โรงงานพานาโซนิคทำเกี่ยวกับอะไร

พานาโซนิค ถือได้ว่าเป็นแบรนด์เครื่องใช้ฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้พานาโซนิค ผลิตโดยบริษัทมัตสุชิตะ อิเล็คทริค อินดัสเตรียล จำกัด ก่อตั้งขึ้นโดยคุณโคโนสุเกะ มัตสุชิตะ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2461 ณ เมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ในระยะแรกเริ่มของธุรกิจผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายส่วนใหญ่เป็นหลอดไฟฉาย และเครื่องทำความร้อนไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุ จากจุดนี้เอง บริษัท จึงได้เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาต่อมา

เมื่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท มีมากขึ้น  และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย บริษัทจึงได้เริ่มใช้เครื่องหมายการค้า “National” กับผลิตภัณฑ์ของบริษัทตั้งแต่ปี 2466 เป็นต้นมา ซึ่งความหมายของ “National” ได้แสดงถึงความตั้งใจที่จะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ให้แพร่หลายเป็นที่พึงพอใจแก่ผู้บริโภคทุกชนชาติทั่วโลก

ปี 2482 บริษัทเริ่มขายธุรกิจในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ที่ประเทศจีน สร้างโรงงานผลิตถ่านไฟฉาย ชื่อบริษัท Shanghai Plant of Matsushita Dry Battery

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นานเริ่มเข้าไปทำสัญญาความร่วมมือด้านเทคโนโลยีกับบริษัท Philips ณ ประเทศเนเธอแลนด์และได้เปิดสำนักงานของบริษัทที่เมือง New York และก่อตั้งบริษัทขายแห่งแรกในต่างประเทศ คือ Matsushita Electric Corporation of America (MECA) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ต่อมาบริษัท National Thai เป็นโรงงานแห่งแรกที่ถูกก่อตั้งขึ้นในต่างประเทศ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ณ ประเทศไทย ทำการผลิตผลิตภัณฑ์ถ่านไฟฉาย จากจุดเริ่มต้นการขยายตัวของธุรกิจในต่างประเทศของบริษัททั้ง 2 แห่งนี้ จึงนำมาซึ่งนโยบายการลงทุนดำเนินธุรกิจในต่างประเทศในเวลาต่อมา

สำหรับบริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ชื่อเดิม คือ บริษัท ซิว-เนชั่นแนล เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ผู้แทนจำหน่ายสินค้ายี่ห้อพานาโซนิค ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2513 โดยร่วมทุนระหว่างบริษัท ซิว จำกัด และบริษัท มัตสุชิตะ อิเล็คทริค อินดัสเตรียล จำกัด ประเทศญี่ปุ่น จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆช่น วิทยุ เครื่องเล่นจานเสียง เครื่องขยายเสียง และเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าอย่างเป็นทางการของบริษัท มัตสุชิตะ อิเล็คทริค อินดัสเตรียล จำกัด ประเทศญี่ปุ่น

นับจากปี 2547 เป็นต้นมา บริษัท มัตสุชิตะ อิเล็คทริค อินดัสเตรียล จำกัด ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศรวมแบรนด์ Panasonic และ National เพื่อความแข็งแกร่งและเป็นหนึ่งเดียวในการทำการตลาดทั่วโลก โดยให้ National ยังคงมีขายเป็น Traditional Brand ในญี่ปุ่นเท่านั้น

เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ดำเนินธุรกิจผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนาน สำหรับ “พานาโซนิค” และในปีนี้ก็เป็นโอกาสครบรอบ 100 ปี นับจากเริ่มก่อตั้งธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ 7 มีนาคม 1918 ในชื่อเริ่มต้นว่า บริษัท มัตสุชิตะ อิเล็คทริค เฮ้าส์แวร์ แมนูแฟคเจอริ่ง เวิร์คส์ จำกัด ตามชื่อผู้ก่อตั้งอย่าง โคโนสุเกะ มัตสุชิตะ ก่อนจะสามารถขยายธุรกิจให้เติบโตได้มากกว่าแค่ในญี่ปุ่น จนทำให้แบรนด์พานาโซนิคกลายเป็นที่รู้จักและสามารถทำตลาดได้ในระดับโลกได้สำเร็จ   

โรงงานพานาโซนิคทำเกี่ยวกับอะไร

โรงงานพานาโซนิคทำเกี่ยวกับอะไร
โรงงานพานาโซนิคทำเกี่ยวกับอะไร

โรงงานพานาโซนิคทำเกี่ยวกับอะไร

Vision 2020 ยอดขายประเทศไทยต้องถึงแสนล้าน

ขณะที่ความสามารถในการสร้างความแข็งแรงและผลักดันการเติบโตให้กับธุรกิจรวมทั้งการรับรู้ต่อแบรนด์พานาโซนิคในประเทศไทย ก็ถือว่าทำได้เป็นอย่างดีด้วยยอดขายที่ยังคงรักษาการเติบโตไว้ได้ แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยหลายอย่างหรือในบางปัจจัยจากตลาดที่ไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังซื้อที่ยังไม่ดีมากนัก ส่งผลให้เกิดภาวะการแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรง หรือสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยในการผลักดันสินค้าให้เติบโตได้ตามเป้าหมาย หรือพัฒนาการทางด้านพฤติกรรม หรือเทคโนโลยีที่กระทบต่อการขยายตัวของสินค้าในบางเซ็กเม้นต์

มร. ฮิเดคาสึ อิโตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทพานาโซนิคในประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า พานาโซนิคยังคงรักษาการเติบโตไว้ได้ โดยปีงบประมาณ 2017 ที่ผ่านมา (เม.ย. 2017- มี.ค. 2018) พานาโซนิคสามารถเติบโตได้เพิ่มขึ้น 1% ขณะที่ตลาดและหลายๆ แบรนด์ไม่ได้เติบโต โดยทำยอดขายรวมได้ 91,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ 3.64% ของยอดขายพานาโซนิคทั่วโลก ที่เติบโตได้ถึง 9%  ด้วยจำนวนยอดขายรวมกว่า 2.5 ล้านล้านบาท

“หากย้อนการเติบโตในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ยอดขายเมื่อปีล่าสุดขยับมาเท่ากับปี 2015 ที่ทำยอดขายได้ 9.1 หมื่นล้านบาท ก่อนจะลดเหลือ 9 หมื่นล้านบาทในปี 2016 ตามสถานการณ์ตลาดในประเทศไทยที่ซบเซาลง เนื่องจากภาวะความสูญเสียที่เกิดขึ้น ขณะที่ในปีที่ผ่านมานี้แม้ภาพรวมต่างๆ จะยังไม่เอื้ออำนวยมากนัก แต่พานาโซนิคก็ยังสามารถฟื้นตัวให้กลับมาเติบโตได้ และเชื่อว่าจะสามารถผลักดันให้ธุรกิจขยายตัวได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3-5% ในสิ้นปีงบประมาณ 2018 นี้ และจะรักษาการเติบโตในระดับนี้ไปอย่างต่อเนื่องอีก 2-3 ปี เพื่อผลักดันให้ธุรกิจของกลุ่มพานาโซนิคในประเทศไทยสามารถขยับไปสู่การเป็นบริษัทที่สามารถทำยอดขายได้ในระดับ 1 แสนล้านบาท ตามเป้าหมายในปี 2020 ที่ได้วางไว้”    

โรงงานพานาโซนิคทำเกี่ยวกับอะไร

และในโอกาสดำเนินธุรกิจมาครบ 100 ปี พร้อมมองภาพของพานาโซนิคในอีก 100 ปีถัดไป มร. อิโตะ กล่าวว่า จากนี้ไปผู้บริโภคจะต้องรู้จักแบรนด์พานาโซนิคในมิติที่มากกว่าแค่แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นนโยบายในการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ศตวรรษใหม่ที่วางไว้เป็นแนวทางเดียวกันทั่วโลก และยังสอดคล้องกับปรัชญาของ มร.โคโนสุเกะ มัตสึชิตะ ผู้ก่อตั้งพานาโซนิค ที่จะไม่หยุดนิ่งพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในการมอบชีวิตที่ดีกว่า เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อโลกที่ดีขึ้น ตามสโลแกน A Better Life, A Better World ซึ่งพานาโซนิคใช้เป็นแกนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ

เร่งสร้างแบรนด์ให้เป็นมากกว่าแค่เครื่องใช้ไฟฟ้า  

นอกจากเป้าหมายในเชิง Performance ที่วางไว้ค่อนข้าง Aggressive โดยที่ผู้นำทัพเองยังเอ่ยปากว่าเป็นเรื่องท้าทายอย่างมากในการผลักดันธุรกิจให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้นั้น ขณะที่ตัวเลขในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2018 นี้ (เม.ย -มิ.ย. 2018) พานาโซนิคประเทศไทยเติบโตได้เพียง 98% ด้วยยอดขายรวม 22,000 ล้านบาท หรือต่ำกว่าเป้าหมายไป 2% แต่พานาโซนิคยังเชื่อว่าเวลาอีก 3 ไตรมาสที่เหลือจะสามารถ Achieve เป้าหมายได้อย่างแน่นอน จากการผลักดันสินค้าเทคโนโลยีต่างๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในทุกกลุ่มธุรกิจ

ยังมีเรื่องของการสร้าง Brand Awareness เป็นอีกเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนต่อจากนี้เช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จ เพราะ Brand Awareness ของพานาโซนิคในประเทศไทยขยับสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี จากการสำรวจ Brand Perception Survey ของ AC Nielsen ซึ่งพานาโซนิคอยู่อันดับ 6 ในปี 2016 มาสู่อันดับ 4 ในปี 2017 และล่าสุดในปีนี้ขยับมาสู่ Top 3 ของตลาดแล้ว และหวังว่าในปีต่อๆ ไปจะสามารถขยับมาสู่อันดับที่สูงขึ้นได้อีก

โรงงานพานาโซนิคทำเกี่ยวกับอะไร

ภาพใหญ่ที่พานาโซนิควางตำแหน่งของแบรนด์ไว้เหมือนกันทั่วโลกคือ จากนี้ไปต้องการเป็นมากกว่าแค่ผู้ผลิตและโฟกัสอยู่ที่ตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แต่จะก้าวสู่การเป็น Lifestyle Provider ที่จะเข้าไปอยู่ในทุกๆ ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตของผู้คน เพื่อมอบคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยภาพเหล่านี้เริ่มชัดเจนมากยิ่งขึ้นภายหลังการปรับโครงสร้างธุรกิจเมื่อปี 2013 ที่แยกการดำเนินธุรกิจให้อยู่ภายใต้ 4 กลุ่ม รวมทั้งส่งเสริมการทำธุรกิจ B2B มากขึ้น นอกเหนือจากการทำตลาดตรงกับผู้บริโภคเท่านั้น โดยเฉพาะในบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นที่สัดส่วนรายได้จากแต่ละกลุ่มธุรกิจเริ่มเฉลี่ยสัดส่วนไปในแต่ละกลุ่มมากยิ่งขึ้น โดยกลุ่มธุรกิจทั้ง 4 และสัดส่วนรายได้ของแต่ละกลุ่มจากทั่วโลก มีดังนี้

1. Appliance Company (AP) หรือ กลุ่มธุรกิจที่รับผิดชอบทั้งการพัฒนา ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องเสียง เครื่องใช้ในครัว สินค้าความงามต่างๆ เครื่องปรับอากาศ ตู้แช่ หรือคอมเพรสเซอร์ โดยมีสัดส่วนยอดขาย 32%

2. Eco Solution Compan (ES) หรือกลุ่ม Housing โดยดูแลเกี่ยวกับระบบต่างๆ ภายในบ้าน ทั้งน้ำ ไฟ ระบบระบายอากาศ วัสดุตกแต่งภายในบ้าน ระบบเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ อุปกรณ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล จักรยานไฟฟ้า ด้วยสัดส่วนยอดขาย 20%

3. Connected Solution Company (CNS) หรือการนำเสนองานในรูปแบบโปรเจ็กต์ มากกว่าแค่การขายสินค้าอย่างเดียว แต่เพิ่มบริการต่างๆ เป็นโซลูชั่นส์ เช่น การบริการดูแลรักษา การเชื่อมต่อระบบให้ธุรกิจต่างๆ ทั้งโรงงานอุตสาหกรรม ค้าปลีก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ระบบขนส่ง หรือในพื้นที่สาธารณะ โดยมีสัดส่วนการขาย 14%

4. Automotive & Industrial Systems Company (AIS) หรือการพัฒนา ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งแบตเตอรี่ให้กับธุรกิจรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีสัดส่วนการขาย 34%

โรงงานพานาโซนิคทำเกี่ยวกับอะไร

โฟกัสทำตลาดกลุ่ม Living Space

ขณะที่ภาพในประเทศไทยรายได้หลักส่วนใหญ่ยังมาจากกลุ่มธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ด้วยสัดส่วน 30% และในธุรกิจรถยนต์ 59%  ขณะที่ในกลุ่ม Housing ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะทำให้พานาโซนิคขยายเข้าไปในตลาดใหม่ๆ ผ่านผู้ประกอบการกลุ่มอสังหารายต่างๆ  ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนในธุรกิจนี้ของพานาโซนิคประเทศไทยอยู่ที่ 9% และคาดว่าจะมีโอกาสเติบโตให้มีสัดส่วนใกล้เคียงกับสัดส่วนจากทั่วโลก ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนราว 20% ตาม Midterm Plan ที่วางไว้เพื่อสร้างการเติบโตในช่วง 2-3 ปีนี้เช่นกัน

“จากเป้าหมายสำคัญที่พานาโซนิคจะก้าวไปสู่การเป็น Lifestyle Provider ซึ่งกลุ่มพานาโซนิคในประเทศไทย ได้นำมาปรับกลยุทธ์สำหรับตลาดประเทศไทย ด้วยการโฟกัสการทำตลาดในกลุ่ม Living Space ซึ่งน้ำหนักจะอยู่ที่ 2 หมวดใหญ่คือ AP และ ES หรือกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และกลุ่มเฮ้าส์ซิ่ง ผ่านการพัฒนาสินค้านวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยยกระดับทั้งประสบการณ์ในการใช้ชีวิตและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น โดยเฉพาะเทรนด์ของสมาร์ทโฮม ภายใต้การทำตลาดผ่านแนวคิด Aspire to Me ที่มีความแข็งแรงใน 3 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อมั่นในฐานะแบรนด์ญี่ปุ่นหรือ Japan Quality ที่เป็นกลุ่ม High Technology และดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้งานและมีความพรีเมี่ยม รวมทั้งการออกแบบการใช้งานให้เป็น Local Fit เช่น การมีเทคโนโลยีนาโนอี ในกลุ่มเครื่องปรับอากาศที่เหมาะกับสภาพอากาศของไทย ที่จะทำให้การรับรู้แบรนด์พานาโซนิคจากนี้จะขยับไปสู่ภาพของความเป็น Top Premium Brand ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้อีกด้วย”

โรงงานพานาโซนิคทำเกี่ยวกับอะไร

ขณะที่ตลาดในกลุ่ม AIS หรือกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็เชื่อว่าจะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะความแข็งแรงของประเทศไทยในการเป็นฐานการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนที่สำคัญ ขณะที่ในกลุ่ม CNS ที่อาจจะต้องเติบโตร่วมกับการมีพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละโซลูชั่นส์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการได้แบบครบวงจรที่มากกว่าแค่การขายสินค้าเป็นชิ้นๆ  เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

โรงงานพานาโซนิคทำเกี่ยวกับอะไร


แชร์ :

      

A Better LifeA Better WorldBrand Perception SurveyJapan QualityLifestyle ProviderpanasonicPanasonic 100 YearsTop Premium Brandบริษัท 100 ปีบริษัทแสนล้านพานาโซนิคพานาโซนิค 100 ปีพานาโซนิค ประเทศไทยฮิเดคาสึ อิโตะโคโนสุเกะ มัตสุชิตะ

พานาโซนิคทำอะไรบ้าง

สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก เครื่องปรับอากาศแบบครบชุดในตัว.
เชิงพาณิชย์ ระบบ VRF. ระบบควบคุม.
ที่พักอาศัย เครื่องปรับอากาศแบบมีอินเวอร์เตอร์ เครื่องปรับอากาศแบบไม่มีอินเวอร์เตอร์.
พัดลม / พัดลม ระบายอากาศ พัดลมระบายอากาศ พัดลมไฟฟ้า.
เครื่องฟอกอากาศ เครื่องฟอกอากาศ เครื่องสร้างอนุภาค nanoe™ X. เครื่องฟอกอากาศ ziaino™.

Panasonic เป็นของประเทศไหน

พานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น (ญี่ปุ่น: パナソニック株式会社; โรมาจิ: Panasonikku Kabushiki-gaisha) เป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เดิมมีชื่อว่า มัทสุชิตะ อีเล็กทริค อินดัสเตรียล (ญี่ปุ่น: 松下電器産業株式会社; โรมาจิ: Matsushita Denki Sangyō Kabushiki-gaisha) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.

พานาโซนิคทำงานกี่วัน

ทั้งนี้ แนวคิดการทำงานแค่ 4 วัน/สัปดาห์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะบริษัทในสหราชอาณาจักรมากกว่า 60% ที่ใช้เวลาทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ตั้งแต่ปีปี 2019 และ Microsoft Japan ทดสอบแนวคิดนี้ในปี 2019 พนักงานประมาณ 90% ตอบสนองอย่างดี และก็ช่วยให้บริษัทประหยัดไฟฟ้าด้วย และในเดือนธันวาคม 2020 ยูนิลีเวอร์ เริ่มทดลองใช้งาน 4 วัน/สัปดาห์ใน ...

Panasonic หายไปไหน

บริษัท พานาโซนิค เเอ็พไลแอ็นซ์ รีฟริกเจอเรชั่น ดิไวซ์ (ไทยแลนด์) ปทุมธานี ประกาศปิดกิจการ อย่างเงียบๆ โดย วันที่ 30 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการยุติการผลิตทุกอย่าง และประกาศปิดกิจการถาวร ในวันที่ 30 กันยายน 2565 ที่จะถึงนี้ เพื่อย้ายฐานผลิตไปประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น ตามบริษัท ในเครือ พานาโซนิค สุวินทวงศ์ตั้งอยู่ที่ ...