การผลิตในทางเศรษฐศาสตร์ หมาย ถึง ข้อ ใด

    การผลิต คือ การสร้างเศรษฐ์ทรัพย์และบริการต่างๆ เพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ การผลิตสิ่งของและบริการทุกอย่าง จะต้องเป็นการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ การผลิตหรือการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ อาจจัดอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ต่อไปนี้

1. การสร้างรูปร่างผลิตผลขึ้นใหม่ คือ การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของปัจจัย การผลิตต่างๆ เพื่อให้เกิดสินค้าตามลักษณะและรูปร่างที่ต้องการเพื่อเพิ่มความพอใจให้แก่ผู้ใช้ และผู้บริโภคมากที่สุด

2. การเคลื่อนย้ายผลิตผล คือการเปลี่ยนที่ของผลิตผล เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และอำนาจบำบัดความต้องการมากขึ้น

3. การเก็บผลิตผลไว้รอเวลาที่ต้องการคือการเก็บสินค้าบางอย่างไว้นานๆเพื่อเพิ่มประโยชน์และเพิ่มมูลค่า

4. การทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์เปลี่ยนมือ เช่น การทำหน้าที่เป็นนายหน้าขายบ้าน เท่ากับเป็นการช่วยดำเนินการโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในบ้านจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง เจ้าของบ้านใหม่จะเกิดความพอใจที่ได้บ้านมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตน

ปัจจัยการผลิต

ในการผลิตจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยการผลิต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1. ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ที่ดินรวมถึงสภาพธรรมชาติที่อยู่ใต้ดิน บนดินและเหนือดิน

2. แรงงาน หมายถึง การทำงานทุกชนิดที่ก่อให้เกิดสินค้าและบริการ แรงงานนี้รวมถึง แรงงานด้านการใช้กำลังกายและกำลังความคิดของมนุษย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย

3. ทุน ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง สินค้า หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการผลิต

4. ผู้ประกอบการ ได้แก่ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยโดยตรง เป็นผู้ให้ความริเริ่มในนโยบายต่างๆหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายในส่วนสำคัญในอันที่จะทำให้ การผลิตดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ลำดับขั้นในการผลิต

1. การผลิตขั้นปฐมหรือการผลิตขั้นแรก ได้แก่ การผลิตทางด้านการเกษตร การทำป่าไม้ การประมง การทำสวน ทำไร่ ซึ่งเป็นการผลิตแบบดั้งเดิมของมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณ

2. การผลิตขั้นมัธยมหรือขั้นที่สอง ได้แก่ การผลิตทางด้านหัตถกรรม และอุตสาหกรรม การผลิตขั้นนี้ จะนำเอาผลิตผลในขั้นปฐมมาดัดแปลง เพื่อถนอมหรือผลิตเป็นสินค้าอื่น

3. การผลิตขั้นอุดมหรือขั้นที่สาม ได้แก่ การให้บริการด้านการขนส่ง การค้าส่ง การค้าปลีก การธนาคาร และการประกันภัย ซึ่งเป็นงานที่ช่วยให้การผลิตไปถึงมือผู้บริโภค หลังจากผลิตขั้นที่สองเสร็จแล้ว

        กระบวนการผลิต (Production process) หมายถึง มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Input), กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) และผลผลิต (Output) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. ปัจจัยนำเข้า (Input) คือทรัพยากรขององค์การที่ใช้ผลิตทั้งที่เป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Assets) เช่น วัตถุดิน เครื่องจักร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) เช่น แรงงาน ระบบการจัดการ ข่าวสาร ทรัพยากรที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เพื่อให้สินค้าสำเร็จรูปสามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ในท้องตลาด
2. กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) เป็นขึ้นตอนที่ทำให้ปัจจัยนำเข้าที่ผ่านเข้ามามีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ได้แก่

  • - รูปลักษณ์ (Physical) โดย การผ่านกระบวนการผลิตในโรงงาน
  • - สถานที่ (Location) โดย การขนส่ง การเก็บเข้าคลังสินค้า
  • - การแลกเปลี่ยน (Exchange) โดย การค้าปลีก การค้าส่ง
  • - การให้ข้อมูล (Informational) โดย การติดต่อสื่อสาร
  • - จิตวิทยา (Psychological) โดย การนันทนาการ ฯลฯ

3. ผลผลิต (Output) เป็นผลได้จากระบบการผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าปัจจัยนำเข้าที่รวมกันอันเนื่องมาจากที่ได้ผ่านกระบวนการแปลงสภาพ ผลผลิตแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สินค้า (Goods) และบริการ (Service)

แรงงาน (labor) หรือทรัพยากรมนุษย์ หมายถึงผู้ที่ทำงานให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยอาศัยทั้งกำลังแรงกายและกำลังความคิด แต่ไม่รวมในด้าน ของความสามารถในการประกอบการของแต่ละบุคคล ในทางเศรษฐศาสตร์ การใช้แรงงานจะต้องเป็น การใช้แรงงานที่ได้รับค่าตอบแทนเป็นตัวเงินหรือสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ส่วนแรงงานที่ไม่ได้รับผลตอบแทนจะไม่ถือว่าเป็นแรงงานตามความหมายนี้ แรงงานหรือที่นิยมเรียกกันว่า กำลังแรงงาน (labor force) ในอีกความหมายหนึ่งก็คือกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงานที่มีอายุตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป ซึ่งพร้อม และเต็มใจที่จะทำงานไม่ว่าจะมีงานให้ทำหรือไม่ก็ตาม แบ่งออกเป็น แรงงานที่มีทักษะ (skilled labor) ซึ่งเป็นแรงงานที่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาเป็นอย่างดี เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ฯลฯ กับ แรงงานที่ไม่มีทักษะ (unskilled labor) ซึ่งเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาก่อน ส่วนใหญ่เป็นแรงงาน ที่ใช้กำลังกายเป็นหลัก เช่น กรรมกรแบกหาม คนงานรับจ้างทั่วไป ฯลฯ

ทุน (capital) คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ หรือทุนคือการสะสมสินค้าในรูปของเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์การผลิตต่างๆ ทุนในทางเศรษฐศาสตร์จะหมายถึงสินค้าประเภททุน ซึ่งจัดเป็นทุนที่แท้จริง (real capital) โดยไม่นับรวมเงินทุนซึ่งเป็นทุนที่เป็นตัวเงิน (money capital) เข้าไว้ในความหมายดังกล่าว โดยทั่วไปทุนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. ทุนถาวร (fixed capital) คืออุปกรณ์การผลิต เครื่องจักร เครื่องมือที่มีความคงทน ถาวร มีอายุการใช้งานยาวนาน เช่น โรงงาน ถนน สะพาน ทางรถไฟ เป็นต้น

2. ทุนดำเนินงาน (working capital) คือทุนประเภทวัตถุดิบต่างๆซึ่งมีอายุการใช้งาน ค่อนข้างสั้น เป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป ต้องหามาทดแทนใหม่อยู่ตลอดเวลา เช่น น้ำมัน ไม้ ยาง เหล็ก เป็นต้น บางครั้งเรียกทุนประเภทนี้ว่าทุนหมุนเวียน (circulating capital)

3. ทุนสังคม (social capital) เป็นทุนที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในการผลิตโดยตรง เป็นตัว ช่วยเสริมให้การใช้ทุนทั้งสองประเภทข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
สวนสาธารณะ โรงเรียน โรงพยาบาล สนามกีฬา สระว่ายน้ำ เหล่านี้ล้วนเป็นทุนของประเทศโดยส่วนรวม มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยอ้อม คือ ช่วยให้ความรู้ การรักษาสุขภาพอนามัย การพัฒนาในเรื่องของคุณภาพชีวิตของบุคคลที่อยู่ในสังคม
ความสามารถในการประกอบการ (entrepreneurship) หมายถึงความสามารถในการดำเนินการวางแผน จัดการทางด้านธุรกิจการผลิตภายใต้ความเสี่ยงในระดับต่างๆ ผู้ประกอบการ (entrepreneur) จะเป็นผู้รวบรวมปัจจัยการผลิตต่างๆเพื่อทำการผลิตขึ้นเป็นสินค้าหรือบริการ และเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจว่าจะผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร

ลักษณะและความสัมพัธ์ของผลผลิตแบบต่างๆ

ผลผลิตรวม (Total Product : TP)

ผลผลิตรวมจากการใช้ปัจจัยที่ไม่ได้สัดส่วนกัน เราจะศึกษาว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้ปัจจัย ผันแปรชนิดหนึ่งๆ (ใช้ปัจจัยผันแปรชนิดเดียวคือ L) โดยที่ ปัจจัยชนิดอื่นคงที่แล้ว จะทาให้ผลผลิตที่ได้เปลี่ยนไปอย่างไร หากกาหนดให้ การผลิต สินค้าชนิดหนึ่ง(Q) ใช้ปัจจัยการ ผลิต 2 ชนิดได้แก่ ที่ดิน (K) กาหนดให้เป็น ปัจจัยคงที่ (fixed input) และ แรงงาน (L) กาหนดให้เป็น ปัจจัยผันแปร (variable input)

2. ผลผลิตเฉลี่ย (Average Product : AP)

หมายถึงปริมาณผลิตโดยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจากการใช้ปัจจัยในการผลิตที่เพิ่มขึ้นในปริมาณต่างๆ ที่ โดยหาได้จาก การนำปริมาณผลผลิตรวมหารด้วย จำนวนปัจจัยการผลิตที่เป็นปัจจัยผันแปรผันทั้งหมดที่ใช้

3. ผลผลิตเพิ่ม (Marginal Product : MP) หมายถึงปริมาณผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการใช้ปัจจัยแปรผันเพิ่มขึ้น 1 หน่วย ซึ่งหาได้จาก
ปริมาณการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตรวมในแต่ละขั้น หารด้วย ปริมาณการเปลี่ยนแปลงของการใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นปัจจัยแปรผัน หรือ ปริมาณผลผลิตทั้งหมด ณ ปัจจุบัน ลบด้วย ปริมาณผลผลิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนหน้า

4. ความสัมพัธ์ระหว่างผลผลิตเฉลี่ยและผลผลิตเพิ่ม

1. AP จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตราบใดเมื่อ MP > AP
2. AP จะเริ่มลดลงเมื่อ MP น้อยกว่า AP
3. AP มีค่าสูงสุดเมื่อ AP = MPแบ่งช่วงของการผลิตออกได้เป็น 3 ช่วงด้วยกัน คือ

ช่วงที่ 1 เป็นการเริ่มแรกของปัจจัยแปรผันที่เพิ่มขึ้นทีละหนึ่งหน่วย ซึ่งในการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในช่วงนี้ผลผลิตโดยรวมนั้นจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องมาจากการปัจจัยที่ใช้ในการผลิตคือ ปัจจัยคงที่ และปัจจัยแปรผันนั้นยังคงที่จะได้สัดส่วน หรือมีความสมดุลย์กัน โดยเราเรียกช่วงนี้ว่า (Increasing Return)

ช่วงที่ 2 เป็นจุดต่อจากช่วงปลายของช่วงที่ 1 ซึ่งเราเรียกกันว่า จุดเปลี่ยนโค้ง ซึ่งในการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในระยะนี้จะมีการเพิ่มขึ้นอย่างช้า ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเกิดความไม่สมดุลย์กันระหว่างการใช้ปัจจัยคงที่ และปัจจัยแปรผัน และผลผลิตนั้นก็จะเพิ่มขึ้นอย่างเรื่อยๆ ไปจนถึงจุดที่สูงสุด โดยเราเรียกช่วงนี้ว่า (Diminishing Return)

การผลิตในความหมายทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงข้อใด

การผลิต หมายถึง การนำเอาปัจจัยการผลิตอันได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน และความสามารถในการประกอบการมาผ่านกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่งภาย ใต้เทคโนโลยีระดับหนึ่ง ผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การผลิต เป็นกระบวนการเพิ่มคุณค่าหรือประโยชน์

ข้อใดเป็นปัจจัยในการผลิต

ปัจจัยการผลิต (Inputs or Factors) หมายถึง ทรัพยากร (Resources) ต่างๆอันเป็น ส่วนประกอบในการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ที่ดิน แรงงาน ทุน การประกอบการ (ได้กล่าวไป แล้วในบทที่ 4 เพื่อที่จะใช้ในการผลิตสินค้าและบริการหนึ่งๆ

การผลิตมีความหมายว่าอย่างไร

การผลิต (Production) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพปัจจัยการผลิตให้เป็นสินค้าและ บริการ หรือการสร้างอรรถประโยชน์ของปัจจัยการผลิตชนิดใดชนิดขึ้นมาใหม่เพื่อก่อให้เกิดเป็นสินค้า และบริการต่าง ๆ ซึ่งสามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ ดังนั้นการผลิตในที่นี้จึงไม่ได้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิต ...

คำว่า "การผลิต" มีความหมายตรงกับข้อใด

8 ก. 9 ก. 10 ค. Page 8 8 การผลิต หมายถึง การน าเอาปัจจัยการผลิตอันได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน และความสามารถในการประกอบการมาผ่านกระบวนการอย่างใด อย่างหนึ่งภายใต้เทคโนโลยีระดับหนึ่ง ผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การผลิต เป็นกระบวนการเพิ่มคุณค่าหรือประโยชน์ ...