คำกล่าวที่ว่า โลกไร้พรมแดน หมายถึงข้อใด

ถ้าจะแก้ปัญหาให้โลกมีสันติภาพ ต้องให้โลกที่ไร้พรมแดนประสานกับจิตใจที่ไร้พรมแดน

สำหรับปัญหาเรื่องสันติภาพนั้น ขณะนี้เราพูดกันว่าโลกกว้างไกลไร้พรมแดน แต่ในขณะที่โลกยิ่งกว้างไร้พรมแดนออกไป จิตมนุษย์กลับยิ่งคับแคบและแบ่งแยก ยิ่งจำกัดขอบเขตมากขึ้น จึงเกิดปัญหาเพราะขัดแย้งอย่างชนิดสวนทางกัน

ในทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า มนุษย์นี้ถ้าพัฒนาให้ดีแล้วจะมีภาวะจิตที่ท่านใช้ศัพท์ซึ่งมาตรงพอดีกับยุคนี้ คือคำว่า “วิมริยาทิกจิต” หรือคำเต็มในบาลีว่า “วิมริยาทิกเตน เจตสา” ซึ่งแปลว่า “ด้วยจิตที่ทำให้ไร้พรมแดนแล้ว” การที่เราพูดว่า โลกไร้พรมแดน จึงเป็นการกลับไปหาศัพท์เก่า ได้แก่ “มริยาท” แปลว่าพรมแดน หรือขีดคั่นขอบเขต เติม “วิ” เข้าข้างหน้าเป็น “วิมริยาท” แปลว่า ปราศจากขอบเขตขีดคั่น หรือไร้พรมแดน

ยุคนี้เราพูดว่าโลกไร้พรมแดน เป็นการมองด้านวัตถุภายนอก แต่ของพระพุทธเจ้าในที่นี้กล่าวถึงจิตใจไร้พรมแดน เป็นเรื่องภาวะทางนามธรรมภายในตัวคน

จิตมนุษย์ที่ดีงามพัฒนาถึงขั้นที่จะสร้างสรรค์สันติภาพได้ ต้องเป็นจิตที่ถึงภาวะไร้พรมแดน คือ หลุดพ้นจากขอบเขตของสิ่งกีดกั้น แต่จิตจะไร้พรมแดนได้อย่างไร จิตจะไร้พรมแดนขึ้นมาเองไม่ได้ ทางพุทธศาสนากล่าวว่าจะต้องมีปัญญาไร้พรมแดน คือรู้เข้าใจเข้าถึงความจริงของสิ่งทั้งหลาย แต่คนเราจะรู้ความจริงทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปไม่ได้ เราจะไปรู้ใบไม้ทุกใบ ไปรู้ต้นไม้ทุกต้น ไม่ใช่อย่างนั้น ที่ว่ารู้นี้ คือรู้ความจริงของโลกและชีวิต รู้เข้าใจระบบความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ รู้อาการที่สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยแก่กัน อิงอาศัยกันในระบบแห่งความสัมพันธ์ ถ้าปัญญาหยั่งรู้เข้าถึงความจริงของกฎธรรมชาติที่อยู่เบื้องหลังโลกและชีวิตนี้ ก็จะเกิดเป็นปัญญาที่ไร้พรมแดน เมื่อปัญญาไร้พรมแดนแล้ว ก็จะทำให้จิตหลุดพ้นจากขอบเขตที่จำกัด แล้วก็เป็นจิตที่ไร้พรมแดน เพราะฉะนั้นจึงต้องมีปัญญารู้ความจริง

ความจริงนั้นไร้พรมแดนอยู่แล้ว เมื่อปัญญารู้ความจริงที่ไร้พรมแดน ปัญญาก็ไร้พรมแดน เมื่อปัญญาไร้พรมแดน ก็เปิดจิตให้เป็นอิสระไร้พรมแดน เมื่อจิตไร้พรมแดนแล้ว ภาวะอย่างหนึ่งจะเกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ คือเกิดท่าทีของจิตใจที่มองเห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนร่วมโลก เป็นมิตร แล้วก็มีความปรารถนาดีต่อกัน คุณธรรมที่เรียกว่า เมตตาหรือไมตรีที่แท้ก็เกิดขึ้น เป็นเมตตาที่ไร้พรมแดน พอเมตตาไร้พรมแดนในจิตที่ไร้พรมแดน ด้วยปัญญาที่ไร้พรมแดน ก็มองมนุษย์เป็นส่วนร่วมอยู่ในระบบความสัมพันธ์ของธรรมชาติร่วมโลกอันเดียวกัน ที่จะมาช่วยกันสร้างสรรค์ความดีงามและเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันในโลกแห่งสันติสุข

เป็นอันว่า ปัญญาที่ไร้พรมแดนสร้างสภาพจิตไร้พรมแดน และในจิตที่ไร้พรมแดนก็มีเมตตาไร้พรมแดน เมื่อมีเมตตาไร้พรมแดน ก็เป็นสันติภาพไปในตัว จากนั้นก็มาจัดตั้งวางระบบสังคมมนุษย์ให้เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันด้วยปัญญาและจิตที่ไร้พรมแดนอย่างนี้ ตลอดจนเอื้อต่อการที่จะฝึกฝนมนุษย์ที่จะเกิดมาใหม่ให้เข้าสู่ระบบชีวิตที่เอื้อเกื้อกูลกัน เมื่อทำอย่างนี้ก็จะเกิดความประสานสอดคล้องกันระหว่างธรรมกับวินัย หรือระหว่างภาวะความจริงในธรรมชาติและคุณธรรมที่เป็นคุณสมบัติในจิตใจ กับรูปแบบระบบโครงสร้างองค์กรภายนอก ซึ่งต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นปัจจัยแก่กัน

ถึงตอนนี้ ก็ต้องย้อนกลับไปพูดถึงปัญหาที่พูดไปข้างต้นว่า ปัจจุบันโลกไร้พรมแดน แต่ใจคนกลับยิ่งคับแคบ ซึ่งขยายความได้ว่า มนุษย์มีปัญญาชนิดที่ทำให้สามารถพัฒนาวัตถุ โดยเฉพาะเทคโนโลยีมาทำให้โลกไร้พรมแดน แต่เขาไม่มีปัญญาแท้จริงที่จะพัฒนาตัวเองให้มีจิตใจที่ไร้พรมแดน

เมื่อจิตใจที่คับแคบ เป็นสาเหตุแห่งการแก่งแย่งแบ่งแยก เบียดเบียนข่มเหงกัน ในขณะที่โลกยังแคบ เขาก็ขัดแย้ง ทะเลาะวิวาททำสงครามกันได้ในขอบเขตจำกัด การที่เขาทำลายขอบเขตทางรูปธรรมที่แบ่งกั้นออกไปให้โลกไร้พรมแดน ในขณะที่จิตใจของเขายังคับแคบอยู่ ก็ยิ่งกลายเป็นการขยายขอบเขตของการขัดแย้งเบียดเบียนให้กว้างขวางออกไป ถ้าอย่างนี้โลกที่ไร้พรมแดนก็อาจจะกลายเป็นโลกแห่งการขัดแย้งเบียดเบียน สงครามและการทำลายล้างอย่างไร้พรมแดน

แท้จริงนั้น แม้คำว่า “โลกไร้พรมแดน” นั้นเอง ก็เป็นเพียงสำนวนพูดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความหมายจำกัด ในแง่หนึ่ง โลกนี้เองโดยธรรมชาติก็ไร้พรมแดนอยู่แล้ว แต่มนุษย์นั่นแหละมาทำการแบ่งแยก โดยกำหนดเขตแดนกันขึ้นเป็นต้น และในอีกแง่หนึ่ง ที่ว่าปัจจุบันโลกไร้พรมแดน ก็เป็นการมองที่เน้นในด้านการสื่อสารคมนาคมและขนส่ง ซึ่งทำให้กิจกรรมของมนุษย์เคลื่อนไปได้ทั่วถึงเร็วไวไม่มีเขตจำกัด

เมื่อพูดให้ตรงจุดแท้ๆ จึงต้องว่า กิจกรรมของมนุษย์นี่แหละ เป็นตัวการหรือปัจจัยหลักที่จะทำให้ไร้พรมแดนหรือจำกัดพรมแดน และที่จะทำให้ภาวะไร้พรมแดนนั้นเป็นคุณหรือเป็นโทษ และเบื้องหลังกิจกรรมของมนุษย์นั้น ตัวการที่ขับเคลื่อนกิจกรรมให้ดีให้ร้ายหรือเป็นอย่างไร ก็คือเจตจำนงหรือความตั้งจิตคิดหมายที่อยู่ในจิตใจของคนนั้นเอง

นี้เป็นการพูดสำทับให้เห็นว่า ถ้าจะให้โลกที่ไร้พรมแดน เป็นโลกแห่งสันติสุข ก็จะต้องพัฒนาคนให้มีจิตใจที่ไร้พรมแดน ซึ่งหมายถึงการที่มนุษย์จะต้องมีปัญญาที่ไร้พรมแดน ในความหมายว่าเป็นปัญญาที่รู้เข้าใจถึงความจริงของโลกและชีวิต ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกทั้งหมด จนมีจิตใจร่วมกันด้วยเมตตาไมตรี นี่ก็คือ การที่ปัญญาไร้พรมแดน ทำให้เกิดเมตตาหรือไมตรีที่ไร้พรมแดน เมื่อเมตตาไร้พรมแดนเกิดขึ้นในใจ คนก็มีจิตใจที่ไร้พรมแดน ถ้าคนมีจิตใจที่ไร้พรมแดน ก็จะทำให้โลกที่ไร้พรมแดนนั้นเป็นโลกแห่งสันติสุข โดยมีสันติภาพที่ยั่งยืน

ถ้าจะให้จิตใจไร้พรมแดน คนต้องเข้าถึงความเป็นสากลทั้งสามประการ

ภาวะไร้พรมแดนนั้น คู่กันกับความเป็นสากล และความเป็นสากลนี่แหละที่จะทำให้มนุษย์มีจิตใจไร้พรมแดนขึ้นมาได้ “สากล” แปลว่าทั่วทั้งสิ้นหรือทั่วทั้งหมด คือเป็นอย่างเดียวกันหรือเป็นอย่างนั้นเหมือนกันทั่วทั้งหมด

การที่จะทำให้โลกไร้พรมแดนเป็นโลกแห่งสันติได้ มนุษย์จะต้องรู้เข้าใจด้วยปัญญา มีจิตใจที่ยอมรับ และมีพฤติกรรมที่ปฏิบัติโดยสอดคล้องกับความเป็นสากล ที่สำคัญ ๓ ประการ คือ

๑. ความจริงที่เป็นสากล
๒. ความเป็นมนุษย์ที่เป็นสากล
๓. ความมีเมตตาที่เป็นสากล

แต่ขณะนี้มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงความเป็นสากลที่ไร้พรมแดนได้ เริ่มตั้งแต่

๑. ความจริงที่เป็นสากล เราก็ไม่ยอมรับ หรือเอามาทำให้ไม่สากล ความจริงที่เป็นสากลหมายความว่า การกระทำอันเดียวกัน ไม่ว่ามนุษย์คนใดพวกใดอยู่ที่ไหนก็ตามกระทำ ก็ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้ได้รับผลอย่างเดียวกันเหมือนกัน เป็นสากลหมด ถ้าการกระทำที่ไม่ดีเป็นเหตุให้ได้รับผลไม่ดี ก็ต้องเป็นความจริงสำหรับมนุษย์ทุกหนทุกแห่งทุกเหล่าทุกพวก ไม่ใช่ว่าคนพวกนี้ทำการนี้แล้วจะได้รับผลดี แต่มนุษย์อีกพวกหนึ่งทำการเดียวกันที่ว่าดีนั้น แต่ไม่สามารถได้รับผลดี ถ้าอย่างนี้ก็แสดงว่ายังเป็นความจริงที่ไม่สากล ยังเป็นความจริงที่มีการแบ่งแยก คือ ไม่ใช่ความจริงที่แท้นั่นเอง

เรื่องความจริงที่แบ่งแยกไม่เป็นสากลนี้เป็นปัญหาอย่างมาก ในโลกมนุษย์ที่ต้องทะเลาะกันมาตลอดเวลาหลายพันปีจนกระทั่งบัดนี้ ก็เพราะมนุษย์เป็นอย่างนี้ คือไม่ยอมให้ความจริงเป็นสากล ยกตัวอย่างเช่น มนุษย์ยอมรับกฎแห่งความจริงว่า การกระทำที่ดีจะเป็นเหตุให้ได้รับผลดี เมื่อทำดีอันนี้แล้วไม่ว่าใครพวกไหนทำ ถ้าพูดถึงโลกหน้า ก็ต้องได้ไปสวรรค์เหมือนกันหมด ความชั่วอันนี้ ไม่ว่าใครทำก็ต้องไปนรกเหมือนกันหมด ถ้าอย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นความจริงที่สากล ไร้พรมแดน แต่เท่าที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้มีปัญหาว่า มนุษย์ไม่ยอมให้ความจริงนี้เป็นสากล กล่าวคือ จะมีกฎเกณฑ์แบ่งแยกว่า ถ้าคนพวกนี้ทำความดีอันนี้จะได้ไปสวรรค์ แต่ถ้าเป็นพวกอื่น หรือไม่นับถืออย่างฉัน ถึงจะทำความดีอันนี้ก็ไปสวรรค์ไม่ได้ ถ้าจะทำความดีอันนี้ ต้องนับถืออย่างฉันหรือต้องเป็นพวกฉันด้วย จึงจะไปสวรรค์ได้ ถ้ามิฉะนั้นก็จะต้องไปนรก อย่างนี้คือความจริงที่ไม่เป็นสากล

๒. ความเป็นมนุษย์ที่เป็นสากล เมื่อเป็นมนุษย์ก็ต้องมีฐานะเป็นมนุษย์ทั้งนั้น แต่เวลานี้มีปัญหาว่าความเป็นมนุษย์ไม่สากล เพราะมีการแบ่งแยกว่า มนุษย์พวกนี้ไม่ใช่พวกเรา ฆ่าได้ไม่บาป หรือมนุษย์พวกนั้นฆ่าได้เลย เป็นคนของพวกมารร้าย ฆ่าไปแล้วได้บุญด้วยซ้ำ ในความจริงที่เป็นสากลนั้น มนุษย์ไม่ว่าคนไหนพวกไหนที่ใดก็ต้องได้การยอมรับว่าเป็นมนุษย์ทั้งนั้น การทำร้ายมนุษย์และฆ่ามนุษย์ไม่ว่าคนใด ต้องเป็นความผิด เป็นความไม่ดีเหมือนกันหมด ถ้าอย่างนี้จึงจะมีสันติภาพได้ ถ้าแค่ความเป็นมนุษย์ก็ยังไม่สากลแล้ว สันติภาพจะมีได้จากที่ไหน

๓. ความมีเมตตาที่เป็นสากล คือมีความรักความปรารถนาดี เป็นมิตร มีไมตรีต่อมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าคนไหน พวกไหน ที่ใด เสมอกันหมด โดยไม่มีการแบ่งแยก แต่เท่าที่เป็นมาจนบัดนี้ โลกเต็มไปด้วยลัทธิคำสอน แม้กระทั่งคำสั่งให้มีเมตตารักใคร่ช่วยเหลือกันเฉพาะในพวกในหมู่ของตน และพร้อมกันนั้นก็มักให้รังเกียจ หรือเกลียดชังคนพวกอื่น เมื่อมีการแบ่งแยกอย่างนี้ สันติภาพก็ไม่มีทางเป็นไปได้

ฉะนั้นจึงเป็นปัญหาที่ว่า มนุษย์ไม่สามารถมีจิตใจไร้พรมแดน ที่ประกอบด้วยปัญญารู้เข้าใจในสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงตรงกับภาวะของมันอย่างเป็นสากล

คำที่ว่าโลกไร้พรมแดนหมายถึงข้อใด

โลกไร้พรมแดนเป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ส่งผลให้คนในโลกอยู่ร่วมกันได้และสื่อสารถึงกันได้แลกเปลี่ยนข้อมูล และเดินทางไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวกรวดเร็วและคล่องตัวโดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ส่งผลถึง ตัวบุคคลมากที่สุด ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลทั้งบวกและลบได้ทั้งสองด้านแล้วแต่ประสบการณ์และมุมมองของ ...

ข้อใดคือคำนิยามที่ใช้ในเทคโนโลยี 4G (4th generation)

4G (Fourth Generation of Technology for Mobile Network) คือชื่อที่ใช้เรียกระบบการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ ซึ่งรูปแบบหนึ่งก็คือระบบอินเทอร์เน็ตที่ทุกท่านกำลังจะมีโอกาสได้ใช้ในอนาคต ทั้งนี้คาดการณ์ว่า 4G จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาแทนที่ระบบเดิมอย่าง 2G และ 3G ซึ่งในบ้านเราใช้กันอย่างครอบคลุม ...

ข้อใดอธิบายความหมายของ IoT

คำว่า IoT หรืออินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) หมายถึงเครือข่ายรวมของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันและเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับระบบคลาวด์ ตลอดจนระหว่างอุปกรณ์ด้วยกันเอง จากการเกิดขึ้นของชิปคอมพิวเตอร์ราคาไม่แพงและการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีแบนด์วิดท์สูง จึงทำให้ตอนนี้เรามีอุปกรณ์หลายพัน ...

ข้อใดคือความหมายของคำว่าเทคโนโลยี

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Technology) คือ การน าความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์เพื่อช่วยใ นการท างานหรือแก้ปัญหาต่างๆ อันก่อให้เกิด วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร หรือ แม้กระทั่ง องค์ความรู้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การสร้างเครื่องมือ เครื่องใช้ที่เหมาะสม เพื่ออ านวยความสะดวกในการด าเนินชีวิตของ ...