ข้อมูล ทางประวัติศาสตร์เป็น ข้อเท็จจริง หมาย ถึง อะไร

การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

ข้อมูล ทางประวัติศาสตร์เป็น ข้อเท็จจริง หมาย ถึง อะไร

การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

   หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะมีการเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  เรื่องราวที่จดบันทึกไว้เรียกว่า ข้อมูล  เมื่อจะใช้ข้อมูลควรต้องดาเนินการ ดังนี้

1. การแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น  ข้อมูลเรื่องราวทางประวัติศาสตร์นั้นจะมีทั้งข้อเท็จจริง กับความคิดเห็นของผู้เขียน  ผู้บันทึก  หรือผู้แต่ง  ข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลจากหลักฐานต่างๆ ซึ่งอาจตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันบ้าง  แต่ความคิดเห็น เป็นส่วนที่ผู้เขียน ผู้บันทึก  หรือผู้แต่ง ผู้ใช้หลักฐาน คิดว่าข้อมูลที่ถูกต้องน่าจะเป็นอย่างไร

2. การแยกแยะระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริง  ข้อมูลหรือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เรียกว่า  ข้อเท็จจริง คำว่า ข้อเท็จจริง แยกออกเป็น  ข้อเท็จจริงกับข้อจริง  เรื่องราวทางประวัติศาสตร์จึงประกอบด้วย  ข้อเท็จจริงกับข้อจริงหรือความจริง เช่น เรื่องราวการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2112)  การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ( พ.ศ. 2310 ) ความจริง คือไทยเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2112 และ พ.ศ. 2310 ส่วนข้อเท็จจริง  คือ  ข้อมูลที่เป็นคำอธิบายที่ปรากฏในหลักฐานทั้งหลายว่า  ทำไมไทยจึงเสียกรุงศรีอยุธยา เช่น คนไทยเตรียมตัวไม่พร้อม  ผู้น่าอ่อนแอและมีความแตกแยกภายใน ทหารมีจำนวนน้อย  มีอาวุธล้าสมัยและมีจำนวนไม่พอเพียง

ข้าศึกมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความสามารถสูง  มีทหารจำนวนมากกว่าและมีอาวุธดีกว่า  ค าอธิบายดังกล่าวอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริง  ดังนั้นจึงเรียกคำอธิบายหรือเหตุผลว่า  ข้อเท็จจริง 

ดังนั้น  ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  นักเรียนจึงต้องค้นคว้าข้อมูลจากหลักฐาน หลายแหล่งหรืออ่านหนังสือหลายเล่ม  เพื่อจะได้สามารถแยกแยะว่าเรื่องใดเป็นความจริง เรื่องใดเป็นข้อเท็จจริง  เรื่องนี้ยังเป็นประโยชน์ในการรับรู้  รับฟังข้อมูลหรือเรื่องราวทั้งหลายในชีวิตประจำวันว่าเรื่องใดควรเชื่อ และเรื่องใดไม่ควรเชื่อ


ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ข้อมูล ทางประวัติศาสตร์เป็น ข้อเท็จจริง หมาย ถึง อะไร

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

            ขั้นการกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอน

แรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจน

ว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และ

เพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการ

ศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การ

สังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางระวัติ

ศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลัก

ที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือ

ทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล 

            หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

            วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ 

ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้อง

พิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบ

ด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก 

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน 

  การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการ

เขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐ์กรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟง

โดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม 

ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล

            จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูล

ในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า

นั้นลักษณะ ประเภท และความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์

         ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของ

การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน


เพราะเหตุใดจึงต้องมีการเเยกเเยะหลักฐานระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น

การวิเคราะห์และแยกแยะระหว่างข้อมูลกับความคิดเห็น จะช่วยให้ผู้ที่ทำการศึกษา สามารถทำความเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ได้อย่างถูกต้องและใกล้เคียงกับความ เป็นจริงมากที่สุด ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลและความคิดเห็นจากหลักฐานทาง

ความจริงและข้อเท็จจริงหมายถึงอะไร

ความจริง หรือ ข้อเท็จจริง คือสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง ข้อเท็จจริง จึงตรวจสอบความถูกต้องได้ นั่นคือแสดงให้เห็นได้ มีหลักฐาน หรือกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ความจริงใด้ มีการอ้างอิง มีมาตรฐานที่ใช้ตรวจสอบ ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ย่อมได้รับการตรวจสอบโดยการสังเกต ทำซ้ำ พิสูจน์หรือการวัดซ้ำโดยการทดลองหรือ ...

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือควรมีลักษณะอย่างไร

๑.๑ ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์และการบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้น ๑.๒ จุดมุ่งหมายของผู้บันทึกบางคนตั้งใจบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น ๑.๓ ผู้บันทึกรู้ในเรื่องราวนั้นจริงหรือไม่ เรื่องราวที่อ้างอิงมาจากบุคคลอื่นหรือเป็นคำพูดของผู้บันทึกเอง

แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง

แหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์ คือ ที่ซึ่งมีหลักฐานประวัติศาสตร์ ทั้งที่ เป็นหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย สมัยรัตนโกสินทร์ เช่น ๑๔ ๑๕ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่นักเรียนศึกษาค้นคว้า จะทำให้นักเรียนมีความรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์ในยุคนี้ดีขึ้น