ฝนโบกขรพรรษมีลักษณะเป็นอย่างไร

[โบก-ขะ-ระ-พัด] (มค. โปกฺขร + สก. วรฺษ) น. น้ำฝนวิเศษไม่เปียกผู้ที่ไม่ต้องการให้เปียก (เหมือนน้ำที่ตกลงบนใบบัว) ตกลงแล้วไหลซึมซาบดินหายไปโดยเร็ว.

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

โบกขรพรรษภาษาอังกฤษ

โบกขรพรรษภาษาไทย โบกขรพรรษความหมาย Dictionary โบกขรพรรษแปลว่า โบกขรพรรษคำแปล

โบกขรพรรษคืออะไร

(1) ปุสฺ (ธาตุ = เลี้ยง, เจริญ) + ขร ปัจจัย, แผลง อุ ที่ ปุ-(สฺ) เป็น โอ (ปุสฺ > โปส), แปลง สฺ เป็น กฺ

: ปุสฺ + ขร = ปุสขร > โปสฺขร > โปกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “พืชอันน้ำเลี้ยงไว้”

(2) โปกฺขร (น้ำ) + ณ ปัจจัย (แทนศัพท์ “ชาต” = เกิด), ลบ ณ

: โปกฺขร + ณ = โปกฺขรณ > โปกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “พืชที่เกิดในน้ำ”

“โปกฺขร” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ต้นบัว, ใบบัว (a lotus plant, the lotus-leaf)

(2) หนังกลอง (the skin of a drum) (เนื่องจากความคล้ายคลึงกับใบบัว from its resemblance to the lotus-leaf)

(3) นกน้ำชนิดหนึ่ง, นกกระเรียน (a species of water-bird, crane)

(๒) “พรรษ”

บาลีเป็น “วสฺส” (วัด-สะ) รากศัพท์มาจาก วสฺสฺ (ธาตุ = ราด, รด) + อ ปัจจัย

: วสฺสฺ + อ = วสฺส แปลตามศัพท์ว่า (1) “น้ำที่หลั่งรดลงมา” (2) “ฤดูเป็นที่ตกแห่งฝน” (3) “กาลอันกำหนดด้วยฤดูฝน”

“วสฺส” (ปุงลิงค์, นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ฝน, ห่าฝน (rain, shower)

(2) ปี (a year)

(3) ความเป็นลูกผู้ชาย, ความแข็งแรง (semen virile, virility)

บาลี “วสฺส” สันสกฤตเป็น “วรฺษ”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

“วรฺษ : (คำนาม) ‘วรรษ,’ ฝน; การประพรม; ปี; พลาหก; ฝนหรือฤดูฝน; rain; sprinkling; a year; a cloud; the rain, or rainy season.”

ภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “พรรษ” (พัด)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

“พรรษ, พรรษ– : (คำนาม) ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส).”

โปกฺขร + วสฺส = โปกฺขรวสฺส (โปก-ขะ-ระ-วัด-สะ) แปลตามศัพท์ว่า “ฝนตกดุจตกลงบนใบบัว”

“โปกฺขรวสฺส” ในภาษาไทยใช้เป็น “โบกขรพรรษ”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

“โบกขรพรรษ : (คำนาม) ฝนดุจนํ้าตกลงในใบบัว, ฝนชนิดนี้ กล่าวไว้ว่า ใครอยากจะให้เปียก ก็เปียก ถ้าไม่อยากให้เปียก ก็ไม่เปียก เหมือนนํ้าตกลงบนใบบัว. (ป. โปกฺขร ว่า ใบบัว + ส. วรฺษ ว่า ฝน).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายไว้ว่า –

“โบกขรพรรษ : “ฝนดุจตกลงบนใบบัว หรือในกอบัว”, ฝนที่ตกลงมาในกาละพิเศษ มีสีแดง ผู้ใดต้องการให้เปียก ก็เปียก ผู้ใดไม่ต้องการให้เปียก ก็ไม่เปียก แต่เม็ดฝนจะกลิ้งหล่นจากกาย ดุจหยาดน้ำหล่นจากใบบัว เช่น ฝนที่ตกในพระญาติสมาคมคราวเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งแรก อันเหมือนกับที่ตกในพระญาติสมาคมของพระเวสสันดร.”

…………..

ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับฝนโบกขรพรรษ :

๑ ฝนโบกขรพรรษจะตกในคราวที่มีเหตุการณ์พิเศษเท่านั้น ไม่ตกพร่ำเพรื่อ

๒ คำว่า “ผู้ใดไม่ต้องการให้เปียก ก็ไม่เปียก” มีลักษณะเป็น 2 อย่างคือ (1) เม็ดฝนตกถูกตัว แต่น้ำจากเม็ดฝนจะไม่ซึมซับเข้าไปยังผิวหนังหรือส่วนใดๆ ของร่างกาย หากแต่จะหลุดออกไปเหมือนน้ำตกลงบนใบบัว ดังนั้นน้ำจึงไม่เปียก (2) เม็ดฝนตกไม่ถูกตัวของผู้นั้น จึงไม่เปียก

๓ ควรทราบว่าฝนโบกขรพรรษเป็นเหตุให้เกิดมหาเวสสันดรชาดก

เรื่องก็คือเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วเสด็จไปโปรดพระประยูรญาติที่เมืองกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก พวกพระญาติยังมีทิฐิมานะไม่ยอมเคารพกราบไหว้ พระพุทธองค์จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์กำราบ สุดท้ายแห่งปาฏิหาริย์ฝนโบกขรพรรษก็ตกลงมา ภิกษุทั้งหลายยกเรื่องขึ้นสนทนากันว่าไม่เคยเห็นฝนชนิดนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่าในอดีตชาติฝนโบกขรพรรษก็ได้เคยตกลงในสมาคมแห่งพระญาติเช่นเดียวกันนี้ แล้วจึงตรัสมหาเวสสันดรชาดก

ฝนโบกขรพรรษที่ตกในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกก็คือคราวเมื่อกษัตริย์ทั้ง 6 พระองค์หลังจากพลัดพรากจากกันได้กลับมาเห็นกันพร้อมหน้าก็ถึงแก่วิสัญญีภาพ ฝนโบกขรพรรษก็ตกลงมาทำให้ฟื้นคืนสมปฤดี

ฝนโบกขรพรรษมีลักษณะเป็นอย่างไร
ฝนโบกขรพรรษ
ฝนโบกขรพรรษมีลักษณะเป็นอย่างไร

ฝนโบกขรพรรษมีลักษณะเป็นอย่างไร

            เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงพระนครกบิลพัสดุ์แล้ว ฝ่ายพระประยูรญาติ
มีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นประธานเสด็จมาต้อนรับ ต่างก็ยังมีทิฐิมานะแรงกล้าไม่ยอม
นอบน้อมนมัสการพระบรมศาสดา ด้วยเห็นว่าพระพุทธองค์มีวัยอ่อนกว่าตน
พระพุทธองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเหตุดังนั้น จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์เสด็จลอยขึ้นไป
จงกรมอยู่บนอากาศ ให้ธุลีละอองพระบาทหล่นลงมาบนพระเศียรเหล่าพระประยูรญาติ

ฝนโบกขรพรรษมีลักษณะเป็นอย่างไร

ลำดับนั้นหมู่พระประยูรญาติต่างพากันคลายทิฐิมานะประคองอัญชลีนมัสการชื่นชม
โสมนัสด้วยบุญญาภินิหารของพระพุทธองค์ ขณะนั้น ฝนโบกขรพรรษ (มีน้ำฝนสีแดง)
ก็ตกลงมาเป็นที่น่าอัศจรรย์ผู้ใดปรารถนาจะให้เปียกก็เปียก ถ้าไม่ปรารถนา
จะให้เปียกแล้วแม้แต่นิดหนึ่งก็ไม่เปียกกายเลย

ที่มาจากพระไตรปิฎก อรรถกถาและคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง

บทภาพยนตร์

พระสารีบุตร (เสียงก้องในความคิด)
             บรรดาพระประยูรญาติของพระพุทธองค์ยังมีทิฐิ เห็นว่าพระพุทธองค์
มีวัยอ่อนกว่า  หนำซ้ำยังจัดให้ราชกุมารมานั่งข้างหน้า เพื่อจะได้ไม่ต้องถวายบังคม
แสดงความเคารพนอบน้อม …

ดนตรีประกอบ

พระเจ้าสุทโธทนะ(เสียงก้องในความคิด)
             เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ประสูติใหม่ๆ ได้รับคำทำนายและถวายนมัสการ
จากท่านอสิตดาบส   หม่อมฉันได้ถวายนมัสการครั้งแรก … ต่อมาในงานพระราชพิธี
แรกนาขวัญ พระพุทธองค์ประทับใต้ต้นหว้า … เงาร่มไม้นั้นก็ไม่ได้เคลื่อนย้าย
ไปตามแนวดวงอาทิตย์ เวลาบ่ายหม่อมฉันจึงถวายนมัสการเป็นครั้งที่สอง …
ในครั้งนี้นับว่าเป็นปาฏิหาริย์ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ หม่อมฉันขอถวายนมัสการอีก
เป็นครั้งที่สาม

เสียงและดนตรีประกอบ

พระสารีบุตร
… นี่คือฝนโบกขรพรรษเป็นหยาดน้ำสีแดง ผิดจากน้ำฝนทั่วไป … ผู้ใดปรารถนา
ให้เปียกตัวก็จะเปียก หากไม่ปรารถนา แม้แต่เม็ดหนึ่งก็ไม่เปียก เหมือนหยาดน้ำ
ที่ตกลงสู่ใบบัว แล้วกลิ้งตกลงไปอย่างนั้น

พระพุทธเจ้า
            พระบิดา ...เหล่าประยูรญาติทั้งหลาย... ฝนโบกขรพรรษนี้    มิใช่ว่า
จะตกท่ามกลางที่ประชุมแห่งพระประยูรญาติในครั้งนี้เท่านั้น … ในอดีตกาลครั้งที่เรา
เสวยชาติเป็นพระเวสสันดร ฝนโบกขรพรรษนี้ก็เคยตกลงท่ามกลางที่ประชุม
ของพระประยูรญาติเช่นกัน

            ท่านทั้งหลาย....ผู้รักษาศีลย่อมไปสู่สุคติ....ผู้รักษาศีล ย่อมเพรียบพร้อม
ด้วยโภคสมบัติ.....ผู้รักษาศีล ย่อมไปถึงพระนิพพานได้.... ท่านทั้งหลาย
จึงควรรักษาศีลให้บริสุทธิ์ผุดผ่องเถิด

ฝนโบกขรพรรษมีลักษณะพิเศษเป็นอย่างไร

"ฝนโบกขรพรรษ" มีลักษณะพิเศษดังนี้ ๑. น้ำฝนนี้มีสีแดงดังเท้านกพิราบ หลั่งไหลเสียงสนั่นลั่นออกไปไกลเหมือนเสียงสายฝนธรรมดา ๒. ถ้าผู้ใดปรารถนาจะให้เปียกกายจึงจะเปียก หากมิได้ปรารถนาแม้แต่เม็ดหนึ่งก็มิได้เปียก ๓. เมื่อถูกกายแล้วจะหล่นสู่พื้นดินเสมือนหยาดน้ำที่ตกลงสู่ใบบัวแล้วกลิ้งตกลงไปฉะนั้น

ฝนโบกขรพรรษเป็นฝนที่มีสีอะไร

SPONSORED. มีเหตุให้คิดถึง ฝนโบกขรพรรษ ฝนที่มีสีแดงตกลงเป็นฝอยๆเหมือนหิมะตก ผู้ถูกฝนต้องการจะให้เปียก ก็เปียก ไม่ต้องการให้เปียก ก็ไม่เปียก ตกถึงพื้นแล้วก็ละลายหายไป เหมือนน้ำฝนตกลงใบบัว ไม่เปียกใบบัว ครับ

ฝนโบกขรพรรษ คือใคร

โบกขรพรรษ.

ฝนโบกขรพรรษ กี่ครั้ง

ในพุทธประวัติ ปรากฏฝนโบกขรพรรษตก 3 ครั้ง คือ 1. เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จแสดงธรรมโปรดพระประยูรญาติ 2. เมื่อ พระเวสสันดร พระนางมัทรี พระเจ้ากรุงสญชัย พระนางผุสดี กัณหา และชาลี พบกัน 3. เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จแคว้นเวสาลีแสดงธรรมจักกัปปวัฒนสูตร