อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าของพัดลมมีอะไรบ้าง

ประวัติและการทำงานของพัดลม

อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าของพัดลมมีอะไรบ้าง

พัดลมไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากจะช่วยคลายความร้อนจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวแล้ว หลักการของพัดลมไฟฟ้ายังเป็นส่วนหนึ่งของระบบระบายความร้อน ที่ถูกใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน จนถึงระบบระบายความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

             พัดลมไฟฟ้าเครื่องแรกของโลกเกิดขึ้นจากการประดิษฐ์ของ ชอยเลอร์ วีลเลอร์ (Schuyler Wheeler) เกิด 17 พฤษภาคม พ.ศ.2403 วิศวกรชาวอเมริกัน ที่จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์จากวิทยาลัยโคลัมเบีย  โดยก่อนการประดิษฐ์พัดลมไฟฟ้า วีลเลอร์ ในวัย21ปี เริ่มต้นทำงานเป็นผู้ช่วยช่างไฟฟ้าที่บริษัท จาบลอชคอฟฟ์ และมีโอกาสร่วมงานเป็นวิศวกรกับ โทมัส เอดิสัน เพื่อวางระบบไฟฟ้าใต้ดิน ก่อนที่เขาจะออกมาร่วมงานกับบริษัท ซีแอนด์ซี มอเตอร์ไฟฟ้า ที่นี่ถือได้ว่าเขาเป็นผู้บุกเบิกการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก และนำไปสู่การผลิตพัดลมไฟฟ้าโดยใช้ไฟฟ้ากระแสตรงและพัฒนารูปแบบมาใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ  ในปี พ.ศ.2431 วีลเลอร์ ร่วมกับฟรานซิส คร๊อคเกอร์ ก่อตั้งบริษัท คร๊อคเกอร์ แอนด์ วีลเลอร์ มอเตอร์ และขยายกิจการอุตสาหกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์ จนใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา

          นอกเหนือจากความสำเร็จทางด้านธุรกิจมอเตอร์ไฟฟ้า วีลเลอร์ยังได้เป็นคณะกรรมการควบคุมระบบไฟฟ้าของเมืองนิวยอร์ค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431- พ.ศ. 2438 และแนวความคิดของเขาถูกนำมาใช้ในรูปแบบของ จรรยาบรรณของวิศวกรไฟฟ้าในปี พ.ศ.2455 ด้วย ชอยเลอร์ วีลเลอร์  เสียชีวิตในปี พ.ศ.2466 ด้วยอายุ 63ปี

                พัดลมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ พัดลมตั้งโต๊ะ พัดลมตั้งพื้น พัดลมติดผนัง ซึ่งทั้งหมดมีหลักของการทำงานคล้ายคลึงกัน

ส่วนประกอบและการทำงาน

          - ส่วนประกอบหลักของพัดลม แบ่งออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ ใบพัดและตะแกรง คลุมใบพัด มอเตอร์ไฟฟ้า สวิตซ์ควบคุมการทำงาน และกลไกที่ทำให้พัดลมหยุดกับที่หรือ หมุนส่ายไปมา

          - พัดลมจะทำงานได้เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ และเมื่อกดปุ่มเลือกให้ลมแรงหรือ เร็วตามที่ผู้ใช้ต้องการ กระแสไฟฟ้าจึงไหลเข้าสู่ตัวมอเตอร์ ทำให้แกนมอเตอร์หมุ่น ใบพัดที่ติดอยู่กับแกนก็จะหมุนตามไปด้วยจึงเกิดลมพัดออกมา

การใช้อย่างประหยัดพลังงานและถูกวิธี

          พัดลม ตั้งโต๊ะจะมีราคาต่ำกว่าพัดลมตั้งพื้น และใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า ทั้งนี้เพราะ มีขนาดมอเตอร์และกำลังไฟต่ำกว่า แต่พัดลมตั้งพื้นจะให้ลมมากกว่า ดังนั้นในการเลือกใช้ จึงมีข้อที่ควรพิจารณาดังนี้

          - พิจารณาตามความต้องการและสถานที่ที่ใช้ เช่น ถ้าใช้เพียงคนเดียว หรือ ไม่เกิน 2 คน ควรใช้พัดลมตั้งโต๊ะ

          - อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ โดยเฉพาะพัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรล เพราะจะมี ไฟฟ้าไหลเข้าตลอดเวลา เพื่อหล่อเลี้ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

          - ควรเลือกใช้ความแรงหรือความเร็วของลมให้เหมาะสมกับความต้องการและสถาน ที่ เพราะหากความแรงของลมมากขึ้นจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้น

          - เมื่อไม่ต้องการใช้พัดลมควรรีบปิด เพื่อให้มอเตอร์ได้มีการพักและไม่เสื่อมสภาพ เร็วเกินไป

          - ควรวางพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะพัดลมใช้หลักการดูดอากาศจาก บริเวณรอบๆ ทางด้านหลังของตัวใบพัด แล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้า เช่น ถ้าอากาศบริเวณรอบ พัดลมอับซื้น ก็จะได้ในลักษณะลมร้อนและอับชื้นเช่นกัน นอกจากนี้มอเตอร์ยังระบายความ ร้อนได้ดีขึ้น ไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป

 การดูแลรักษา

          การ ดูแลรักษาพัดลมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้พัดลมทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และ ยังช่วยยือดอายุการทำงานให้ยาวนานขึ้น โดยมีวิธีการดังนี้

          - หมั่นทำความสะอาดตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใบพัดและตะแกรงครอบ ใบพัด อย่าให้ฝุ่นละอองเกาะจับและต้องดูแลให้มีสภาพดีอยู่เสมอ อย่าให้แตกหักหรือชำรุด หรือโค้งงอผิดสัดส่วนจะทำให้ลมที่ออกมามีความแรงหรือความเร็วลดลง

          - หมั่นทำความสะอาดช่องลมตรงฝาครอบมอเตอร์ของพัดลม ซึ่งเป็นช่องระบาย ความร้อนของมอเตอร์ อย่าให้มีคราบน้ำมันหรือฝุ่นละอองเกาะจับ เพราะจะทำให้ประสิทธิ ภาพของมอเตอร์ลดลง และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าของพัดลมมีอะไรบ้าง

พัดลม

 พัดลมเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งที่มีใช้งานมาก เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำมาในรูปของมอเตอร์ไฟฟ้า เมื่อยึดใบพัดติดบนแกนของมอเตอร์ สามารถพัดพาลมไปได้พัดลมมีหลายลักษณะ คือ
 1. พัดลมตั้งโต๊ะ มีขนาดใบพัด 12-16 นิ้ว
 2. พัดลมตั้งพื้น  มีขนาดใบพัด 16-36 นิ้ว (ขนาดใบพัดใหม่ๆ ใช้ในโรงงาน สถานประกอบการ ในงานของวัด)
 3. พัดลมติดผนัง มีขนาดใบพัด 16 นิ้ว
 4. พัดลมเพดาน มีขนาดใบพัด 36-56 นิ้ว
 5. พัดลมแอร์ไอน้ำ
 6. พัดลมแอร์ไอน้ำ
 ที่กล่าวมาเป็นพัดลมที่มีการเสีย และต้องซ่อมมาก และทุกบ้านมีใช้งาน
 ไฟ DC จะไหลผ่าน( ไม่ได้)
 ไฟ AC จะไหลผ่าน( ได้ )

หลักกานทำงานของพัดลม
  เมื่อเสียบปรั๊กไฟของพัดลมเข้ากับเต้าเสียบ แล้วกดสวิทช์พัดลมระดับความเร็ว ที่ 1 การไหลของไฟฟ้าเป็น ดังนี้
  1. ไฟฟ้า 200 V 50 Hz ไหลผ่านปลั๊กไฟอีกด้านหนึ่งไปที่ขา คอมมอน ( ขารวมของขดลวดรันกับขดลวดสตาร์ทของมอเตอร์ ) คือขา C
 2.  ไฟฟ้า  200 V 50 Hz  ไหลผ่านปลั๊กไฟอีกด้านหนึ่งไปที่ขั้วสวิทช์กดเพื่อเลืยกระดับของความเร็วมอเตอร์ เมื่อกดเสียบสวิทช์ที่หมายเลข 1  ไฟฟ่้าจะไหลเข้า ขดรัน R และไหลผ่านคอนเดนเซอร์เข้าขดลวดสตาร์ท S คอนเดนเซอร์ที่ต่ออยู่ที่ขดลวดสตาร์ทืทำหน้าที่ให้ใบพัดเริ่มหมุน  ( ให้แกนกลางของมอเตอร์ออกตัวตัวหมุน )
เมื่อใบพัดของพัดลมหมุน ไฟฟ้าจะไหลจากขดรันผ่านขดลวด มาครบรอบไฟฟ้ามี่ขั้วคอมมอน คือขา C  ทำให้มอเตอร์พัดลมหมุนต่อเนื่องตลอดเวลา เมื่อกดความเร็วที่ 2  และ 3 จะทำให้มอเตอร์หมุนเร็วขึ้น 
พัดแรงลมได้แรงขึ้น เนื่องจากไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดที่มีจำนวนรอบของขดลวดมาก จนกว่าจะ OFF สวิทช์ พัดลมจึงจะหยุดหมุน

 อาการเสียของพัดลมตั้งโต๊ะ  และ ติดผนัง
  1. อาการไม่หมุน เงียบ
      1.1 เช็คสายปลั๊กขาด โดยการตั้งมิเตอร์ R 1 วัดที่ขั้วปลั๊กไฟ AC แล้วกดสวิทช์พัดลม ถ้าเข็มมิเตอร์ไม่ขึ้น แสดงว่าสายปลั๊กอาจจะขาด เปิดฝาใต้พัดลม แล้ววัดเฉพาะสาย ขาดหรือไม่
      1.2 เช็คสวิทช์แตะหรอไม่
      1.3 ขดลวดพัดลม ไหม้ ขาด หรือไม่ สาเหตุขดลวดพัดลมไหม้ ขาดเกิดจากแกนหมุนฝืด บูทติดขัด
      1.4 พัดลมบางรุ่นมีรีซีสเตอร์ฟิวร์ อยู่ที่บริเวณขดลวดมอเตอร์ของพัดลม ถ้าขาด วัดขดลวดไม่ขึ้นให้ขึ้นให้สังเกตุดูว่ามีรีซีสเตอร์ฟิวร์ไม่ปกติ พัดลมมียี่ห้อ เช่น TOSHIBA SANYO PHILPS มักจะมีรีซีเตอร์ฟิวร์
    2. อาการหมุนช้า กดเลข 3 ก็หมุนช้า มีเสียงบูทฝืด
        2.1 เช็คแกนหมุนใบพัดฝืด ถอดออกมาหยอดน้ำมัน
        2.2 บูทสึก แกนสึก ทำให้หมุนช้า เวลาหมุนมีเสียงดัง ให้ถอดมาเปลื่อนบูทใหม่
    3. อาการกรหมุนปกติสักครู่ แล้วหมุนช้าลง
         3.1 เช็คแกนหมุน ฝืดหรือไม่ ถ้าฝืดทำความสะอาด
         3.2 เช็คบูทสึกหรือไม่ ถ้าสึกเปลื่อนใหม่
         3.3 ถ้าแกนหมุนปกติ บูทปกติ หมุนแกนคล่องดี สาเหตุหมุนช้าเกิดจาก ขดลวดชอร์ตรอบ ต้องพัดขดลวดใหม่
    4. อาการกดสวิทช์บางตัวไม่หมุน
        4.1 เกิดจากหน้าสัมผัสสวิทช์สกปรก ไม่แตะ
    5. อาการเปิดพัดลม ไม่หมุนมีเสียงคางแสดงว่าไฟเข้าขดลวดแล้ว
        5.1 แกนพัดลมติด ฝืด บูทสึก
        5.2 ขดลวดสตาร์ทไม่ทำงาน เกิดจาก C สตาร์ทขาด
    6. อาการมีเสียงผิดปกติ สั่น
        6.1 ใบพัดลมแตก คดงอ
        6.2 ผ่านคราบหลุด แตก ยืดไม่แน่น
    7. อาการพัดลมไม่ส่าย
        7.1 เฟียงถ่ายกำลังสึกหรอ บิ่ง
        7.2 แกนเฟืองหัก
    8. อาการคอพัดลมหัก
       8.1 พัดลมล้ม ตกหล่นจากที่สูง ให้ถอดเปลื่อนใหม่
หมายเหตุุ 1. การซื้ออะไหล่พัดลมที่ชิ้น จะต้องจดยี่ห้อ รุ่น พร้อมนำตัวอย่างไปซื้ออะไหล่ทุกครั้ง
                 2. มอเตอร์ไหม้ ชอร์ต พันใหม่ ตัวละ 80-100 บาท




คลังบทความของบล็อก