องค์ประกอบใดที่ทำให้เราสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพลงได้

องค์ประกอบใดที่ทำให้เราสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพลงได้

Rhythmหมายถึง จังหวะของเพลง เราไม่ได้ยินมันโดดๆ แต่มันเป็นองค์ประกอบสำคัญอยู่ในทุกเพลง เป็นแกนกลางที่นักดนตรีทุกคนจะต้องยึดเป็นหลักในการบรรเลง จังหวะ (Rhythm) คือ เวลา (Timing) ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยความเร็วที่คงที่ ถูกกำหนดโดยเมโธโนม ซึ่งแต่ละเพลงจะมีจังหวะของมันเอง (ช้ามากช้าปานกลางค่อนข้างเร็วเร็วเร็วมาก)

องค์ประกอบใดที่ทำให้เราสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพลงได้

เสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นในเพลงนั้นจะ ต้องบรรเลงด้วย speed ที่สอดคล้องกับจังหวะ (Rhythm) ของเพลงนั้นเสมอ แม้ว่าเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นในเพลงนั้นอาจจะเล่นด้วยความเร็ว (Timing) ที่ไม่เท่ากันก็ตาม ความเร็ว (Timing) ของการบรรเลงของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นจะสลับช้า-บ้าง, เร็วบ้าง ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวโน๊ตที่ต้องบรรเลงในแต่ละห้องของจังหวะเพลงนั้น เมื่อเพลงนั้นถูกมิกซ์ลงมาบนมาสเตอร์ จังหวะของเพลงนั้นก็จะถูกผนึกลงบนมาสเตอร์ด้วย

Timing ที่เกี่ยวกับเครื่องเสียง

Timingในแง่ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค หมายถึง สปีดหรือความเร็ว/ช้าของการทำงานของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่เกิดขึ้นระหว่าง input กับ output ของอุปกรณ์นั้นๆ (input > process > output) ซึ่งอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ดีจะต้อง ไม่ทำให้สัญญาณเสียงเกิดปัญหา เหลื่อมล้ำทางด้านสปีดในย่านความถี่ใดความถี่หนึ่งที่ต่างจากความถี่อื่นๆ เพราะปัญหา เหลื่อมล้ำทางด้านสปีดนี้จะส่งผลให้ความถี่ทั้งหมดที่เข้ามาทางอินพุต ไปปรากฏทางด้านเอ๊าต์พุต ไม่พร้อมกันซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปถึงจังหวะของเพลง (Rhythm) ที่คลาดเคลื่อนไปจากต้นฉบับ ทำให้ฟังเพลงนั้นแล้วขาดความไพเราะลงไป

Delay / Time lag / Latency

ในการส่งผ่านสัญญาณเสียงสำหรับการสื่อสาร อย่างเช่น เสียงสนทนาที่ส่งผ่านทางคลื่นไร้สายของสมาร์ทโฟน ก็มีปัญหา delay เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการส่งผ่านไปตามอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ที่ใช้ในการขยายและจัดส่งคลื่นเสียงไปเช่นกัน แต่เนื่องจากเสียงสนทนาครอบคลุมความถี่แคบกว่าเสียงเพลง และไม่มีส่วนของจังหวะที่แน่นอนเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่เหมือนกับเพลง ดังนั้น การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการ delay ของเสียงสนทนาที่ใช้กับโทรศัพท์จึงไม่ทำให้รู้สึกผิดปกติ แต่เนื่องจากสัญญาณเสียงเพลงครอบคลุมความถี่กว้างมาก การจัดการกับปัญหา delay ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนอิเล็กทรอนิคส์ทำได้ยากกว่า เพราะต้องจัดการให้ความถี่ทั้งหมดถูกปล่อยออกไปทางเอ๊าต์พุตด้วย Timing ที่พร้อมกันเหมือนตอนที่สัญญาณเหล่านั้นถูกส่งเข้ามาทางอินพุต

วิธีฟังสังเกตเกี่ยวกับ Timing และ Rhythm ในชุดเครื่องเสียง

ถ้าเป็นเพลงพ๊อพ, ร็อค หรือแจ๊ส โดยทั่วไป เครื่องดนตรีประเภทเบสและกลองจะถูกใช้ในการ กำกับท่วงการดำเนินของจังหวะเพลง ซึ่งผู้ฟังสามารถตรวจเช็คความช้า-เร็วของจังหวะเพลงได้จากการลองฟังจากเพลงที่มีจังหวะชัดเจนเหล่านั้น ส่วนความถูกต้องในแง่ Timing ของอุปกรณ์เครื่องเสียง สามารถตรวจเช็คได้จากการลองฟังเพลงที่ใช้เครื่องดนตรีประเภท percussion หรือเครื่องเคาะหลายๆ ชิ้นที่เล่นพร้อมๆ กัน แล้วลองจับสปีดหรือความเร็วในการบรรเลงของเครื่องเคาะแต่ละชิ้น ซึ่งควรจะมีสปีดที่ต่างกัน ถ้าซิสเต็มใดสามารถแยกแยะสปีดของเครื่องเคาะที่แตกต่างกันออกมาได้ชัด ก็แสดงว่า ซิสเต็มนั้นตอบสนองกับ Timing ได้ดี ซึ่งก็จะตอบสนองกับ Rhythm หรือจังหวะเพลงได้ถูกต้องไปด้วย ฟังเพลงแล้วจะได้ความไพเราะ /

**********

                 องประกอบของดนตรี

   ดนตรีเป็นศิลปะของเสียงที่เกิดจากความพากเพียรของมนุษย์ในการสร้างเสียงให้อยู่ในระเบียบของ จังหวะ,ทำนอง,พื้นผิวของเสียง,สีสันของเสียง,คีตลักษณ์ (เหล่านี้เป็นแนวคิดของดนตรีตะวันตก) เมื่อนำมาวิเคราะห์ดูก็จะเห็นว่า ดนตรีไม่ว่าจะเป็นของชาติใด ภาษาใด ล้วนมีพื้นฐานมาจากส่วนต่างๆ เหล่านี้ทั้งสิ้น ความแตกต่างในรายละเอียดของแต่ละวัฒนธรรมนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่การที่จะแตกต่างกันอย่างไรนั้น กรอบวัฒนธรรมของแต่ละสังคมจะเป็นปัจจัยที่กำหนดให้ตรงตามรสนิยมของแต่ละวัฒนธรรม จึงเป็นผลให้สามารถแยกแยะดนตรีของชาติหนึ่งแตกต่างจากดนตรีของอีกชาติหนึ่งได้ ดังนั้นในการศึกษาองค์ประกอบของดนตรีไทย ถ้าพิจารณา ในหลักการที่กล่าวมา จะได้รายละเอียดดังนี้
๑.เสียง (Tone) คีตกวีสามารถสร้างเสียงที่หลากหลายโดยอาศัยวิธีการผลิตเสียงเป็นปัจจัยกำหนด เช่น การดีด การสี การตี การเป่า เป็นต้น เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กบคุณสมบัติสำคัญ๔ประการ คือ ระดับเสียงความยาวของเสียงความเข้มของเสียง, คุณภาพของเสียง
๑.๑ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือน กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะส่งผลให้มีระดับเสียงสูง แต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำ ลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มีระดับเสียงต่ำ
๑.๒ความสั้น-ยาวของเสียง(Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ
๑.๓ความเข้มของเสียง(Intensity) ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียง ความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มีลีลาจังหวะที่สมบูรณ์ ในกรณีของดนตรีไทยปรากฏอย่างเด่นชัดในเพลงเชิดจีน
๑.๔คุณภาพของเสียง(Quality) เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิธีการผลิตเสียง รูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียง และวัสดุที่ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียง เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะสีสันของสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน
๒.พื้นฐานจังหวะ (Element of Time)
จังหวะเป็นศิลปะของการจัดระเบียบเสียง ที่เกี่ยวข้องกับความช้าเร็ว ความหนักเบาและความสั้น-ยาว องค์ประกอบเหล่านี้ หากนำมาร้อยเรียง ปะติดปะต่อเข้าด้วยกันตามหลักวิชาการเชิงดนตรีแล้ว สามารถที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดลีลาจังหวะอันหลากหลาย ในเชิงจิตวิทยา อิทธิพลของจังหวะที่มีผลต่อผู้ฟังจะปรากฏพบในลักษณะของการตอบสนองเชิงกายภาพ เช่น ฟังเพลงแล้วแสดงอาการกระดิกนิ้ว ปรบมือร่วมไปด้วย เป็นต้น
  จังหวะในดนตรีไทย สามารถแยกพิจารณาได้ ๒ ประเภท คือ จังหวะภายในและจังหวะภายนอก
๒.๑ จังหวะภายใน
จังหวะภายในเป็นจังหวะที่เกื้อหนุนและแฝงอยู่ในลีลาทำนองได้แก่ ความช้า-เร็ว (Tempo) และลีลาจังหวะ (Rhythm)
ความช้าเร็ว(Tempo) เป็นส่วนหนึ่งของจังหวะที่เกี่ยวข้องกับอัตราความช้าเร็ว (Speed) ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก ความช้าเร็วของบทเพลงจะถูกระบุไว้อย่างชัดเจน เช่น Presto ( เร็วมาก) Moderato ( เร็วปานกลาง) Lento ( ช้า) และ Grave (ช้าเฉื่อย) เป็นต้น โดยอาศัยเมโทรโนม (Metronome) เป็นเครื่องกำหนดจังหวะมาตรฐาน แต่สำหรับดนตรีไทยนั้น ความช้าเร็วของบทเพลงไม่ได้มีการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว ดังเช่นในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก เป็นแต่เพียงการตกลงร่วมกันในหมู่นักดนตรีว่าต้องการให้มีความช้าเร็วเพียงใด ดังนั้นจึงปรากฏพบว่าเพลงเพลงเดียวกันบรรเลงโดยนักดนตรีคนละกลุ่มจะมีความเร็วที่แตกต่างกัน เช่น ในกรณีของเพลงเถา เพลงสามชั้น สองชั้นและชั้นเดียว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อัตราของความช้าเร็ว ทั้งในดนตรีตะวันตกและดนตรีไทยต่างก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจำนวนความถี่ของจังหวะเคาะต่อระยะเวลาที่เท่ากัน โดยมี จังหวะเคาะ (Beat) เป็นมาตราส่วนที่ใช้วัดหรือกำหนดความสั้น-ยาวของเสียงที่เคลื่อนที่ไป การเคลื่อนที่ของจังหวะเคาะจะเป็นอัตราที่สัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจังหวะที่เคลื่อนไปนั้นจะช้าหรือเร็วเพียงใด จังหวะเคาะจัดได้ว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่ง เพราะหากผู้ที่ฝึกหัดดนตรี ขาดพื้นฐานจังหวะเคาะที่ดี จะไม่สามารพัฒนาไปสู่ความเป็นนักดนตรีที่ดีได้ส่วน
ลีลาจังหวะ(Rhythm) เป็นศิลปะของการจัดระเบียบ ความหนัก-เบา (Accent) และความสั้นยาว (Duration) ของเสียง เสียงสั้นๆ ยาวๆ หรือเสียงหนักๆ เบาๆ จะประกอบอยู่ในส่วนประโยคและสลับสับเปลี่ยนกันไป ในวิถีแห่งการดำเนินของเพลงควบกับจังหวะ ดำเนินเป็นระยะๆ ตามแบบของการประพันธ์เพลง ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบจังหวะทั้งในส่วนของจังหวะเคาะ ( Beat) ความหนัก-เบา (Accent) และความสั้น-ยาว (Duration) เมื่อนำมารวมกันจะทำให้อรรถรสที่หลากหลายและงดงาม
๒.๒ จังหวะภายนอก 
จังหวะภายนอกเป็นจังหวะเสริมเพิ่มเติมจากภายนอก สามารถแยกได้จากลีลาของทำนอง จังหวะภายในที่มีเครื่องดนตรีประเภทสร้างทำนองหรือเสียงร้องทำหน้าที่เป็นสื่อผลิต โดยที่จังหวะภายนอกเป็นจังหวะที่เพิ่มเติมให้กับลีลาทำนองได้มีสีสันมากขึ้น จังหวะภายนอกของดนตรีไทย มีเครื่องดนตรีประเภทใช้ทำจังหวะเป็นสื่อผลิตเสียง โดยสามารถแยกเป็น ๒ ประเภท คือ จังหวะฉิ่งและจังหวะหน้าทับ
จังหวะฉิ่ง เป็นจังหวะที่เกิดจากการกระทำของฉิ่ง มีระเบียบการบรรเลงแตกต่างกันไป ตามลักษณะประเภทของเพลงและสำเนียงของเพลง ถึงแม้ว่าฉิ่งจะมีศักยภาพในการผลิตเสียงเพียง ๒ เสียง คือ เสียง “ ฉิ่ง” และเสียง “ ฉับ” ก็ตามที แต่ในเชิงปฏิบัติแล้ว การสลับสับเปลี่ยนระหว่างเสียงฉิ่งและฉับที่เปลี่ยนไปตามลีลาของเพลงและสำเนียง ทำให้สามารถสร้างรูปแบบของการบรรเลงได้อย่างหลากหลาย
จังหวะหน้าทับ เป็นจังหวะที่เกิดจากการกระทำของเครื่องหนังหรือกลอง ความหนัก-เบาของเสียงที่ผลิตหมุนเวียน สลับสับเปลี่ยนกันไปมานั้น มีผลอย่างมากต่อการสร้างสีสันในแก่บทเพลง แต่เดิมทีเดียววัตถุประสงค์หลักของหน้าทับ มีไว้เพื่อวัดขนาดของบทเพลงว่า ขาดหรือเกินหรือไม่ หน้าทับที่ใช้บรรเลงในดนตรีไทยมีหลายประเภท ตัวอย่างเช่น หน้าทับปรบไก่ หน้าทับสองไม้ เป็นต้น
๓.ทำนอง (Melody)ทำนองเป็นการจัดระเบียบของเสียงที่เกี่ยวข้องกับความสูง-ต่ำ ความสั้น-ยาว และความดัง-เบา คุณสมบัติเหล่านี้เมื่อนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของความช้า-เร็ว จะเป็นองค์ประกอบของดนตรีที่ผู้ฟังสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุดในเชิงจิตวิทยา ทำนองจะกระตุ้นผู้ฟังในส่วนของสติปัญญา ทำนองจะมีส่วนสำคัญในการสร้างความประทับใจ จดจำ และแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพลงหนึ่งกับอีกเพลงหนึ่ง
ทำนองของดนตรีไทยสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทด้วยกัน คือ ทำนองหลักและทำนองตกแต่ง
๓.๑ทำนองหลัก (Basic Melody)
ทำนองหลักเป็นเนื้อทำนองที่แท้จริงของเพลงไทย ในหมู่นักดนตรีไทยเรียกกันว่า “ลูกฆ้อง”(ทางฆ้อง) ที่เรียกว่าลูกฆ้อง(ทางฆ้อง)นั้น เป็นการเรียกตามวิธีการแต่งเพลงไทยที่ครูอาจารย์ผู้ประพันธ์จะอาศัยการประดิษฐ์ทำนอง โดยยึดลีลาของทำนองฆ้องวงใหญ่เป็นหลัก ตลอดทั้งตามระเบียบวิธีขณะที่กำลังบรรเลงดนตรีไทย ผู้บรรเลงเครื่องดนตรีชนิดอื่นจะต้องยึดถือทำนองของฆ้องวงใหญ่เป็นหลัก
๓.๒ทำนองตกแต่ง       ทำนองตกแต่งเป็นการประดิษฐ์ตกแต่ง ประดับประดาทำนองหลักหรือลูกฆ้องให้มีความไพเราะเหมาะสมกับเครื่องดนตรีแต่ละประเภท กระบวนการตกแต่งทำนองให้ไพเราะและเหมาะสมกับเครื่องดนตรีแต่ละเครื่องนี้เรียกว่า “ การแปรทำนอง” วัฒนธรรมดนตรีตะวันตกและดนตรีไทย มีลักษณะความแตกต่างที่เด่นชัด คือ วิธีการสร้างทำนอง ในดนตรีตะวันตกนั้น การสร้างทำนองจะกระทำโดยผู้ประพันธ์เพลง โดยผู้ประพันธ์เพลงจะแยกแยะลีลาทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดให้อย่างสมบูรณ์ นักดนตรีเพียงทำหน้าที่ใช้ความสามารถถ่ายทอดโน้ตผ่านสื่อเครื่องดนตรีออกมาเป็นเสียง ในขณะที่วัฒนธรรมดนตรีไทยนั้น กระบวนการสร้างทำนองเกิดจากบุคคล ๒ กลุ่ม คือ ผู้ประพันธ์ทำนองหลักและนักดนตรีผู้แปรทำนอง ตามระเบียบวิธีการของการบรรเลงดนตรีไทย ผู้บรรเลงเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ จะใช้ภูมิปัญญา ปฏิภาณไหวพริบ และทักษะประดับตกแต่งทำนองลูกฆ้องให้เหมาะสมกับทาง (ลีลา) ของเครื่องดนตรีที่ตนกำลังบรรเลงอยู่ โดยยึดกรอบของทำนองลูกฆ้องเป็นเกณฑ์ ลีลาการบรรเลงของเครื่องดนตรีที่ต่างกันนี้เรียกว่า “ ทาง” เช่น ทางระนาดเอก ทางระนาดทุ้ม ทางซอด้วง เป็นต้น
ธรรมเนียมในการบรรเลงดนตรีไทยที่ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องมานั้น แต่ละท่อนจะบรรเลงซ้ำ ๒ เที่ยว ดังนั้นจึงพบว่าในขณะที่นักดนตรีบรรเลงซ้ำทำนองในเที่ยวที่ ๒ นั้น มักจะเดินทำนองหรือทางที่ไม่ซ้ำกับทำนองที่บรรเลงในเที่ยวแรก การบรรเลงในลักษณะเช่นนี้ เป็นการจงใจของนักดนตรีเอง เป็นลักษณะที่โดดเด่นและภาพลักษณ์อันงดงามของดนตรีไทย อักทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาไทยได้อย่างดียิ่ง
ในกรณีที่เป็นการตกแต่งทำนองร้อง จะต้องคำนึงถึงทำนองที่แท้จริงของเพลงและคำร้อง ในทางปฏิบัติ ทำนองทางร้องได้แก่ การนำเอาทำนองหลัก(ทางฆ้อง)มาปรุงแต่งให้เหมาะสมกับระบบเสียงทางภาษาศาสตร์ เช่น วรรณยุกต์เสียงเอก โท ตรี จัตวา หรือสระเสียงสั้น เสียงยาว เป็นต้น จึงหมายความว่า นอกจากจะคำนึงถึงความถูกต้องด้านขนาดความสั้นยาวและสูงต่ำของทำนองร้องแล้ว ความถูกต้องสมบูรณ์ในด้านเนื้อของคำร้องก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
๔.พื้นผิวของเสียง (Texture)
ในเชิงดนตรีนั้น “ พื้นผิว” หมายถึง ลักษณะหรือรูปแบบของเสียงทั้งที่ประสานสัมพันธ์และไม่ประสานสัมพันธ์ โดยอาจจะเป็นการนำเสียงมาบรรเลงซ้อนกันหรือพร้อมกัน ซึ่งอาจพบทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ตามกระบวนการประพันธ์เพลง ผลรวมของเสียงหรือแนวทั้งหมดเหล่านั้น จัดเป็นพื้นผิวตามนัยของดนตรีทั้งสิ้น ลักษณะรูปแบบพื้นผิวของเสียงมีอยู่หลายรูปแบบ ดังนี้
๔.๑Monophonic Textureเป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่มีแนวทำนองเดียว ไม่มีเสียงประสาน พื้นผิวเสียงในลักษณะนี้ถือเป็นรูปแบบการใช้แนวเสียงของดนตรีในยุคแรกๆ ของดนตรีในทุกวัฒนธรรม ในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก ดนตรีประเภทมีแนวทำนองเดียวได้มีพัฒนาการมาจากเพลงสวดในศาสนพิธีของชาวคริสเตียน ซึ่งเรียกว่าเพลงชานท์ ( Chant หรือ Plainsong) หากพิจารณาในส่วนของดนตรีไทยแล้ว เพลงที่มีแนวทำนองเดียว เช่น การขับร้องเพลงไทย การเดี่ยวซอด้วง และการเดี่ยวปี่ เป็นต้น
๔.๒PolyphonicTextureเป็นลักษณะพื้นผิวของเสียงที่ประกอบด้วยแนวทำนองตั้งแต่สองแนวทำนองขึ้นไป โดยแต่ละแนวมีความเด่นและเป็นอิสระจากกัน ในขณะที่ทุกแนวสามารถประสานกลมกลืนไปด้วยกัน ลักษณะแนวเสียงประสานในรูปของ Polyphonic Texture มีวิวัฒนาการมาจากเพลงชานท์ (Chant) ซึ่งมีพื้นผิวเสียงในลักษณะของเพลงทำนองเดียว (Monophonic Texture) ภายหลังได้มีการเพิ่มแนวขับร้องเข้าไปอีกหนึ่งแนว แนวที่เพิ่มเข้าไปใหม่นี้จะใช้ระยะขั้นคู่ ๔ และคู่ ๕ และดำเนินไปในทางเดียวกับเพลงชานท์เดิม การดำเนินทำนองในลักษณะนี้เรียกว่า “ ออร์กานุ่ม” (Orgonum) นับได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้นของการประสานเสียงแบบ Polyphonic Texture หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา แนวทำนองประเภทนี้ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ซึ่งเป็นระยะเวลาที่การสอดทำนอง (Counterpoint) ได้เข้าไปมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการตกแต่งพื้นผิวของแนวทำนองแบบ Polyphonic Texture
๔.๓ Homophonic Texture
เป็นลักษณะพื้นผิวของเสียง ที่ประสานด้วยแนวทำนองแนวเดียว โดยมี กลุ่มเสียง (Chords) ทำหน้าที่สนับสนุนในคีตนิพนธ์ประเภทนี้ แนวทำนองมักจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงสูงที่สุดในบรรดากลุ่มเสียงด้วยกัน ในบางโอกาสแนวทำนองอาจจะเคลื่อนที่ในระดับเสียงต่ำได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าคีตนิพนธ์ประเภทนี้จะมีแนวทำนองที่เด่นเพียงทำนองเดียวก็ตาม แต่กลุ่มเสียง (Chords) ที่ทำหน้าที่สนับสนุนนั้น มีความสำคัญที่ไม่น้อยไปกว่าแนวทำนอง การเคลื่อนที่ของแนวทำนองจะเคลื่อนไปในแนวนอน ในขณะที่กลุ่มเสียงสนับสนุนจะเคลื่อนไปในแนวตั้ง ลักษณะของกลุ่มเสียง (Chords) นี้ ไม่พบในการบรรเลงดนตรีไทยตามปกติและดั้งเดิม แต่อาจพบได้ในการบรรเลงในปัจจุบัน สำหรับผู้บรรเลงดนตรีไทยที่นำเอาความรู้ด้านการผสมกลุ่มเสียง (Chords) มาใช้
๔.๔ Heterophonic Texture
เป็นรูปแบบของแนวเสียงที่มีทำนองหลายทำนอง แต่ละแนวมีความสำคัญเท่ากันทุกแนว คำว่า Heteros เป็นภาษากรีก หมายถึงแตกต่างหลากหลาย ลักษณะการผสมผสานของแนวทำนองในลักษณะนี้ เป็นรูปแบบการประสานเสียงในวัฒนธรรมดนตรีไทย ในการบรรเลงดนตรีไทยแนวหลายแนว ซึ่งอาจจะบรรเลงโดยระนาดเอก ระนาดทุ้ม ขลุ่ย ต่างมีอิสระในการสร้างลีลาของทำนองตามธรรมชาติของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง แต่จะต้องอยู่ในกรอบของทำนองหลัก (ลูกฆ้อง) ร่วมกัน
๕. สีสันของเสียง (Tone Color)
“ สีสันของเสียง” หมายถึง คุณลักษณะของเสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิดเสียงดังกล่าว เป็นได้ทั้งที่เป็นเสียงร้องของมนุษย์และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ความแตกต่างของเสียงร้องมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพศชายกับเพศหญิง หรือระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานของการแตกต่างทางด้านสรีระ เช่น หลอดเสียงและกล่องเสียง เป็นต้น
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีนั้น ความหลากหลายด้านสีสันของเสียง ประกอบด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันหลายประการ เช่น วิธีการบรรเลง วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี รวมทั้งรูปทรง และขนาด ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลโดยตรงต่อสีสันของเสียงเครื่องดนตรี ทำให้เกิดคุณลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันออกไป
๕.๑วิธีการบรรเลงวิธีการผลิตเสียงของเครื่องดนตรีไทย อาศัยวิธีดีด สี ตี และเป่า วิธีการผลิตเสียงดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยให้เครื่องดนตรีมีคุณลักษณะของเสียงที่ต่างกัน พิจารณาจากภาพรวม ด้านคุณลักษณะของเสียงจะสามารถแยกออกเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่มีเสียงราบเรียบ เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ ได้แก่ เครื่องเป่าและเครื่องสี เช่น ปี่ ขลุ่ย ซอ โดยธรรมชาติของการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ตราบใดที่นักดนตรียังสามารถผ่อนลมเข้าออกให้หมุนเวียนไปมา (ระบายลม) กระแสเสียงก็จะถูกผลิตออกมาอย่างราบเรียบและต่อเนื่อง ในลักษณะที่คล้ายกันของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี หากนักดนตรีที่สีซอยังลากคันชักเข้าออกสัมผัสกับสายซอโดยไม่หยุดพัก กระแสเสียงที่ผลิตออกมาจะมีความราบเรียบและต่อเนื่อง เปรียบประดุจกับลีลาของการลากเส้นลงบนแผ่นกระดาษ หากลาเส้นโดยไม่หยุดชะงัก เส้นที่ได้จะเป็นแนวที่ต่อเนื่อง
กลุ่มที่มีเสียงไม่ราบเรียบ เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องตีและเครื่องดีด ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่และจะเข้ เป็นต้น โดยธรรมชาติแล้วเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้ หากตีหรือดีดหนึ่งครั้ง จะผลิตเสียงได้เพียงหนึ่งเสียง และเสียงที่ผลิตออกมานั้นจะเป็นเสียงสั้นๆ ดังนั้น หากต้องการผลิตเสียงยาวจำเป็นจ้องตีหรือดีดหลายครั้ง ตามขนาดความยาวของจังหวะที่ต้องการ คุณค่าของอรรถรสที่ผู้ฟังพังได้รับ จึงอยู่ที่เสียงของการดีดหรือตีที่พรั่งพรูออกมาอย่างถี่ละเอียด และต่อเนื่องดุจเป็นสายแห่งเส้นเสียงเดียวกัน
๕.๒ วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี
วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีของแต่ละวัฒนธรรมจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของสังคมและยุคสมัย วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน นับเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในด้านสีสันของเสียง สำหรับเครื่องดนตรีไทยนั้น วัสดุส่วนมากเป็นวัสดุที่เป็นผลิตผลจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่และกะลามะพร้าว เป็นต้น ดังนั้น กระแสเสียงที่ผลิตจากเครื่องดนตรีไทย จึงมีสีสันที่นุ่มนวล ประสานกลมกลืนกับสภาพวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยได้อย่างดียิ่ง
๕.๓ ขนาดและรูปทรง
ลักษณะของเครื่องดนตรีที่มีรูปทรงและขนาดที่แตกต่างกัน จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างกันในด้านสีสันของเสียงในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กัน
๖. คีตลักษณ์ (Forms)
คีตลักษณ์หรือรูปแบบของเพลง เปรียบเสมือนกรอบที่หลอมรวมเอาจังหวะ ทำนอง พื้นผิว และสีสันของเสียงให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน เพลงที่มีขนาดสั้น-ยาว วนกลับไปมา ล้วนเป็นสาระสำคัญของคีตลักษณ์ทั้งสิ้น ในกรณีของเพลงไทย คีตลักษณ์สามารถพิจารณาได้จากลักษณะดังนี้
รูปแบบของเพลง รูปแบบของเพลงเป็นส่วนที่เป็นกรอบภายนอก การที่เพลงจะสั้น-ยาว มีกี่ท่อน มีอัตราจังหวะที่ช้า-เร็วอย่างไร เท่าใด ล้วนเป็นบทบาทที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเพลง รูปแบบเพลงไทยที่สำคัญ เช่น เพลงเถา เพลงตับ เพลงลา และเพลงโหมโรง เป็นต้น
ลีลาของเพลง ในดนตรีไทย ลีลาของเพลงจะมีความเกี่ยวข้องกับวิธีการที่ผู้ประพันธ์เพลงใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น เพลงลูกล้อลูกขัด เพลงเก็บ เพลงกรอ เป็นต้น

อะไรที่ทำให้เราสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพลงได้

จังหวะ (Rhythm) เป็นการจัดระเบียบของเสียงที่เกี่ยวข้องกับความสูง-ต่าความสั้น-ยาว และความดัง-เบา องค์ประกอบส่วนนี้ มีส่วนสาคัญในการสร้างความประทับใจ จดจา และแยกแยะความเหมือนหรือแตกต่างระหว่างบทเพลงได้

Music Elements มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบดนตรี‎ คืออะไรและมีอะไรบ้าง.
เสียง (Tone) ... .
ระดับเสียง (Pitch) ... .
สีสันของเสียง (Tone Color) ... .
ท่วงทำนอง (Melody) ... .
เสียงประสาน (Harmony) ... .
จังหวะ (Rhythm).

ความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใด

ลักษณะความแตกต่างของเสียงนี้ จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ 4 ประการ คือ ระดับเสียง(สูง-ต่ำ) ความยาว และ ความแคบของเสียง(ช่วงสั้นๆ) และคุณภาพของเสียง (ดี-ไม่ดี)

ข้อใดคือองค์ประกอบทางดนตรี (Elements of Music)

องค์ประกอบของดนตรี คือ ส่วนสำคัญพื้นฐานที่ทำให้เกิดเป็นดนตรีขึ้น ทั้งนี้โดยจะกล่าวถึงองค์ประกอบของดนตรีโดยรวม มิได้ยึดเอาหลักเกณฑ์ของดนตรีใดเป็นมาตราฐาน องค์ประกอบของดนตรีที่สำคัญประกอบไปด้วยปัจจัยเหล่านี้คือ เสียง ทำนอง เสียงประสาน จังหวะ และรูปแบบของดนตรี