คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

เกี่ยวกับการนำเสนองานในระดับมหาวิทยาลัย สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ Microsoft  PowerPoint ซึ่งเป็นโปรแกรมใช้นำเสนองานได้หลายๆอย่างๆ  แล้ววันนี้ก็มีวิธีการใส่ Transition มาฝาก ซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำให้ PowerPoint มีความน่าสนใจครับ

Show

Transition คือ เอฟเฟคการเปลี่ยน Slide ของ PowerPoint 

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

  • ผมใช้ PowerPoint 2010 เข้าเมนู Transition ก็จะมีให้เลือกใส่หลายแบบ
  • วิธีใส่ ก็แค่คลิ๊กเลือก Transution

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

  • Transition ที่ใส่ได้ มีทั้งหมด 37 แบบ โดยมีให้เลือก 3 ประเภท ได้แก่

Subtle  ธรรมดา

Exciting น่าตื่นเต้น

Dynamic Content คล้ายๆกับ Exciting แต่รูปแบบการเปลี่ยน Slide คือวัตถุจะกลืนไปกับภาพพื้นหลัง

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

  • ในบาง Transition จะสามารถเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลได้ โดยเข้า Effect Option
  • นอกจากนั้นยังสามารถใส่เสียง และระบุเวลาระหว่างการเปลี่ยนภาพได้ครับ
  • สำหรับตัวอย่าง Transition สามารถดูได้ที่คลิป (บนบนความ)

การกำหนดรูปแบบการแสดงสไลด์และแอนิเมชั่น

การกำหนดรูปแบบการแสดงสไลด์

      การกำหนดรูปแบบการแสดงสไลด์ หรือทรานซิชั่น (Transition) คือ การใส่เอฟเฟ็กต์ การปรากฎตัวของสไลด์แต่ละ ใบ โดยการกำหนด ทรานซิชั่นนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้

การกำหนดทรานซิชั่นทีละสไลด์

  1. คลิกสไลด์ที่ต้องการกำหนดทรานซิชั่น > คลิก แท็บการเปลี่ยน (Transition)

  2. คลิกปุ่ม

    คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร
    ที่ กลุ่มคำสั่งการเปลี่ยนไปยังภาพนิ่งนี้ (Transition to This Slide) > เลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

  3. สไลด์จะแสดงตัวอย่างเอฟเฟ็กต์ที่เลือกไว้ และมีสัญลักษณ์

    คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร
    ปรากฎอยู่ใต้สไลด์ เพื่อแสดงว่าสไลด์นี้มีการใส่
    เอฟเฟ็กต์ดังรูป

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

การกำหนดทรานซิชั่นแบบเดียวกันทุกสไลด์

  1. คลิกสไลด์ที่มีเอฟเฟ็กต์ต้นแบบที่ต้องการ

  2. คลิก แท็บการเปลี่ยน (Transition) > คลิก ปุ่มนำไปใช้กับทั้งหมด (Apply To All)

  3. สไลด์ทั้งหมดในงานนำเสนอมีรูปแบบทรานซิชั่นเหมือนกับสไลด์ต้นแบบดังรูป

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

เครื่องมือกำหนดรายละเอียดทรานซิชั่นเพิ่มเติม

      หลักจากกำหนดทรานซิชั่นให้สไลด์แล้ว เราสามารถกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมให้กับทรานซิชั่นได้ โดยการใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ดังรูป

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

การยกเลิกการกำหนดทรานซิชั่น

      หากต้องการยกเลิกการกำหนดทรานซิชั่นบนสไลด์ ก็สามารถทำได้โดยมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกสไลด์ที่ต้องการยกเลิกการใส่ทรานซิชั่น

  2. คลิก แท็บการเปลี่ยน (Transition) > คลิกปุ่ม

    คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร
    ที่ กลุ่มคำสั่งการเปลี่ยนไปยังภาพนิ่งนี้ (Transition to This slide)

  3. เลือกรูปแบบทรานซิชั่นเป็น ไม่มี (None) ดังรูป

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

การกำหนดแอนิเมชั่น

      การกำหนดแอนิเมชั่น (Animation) คือ การกำหนดเอฟเฟ็กต์การแสดงผลของวัตถุแต่ละชิ้นบนสไลด์ โดยการ กำหนดแอนิเมชั่นมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกวัตถุที่ต้องการกำหนดแอนิเมชั่น > คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations)

  2. คลิกปุ่ม

    คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร
    ที่ กลุ่มคำสั่งภาพเคลื่อนไหว (Animation) > เลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

  3. วัตถุที่เลือกจะแสดงตัวอย่างเอฟเฟ็กต์ และหมายเลขแสดงลำดับแอนิเมชั่น ดังต่อไปนี้

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

การกำหนดแอนิเมชั่นซ้อนกันหลายชั้น

      สำหรับการกำหนดแอนิเมชั่นให้วัตถุนั้น นอกจากการกำหนดแอนิเมชั่นแบบเอฟเฟ็กต์เดียวแล้ว เรายังสามารถใส่ เอฟเฟ็กต์ซ้อนกันหลายชั้น ให้วัตถุได้ โดยมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกวัตถุที่ต้องการใส่เอฟเฟ็กต์เพิ่มเติม > คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations)

  2. คลิก ปุ่มเพิ่มภาพเคลื่อนไหว (Add Animation) > เลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

  3. หมายเลขแสดงลำดับแอนิเมชั่นจะปรากฎขึ้นมา เพื่อแสดงว่าวัตถุนี้มีการใส่เอฟเฟ็กซ์ซ่อนไว้ตามจำนวนหมายเลข โดยการแสดงผล จะแสดงเอฟเฟ็กต์เรียงลำดับหมายเลข

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

การกำหนดรูปแบบแอนิเมชั่นเพิ่มเติม

      นอกจากการกำหนดแอนิเมชั่นด้วยเอฟเฟ็กต์สำเร็จรูปแล้ว เรายังสามารถกำหนดรูปแบบเอฟเฟ็กต์เพิ่มเติมได้ตาม ต้องการ โดยมีวิธีการ ดังต่อไปนี้

  1. คลิกวัตถุ หรือหมายเลขลำดับแอนิเมชั่นที่ต้องการกำหนดรูปแบบ > คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations)

  2. คลิกปุ่ม

    คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร
    ที่กลุ่มคำสั่งภาพเคลื่อนไหว (Animation) หรือคลิก ปุ่มเพิ่มภาพเคลื่อนไหว (Add Animation)

  3. เลือกคำสั่งสำหรับกำหนดรูปแบบแอนิเมชั่น

  4. เลือกรูปแบบเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ > คลิก ปุ่มตกลง (OK)

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

โดยคำสั่งสำหรับกำหนดรูปแบบแอนิเมชั่น มีรายละเอียดดังนี้

  • ลักษณะพิเศษเข้าเพิ่มเติม (More Entrance Effects) : เอฟเฟ็กต์สำหรับนำวัตถุเข้าสู่สไลด์

  • ลักษณะพิเศษเน้นเพิ่มเติม (More Emphasis Effects) : เอฟเฟ็กต์สำหรับเน้นวัตถุ เช่น การแสดงวัตถุให้ใหญ่ขึ้น การหมุนวัตถุ การกำหนดลักษณะสี เป็นต้น

  • ลักษณะพิเศษออกเพิ่มเติม (More Exit Effects) : เอฟเฟ็กต์สำหรับนำวัตถุออกจากสไลด์

  • เส้นทางการเคลื่อนไหวเพิ่มเติม (More Motion Paths) : เอฟเฟ็กต์สำหรับกำหนดให้วัตถุเคลื่อนไหวตามทิศทาง ที่กำหนด

การลบแอนิเมชั่น

      หากต้องการลบแอนิเมชั่นออกจากวัตถุ ก็สามารถทำได้ด้วยการคลิกที่หมายเลขลำดับของแอนิเมชั่นที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์

เครื่องมือสำหรับกำหนดรายละเอียดแอนิเมชั่น

      หลังจากกำหนดแอนิเมชั่นให้วัตถุแล้ว หากต้องการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น การกำหนดเวลาในการแสดง แอนิเมชั่น การจัดลำดับ หรือการคัดลอกแอนิเมชั่น ก็สามารถทำได้โดย การใช้เครื่องมือที่อยู่ใน แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations) ดังรูป

กลุ่มคำสั่งแสดงตัวอย่าง (Preview) และกลุ่มคำสั่งภาพเคลื่อนไหว (Animation)

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

กลุ่มคำสั่งภาพเคลื่อนไหวขั้นสูง (Advanced Animation)

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

การกำหนดเวลา (Timing)

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

การจัดลำดับการแสดงแอนิเมชั่น

      ในกรณีที่มีการกำหนดแอนิเมชั่นให้กับวัตถุหลายๆ ชิ้นบนสไลด์ หากต้องการจัดลำดับการแสดงเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการนำเสนอก็สามารถทำได้ โดยวิธีการดังนี้

  1. คลิกเลขลำดับแอนิเมชั่นหน้าวัตถุที่ต้องการเปลี่ยนลำดับ

  2. คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations) > ไปที่ คำสั่งจัดลำดับภาพเคลื่อนไหวใหม่ (Recorder Animation) แล้วคลิกคำสั่งเพื่อจัดลำดับตามต้องการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • ย้ายไปก่อนหน้านี้ (Move Earlier) > เลื่อนลำดับการแสดงเอฟเฟ็กต์ขึ้นไป 1 ลำดับ

    • ย้ายไปหลังจากนี้ (Move Later) > เลื่อนลำดับการแสดงเอฟเฟ็กต์ลงไป 1 ลำดับ

  3. ซึ่งในที่นี้คลิก คำสั่งย้ายไปก่อนหน้านี้ (Move Earlier) หมายเลขลำดับหน้าวัตถุจึงเปลี่ยนจากเลข 5 เป็นเลข 4 ดังรูป

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

การกำหนดเวลาแสดงแอนิเมชั่น

      นอกจากการจัดลำดับการแสดงแอนิเมชั่นแล้ว เรายังสามารถกำหนดเวลาที่ใช้ในการแสดงแอนิเมชั่นได้อีกด้วย โดยมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกเมาส์ลำดับของแอนิเมชั่นที่ต้องการกำหนดเวลา

  2. คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations) > ระบุเวลาที่ต้องการลงใน ช่องระยะเวลา (Duration) เช่น ถ้าระบุเป็น 02.00 หมายความว่า เวลาที่ใช้ในการแสดงแอนิเมชั่นนี้ตั้งแต่ต้นจนจบใช้เวลา 2 วินาที

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

การคัดลอกรูปแบบแอนิเมชั่น

      ในกรณีที่ต้องการกำหนดแอนิเมชั่นให้มีลักษณะเหมือนกับวัตถุต้นแบบ ก็สามารถใช้ ตัวคัดวางภาพเคลื่อนไหว (Animation Painter) ช่วยในการคัดลอกรูปแบบได้ โดยมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกวัตถุต้นแบบที่ต้องการคัดลอกรูปแบบแอนิเมชั่น

  2. คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations) > คลิก ปุ่มตัวคัดวางภาพเคลื่อนไหว (Animation Painter)

  3. คลิกวัตถุปลายทางที่ต้องการวางรูปแบบแอนิเมชั่นที่คัดลอกมา

  4. วัตถุปลายทางจะมีรูปแบบแอนิเมชั่นเหมือนกับวัตถุต้นฉบับ รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ใน กลุ่มคำสั่ง การกำหนดเวลา (Timing) ดังรูป

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

การใช้บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว

      บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว (Animation Pane) คือ หน้าต่างที่ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดของแอนิเมชั่นทั้งหมด บนสไลด์ เช่น รูปแบบเอฟเฟ็กต์ ลำดับการแสดงแอนิเมชั่น เวลาที่ใช้ในการแสดงแอนิเมชั่น เป็นต้น ซึ่งนอกจากการ แสดงภาพรวมของแอนิเมชั่นแล้ว เรายังสามารถใช้หน้าต่างนี้ช่วยในการปรับแต่งแอนิเมชั่นได้อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การเปิดบานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว

  1. คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations)

  2. คลิก ปุ่มบานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว (Animation Pane)

  3. บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว (Animation Pane) จะปรากฎขึ้นมาทางด้านขวาพร้อมรายละเอียดของแอนิเมชั่น ทั้งหมดบนสไลด์ดังรูป

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

การแก้ไขรายละเอียดแอนิเมชั่น

      การแก้ไขรายละเอียดแอนิเมชั่นด้วย บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว (Animation Pane) สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้

  • วิธีที่ 1 คลิกปุ่มลูกศรท้ายชื่อแอนิเมชั่นที่ต้องการแก้ไข แล้วเลือกคำสั่งที่ต้องการ

  • วิธีที่ 2 ดับเบิลคลิกตรงชื่อแอนิเมชั่นที่ต้องการแก้ไข เพื่อแก้ไขรายละเอียดแอนิเมชั่นผ่านไดอะล็อกบ็อกซ์

คําสั่ง transition ใช้เพื่ออะไร

คำสั่ง Transition ทำหน้าที่อะไร *

Transition คืออะไร ลูกเล่นในการแสดงแต่ละ Slide โดยเพิ่มการเคลื่อนไหว เพื่อทำให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น? ตัวอย่างเช่น เวลาแสดงแต่ละ Slides เราสามารถสั่งให้แสดงลูกเล่นของแต่ละ Slides ได้เช่น เลื่อนจากซ้ายมาขวา หรือหมุนภาพก่อนแสดง Slide เป็นต้น

Move earlier” ใช้ทำอะไร

2.จัดลำดับการแสดงเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ - Move Earlier = ย้ายไปก่อนหน้านี้ - Move Later = ย้ายไปหลังจากนี้

Slide Transitions คืออะไร

การเคลื่อนที่ของ Slide (Slide Transition) เป็นการกำหนดรูปแบบการเคลื่อนที่เข้ามาปรากฏของแต่ละ slide เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชม ใช้คำสั่ง Slide Show > Slide Transition. การกำหนดการเคลื่อนที่ของวัตถุ (Object) ใน Slide (Animation) เพื่อกำหนดให้วัตถุ (Object) ในแต่ละ Slide เคลื่อนที่

การกําหนด Transition ให้กับสไลด์คืออะไร

รูปแบบการแสดงสไลด์หรือทรานซิซั่น (Transition) คือ การใส่เอฟเฟ็กต์ระหว่างการเลื่อนสไลด์ไปยังสไลด์ถัดไป ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1. คลิกที่สไลด์ 2. คลิกที่แท็บ TRANSITIONS (การเปลี่ยน) 3. คลิกเลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ