออฟฟิศ ข้อดีของตารางทำการคือการมีเซลล์ ที่นำมาใช้ในการคำนวณด้วยสูตรต่างๆ ที่โปรแกรมได้เตรียมไว้ให้ลงในตารางทำการ รวมทั้งยังสามารถนำตารางทำการมาสร้างเป็นกราฟประเภทต่างๆ ได้

      3.การนำ เสนอข้อมูล เป็นการใช้งานเพื่อสร้างงานสำหรับการนำ เสนอข้อมูลขององค์กรที่น่าสนใจ โปรแกรมที่ใช้เรียกว่า โปรแกรมนำเสนอ (presentation) เช่น โปรแกรม microsoft powerpoint ของค่ายไมโครซอพท์ หรือ โปรแกรม impress ของค่ายปลาดาวออฟฟิศ ข้อดีของโปรแกรมคือการเตรียมแผ่นงานทีเรียกว่า สไลด์ (slide) ให้กับผู้ใช้งานเพื่อสร้างหนังสือ รูป หรือ ภาพเคลื่อนไหวลงในสไลด์ พร้อมทั้งสามารถใส่องค์ประกอบอื่นๆลงไปเพื่อให้เกิดความสนใจมากขึ้นเช่น ฉากหลัง รูปแบบการเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น

       4.การทำฐานข้อมูล เป็นการใช้งานเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลขององค์กรที่มีความสัมพันธ์กันไว้ด้วย กันในรูปของตารางอิเลคทรอนิกส์ หรือ ฐานข้อมูล (database) เพื่อเรียกใช้งานในภายหลัง ให้กับธุรกิจ โปรแกรมที่ใช้ปัจจุบันมีการใช้กันอย่างแพร่หลายขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร เช่น microsoft access และ SQL server ของค่ายไมโครซอพท์ หรือ โปรแกรม Oracle ของค่ายซัน (SUN micro system) ลักษณะเด่นของการทำฐานข้อมูลคือ ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ในตารางซึ่งจะถูกแยกออกเป็นแถวและคอลัมน์ โดยในแต่ละแถวเรียกว่ารายการข้อมูล (record) ในแต่ละรายการประกอบด้วยข้อมูลย่อยเรียกว่าฟิลด์ (field) ตารางทั้งหมดเรียกว่าไฟล์ (file) ทำให้การทำงานฐานข้อมูลสามารถเรียกข้อมูลรายการย่อย หรือรายการใหญ่โดยการใช้วิธีสืบค้นแสดงรายงานได้ในรูปแบบต่างๆ ขึ้นกับความต้องการของผู้ใช้งานด้วยการหยิบเอารายการข้อมูลย่อยแต่ละชิ้นมา ประกอบกันเป็นสารสนเทศที่สนใจ ตัวอย่างในการใช้งานขององค์กรในการทำฐานข้อมูล เช่นการจัดทำฐานข้อมูลลูกค้าทัวร์ ข้อมูลมัคคุเทศก์ในสังกัด ข้อมูลร้านค้าตัวแทนติดต่อ ข้อมูลในธุรกิจรถเช่าโดยการทำงานร่วมกับระบบสารสนเทศเช่ารถ เป็นต้น

      5. การทำงาน Graphic เป็นการใช้งานเพื่อสร้างงานเอกสารที่ ต้องการความสวยงามเป็นพิเศษ ที่มีรูปภาพประกอบเพื่อนำเสนอให้กับลูกค้า โปรแกรมนี้มักจะเป็นโปรแกรมแบบพิเศษที่มีไว้ใช้เฉพาะองค์กรที่ต้องการใช้งาน เฉพาะเท่านั้นโปรแกรมมีชื่อเรียกและวัตถุประสงค์หลากหลายขึ้นอยู่กับความ ต้องการใช้ของผู้ใช้ เช่น โรงพิมพ์และร้านรับจ้างทำโฆษณา เพื่อพิมพ์งานหนังสือ ตำรา งานโฆษณาต่างๆโปรแกรมที่ใช้มักจะใช้โปรแกรม page maker, corel draw, adobe photoshop โรงงานอุตสาหกรรม สถาปนิกหรือวิศวกร จะโปรแกรมการออกแบบได้แก่ 3D, autocad เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งาน เช่นการทำโบชัวร์เสนอขายโปรแกรมท่องเที่ยว การทำแผ่นพับแนะนำการท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้การทำงาน graphic ยังนำเอามาใช้ในเรื่องของการจัดทำแผนที่ภูมิศาสตร์ (GIS : Geographic Information System) เช่นการทำพิกัดที่ดินในการออกโฉนดที่ดิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Google Earth ที่ สามารถดูแผนที่ตั้งของสถานที่ต่างๆ ได้ทั่วโลก

      6.การทำงานสร้างเว็บไซต์ เป็นโปรแกรมที่นำมาใช้งานเฉพาะการส ร้างเว็บไซต์เพื่อใช้ในการบอกเล่า ประชาสัมพันธ์ โฆษณาสินค้าและบริการผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่นโปรแกรม macromedia dreamweaver, microsoft frontpage เป็นต้น โปรแกรมเหล่านี้จะเตรียมเครื่องมือให้กับผู้ใช้และสามารถใช้งานได้อย่างง่าย (user friendly) ในลักษณะกราฟฟิกส์ (GUI : graphic user interface) ที่ผู้ใช้งานเห็นการทำงานเหมือนขณะแสดงผล (WYSIWYG : what you see is what you get) โดยโปรแกรมจะแปลงการทำงานให้เป็นรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษา HTML อัตโนมัติผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้การเขียนรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์

      7.การทำงานมัลติมีเดีย เป็นโปรแกรมสำหรับการสร้างไฟล์คอมพิวเตอร์ที่ทำงานในรูปแบบภาพหรือภาพ เคลื่อนไหว สี เสียง เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ โฆษณาสินค้าและบริการ เช่นการตัดต่อวิดีโอ เสียง การทำภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมที่ใช้เช่น macromedia director, authorware, toolbook เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งานเช่น การสร้างภาพยนตร์สารคดีการท่องเที่ยว การทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว เป็นต้น

      8.การทำงานเฉพาะอย่าง เป็นการใช้งานเฉพาะอย่างในเรื่องเฉพาะ เช่น การใช้โปรแกรมสำหรับจองตั๋วเครื่องบิน โปรแกรมทำบัญชี เป็นต้น ซึ่งการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบนี้จะทำหน้าที่เฉพาะจะไม่สามารถ ประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆได้ 

      ตัวอย่างการใช้คอมพิวเตอร์ในวงการธุรกิจทั่วไป 

      1. การใช้คอมพิวเตอร์ในบริษัทธุรกิจทั่วไป 

 ตัวอย่าง การทำบัญชีลูกค้า จากข้อมูลลูกค้าแต่ละราย เช่นประเภทสินค้า ปริมาณที่สั่งซื้อ เงินค้างจ่าย เงินที่จ่ายมาแล้ว ฯลฯ เมื่อป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะพิมพ์บัญชีแจ้งหนี้ของลูกค้าแต่ละรายโดยแสดงรายละเอียดของการ เป็นหนี้ ณ เดือนนั้นๆ นอกจากนี้ยังสามารถพิมพ์รายชื่อลูกหนี้ค้างชำระเกินกว่าเวลากำหนดจ่ายและรา ยะละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับลูกค้าได้อีกด้วย 

       2. การใช้คอมพิวเตอร์กับธุรกิจโรงแรม 

 ปัจจุบัน ได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการบริหารกิจการของโรงแรม โดยการติดตั้งเครื่องพ่วงเทอร์มินัลสำหรับการรับส่งข้อมูลไว้ยังจุดบริการ ต่างๆ ของโรงแรม เช่น แผนกต้อนรับ บาร์ ภัตตาคาร คอฟฟี่ช้อป แผนกบริการจองห้องพัก พนักงานเงิน เป็นต้น ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการใช้บริการของผู้ที่มาพัก การจองห้องพักจะถูกส่งเข้ามาทางเครื่องพ่วงดังกล่าว จากนั้นจะนำข้อมูลไปลงบัญชีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งแขกที่มาพักต้องการออกจากโรงแรม พนักงานการเงินจะเรียกรายการบัญชีของแขกที่มาพักที่ได้บันทึกไว้ใน คอมพิวเตอร์ออกมา และสังพิมพ์ใยเสร็จให้แขกที่มาพักได้ทันที นอกจากนี้ผู้บริการโรงแรมยังสามารถเรียกข้อมูลและสั่งพิมพ์รายงานสรุปผลการ ทำงานประจำวัน ทำให้สามารถประมาณการและวางแผนได้ดียิ่งขึ้น 

       3. การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการอุตสาหกรรมทั่วไป 

 การ ใช้คอมพิวเตอร์ในวงการอุตสาหกรรม นอกจากจะใช้ในด้านการลงบัญชีประเภทต่างๆ และการวิเคราะห์การขายแล้ว ยังได้มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการควบคุมสินค้าคงเหลืออย่างได้ผล โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีโกดังเก็บของอยู่หลายแหล่ง หรือหน่วยผลิตอยู่หลายๆ ที่ คอมพิวเตอร์สามารถบอกยอดสินค้าคงเหลือ และออกเป็นรายงานได้ตามที่ต้องการ การใช้เครื่องพ่วงตามจุดต่างๆ ตลอดจนตามโกดังจะช่วยให้สามารถเพิ่มบริการให้กับลูกค้า ในด้านการควบคุมการผลิตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมคุณภาพโดยการนำ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวอย่างผลผลิตมาเปรียบเทียบกับคุณภาพมาตรฐานที่วาง ไว้ และยังสามารถตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมบางแห่งยังนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิต (Process Control) เช่นการควบคุมการให้ส่วนผสมให้ถูกต้อง ควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น ในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการผลิตสินค้าใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างแบบเสื้อ รองเท้า โดยใช้ต้นแบบที่นักออกแบบวาดขึ้นมาทำให้สามาถผลิตได้ตามแบบและขนาดที่ต้อง การได้อย่างเม่นยำ 

       4. การเปลี่ยนสู่ยุคสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Society)

แบ่งประเภทออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ 

 กลุ่มที่ 1 อี ที่เป็นนโยบายของรัฐบาล

      1. e-Government หรือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาในภาครัฐ โดยการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการ บริการประชาชน (front office) และการบริหารภาครัฐ (back office)

      2. e-Industry หรือ การนำเทรโคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาในภาคการผลิตเช่น การพัฒนาข้อมูลศูนย์การตลาดและตลาดกลางสินค้าอุตสาหกรรม การพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม ICT และการนำ ICT มาสนับสนุนการพัฒนา SMEs เป็นต้น

       3. e-Commerce หรือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาในภาคการพาณิชย์ เช่นเรื่องกฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการจัดการฐานข้อมูลและระบบจัดการ ข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อส่งเสริม SMEs เป็นต้น

      4. e-Society หรือการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมา พัฒนาในภาคสังคม เพื่อลดการเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับกลุ่มด้อยโอกาสและประชาชนในชนบทรวมถึงการสร้าง เครือข่ายระหว่างกลุ่มสังคม

     5. e-Education หรือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทสและการสื่อสารมาพัฒนาในภาคการศึกษา โดยเป็นการจัดหา สร้าง ส่งเสริมและสนับสนุน โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการศึกษาและการเรียนรู้ 

 กลุ่มที่ 2 อี ที่เป็นงานหรือกิจกรรม

     1.e-Book คือหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่จัดทำข้อมูบในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถเผย แพร่ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ หรือผ่านอุปกรณ์จัดเก็บบันทึกข้อมูลคอมแพคดิสก์ โดยสามารถจัดทำให้มีการนำภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ เสียงหรือเกมส์ มาใช้ประกอบเนื้อหาได้

    2.e-Business คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร บริการและสินค้าระหว่างธรุกิจผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

     3.e-Citizen คือเว็บไซต์ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองการพัฒนา e-Government โดยมีการให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ทั้งในส่วน ของการบริการประชาชน การบริการธุรกิจ และการบริการภาครัฐ

     4.e-Commerce คือการทำธุรกรมขายสินค้าและบริการผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบเครือข่ายออนไลน์

     5.e-Form คือแบบฟอร์มการขอรับบริการที่ถูกจัดเก็บไว้บนเว็บไซต์ให้ผู้ที่ต้องการรับ บริการในเรื่องนั้นๆ ได้สามารถดาวน์โหลดเพื่อโอนไฟล์ข้อมูลมาเก็บไว้ที่เครื่องของตนเองเพื่อ พิมพ์แบบฟอร์มไว้กรอก หรือสามารถกรอกผ่านทางเว็บไซต์ในรูปแบบที่หน้าตาที่เหมือนฟอร์มเอกสาร

     6.e-Learning คือระบบการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งมีทั้งแบบผู้เรียนเข้าไปดูบทเรียนและทำแบบฝึกหัดบนเครื่องแม่ข่าย หรือผู้เรียนเข้าไปเรียนและโต้ตอบกับผู้สอนผ่านเครื่องแม่ข่ายในเวลาเดียว กันโดยมีเนื้อหาเป็นข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีโอ

     7.e-Library คือระบบการสืบค้น เรียกดู ยืมคืนทรัพยากรห้องสมุดผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ รวมทั้งสามารถเรียกเก็บ และตัดยอดสมาชิก ค่าบริการ ค่าปรับผ่านระบบเครือข่ายได้เลย

      8.e-Magazine คือ นิตยสารที่จัดทำในรูปการนำเสนอข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์

     9.e-Mail คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเปรียบเสมือนจดหมายทั่วไป เพียงแต่ว่าทำงานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยมีรูปแบบของที่อยู่คือ ชื่อผู้รับตามด้วยเครื่องหมาย “@” และตามด้วยที่อยู่บนเครือข่ายของผู้รับเช่น [email protected]

     10.e-Money คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อมูลด้านการเงินและใช้แทนเงิน

     11.e-Procurement คือ การจัดซื้อ จัดจ้างภาครัด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีระบบย่อยได้แก่ e-Auction คือการประมูล , e-Shopping คือการเลือกซื้อสินค้า , e-Catalog คือการแสดงรายละเอียดสินค้า และ e-RFP คือการส่งคำขอไปยังผู้ขาย

     12.e-Service คือการให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายออนไลน์

     13.e-Signature คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ยืนยันตัวตนเมื่อใช้บริการในอินเตอร์เน็ต

เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีอะไรบ้าง

 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

ความสำคัญของระบบสารสนเทศ

        Laudon and Laudon (2006 : 8) อ้างในไพศาล กาญจนวงศ์ (2553 : 40) ได้ให้ความสำคัญของระบบสารสนเทศว่ามีความจำเป็นสำหรับองค์กรในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น องค์กรที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจการเงิน ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยว โรงพยาบาล การศึกษา ไม่สามารถดำเนินงานได้หากปราศจากระบบสารสนเทศ ด้วยความก้าวหน้าของการนำเอาประสิทธิภาพเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการ ดำเนินงานในองค์กรในการตอบสนองยุทธศาสตร์และเป้าหมายขององค์กรช่วยให้องค์กร สามารถ ขยายตลาด ผลผลิตมีคุณภาพสูงขึ้น หรือ ต้นทุนการผลิตลดลง มีการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรในองค์กร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีในองค์กร ยิ่งมีความเข้าใจในการนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้มากเท่าใด การจัดการองค์กรก็จะทำให้ดีมากเท่านั้น

        ใน องค์กรที่เป็นการทำงานแบบมืออาชีพจะนำเอาระบบสารสนเทศ (information system) มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กร การนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กรธุรกิจเพื่อสร้างผลประกอบการให้ดีขึ้น หรือเพื่อแก้ปัญหา หรือเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในการทำงานนั้น องค์กรธุรกิจต้องเข้าใจในการนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กรเพื่อสนับสนุน กิจกรรมที่สำคัญขององค์กร ภายใต้ภารกิจที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการตลาด ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการเงินและงบประมาณ ด้านบัญชี ด้านการจัดการและการผลิต จึงจะทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จ (O’Brien and Marakas, 2007 )

        หลายองค์กรจึง มีการลงทุนจำนวนมากเพื่อให้ได้ระบบ สารสนเทศ อันนำมาซึ่งผลสำเร็จ 6 ประการ ได้แก่ 1) การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ 2) สินค้าใหม่ การบริการ และรูปแบบธุรกิจ 3) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้าและตัวแทนการค้า 4) ปรับปรุงการตัดสินใจ 5) ความได้เปรียบทางการค้า และ 6) การอยู่รอด ดังรายละเอียด ดังนี้

        1. การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดของผู้บริหารในการยก ระดับประสิทธิภาพการทำงานและผลผลิตขององค์กรให้สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการจัดการ ตัวอย่างเช่น wall-mart บริษัทขายส่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ได้ยกระดับการปฏิบัติงานและการจัดการให้อยู่ในระดับโลก จากผลสำเร็จของยอดจำหน่าย 285 พันล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุเนื่องมาจาก ระบบการเชื่อมโยงการจำหน่าย โดยตัวแทนการค้าสามารถเข้าตรวจสอบรายการที่ต้องการสั่งซื้อทันทีที่ต้องการ

       2. สินค้าใหม่ การบริการ และรูปแบบทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการสร้างสินค้าและบริการใหม่ ๆ รวมทั้งการสร้างรูปแบบทางธุรกิจ เพื่ออธิบายสินค้า การขนส่ง การขายสินค้าและบริการ ตัวอย่างได้แก่ ธุรกิจเพลง ในปัจจุบันมีความแตกต่างไปจากเดิมอย่างมาก บริษัท แอปเปิล ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการกระจายเพลง จากเดิมโดยวิธีการออนไลน์ วิธีเทคโนโลยี iPod

        3. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้าและตัวแทนการค้า เมื่อธุรกิจทราบรายละเอียดความต้องการของลูกค้าและสนองความต้องการของลูกค้า ได้จนเกิดความพอใจ จะทำให้ลูกค้าสั่งสินค้าเพิ่ม และต่อเนื่อง การจัดการสินค้าคงคลังสามารถวางแผนได้ ทำให้ต้นทุนลดลง

        4. ช่วยในการตัดสินใจ หลายองค์กรใช้ธนาคารข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ การมีสารสนเทศที่ดี ถูกต้อง และทันเวลา จะสามารถทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจ หรือแม้แต่การนำเอามาช่วยพยากรณ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        5. ความได้เปรียบทางการ เมื่อองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์คือการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ มีสินค้าใหม่ การบริการที่ดี และรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสม มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้าและตัวแทนการค้า มีการการตัดสินใจที่ดีนั้นหมายถึง องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน เนื่องจากสามารถดำเนินงานได้ดีกว่าองค์กรคู่แข่งเกิดความได้เปรียบทางการค้า

        6. การอยู่รอด องค์กรธุรกิจบางครั้งมีความจำเป็นต้องลงทุนในระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี เนื่องจากมีความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจ บางครั้งความจำเป็นต้องลงทุนเพื่อเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กร เช่น ธนาคารซิติแบงก์นำเอาตู้ ATMs (automatic taller machines) เครื่องแรกให้บริการในรัฐนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1977 เพื่อให้บริการลูกค้าชั้นสูง เป็นต้น ปัจจุบันทุกธนาคารในสหรัฐอเมริกานำเอาตู้ ATMs มาใช้และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ATM เป็นต้น

       การนำเอาระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กรเนื่องมาจากเหตุผล 3 ประการ คือ ช่วยสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อช่วยให้กระบวนการในองค์กรและการปฏิบัติงานช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ (และเพื่อช่วยให้ผู้บริหารมีการตัดสินใจที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยหาแนวทางในการตัดสินใจ ช่วยสนับสนุนความได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อช่วยเตรียมสินค้าและบริการที่ทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบมากกว่าคู่ แข่ง ( O’Brien and Marakas, 2007 : 9)

         ระบบสารสนเทศ ข้อมูล และสารสนเทศ

  ทฤษฏี ระบบ (Systems theory) เป็นแนวคิดการจัดการซึ่งมององค์การเป็นระบบตามหน้าที่สัมพันธ์กับสภาพแวด ล้อม ในทฤษฏีนี้ ระบบ (System) เป็นกลุ่มของส่วนที่เกี่ยวข้องกันซึ่งต้องการบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกันทุก ระบบ องค์การประกอบด้วย 4 ส่วนที่เกี่ยวข้องกัน คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการแปรสภาพในการจัดการ ผลผลิต และการป้อนกลับ

           1. ปัจจัยนำเข้า (inputs) เป็นทรัพยากรขององค์กร หรือทรัพยากรการจัดการ ที่นำเข้าสู่ระบบการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงาน ซึ่งจะต้องตระหนักถึงสถานะและการใช้ทรัพยากรขององค์การ ประกอบด้วย ทรัพยากรทางกายภาพ ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรทางการเงิน ทรัพยากรข้อมูล และเทคโนโลยี

           2. กระบวนการแปรสภาพ (Transformation process) เป็นขั้นตอนการนำทรัพยากรขององค์การ ทีเป็นปัจจัยนำเข้ามาแปรสภาพออกมาเป็นผลผลิต (outputs)

          3. สิ่งที่ได้จากกระบวนการแปรสภาพ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์และบริการ (Product and services) ผลลัพธ์ด้านการเงิน (Financial results) ผลลัพธ์การดำเนินงานของบุคลากร (Human results ) ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer satisfaction)

          4. การป้อนกลับ (Feedback) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพ และผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมขององค์การ ข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อปรับปรุงปัจจัยนำเข้า และกระบวนการแปรสภาพ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจมากขึ้น

           ทั้ง นี้ระบบใหญ่ จะประกอบด้วยระบบย่อยๆ (Subsystem) ที่มีความสัมพันธ์กัน โดยผลผลิตของระบบย่อยระบบหนึ่งอาจจะเป็นตัวป้อน (input) ของอีกระบบหนึ่ง ในสถาบันการศึกษา จะมีความซับซ้อนมากมาย เช่น ระบบงานบุคลากร จะเกี่ยวข้องกับ ระบบงานวิจัยของอาจารย์ ระบบการเรียนการสอน ระบบติดตามและประเมินผล ระบบการบริหารบุคคล เป็นต้น ระบบเหล่านี้ ได้รับปัจจัยนำเข้าจากระบบย่อยระบบหนึ่ง ผลิตผลผลิตออกมาเพื่อป้อนเข้าอีกระบบหนึ่ง จนในที่สุดได้ผลผลิตของระบบใหญ่ สุดท้ายขององค์การ

             ระบบสารสนเทศ ระบบ สารสนเทศ (information system) หมายถึง กลุ่มของระบบงานที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ หรือตัวอุปกรณ์ และซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการควบคุมภายในองค์กร (สัลยุทธ์ สว่างวรรณ , 2546 :6) อาจกล่าวได้ว่า ข้อมูล (data) ข่าว สาร (news) ข้อเท็จจริง (facts) โดยการจัดเก็บรวบรวมจากส่วนต่างๆขององค์กร หรือจากสภาพแวดล้อม องค์กร เป็น ปัจจัยนำเข้าสู่ระบบ เมื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล โดยการปรับเปลี่ยนข้อมูลที่นำเข้าให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อองค์กร ซึ่งสามารถนำเอาไปใช้ได้ทันที เรียกว่า สารสนเทศ (information) เสนอ ให้กับผู้ใช้ตามความเหมาะสม หรืออาจส่งต่อไปยังระบบสารสนเทศบางระบบ กลายเป็น ปัจจัยทำเข้าอีกครั้งหนึ่ง เพื่อปรับแต่งให้เหมาะสมกับสภาวะที่ต้องการในลำดับที่ถัดไป

O’Brien and Marakas (2007 : 7-16 ) ได้แบ่งประเภทของระบบสารสนเทศออกเป็น 3 ประเภทตามการจัดการ คือ

           1. ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงาน ในระบบนี้จัดการข้อมูลใช้ในการปฏิบัติงานใน องค์กรในระดับผู้ปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกระบวนการทำงาน การควบคุมกระบวนการ การติดต่อสื่อสาร และการร่วมมือการทำงานระหว่างผู้ปฏิบัติงานในการเพิ่มผลผลิต

          2. ระบบสนับสนุนการจัดการ ในระบบนี้จะมุ่งเน้นการสร้างสารสนเทศเพื่อสนับสนุน การตัดสินใจโดยผู้จัดการ ซึ่งเป็นภาระหน้าที่การบริหารจัดการเป็นภารกิจที่ต้องอาศัยข้อมูลที่ ซับซ้อน แนวคิดนี้ประกอบด้วยความหลากหลายของระดับการตัดสินใจตามภาระหน้าที่ ได้แก่ 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) 2) ระบบสนับสนุน การตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS) 3) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information Systems : EIS)

          3. ระบบอื่น ๆ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) ซึ่งจะออกแบบเพื่อทำงานโดยอิงตามภาระหน้าที่ขององค์กร ทั้งนี้มุ่งออกแบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่าง ๆ

          ใน ขณะที่ Baltzan and Phillips (2007 : 36-45 ) ได้ แสดงรูปแบบที่เป็นตัวแทนอย่างง่าย หรือ แสดงข้อเท็จจริงแบบย่อที่เป็นรูปแบบสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยง เข้าใจในสภาพที่เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ จะทำงานโดยการสร้างรูปแบบของข้อเท็จจริงขององค์กรที่มาจากประเด็นที่สำคัญ และมีความเป็นไปได้ ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในองค์กรสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ ระบบประมวลผลรายการ (transaction process systems) ระบบสนับสนุนการ ตัดสินใจ (decision support systems) และระบบสารสนเทศผู้บริหาร (executive information systems) ในแต่ละระบบจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา และแสวงหาโอกาส ดังแสดงในภาพ

          1. ระบบประมวลผลรายการ (transaction process systems : TPS) สารสนเทศ ประมวลผลรายการ มีการทำงานเพื่อใช้สารสนเทศ 2 แบบ คือ 1) สารสนเทศประมวลผลรายการ (transactional information) นำมาใช้ในระบบธุรกิจในหลายด้านที่เกี่ยวกับการเริ่มต้นของระบบเพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานประจำวัน ตัวอย่างเช่นสารสนเทศประมวลผลการจัดซื้อสินค้าคงคลัง โดยองค์กรจะนำเอาสารสนเทศในรายการข้อมูลมาช่วยตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การวิเคราะห์รายงานขายประจำวันเพื่อจัดการสินค้าในคลังสินค้า เป็นต้น 2) สารสนเทศเชิงวิเคราะห์ (analytical information) เป็นสารสนเทศที่รวมเอาสารสนเทศผลรายการที่เกิดจากการปฏิบัติงานอื่น ๆ เช่น การตลาด โรงงาน ทำให้สามารถรายงานผลให้กับผู้บริหารในระดับที่สูงขึ้นไป เนื่องจากระดับที่สูงขึ้นจะใช้รายละเอียดของสารสนเทศน้อยลงระดับปฏิบัติการตาม ลำดับ แต่จะใช้ภาพสรุปของสารสนเทศมากขึ้น โดยมีการทำงาน คือ การประมวลผลสารสนเทศ ที่องค์กรกำหนด จัดเก็บสารสนเทศ และปรับปรุงสารสนเทศให้รองรับกับข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น ดังนั้น ระบบประมวลผลรายการ (transaction process systems) จึงเป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานระดับปฏิบัติงานในองค์กร

           2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (decision support systems : DSS) เป็น รูปแบบของสารสนเทศที่สนับสนุนผู้บริหารในกระบวนการ ตัดสินใจ ประกอบด้วยรูปแบบเชิงปริมาณ 3 รูปแบบ คือ 1) การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวแปรหนึ่งหรือส่วน หนึ่งของรูปแบบ ทำให้รูปแบบเกิดการเปลี่ยนแปลงกระทบกับตัวแปรอื่น ๆ อย่างไร จะใช้ใน ระหว่างกระบวนการตัดสินใจ 2) การวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลง เพื่อตรวจสอบ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสมมุติฐานจากวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ โดยผู้ใช้จะทำการทำซ้ำ จนกว่าเข้าใจในผลที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่หลากหลาย 3) การวิเคราะห์ค้นหาเป้าหมาย เป็นการค้นหาปัจจัยนำเข้าที่จำเป็นเพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละระดับของผลผลิต แทนที่จะศึกษาหาผลกระทบเหมือนกับ 2 รูปแบบแรก

          3. ระบบสารสนเทศผู้บริหาร (executive information systems : EIS)ระบบ สารสนเทศผู้บริหาร เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจเฉพาะ ที่สนับสนุนผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ความแตกต่างระหว่าง DSS กับ EIS อยู่ที่การนำสารสนเทศจากภายนอกเข้าใช้ประกอบสารสนเทศภายใน เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ทั้งนี้ระบบยังอำนวยความสะดวกในการนำเสนอสารสนเทศที่เหมาะสมใน 3 แบบ ได้แก่ 1) การหลอมรวม (consolidation) หมายถึง สามารถมองภาพรวมสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่ซับซ้อนได้ ที่สามารถแยกส่วนระหว่างสารสนเทศของกลุ่ม หรือรวมเป็นภาพใหญ่ได้ 2) รายการเชิงลึก (drill-down) หมายถึง สามารถให้ผู้ใช้งานแสดงรายละเอียดของรายการข้อมูลต่าง ๆ ได้ในเชิงลึกของแต่ละรายการ เช่น เป็นเดือน สัปดาห์ วัน หรือชั่วโมง 3) แยกส่วน (slice-and-dice) หมายถึง ความสามารถในการแสดงสารสนเทศในมิติที่แตกต่างกัน และสามารถแยกเป็นส่วน ๆ ได้

           บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ.4 

         ในการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นมานั้นจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีบุคคลหลายฝ่ายประกอบกันในทีมงาน ทั้งนี้จึงต้องมีการแบ่งหน้าที่งานต่าง ๆ ออกมาตามความจำเป็น ซึ่งหน้าที่หลักที่จะต้องประกอบกันเป็นทีมจึงจะพัฒนาระบบสารสนเทศมานั้น ประกอบด้วย 5 ฝ่ายที่สำคัญ ( ฉัตร ชูชื่น , 2553) ดังนี้

          1. ผู้จัดการระบบสารสนเทศ ( IS Manager) มีหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลในการพัฒนาระบบสารสนเทศ รวมถึงยังทำหน้าที่ในการดูแลในการจัดสรร การใช้

ทรัพยากรต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบสารสนเทศและการดูแลภาพโดยรวมของการพัฒนาระบบสารสนเทศ

          2. นักวิเคราะห์ระบบ ( System Analyst) มีหน้าที่หลักอย่างมากในการทำให้การพัฒนาระบบสามารถสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ซึ่งการที่จะเป็นนักวิเคราะห์ระบบ

ที่ดีได้นั้นจะต้องประกอบไปด้วยทักษะหลาย ๆ ด้านที่มีความสำคัญด้วย ดังนี้

                  1. ทักษะทางด้านการวิเคราะห์ต้องสามารถมองภาพของระบบ ที่จะไปวิเคราะห์ให้ได้ และสามารถที่จะวิเคราะห์กับสถานการณ์ ต่าง ๆ หรือปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

                  2. ทักษะทางด้านเทคนิค นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงศักยภาพและข้อจำกัดต่าง ๆ ของเทคโนโลยีว่าในแต่ละประเภทนั้นเป็นอย่างไร

                  3. ทักษะทางด้านการจัดคณะเป็นความสามารถในการจัดการโครงการที่จะพัฒนาระบบรวม ถึงการจัดการด้านทรัพยากรความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในระหว่างการพัฒนาระบบอีกด้าน

                  4. ทักษะทางด้านการติดต่อสื่อสาร นักวิเคราะห์ระบบควรที่จะสื่อสารทั้งในส่วนของการเขียนและการพูดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เนื่องจากทำหน้าที่เสมือนคนกลางที่ติดต่อระหว่างทีมพัฒนาระบบ และผู้ใช้ให้สามารถเข้าใจตรงกันได้

        3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)  หน้าที่หลัก ก็คือการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่พัฒนาระบบได้ทำการวิเคราะห์และออกแบบไว้ที่อยู่ ในรูปของภาษามนุษย์ แต่เครื่อง คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ เพื่อเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของคำสั่ง หรือข้อความที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการ เขียนเอกสารประกอบการใช้งานระบบและทำการทดสอบโปรแกรมที่เขียนไปแล้วข้างต้น

        4. ผู้จัดการหน่วยธุรกิจ ( Business Manager) เปรียบเสมือนกับเจ้าของระบบหรือตัวแทนที่มาจากผู้ใช้ระบบ ซึ่งเข้ามาร่วมในทีมพัฒนา โดยผู้จัดการหน่วยธุรกิจจัดว่าเป็นบุคคลที่มีอำนาจ ในการจัดตั้งโครงการในการพัฒนาระบบ และการจัดสรรในการใช้ทรัพยากรต่างๆ นอกจากนั้นยังเป็นคนที่ทำหน้าที่กำหนดความต้องการและข้อจำกัดต่าง ๆ ของโครงการอีกด้วย ตัวอย่างของผู้จัดการหน่วยธุรกิจ เช่น ถ้ามีโครงการพัฒนาระบบเงินเดือนพนักงาน ผู้จัดการหน่วยธุรกิจก็คือ ผู้จัดการฝ่ายบริหารงานบุคคล หรือผู้จัดการฝ่ายบุคคลนั้นเอง

        5. ผู้จัดการระบบสารสนเทศด้านอื่น ๆ (Other IS Manager) เป็นบุคลากรที่มีหน้าที่หรือความชำนาญในด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากหน้าที่ต่าง ๆ ข้างต้นที่กล่าวมาแล้วโดยหน้าทีอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นที่ประกอบในทีมพัฒนา ดังนี้

                1) ผู้ดูแลฐานข้อมูล (Database Administrator) มีหน้าที่ในการออกแบบพัฒนาและบำรุงรักษาฐานข้อมูลที่มีอยู่ให้สามารถทำฐาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

                2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายและการสื่อสาร ( Network and telecommunications expert) มีหน้าที่ในการดูแลในการพัฒนาระบบในส่วนของการสื่อสารของข้อมูลภายในระบบ เช่น มีการใช้ระบบเครือข่ายภายใน ( LAN) มาร่วมกับระบบที่พัฒนาขึ้นมา

                3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมและการจัดทำเอกสาร( Human Factor Specialists) มีหน้าที่ในการฝึกอบรม การใช้ระบบให้ผู้ใช้งาน รวมถึงมีหน้าที่ในการจัดทำเอกสารประกอบการใช้ระบบให้กับผู้ใช้ด้วย

                4) ผู้ตรวจสอบภายใน ( Internal Auditor) มีหน้าที่ในการตรวจสอบระบบที่พัฒนาขึ้นมาว่าระบบได้มีการควบคุมให้ระบบมีการ พัฒนาตรงกับความต้องการที่ตั้งไว้แต่แรกแล้วจริง ๆ

           คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี

     โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์ (2551 : 212-213) ได้อธิบายคุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีว่าต้องมีคุณสมบัติดังนี้

            1. ตรงกับความต้องการ (relevance) สารสนเทศที่ดีต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่นำไปใช้งาน ซึ่งมีความสำคัญที่สุด เพราะหากผลที่ได้ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศที่ได้จะไม่มี ประโยชน์

           2. ทันเวลาต่อการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (timeliness) รูปแบบธุรกิจบางอย่างจำเป็นต้องได้รับสารสนเทศที่รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ สารสนเทศไม่ล้าสมัยขณะที่นำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งหากล่าช้าอาจไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย

          3. มีความเที่ยงตรง (accurate) สารสนเทศต้องมีความเที่ยงตรง เม่นยำ ถูกต้อง สมบูรณ์ และรวมถึงความปลอดภัยด้วย

         4. ประหยัด (economy) สารสนเทศที่ดีต้องมีการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมและใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด

          5. มีประสิทธิภาพ (efficiency) ได้แก่ ความเที่ยวตรง รวดเร็ว ใช้ทรัพยากรน้อย

      ข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว

การ นำเอาสารสนเทศไปใช้งานในการท่องเที่ยว อาจแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและผู้ใช้งานได้ 3 ประเภทได้แก่ 1) รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวางแผน ปรับปรุงแก้ไขการทำงาน 2) นักท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวางแผนการท่องเที่ยว และ 3) ธุรกิจท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการปรับปรุงธุรกิจ วางแผนธุรกิจ การตลาด และประชาสัมพันธ์ของธุรกิจ5.3.1 มิติของการนำไปวางแผนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว

ผู้ ที่เกี่ยวข้องในมิติของการนำไปวางแผนพัฒนาคือ รัฐบาล และหน่วยงานองค์การต่างๆ นิศา ชัชกุล (2550 : 389-412) ได้อธิบายระบบข้อมูลและสถิติการท่องเที่ยวว่า ในการพัฒนาประเทศ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือข้อมูลและสถิติ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ข้อมูลสถิติจะบอกถึงผลงานในอดีตที่ผ่านมาและใช้ในการวางแผนในอนาคต ซึ่งต้องได้มาด้วยกระบวนการทางวิจัย และใช้สถิติที่ถูกต้องเพื่อทำให้ข้อมูลมีคุณภาพน่าเชื่อถือ ความสำคัญของระบบข้อมูลและสถิติการท่องเที่ยวมีดังนี้

•  ใช้ในการขยายงาน เช่นสถิติบอกให้รู้ว่าแนวโน้มนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการสามารถขยายห้องพัก ขยายรถเช่า

•  เพิ่มการลงทุนหรือริเริ่มลงทุน สำหรับผู้ประกอบการทั้งเก่าและใหม่

•  เพื่อวางแผนจัดหาและพัฒนาพนักงานบริการเมื่อมีนักท่องเที่ยวมากขึ้น รวมทั้งการอบรมฝึกฝนเพื่อให้พนักงานบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

•  รัฐบาลนำข้อมูลไปใช้ในการพยากรณ์และวางนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจเอกชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ตรงเป้าหมาย

ประเภทข้อมูล สามารถแบ่งประเภทของข้อมูลได้ดังนี้

•  จำแนกตามคุณสมบัติ (Qualitative data) คือข้อมูลที่แสดงค่าของข้อมูลในรูปของข้อความ ไมได้อยู่ในรูปของตัวเลข เช่น สัญชาติ เชื้อชาติ วัตถุประสงค์ของการเข้ามา ลักษณะการเดินทาง เช่นสถิติของนักท่องเที่ยวจากยุโรปแยกเพศชายหรือหญิง สถิติแยกตามประเทศที่เข้ามา

•  จำแนกตามปริมาณ (Quantitative data) คือข้อมูลที่แสดงปริมาณหรือขนาดในลักษณะเป็นตัวเลข เช่นจำนวนนักท่องเที่ยวแยกตามรายได้ จำนวนโรงแรมในประเทศไทย

•  จำแนกตามเวลา (Timing data) เช่นสถิติที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาในการมาเยือนของนักท่องเที่ยว การท่องเที่ยวในบางท้องถิ่นขึ้นอยู่กับฤดูกาลอีกด้วย

•  จำแนกตามภูมิพื้นที่ (Geographic data) เช่นสถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางไปท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต หรือสถิติของจำนวนห้องพักที่มีในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย

ข้อมูลสถิติที่สำคัญทางการท่องเที่ยว

1. ประเทศต้นกำเนิดของนักท่องเที่ยว (Country of origin) สถิติที่สำคัญที่สุดที่ใช้เพื่อการวางแผนการท่องเที่ยว คือ การเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจากประเทศต้นกำเนิดของนักท่องเที่ยว เพราะสถิติดังกล่าวนี้สามารถระบุถึงขอบเขตแห่งความต้องการของนักท่องเที่ยว ได้เป็นอย่างดี

2. จำนวนนักท่องเที่ยว (Number of visitors) จำนวนของนักท่องเที่ยวจะเลือกเดินทางเข้าไปในแหล่งท่องเที่ยวเฉพาะจุดหมาย ปลายทาง ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความต้องการที่จะเดินทางท่องเที่ยวและในทำนอง เดียวกันก็เป็นองค์ประกอบด้านการแข่งขันที่ทำให้ความต้องการนั้นมีแนวโน้มลด ลงด้วยเช่นกัน

3. ระยะเวลาที่พำนัก (Length of stay) โดยทั่วไปยิ่งนักท่องเที่ยวพำนักนานวันก็ยิ่งเพิ่มความต้องการสูงในด้าน โรงแรม ภัตตาคาร ร้านขายของและแหล่งท่องเที่ยวตามไปด้วย

4. จำนวนวันที่พัก (Visitor days) สามารถคำนวณได้โดยใช้จำนวนวันที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา คูณด้วยผลเฉลี่ยของระยะเวลาที่พำนัก จะช่วยกำหนดความต้องการของนักท่องเที่ยวต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่นที่จอดรถ สวนสาธารณะ ชายหาด แหล่งพักผ่อน เพื่อต้องรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น

5. ค่าใช้จ่ายต่อบุคคล (Per-capita spending) ตัวเลขนี้จะมีประโยชน์ในด้านการเปรียบเทียบทางสถิติของการท่องเที่ยวซึ่งหา ได้จากการคำนวณค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเป็นรายวันคือ จำนวนรวมของค่าใช้จ่ายต่อบุคคล หารด้วยจำนวนวันที่พัก ข้อมูลดังกล่าวยังนำไปใช้ในการวางแผนโฆษณาการท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงองค์ ประกอบอื่นๆ เช่น จำนวนนักท่องเที่ยวต่อเดือน ต่อฤดูกาล เป็นต้น

6. เหตุผลที่มาท่องเที่ยว (Reason for visits) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกันระหว่างวัตถุประสงค์ของการมาของนักท่องเที่ยว กับความต้องการที่นักท่องเที่ยวคาดหวังจากการบริการต่างๆ ทางการท่องเที่ยว การแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างนักท่องเที่ยวที่ไม่พักค้างคืนกับที่พักค้าง คืน เป็นต้น

7. ประเภทของสถานที่พักที่ต้องการ (Type of accommodation required) ซึ่งจะสัมพันธ์กับประเภทของนักท่องเที่ยวซึ่งต้องการมาด้วยวัตถุประสงค์ใน การท่องเที่ยวอย่างไร

8. ประเภทของยานพาหนะที่ใช้ (Type of transportation used) ทำให้เห็นถึงประเภทของโครงสร้างพื้นฐาน และโครงสร้างด้านการบริการทางการท่องเที่ยวระดับสูงซึ่งเป็นความต้องการของ นักท่องเที่ยวด้วย

9. ระยะเวลาการเดินทางเข้ามาถึง (Time period of tourist arrivals) การกำหนดช่วงสูงสุด (peaks) และช่วงต่ำสุด (valleys) ในรอบหนึ่งปีที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาและเดินทางกลับออกไปจะเป็น ประโยชน์หลายประการในอุตสาหกรรมและธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น การเตรียมพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ให้พร้อมที่ท่าอากาศยาน พรมแดนเข้าออก การวางแผนโฆษณา เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว เป็นต้น

10. ข้อมูลทางเศรษฐกิจของนักท่องเที่ยว (Socioeconomic profiles) เช่น อายุ สถานภาพการสมรส ขนาดของครอบครัว อาชีพ และระดับรายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะนำมาใช้ประโยชน์ในการวางแผนโฆษณา และประชาสัมพันธ์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการให้ความรู้ เบื้องต้นแก่ผู้ที่จะเป็นนักท่องเที่ยวในอนาคต นอกจากนี้ข้อมูลยังเอามาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อการท่องเที่ยว ที่มีประสิทธิภาพ

5.3.2 มิติของการนำไปวางแผนเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว

มิติ นี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวจะสนใจข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจ การใช้ข้อมูลด้วยการสืบค้นข้อมูล (Information searching) เช่น ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลการเดินทาง ข้อมูลการใช้จ่ายเงิน ข้อมูลที่พัก ข้อมูลร้านอาหารที่ชื่นขอบ เมื่อพอใจในสินค้าและบริการ ก็ตกลงซื้อสินค้าและบริการนั้น (Purchasing products) โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้รับและติดสินใจ (Making decision) นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังใช้สื่อสารข้อมูลไปยังเพื่อหรือญาติพี่น้อง (communicating with friends and family) ก่อนการเดินทาง ระหว่างการเดินทาง และภายหลังการเดินทาง การใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผนท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวแบบใหม่เปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติในการท่องเที่ยว ซึ่ง Roger Carter (2005) ได้สรุปการเปลี่ยนแปลงของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ไว้น่าสนใจดังนี้

•  ต้องการมากขึ้นและใช้เวลาวันหยุดสั้นลง

•  Makes decisions later, reducing the lead time

•  ค้นหาข้อเสนอที่เป็นปัจเจกมากขึ้น เช่น ข้อเสนอที่ดีกว่า การให้บริการที่ดีกว่า รางวัล ข้อมูลสินค้าและแหล่งท่องเที่ยวที่รวดเร็ว ทันที เป็นปัจจุบัน

•  Is more mobile and critical; more brand aware but less loyal; more price sensitive

•  นักท่องเที่ยวมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ

•  เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น มีข้อมูลเชิงลึกในข้อมูลการท่องเที่ยว และสามารถทำการจองล่วงหน้าได้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

•  เข้าถึงการเดินทางระหว่างประเทศด้วยต้นทุนต่ำ

5.3.3 มิติของการนำไปวางแผนเพื่อการประชาสัมพันธ์ และโฆษณาธุรกิจท่องเที่ยว

ผู้ ประกอบการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการท่องเที่ยวเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในมิตินี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ต้องการปรับปรุงคุณภาพ ขยายตลาด ปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ซื้อสินค้าและบริการ ตามความต้องการของนักท่องเที่ยว สร้างความใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวซึ่งเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นลูกค้า และเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

เสกสรร สายสีสด (2549 : 197) ได้กล่าวถึวประเภทของการประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ตว่า สามารถแบ่งได้ดังนี้

•  การประชาสัมพันธ์องค์กรทั่วไป ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลทั่วไปขององค์กร เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสร้างภาพลักษณ์ เช่นองค์กรของรัฐ หน่วยงานสาธารณกุศล โดยไม่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจ

•  การประชาสัมพันธ์องค์กรทั่วไปในด้านของ company profile เพื่อสร้างภาพลักษณ์โดยเฉพาะ มักเป็นการให้ข้อมูลทั่วไปขององค์กร ไม่เน้นการขาย

•  เป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสารของผลิตภัณฑ์ขององค์กร โดยเน้นการเผยแพร่สินค้าหรือบริการที่บริษัทมีอยู่ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาค้นหาข้อมูล ซึ่งลักษณะของการประชาสัมพันธ์จะไม่เน้นการขายแต่เป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสาร

•  เน้นการขายสินค้า เป็นการเผยแพร่ข้อมูลของสินค้า พร้อมทั้งส่งเสริมการจำหน่ายให้ได้ภายในเว็บไซต์ ที่เรียกว่า การซื้อขายอิเลคทรอนิกส์ (e-commerce)

อรุ ณี อินทรไพโรจน์ (2551 : 8-9) ได้อธิบายข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ และโฆษณาธุรกิจท่องเที่ยว ดังนี้ เว็บไซต์หลักของประเทศไทยพัฒนาโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก 8 รายการ ได้แก่ Home, About Thailand, About TAT, TAT Governor, Destination Guide, Thailand Directory, Online Booking, Contact Us รายการหลักจัดวางเป็นชั้น 4 ระดับ แต่ปรากฏในแผนผังเว็บไซต์ (Sitemap) เพียง 3 ระดับ แยกเป็นรายการย่อยรวม 137 รายการ ส่วนใหญ่จะเป็นการให้เนื้อหา สาระ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นรายจังหวัด (Destination Guide) ข้อมูลด้านกิจกรรมมีพอสมควร แต่การจัดวางยังไม่ดึงดูดสายตาผู้เยี่ยมชม และไม่ปรากฏอยู่ในแผนผังเว็บไซต์ ข้อมูลการให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มีไม่มากนัก แต่เน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวองค์กร เช่น About TAT และ TAT Governor

การ ศึกษาเว็บไซต์ของเอกชนที่ทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยว เป็นการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลของเว็บไซต์จำนวน 79 เว็บไซต์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ฟังชั่น การให้บริการและข้อมูลสารสนเทศ หลังจากนั้นจึงนำมาจัดกลุ่มเพื่อหาความสัมพันธ์ ซึ่งสามารถสรุปกลุ่มของเว็บไซต์ที่พัฒนาโดยภาคเอกชนออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

•  เว็บไซต์ในกลุ่มของ Asiawebdirect. com (www.asiawebdirect.com) เป็น เว็บไซต์การท่องเที่ยวไทยที่นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเป็น ภาษาอังกฤษ ไม่มีแผนผังเว็บไซต์นักท่องเที่ยวสามารถค้นหาข้อมูล เชื่อมโยงไปยังเว็บภายนอกแต่ไม่สามารถสำรองบริการผ่านระบบออนไลน์ เว็บไซต์ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ และมีการออกแบบ ภาพลักษณ์ที่สวยงามปานกลาง เป็นผู้พัฒนาเว็บไซต์ Phuket.com ซึ่งเป็นเว็บที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากที่สุด เว็บไซต์หนึ่งรวมทั้งเว็บไซต์การท่องเที่ยวอื่น ๆ ประมาณ 100 เว็บไซต์

•  เว็บไซต์เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็น เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวหรือ กิจกรรมหลักของธุรกิจ และเพื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์สถานที่หรือแหล่งท่องเที่ยว เว็บไซต์ส่วนใหญ่นำเสนอข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย ไม่มีแผนผังเว็บไซต์ ไม่สามารถค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ไม่สามารถจองบริการออนไลน์ แต่สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นเนื้อหา สาระมีน้อย ภาพลักษณ์ (Appearance) ไม่ค่อยสวย หรือมีความสวยงามปานกลาง

•  เว็บไซต์เพื่อการเชื่อมโยง พัฒนา ขึ้น เพื่อรวบรวมเว็บภายนอกและเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อให้เกิดการทำ ธุรกรรม เช่น การจองที่พัก โปรแกรมท่องเที่ยว รถเช่า เว็บไซต์ส่วนใหญ่นำเสนอข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทยและเชื่อมโยงไปยัง เว็บไซต์อื่น ไม่มีแผนผังเว็บไซต์ ไม่สามารถค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ไม่สามารถจองบริการออนไลน์ เนื้อหา สาระมีน้อยและภาพลักษณ์ (Appearance) ไม่สวยงาม ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะเป็นเว็บที่เพิ่งเริ่มต้นพัฒนา หรือไม่มีผู้ดูแล

•  เว็บไซต์เพื่อการจองบริการผ่านระบบออนไลน์ เป็น เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การนำเสนอข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ นักท่องเที่ยวสามารถค้นหาข้อมูล เชื่อมโยงไปยังเว็บภายนอก และจองบริการออนไลน์ เว็บไซต์ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ แต่การออกแบบภาพลักษณ์มีความสวยงามแตกต่างกัน

•  เว็บไซต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกรรม ถูก พัฒนาขึ้นเพื่อทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยวแต่เมื่อเวลาผ่านไปเจ้าของอาจจะนำ เว็บไซต์ดังกล่าวไปทำกิจการอื่น หรือเลิกกิจการ หรืออาจจะเป็นเว็บการท่องเที่ยวแต่มีแทรกภาพหรือการนำกิจกรรมที่ไม่เหมาะ สมมาประกอบกับการขายบริการด้านท่องเที่ยว

ดัง นั้นพอสรุปได้ว่า เว็บไซต์ในภาคท่องเที่ยวธุรกิจส่วนใหญ่นำเสนอข้อมูล สารสนเทศให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจในเรื่องของ ข้อมูลหน่วยงาน กิจกรรมความเคลื่อนไหว รายละเอียดของสินค้าและบริการ ข้อมูลการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง การติดต่อ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาก่อนการตัดสินใจ

       ประวัติการใช้ ICT เพื่อการท่องเที่ยว

          Buhalis D. and Deimezi O. (2004 ) ได้ กล่าวถึงการท่องเที่ยวแบบดังเดิมว่าเป็นหน้าที่ของบริษัทตัวแทนท่องเที่ยว ภายนอกประเทศ (outbound travel agencies : OTAs) และผู้ประกอบการท่องเที่ยว (tour operators : TOs) และบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวภายใน (inbound travel agents) หรือบริษัทสาขา (handling agencies : ITAs) ทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากระบบการจองด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Reservation Systems : CRSs),) และ ระบบจัดจำหน่ายทั่วโลก (Global Distribution Systems : GDSs) หรือ ระบบวิดีโอเท็กซ์ของผู้ประกอบการท่องเที่ยว (tour operators’ Videotext systems) ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ประกอบการท่องเที่ยวได้ใช้เทเลเท็กซ์ในการแสดงข้อตกลงและข้อเสนอพิเศษนำ เสนอโดยตรงผ่านโทรทัศน์ไปยังผู้บริโภค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบการจัดจำหน่ายทั่วโลก ได้มีการพัฒนาให้มีการใช้ใน 4 ระบบได้แก่ SABRE, AMADEUS, GALILEO, WORLDSPAN ต่อมาปลายปี 1990 ecommerce ได้มีการพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการท่องเที่ยวในลักษณะ B2B (Business to Business) และ B2C (Business to Consumers) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งพัฒนาไปสู่การใช้การติดต่อสื่อสาร การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคทำให้การท่องเที่ยวแบบเดิมเปลี่ยนไปและกลายเป็น เครื่องมือของนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน และ Mavri M and Angells V. ( 2009.) ได้สรุปนวัตกรรม 3 รูปแบบที่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวจนถึงปัจจุบันคือ 1) การพัฒนาระบบการจองล่วงหน้าด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Reservation System : CRS) ในปี 1970 2) การพัฒนาระบบการจัดจำหน่ายทั่วโลก (Global Distribution System : GDS) ในปี 1980 3) อินเตอร์เน็ต 1990

ใน ขณะที่ อรุณี อินทรไพโรจน์ (2551 : 3) ได้กล่าวถึงการจัดจำหน่ายด้านการท่องเที่ยวผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและ คอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. ระบบจัดจำหน่ายทั่วโลก ( The Global Distribution Systems หรือ GDSs) ซึ่ง

เป็น ตัวกลางในการจัดจำหน่ายสินค้าบริการท่องเที่ยว ระบบ GDS ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการขาย ที่นั่งบนสายการบิน โรงแรมและรถเช่า เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ขายและผู้ใช้ระบบซึ่งได้แก่ ตัวแทนท่องเที่ยว ระบบ GDS หลัก ได้แก่ Amadeus, Galileo,SABRE และ World Span

2. อินเทอร์เน็ตและ ICT เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเข้าถึง ตลาดท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือที่แข่งขันกับระบบ GDS ทำให้ผู้บริโภคสามารถตัด

ตัวกลาง หรือตัวแทนท่องเที่ยวเดิมต้องปรับเปลี่ยนเป็นตัวแทนในระบบออนไลน์

3. สายการบินเป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายและสร้างประสิทธิภาพ

ผลกระทบของ ICT ต่อการท่องเที่ยว

เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ( ICT) นั้นมีความสัมพันธ์กับการใช้งานอินเตอร์เน็ตในการท่องเที่ยวและส่งผลกระทบ ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวในหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร กระบวนการดำเนินธุรกิจ การทำงานภายใน การเปลี่ยนแปลงบทบาททางธุรกิจ ความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้ขายเปลี่ยนแปลงการนำเสนอสินค้าและบริการ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงการจ้างงานการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร การพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดการปฏิวัติโครงสร้างของอุตสาหกรรมท่อง เที่ยวและมีผลกระทบต่อตัวกลางการท่องเที่ยวโดยตรง เพราะผู้จัดหาสินค้าบริการท่องเที่ยวสามารถขายตรงไปยังผู้บริโภค ตัวกลางที่เชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคและผู้จัดหาต้องเผชิญกับปัญหาการตัดตัว กลางหรือถูกทดแทนด้วยตัวกลางออนไลน์ ทั้งหมดนี้จะได้กล่าวอย่างละเอียดในบทต่อไป

•  ภาครัฐควรสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อให้เกิดการใช้งานมากขึ้น เช่น การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและลดค่าบริการให้กับผู้ประกอบการภาค ธุรกิจเพื่อเชิญชวนให้มีคนใช้มากขึ้นและภาคธุรกิจใช้จ่ายถูกลง รวมทั้งให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ภาครัฐควรสนับสนุนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (software) ที่เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจให้กับภาคธุรกิจเพื่อให้ข้อมูลเป็นมาตรฐาน เดียวกันเช่น โปรแกรมห้องพัก โปรแกรมรถเช่า โปรแกรมการท่องเที่ยว และโปรแกรมสำหรับการประชาสัมพันธ์ ทำให้รัฐสามารถควบคุมเรื่องการท่องเที่ยวของจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสนับสนุนการใช้โปรแกรมในลักษณะของ open sources และส่งเสริมให้ภาคเอกชนใช้เพื่อลดต้นทุนของภาคเอกชนแทนการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ให้กับต่างประเทศ ควรลดภาษีให้กับภาคธุรกิจโดยเฉพาะโรงแรมที่ใช้โปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง เพื่อให้ความสำคัญต่อกฎหมายลิขสิทธิ์และช่วยให้ผู้ประกอบการได้ลดต้นทุนซึ่ง ต้องใช้งบประมาณสูงมากในจ่ายเป็นค่าบำรุงรักษาระบบ 

ภาค รัฐควรให้ความสนใจในเรื่องการท่อง เที่ยวให้มากขึ้นโดยใช้การประชา สัมพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยว และเป็นสื่อกลางการประชาสัมพันธ์สำหรับการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ให้ กับภาคธุรกิจที่ไม่มีงบประมาณ โดยมี website ที่เป็นสื่อกลางการประชาสัมพันธ์ธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพที่มีหน่วยงานดูแล เฉพาะ ควรจัดทำ server และควบคุมคุณภาพของ server บริการเพื่อให้บริการกับธุรกิจขนาดเล็กสำหรับการประชาสัมพันธ์ร่วมกันนอกจาก จะประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วยังเป็นศูนย์รวมของภาคธุรกิจในการบริการจัดการของ รัฐบาลอีกด้วย

•  เจ้าหน้าที่ของรัฐควรเปลี่ยนความคิดจากเห็นประโยชน์ส่วนตนมาเป็นส่วนรวมมาก ขึ้น และภาครัฐควรให้การเมืองนิ่งกว่านี้เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจในการ เดินทางมาเที่ยวควบคู่กับการสร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว

•  ภาครัฐควรเร่งจัดการระบบการท่องเที่ยวให้ดีขึ้น เช่น จัดการเรื่องระบบขนส่งมวลชนของเชียงใหม่ให้ดีขึ้นเพราะระบบขนส่งมวลชนของ เชียงใหม่ไม่มีประสิทธิภาพเช่น รถจอดไม่เป็นระเบียบ ถนนบางสายที่เป็นสายหลักที่นักท่องเที่ยวใช้บ่อยๆ ไม่ดี ไม่ปลอดภัย ระบบรถไฟ รถประจำทาง จัดการเรื่องแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นระเบียบ มีการบริการข้อมูลข่าวสารของแหล่งท่องเที่ยวที่ดีอย่างเป็นระบบเพื่อบริการ นักท่องเที่ยว ควรปรับปรุงกฎระเบียบการเข้าชมของสถานที่ท่องเที่ยวของรัฐบาล ควรมีการกำหนดมาตรฐานและปริมาณของผู้ประกอบการด้านธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อ จำกัดป้องกันเรื่องการกำหนดราคาท่องเที่ยว ควรมีการกำหนดราคากลางที่เท่าๆ กัน และควบคุมราคาทัวร์ หรือการจดลิขสิทธิ์ทัวร์เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ ควรทำวิจัยและคิดค้นวิธีที่จะทำให้เกิดประโยชน์ ธุรกิจสามารถนำเอามาใช้ได้นำความเจริญมาสู่สังคม และพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น ควรมีการจัดงานพบปะสังสรรค์สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว ควรป้องกันเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเยาวชน

การใช้ ICT ในการท่องเที่ยวปัจจุบัน 

USAID (2006) ได้สรุปการใช้ ICT ในการท่องเที่ยวใน 5 ประเด็นได้แก่

1. การเลือกและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว (Selecting & developing tourism site) โดย การนำเอา ICT มาใช้ในการสร้างแหล่งท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวสามารถเห็น ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการไปเที่ยว และมีข้อมูลอื่นๆ บริการ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เลือกดู ตามความสนใจ

2. การตลาด (Marketing) การใช้ ICT ช่วยในการส่งเสริมการตลาดทั้งในประเทศ โดยการใช้งานวิจัยการตลาด และการตลาดต่างประเทศโดยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์

3. การจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management) ด้วยการใช้ระบบการจองล่วงหน้า การจัดการท่องเที่ยว ก่อน ระหว่าง และภายหลังการท่องเที่ยว

4. การดำเนินงาน (Operations) ได้แก่ การซื้อ การจัดการการให้บริการ และอุปทาน รวมถึงการจัดการ value chain ในการท่องเที่ยว

5. การจัดการและติดตามการท่องเที่ยว ได้แก่ การใช้ข้อมูลพื้นที่ภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เพื่อการเดินทางด้วยระบบ GPS

ไพศาล กาญจนวงศ์ (2553 : 44) ได้ศึกษาการใช้ ICT ของภาคธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ภาคธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่ ( ร้อยละ 40) มีการใช้งานอิเลคทรอนิกส์เพื่อการท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา ในจำนวนนี้พบว่าเป็นธุรกิจนำเที่ยวร้อยละ 56.6 ธุรกิจที่พัก / โรงแรมส่วนใหญ่ ร้อยละ 18.4 ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มส่วนใหญ่ ร้อยละ 13.2 ธุรกิจของที่ระลึกส่วนใหญ่ ร้อยละ 6.6 และธุรกิจขนส่งส่วนใหญ่ ร้อยละ 5.3 ตามลำดับ ดังตาราง

การใช้อิเลคทรอนิกส์เพื่อการท่องเที่ยว ด้านการบริหารสำนักงาน 

•  การใช้อิเลคทรอนิกส์เพื่อการท่องเที่ยว ด้านการติดต่อสื่อสาร 

•  การใช้อิเลคทรอนิกส์เพื่อการท่องเที่ยว ด้านการประชาสัมพันธ์และโฆษณาเพื่อขายสินค้าและบริการ 

5.4.3.1 การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-marketing) 

  การตลาดบนอินเตอร์เน็ตว่าเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล (digital technologies) เพื่อทำให้การตลาดบรรลุผลสำเร็จ ซึ่ง digital technologies รวมไปถึงสื่อทุกอย่างในอินเตอร์เน็ตเช่น เว็บไซต์ อีเมล์ และสื่อดิจิตอลอื่นๆได้แก่ wireless หรือ mobile และสื่อที่ใช้ในการส่งดิจิตอลโทรทัศน์เช่น เคเบิล และดาวเทียม แต่สื่อเหล่านี้จะสำเร็จได้ต้องทำงานบูรณาการร่วมกับสื่ออื่นๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ หรือ ไดเร็คเมล์ ทั้งหมดนี้รวมรียกว่า e-maketing ยังมีอีกหลายคำที่ใช้เรียก ได้แก่ internet marketing, digital marketing

นอกจากนี้ยังได้อธิบายการตลาดด้วยสื่อดิจิตอลที่สำคัญ 6 ลักษณะได้แก่ วิธีการตลาดแบบสืบค้น

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) หมาย ถึงการดำเนินธุรกรรมทางการค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีการติดต่อ สื่อสารสองทางระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่งเพื่อซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือติดต่อสื่อสารระหว่างกัน สามารถแบ่งรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้ 5 ลักษณะดังนี้ ( ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศ ิลป์ และพิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ , 2548 : 2-3)

1. ธุรกิจ ต่อ ธุรกิจ (Business-to-Business; B2B) เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างบริษัทกับซัพพลายเออร์ของบริษัท ซึ่งเป็นรูปแบบการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบไปเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จ รูป นำไปใช้ในการดำเนินงาน หรือนำไปขายต่อ

2. ธุรกิจ ต่อ ผู้บริโภค (Business-to-Customer; B2C) เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างบริษัทกับ ผู้บริโภคในรูปแบบที่ผู้บริโภคสามารถสอบถามข้อมูล และเลือกซื้อสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือรูปแบบการชำระเงินอื่น ๆ ตามความเหมาะสม นอกจากนี้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ลักษณะนี้ยังเกี่ยวข้องกับการใช้เว็บไซต์ เป็นช่องทางในการให้บริการแก่ผู้บริโภคได้

3. ผู้บริโภค ต่อ ผู้บริโภค (Customer-to-Customer, C2C) เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค โดยมีจุดเริ่มต้นจากการสร้างชุมชนบนเว็บไซต์ (Website Community) ในเรื่องหรือประเด็นที่มีความสนใจเหมือนกัน และพัฒนาความสัมพันธ์จากการพูดคุยเป็นการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายสินค้าในรูป แบบการประมูลสินค้า

4. ผู้บริโภค ต่อ ธุรกิจ (Customer-to-Business; C2B) เนื่องจากในยุคเศรษฐกิจใหม่ หรือที่เรียกว่าเศรษฐกิจดิจิตอล ส่งผลต่อพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารและความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภค ผู้บริโภคสามารถให้ข้อมูลและแสดงความต้องการของตนเองผ่านจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ กระดานข่าว หรือชุมชนบนเว็บไซต์ เพื่อให้ธุรกิจทราบความต้องการและนำข้อมูลนั้นไปพัฒนาเป็นสินค้าและบริการ

5. ธุรกิจ ต่อ รัฐบาล (Business-to-Government; B2G) หรือที่เรียกว่า e-Procurement ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ธุรกิจที่ทำธุรกรรมกับหน่วยงานราชการจะติดตามข้อมูลข่าวสารและประมูลการจัด หาสินค้า หรือ โครงการต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การพัฒนาการท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์

นิศา ชัชกุล (2550 : 385-387) ได้กล่าวถึงสถานการณ์การใช้เว็บไซต์ด้านการท่องเที่ยวของโลก ว่า ขณะนี้มีเว็บไซต์เผยแพร่มากกว่า 20 ล้านเว็บไซต์ มีคู่แข่งขันมากมายในตลาดการผลิตเว็บไซต์ ประเทศอังกฤษ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีประมาณ 30 ล้านคนเป็นการใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลและใช้จองทัวร์แบบเหมาจ่ายในช่วงวันหยุด ประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ใช้ประมาณ 152 ล้านคนเพื่อสืบค้นข้อมูลและวางแผนการท่องเที่ยว ซื้อบัตรโดยสารเครื่องบิน จองห้องพัก ฯลฯ

ประเทศทีมีการ พัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ทางการท่องเที่ยวประสบผล สำเร็จมากที่สุดคือ เยอรมันนี อังกฤษ อิตาลี สเปน และฝรั่งเศส ตามลำดับ เช่นเว็บไซต์ดรีม (E-Deram.com) เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมกิจกรรมการท่องเที่ยวของทั่วโลก มีผู้สนใจเข้าเป็นสมาชิกถึง 500,000 รายและได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งในอิตาลีและสเปน เว็บไซต์แอดเวนเจอร์ซีค (Advaantureseek.com) เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสินค้าครบทุกรูปแบบในเว็บไซต์เดียว (One-stop) จัดทำขึ้นเฉพาะสำหรับให้ข้อมูลทางด้านการตลาดการท่องเที่ยวผจญภัยและการท่อง เที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประกอบด้วย แหล่งท่องเที่ยว 140 แห่ง กิจกรรม 20 กิจกรรม แพ็คเกจ 2,200 แพ็คเกจ และมีผู้เข้าชมกว่า 20,000 ครั้งต่อเดือน

ระบบ การสื่อสารที่กำลังได้รับความนิยมในยุโรปคือ โทรทัศน์ระบบดิจิทัล (Interactive Digital Television) ที่สามารถสื่อสารได้สองทาง หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมได้ทันทีทันใด ทำให้การซื้อขายสินค้า ผ่านทางอินเตอร์เน็ตจะเริ่มลดบทบาทลง ในขณะที่โทรทัศน์ระบบดิจิทัลจะเข้ามาแทนที่ ข้อได้เปรียบที่ดีกว่าคือ ไม่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ลูกค้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับอินเตอร์เน็ต หรือซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ผู้ขายไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่ในการทำเว็บไซต์ โทรทัศน์ระบบดิจิทัลสามารถโต้ตอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมถึงการทำเป็นศูนย์ข้อมูลหรือชำระเงินผ่านโทรศัพท์ เป็นสื่อที่สามารถใส่ข้อมูลได้ปริมาณมากได้ สามารถทำงานในลักษณะแผ่นพับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Brochure) หรือวิดีโอได้

ใน ยุคปัจจุบัน สิ่งแวดล้อมทางการตลาดเปลี่ยนแปลงเร็วมาก พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงเร็วเช่นเดียวกัน รูปแบบและวิธีการสื่อสารทางการตลาดจะต้องปรับกลยุทธ์ให้ก้าวทันกับการ เปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การท่องเที่ยวได้จัดทำคู่มือ ( จุลสาร แผ่นพับ) และเอกสารให้ข้อมูลการท่องเที่ยวหรือ แสดงข้อมูลการท่องเที่ยวโดยทางสื่อพาณิชย์อิลเล็กทรอนิกส์เช่น เว็บไซต์ เป็นต้นสำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศไทย และนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

ไพศาล กาญจนวงศ์ (2553 : 62-63) ได้ ศึกษาการมีเว็บไซต์ของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่ง การทำธุรกิจประสบท่องเที่ยวประสบผลสำเร็จ ( Songyu N.,2006 : 108-113; Kim C., 2004 : 1-8) ได้ประเภทธุรกิจท่องเที่ยวเป็น 4 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 เรียกว่า กลุ่มศักยภาพสูง เป็นกลุ่มที่มีคอมพิวเตอร์และมีเว็บไซต์ใช้ในการทำงานประจำวัน กลุ่มที่ 2 เรียกว่า กลุ่มศักยภาพต่ำ เป็นกลุ่มที่ ไม่มีทั้ง คอมพิวเตอร์และเว็บไซต์ใช้ในการทำงาน และกลุ่มที่ 3 เรียกว่า กลุ่มศักยภาพปานกลาง โดยมี แนวทางการพัฒนาการใช้งานอิเลคทรอนิกส์เพื่อการท่องเที่ยว

การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการท่องเที่ยว

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และพิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ (2548 : 5) ธุรกิจการท่องเที่ยวมีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบแตกต่างกัน สามารถสรุปได้ดังนี้

1. ดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ นั่นคือการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร โฆษณา ประชาสัมพันธ์ และมีระบบการสำรองที่พัก / ที่นั่ง เพื่อกระตุ้นจูงใจนักท่องเที่ยวที่ต้องการตัดสินใจซื้อให้สามารถสำรองที่พัก / ที่นั่งได้ทันที ธุรกิจที่เหมาะสมต่อการใช้รูปแบบนี้คือ ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจนำเที่ยวเนื่องจากนักท่องเที่ยวสามารถตัดสินใจเข้าพักหรือใช้ บริการจากภาพลักษณ์ของธุรกิจการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเดิน ทางไปในสถานที่จริง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงธุรกิจขนส่งด้านการท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ การบินและธุรกิจรถเช่าที่นักท่องเที่ยวสามารถสำรองที่นั่งหรือจองรถเช่าล่วง หน้าได้ทางอินเตอร์เน็ต

2. ดำเนินการพาณิชย์เล็กทรอนิกส์เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ด้วยการพัฒนาเว็บไซต์ของธุรกิจเพื่อเป็นช่องทางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ธุรกิจเท่านั้น ไม่มีช่องทางให้นักท่องเที่ยวสามารถตัดสินใจซื้อหรือสำรองที่พัก / ที่นั่งได้ทันที ธุรกิจที่เหมาะสมกับรูปแบบนี้คือ ธุรกิจร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก เนื่องจากธุรกิจร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกเป็นธุรกิจที่มีสินค้าที่จับต้อง ได้ และนักท่องเที่ยวต้องการบริการเสริม ประกอบกับสินค้าที่จับต้องได้นั้นนักท่องเที่ยวต้องการเลือกซื้อด้วยตัวเอง มากกว่า เนื่องจากความรู้สึกภูมิใจในการเลือกซื้อสินค้าที่ระลึกจากการไปท่องเที่ยว มากกว่าการสั่งซื้อผ่านทางอินเตอร์เน็ต

3. ด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการติดต่อสื่อสาร โดยมีเพียงจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับนักท่องเที่ยว หรือ ธุรกิจรายอื่นๆ เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้ให้บริการพื้นที่ตู้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่าย นักท่องเที่ยวและธุรกิจการท่องเที่ยวสามารถมีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนั้นธุรกิจที่ยังไม่พร้อมต่อการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็ม รูปแบบจะมีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อมิให้ธุรกิจล้าหลังกับคู่แข่งขัน รวมทั้งนักท่องเที่ยวส่วนมากมีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในการติดต่อสื่อสารกับ บุคคลอื่น ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญที่ธุรกิจการท่องเที่ยวใช้ในการติดต่อและให้ข้อมูลต่าง ๆ กับนักท่องเที่ยว

4. ไม่มีการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากเป็นธุรกิจการท่องเที่ยวที่ไม่เข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินงาน รวมทั้งขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ทำให้ธุรกิจเหล่านี้ไม่มีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินงาน นอกจากนี้อาจเนื่องมาจากนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีการสำรองที่พัก / ที่นั่งด้วยการติดต่อทางโทรศัพท์หรือโทรสารมากกว่า จึงทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวไม่เห็นความสำคัญหรือความจำเป็นที่ต้องดำเนิน การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้มีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนิน ธุรกิจน้อยมากเนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ถึงความสำเร็จของธุรกิจ ที่นำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ