ก้านสมองประกอบด้วยอะไรบ้าง

สมอง ที่อยู่ภายในกระโหลกศรีษะของเรานี้ มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมคว่ำ ส่วนโค้งอยู่ทางด้านบน ส่วนแบนอยู่ทางด้านล่าง มีแกนตรงกลางยาวยื่นออกมาจากครึ่งทรงกลมนี้ทางด้านล่างเรียกว่า ก้านสมอง (brainstem) ก้านสมองนี้มีส่วนต่อยาวเลยท้ายทอยลงไป ส่วนที่ยาวมาจากท้ายทอยเมื่อพ้นกระโหลกศรีษะไปแล้วจะทอดตัวเป็นลำยาวภายใน ช่องตลอดแนวกระดูกสันหลังเรียกว่า ไขสันหลัง (spinal cord)

สมอง ส่วนที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนรู้ ความโง่ ความฉลาด ส่วนครึ่งวงกลมที่อยู่ภายในครึ่งบนของกระโหลกศรีษะ มีชื่อเรียกว่า ซีรีบรัม (cerebrum) หรือสมองใหญ่ เมื่อดูภายนอกส่วนครึ่งวงกลมนี้มีรอยหยัก เป็นร่องและลอนนูนทั่วไป มีร่องใหญ่มากที่ด้านบนตรงกลางกระหม่อม ซึ่งแบ่งครึ่งวงกลมนี้เป็นสองซีก จากหน้าไปหลัง ทำให้สมองแยกเป็น 2 ข้าง ทางด้านซ้ายและด้านขวา ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน สมองสองข้างนี้ไม่ขาดจากกัน แต่ยึดติดกันด้วยส่วนของสมองที่อยู่ตอนกลาง สมองแต่ละข้างแบ่งออกเป็น 4 ส่วน

Show

ก้านสมองประกอบด้วยอะไรบ้าง


  • สมองส่วนหน้า (frontal lope)
    ทำงานเกี่ยวกับการตัดสินใจ เหตุผล วางแผน และควบคุมการเคลื่อนไหว

  • สมองพาไรเอทัล (parietal lope)
    ทำงานเกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกสัมผัส และรับรู้ตำแหน่งของร่างกายส่วนต่างๆ รวมทั้งนำการรับรู้ในส่วนนี้ประสานกับการรับรู้ภาพและเสียง

  • สมองส่วนหลัง (occipital lope)
    ทำงานเกี่ยวกับการรับรู้ภาพ

  • สมองส่วนขมับ (temporal lope)
    ทำงานเกี่ยวกับรับรู้เสียง ความจำ การตีความภาษา

#เรื่องน่ารู้ของระบบประสาท มาทำความรู้จักกับก้านสมองกัน ก้านสมองหรือ brain stem...

Posted by Bio by Krupmorn on Friday, August 7, 2020

                  ก้านสมอง ยังเป็นจุดทางออกของประสาทสมอง ตั้งแต่คู่ที่ 3 ไปจนถึงคู่ที่ 12 ดังนั้น เมื่อมีโรคของก้านสมอง นอกจากผู้ป่วยจะมีปัญหาทางการหายใจ และการเต้นของหัวใจแล้ว ผู้ป่วยยังอาจมีปัญหาทาง การมองเห็น การได้ยิน การพูด การกลืน และการทรงตัวด้วย

               ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ที่สำคัญทางด้านหน้าของ medulla คือมี pyramids ซึ่งเป็นสันนูนสองอันอยู่ข้างต่อ anterior median fissure และถัดจากสันนูนของ pyramid ไปทางด้านข้างเป็นก้อนนูนลักษณะคล้ายลูกมะกอก เรียกว่า olive ร่องตื้นที่อยู่ระหว่าง olive กับ pyramid เรียกว่า preolivary sulcus ซึ่งมีรากประสาท (rootlets) ของ hypoglossal nerve (cranial nerve คู่ที่ 7) โผล่ออกมา ส่วนร่องตื้นที่อยู่หลังต่อ olive เรียกว่า postolivary sulcus มีรากประสาทของ glossopharyngeal nerve (cranial nerve คู่ที่ 9) และ vagus nerve (cranial nerve คู่ที่ 10) ติดอยู่โดยเรียงจากบนลงล่าง ส่วนรากเส้นใยประสาทของ cranial accessory (cranial nerve คู่ที่ 11) nerve โผล่ออกมาในแนวเดียวกับ vagus nerve และใต้ต่อ postolivary sulcus

สมอง (Brain) เป็นอวัยวะในระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) มีน้ำหนัก 1,400 กรัม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด โดยสมองจะรับรู้โลกภายนอกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตาเห็น หูได้ยิน จมูกรับกลิ่น ปากรับรส และผิวหนังรับสัมผัส โดยสมองจะดึงข้อมูลเดิมที่ถูกจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำ มาคิด วิเคราะห์รวมกับข้อมูลที่รับเข้าไปใหม่ แล้วแสดงออกมาผ่านการทำงานของอวัยวะในระบบร่างกาย เช่น การพูด การเคลื่อนไหว กริยาท่าทาง สอดคล้องกันจนเป็นพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ซึ่งรวมถึงการตอบสนองต่อสถานการณ์เครียด เช่น การเจ็บป่วย การสูญเสีย โดยส่งผลถึงอัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจของเรา

 

ส่วนประกอบของสมอง

สมองส่วนหน้า (Forebrain) 

  1. ออลแฟกทอรีบัลบ์ (Olfactory bulb) สมองส่วนนี้อยู่ทางด้านหน้าสุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น โดยในคนจะมีการพัฒนาน้อยกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดอื่น แต่จะดมกลิ่นได้ดี โดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
  2. ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือสมองใหญ่ เป็นส่วนของสมองที่อยู่หน้าสุด และมีขนาดโตที่สุด  มีผิวด้านนอกเป็นเนื้อสีเทา ส่วนด้านในเป็นเนื้อสีขาว ที่บริเวณผิวด้านนอกมีรอยหยักเป็นร่องมากมาย รอยหยักนี้ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวของสมอง เพื่อให้สามารถใส่เซลล์ประสาทได้ในกะโหลกศีรษะ ในทางการแพทย์มีการศึกษาถึงตำแหน่งต่าง ๆ รวมถึงรอยหยักในสมอง เพื่อกำหนดขอบเขตการทำงานของสมองที่เฉพาะเจาะจงสมองส่วนซีรีบรัม ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความรู้ ความจำ ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา และเป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ศูนย์ควบคุมการพูด การรับรู้ภาษา ศูนย์กลางการมองเห็น การรับรส การได้ยิน และการดมกลิ่นสมองซีรีบรัม แบ่งเป็นสองซีก (Cerebral hemisphere) และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พู
    • พูด้านหน้า (Frontal lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์ โดยพูด้านซ้ายควบคุมการทำงานร่างกายซีกขวา พูด้านขวาจะควบคุมการทำงานร่างกายซีกซ้าย
    • พูกลาง (Parietal lobe) ทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกด้านสัมผัส เช่น ร้อน ปวด หนาว เป็นต้น
    • พูด้านข้าง (Temporal lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น การเข้าใจภาษา เป็นต้น
    • พูด้านหลัง (Occipital lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
  3. ทาลามัส (Thalamus) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากสมองซีรีบรัมลงมา โดยอยู่ในตำแหน่งที่สามารถส่งกระแสประสาทออกไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของสมองได้ในทุกทิศทาง ทาลามัสทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการรับกระแสประสาทที่ถูกส่งจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ผ่านทางไขสันหลัง เข้าสู่ก้านสมอง (Brainstem) จนถึงทาลามัส หลังจากนั้นทาลามัสจะทำการแยกกระแสประสาทส่งไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้องในทางกลับกัน เมื่อสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการสั่งการ ทาลามัสจะรับคำสั่งพร้อมส่งคำสั่งดังกล่าว ผ่านก้านสมอง สู่ไขสันหลังและเส้นประสาทของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้อวัยวะดังกล่าวทำงานตามคำสั่งของสมอง
  4. ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของสมองทาลามัส และติดกับต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ (Central nervous system) และเชื่อมโยงการทำงานกับระบบต่อมไร้ท่อ โดยการสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ซึ่งมีบทบาทในเรื่องสมดุลของปริมาณน้ำ และสารละลายในเลือด รวมถึงการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึก ระบบนาฬิกาชีวภาพ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ

 

สมองส่วนกลาง (Midbrain)

เป็นสถานีรับส่งกระแสประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้า (Forebrain) กับสมองส่วนหลัง (Hindbrain) และสมองส่วนหน้ากับนัยน์ตา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกนัยน์ตากลอกไปมาได้ และควบคุมการปิดเปิดของม่านตาในเวลาที่มีแสงสว่างเข้ามามากหรือน้อย

 

สมองส่วนหลัง (Hindbrain)

  1. ซีรีเบลลัม (Cerebellum) หรือสมองน้อย เป็นสมองส่วนท้าย มี 2 ซีก ซ้ายและขวา ด้านนอกเป็นเนื้อสีเทา ด้านในเป็นเนื้อสีขาว ผิวมีรอยหยัก เช่นเดียวกับซีรีบรัมแต่มีขนาดเล็กกว่า มีหน้าที่สำคัญ คือ ควบคุมและประสานงาน เพื่อให้การทรงตัวและการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นไปอย่างราบรื่นเป็นปกติ รวมถึงทำให้สามารถทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความละเอียดได้ ในรอยโรคที่เกิดในซีรีเบลลัม จะทำให้เกิดความผิดปกติในการทรงตัว การเคลื่อนไหว และสมดุลของร่างกาย
  2. พอนส์ (Pons) มีตำแหน่งอยู่ทางด้านหน้าของซีรีเบลลัม และติดต่อกับสมองส่วนกลาง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างซีรีบรัมกับซีรีเบลลัม และระหว่างเซรีเบลลัมกับไขสันหลังมีหน้าที่สำคัญ คือ ควบคุมการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้า ควบคุมการหายใจ
  3. เมดัลลา ออบลองกาตา (Medulla oblongata) เป็นสมองส่วนที่อยู่ท้ายสุด โดยติดต่อกับสมองพอนส์ทางด้านบน และไขสันหลังทางด้านล่าง มีหน้าที่สำคัญ  คือ มีบทบาทในเรื่องการเต้นของหัวใจ การหายใจ การหมุนเวียนเลือด ความดันเลือด และเป็นศูนย์ปฏิกิริยาสะท้อนกลับบางชนิด เช่น การไอ การจาม การสะอึก เป็นต้น

 

ก้านสมอง (Brainstem)

ก้านสมองเป็นแกนกลางของสมอง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ สมองส่วนกลาง (Midbrain) สมองพอนส์ (Pons) และสมองส่วนเมดัลลา ออบลองกาตา (Medulla of oblongata)

ก้านสมอง (brain stem)ทำหน้าที่ใด

ก้านสมอง (brain stem) ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ ความรู้สึกร้อนหนาว และอุณหภูมิของร่างกาย

ก้านสมองประกอบด้วยส่วนใดบ้าง

ก้านสมอง (Brain stem). คือส่วนที่เชื่อมต่อสมองกับไขสันหลัง ซึ่งประกอบด้วยสมองส่วนกลาง (Mid brain) ,พอนส์ (Pons) และ เมดูลลาร์ (Medulla)

ก้านสมองมีรูปร่างแบบไหน

สมอง ที่อยู่ภายในกระโหลกศรีษะของเรานี้ มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมคว่ำ ส่วนโค้งอยู่ทางด้านบน ส่วนแบนอยู่ทางด้านล่าง มีแกนตรงกลางยาวยื่นออกมาจากครึ่งทรงกลมนี้ทางด้านล่างเรียกว่า ก้านสมอง (brainstem) ก้านสมองนี้มีส่วนต่อยาวเลยท้ายทอยลงไป ส่วนที่ยาวมาจากท้ายทอยเมื่อพ้นกระโหลกศรีษะไปแล้วจะทอดตัวเป็นลำยาวภายใน ช่องตลอดแนว ...

Brain stem หมายถึงข้อใด

ก้านสมอง (Brain Stem) เป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุดของสมอง มีศูนย์ที่คอยคุมการทำงานที่สำคัญของร่างกายอยู่มาก เช่น การกลืน การหายใจ ดังนั้นหากมีอะไรก็ตามที่ไปรบกวนการทำงานของก้านสมอง หรือ มีเลือดออก และคั่งอยู่ที่ก้านสมอง จะทำให้เกิดอันตรายที่รุนแรงมากจนถึงแก่ชีวิต โดยอัตราการตายจะสูงมากถึง 70-80%