ปัจจัยใดที่กําหนดนโยบายต่างประเทศ

ปัจจัยใดที่กําหนดนโยบายต่างประเทศ

ยุโฮ กุสติ ปาสิกิวิ อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์เป็นที่จดจำในฐานะผู้ออกแบบนโยบายต่างประเทศของฟินแลนด์ กับ สหภาพโซเวียต หลังสงครามโลกครั้งที่ 2[1] จากซ้ายไปขวา: ยุโฮ กุสติ ปาสิกิวิ และ ประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียตคลีเมนต์ โวโรชีลอฟ ใน มอสโก

นโยบายต่างประเทศ เป็นนโยบายของรัฐ มีลักษณะเป็นแผนการดำเนินการในกิจการและปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนมากมีรูปแบบเป็นทวิภาคีและพหุภาคี[2] สารานุกรมบริแทนนิการะบุไว้ว่า นโยบายต่างประเทศ ของแต่ละประเทศนั้นจะพิจารณาตามนโยบายภายใน, นโยบายกับพฤติกรรมของประเทศตรงข้าม และแผนทางภูมิรัฐศาสตร์[2]

โดยปกติแล้วในประเทศที่ปกครองโดยระบบรัฐสภา จะมีคณะรัฐมนตรี อันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ[3] ส่วนประเทศที่ใช้ระบบประธานาธิบดี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศ โดยได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และบุคคลชั้นนำฝ่ายนิติบัญญัติ[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • การทูต

อ้างอิง[แก้]

  1. Wilsford 1995, pp. 347–352.
  2. ↑ 2.0 2.1 Foreign policy, Encyclopedia Britannica (published January 30, 2020).
  3. ↑ 3.0 3.1 ความหมายของ นโยบายต่างประเทศ Longdo Dict พจนานุกรม

ปัจจัยใดที่กําหนดนโยบายต่างประเทศ
บทความเกี่ยวกับการเมือง การปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล

นโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย
        การกำหนดนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ทุกประเทศจะมีเป้าหมายคล้ายกัน คือ การรักษาและเพิ่มพูนผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งได้แก่ เอกราช ความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรือง และเกียรติภูมิของชาติ สำหรับการกำหนดนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยนั้น อยู่ภายใต้องค์ประกอบต่าง ๆ โดยแบ่งการกำหนดนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยเป็น 2 ช่วง ดังนี้

นโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
        การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา เป็นผลจากการกดดันของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ ซึ่งมีอิทธิพลต่อประเทศไทย ในขณะที่ปัจจัยภายใน เช่น สถาบันสภา ปัญญาชน และสื่อมวลชน มีความสำคัญมากขึ้นทำให้รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายบางอย่างเพื่อสนองความต้องการของกลุ่มชนภายในประเทศ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยในระบอบประชาธิปไตย มีลักษณะต่อเนื่องจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ปัจจัยใดที่กําหนดนโยบายต่างประเทศ

ที่มา : http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economic-business/index.php?SelectCOUNTY=482

นโยบายการต่างประเทศ
         1. เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยส่งเสริมความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและความใกล้ชิดระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การขยายการคมนาคมขนส่ง และความร่วมมือด้านอื่นๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคเพื่อส่งเสริมความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อ กัน
         2. สร้างความสามัคคีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนและส่งเสริมความร่วมมือกับ ประเทศอื่นๆ ในเอเซียภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่างๆ และเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความมั่นคง
         3. เสริมสร้างบทบาทที่สร้างสรรค์และส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเวทีสหประชาชาติและองค์กรระดับภูมิภาคต่างๆ เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคง ส่งเสริมกระบานการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขประเด็นปัญหาข้ามชาติทุกด้านที่ส่งผลกระทบต่อความ มั่นคงของมนุษย์
         4. กระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศ กลุ่มประเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในประเทศไทย พร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันและขีดความสามารถในการแข่งขันให้เศรษฐกิจไทย
         5. สนับสนุนการเข้าถึงในระดับประชาชนของนานาประเทศพร้อมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้ประชาชน รัฐบาล และประชาคมระหว่างประเทศ มีทัศนคติในทางบวกต่อประชาชนและประเทศไทย
         6. ส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาเรื่องพรมแดนและการเปลี่ยนแปลงในโลกที่มีผลกระบต่อประเทศไทย เพื่อก่อให้เกิดฉันทามติในการกำหนดนโยบายและดำเนินนโยบายต่างประเทศ
         7. สนับสนุนการทูตเพื่อประชาชน คุ้มครองผลประโยชน์ของคนไทย ดูแลคนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะคนไทยที่ประกอบอาชีพละมีถิ่นฐานในต่างประเทศ ส่งเสริมบทบาทและความแข็งแกร่งของชุมชนชาวไทยในการรักษาเอกลักษณ์และความ เป็นไทย
         8. ใช้ประโยชน์จากโครงข่ายคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอาเซียนและอนุภูมิภาค ให้เป็นประโยชน์ต่อการขยายฐานเศรษฐกิจทั้งการผลิตและการลงทุน โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่อยู่ตามแนวระเบียง
         9. ประสานการดำเนินงานของส่วนราชการในต่างประเทศ ตามแนวทางนโยบายทีมประเทศไทยเพื่อให้การดำเนินงานด้านการต่างประเทศมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีคุณภาพ
         10. ส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศมุสลิมและองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องว่าประเทศไทยกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ในฐานะปัญหาภายในประเทศที่มีความสำคัญด้วยหลักการตามแนวพระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"

ปัจจัยใดที่กําหนดนโยบายต่างประเทศ

http://www.mfa.go.th/main/th/policy/9868-นโยบายการต่างประเทศ.html
http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_5193.html

ปัจจัยใดที่กําหนดนโยบายต่างประเทศ