สุขภาพจิตดีมีลักษณะอย่างไร

           การทำให้เรามี “สุขภาพจิตดี” คือ สุขภาพทั้งกายและใจต้องดีด้วย เนื่องจากการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายสัมพันธ์กับสภาวะของจิตใจ หากร่างกายเจ็บป่วยก็จะทำให้ทุกข์ใจได้ ส่วนการดูแลสุขภาพใจ เริ่มต้นจากในวัยเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของตนเอง (self-esteem) ซึ่งเปรียบเหมือนภูมิต้านทางของจิตใจเมื่อเผชิญปัญหาในชีวิต ถ้าพื้นฐานของชีวิตดี จะมีแนวโน้มว่าสุขภาพจิตจะดี แต่หากว่าชีวิตตั้งต้นมาไม่ราบรื่นนัก สิ่งที่ช่วยให้มีสุขภาพจิตที่ดี คือ การพยายามหาศักยภาพในตัวเองเพื่อใช้ในการจัดการกับวิกฤตในชีวิต การมองและยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น พร้อมกับหาทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม การรู้จักผ่อนคลายความเครียดด้วยกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ ก็จะช่วยให้ส่งเสริมสุขภาพจิตได้

ในยุคสมัยที่โลกของเราเต็มไปด้วยเหตุการณ์ตึงเครียดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือแม้แต่เรื่องใกล้ตัวอย่างเรื่องสุขภาพ สิ่งที่คนเรากลับมาให้ความใส่ใจมากขึ้นก็คือ “สุขภาพกายและสุขภาพจิต” แต่ทุกคนรู้หรือเปล่าคะว่า สุขภาพจิตดี คืออะไร ? สังเกตอย่างไรและใช้เกณฑ์แบบไหนวัดว่าเรามีสุขภาพจิตที่ดี ลองมาทำความรู้จักกับเรื่องราวของสุขภาพจิตกันดีกว่าค่ะ

  • สุขภาพจิตคืออะไร

สุขภาพจิตดีมีลักษณะอย่างไร

สุขภาพจิต หมายความถึง อารมณ์ ตรรกะความคิด และการสื่อสารทางสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อความคิด ความรู้สึกและการกระทำของเรา นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เราสามารถรับมือกับความเครียดและการตัดสินใจเรื่องต่างๆ เพราะฉะนั้นการมีสุขภาพจิตที่ดีจึงมีความสำคัญอย่างมากในการใช้ชีวิต แต่สิ่งที่มาคู่กันกับสุขภาพจิตที่เป็นปกติก็คือปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งเรื่องราวและประสบการณ์ที่เราพบเจอตลอดชีวิตคือตัวการทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตขึ้นมาค่ะ นอกจากนี้ยังรวมถึงความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมต่างๆ ของเราด้วย โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต มีดังนี้

  • ปัจจัยทางชีวภาพ เช่น ยีนส์หรือสารเคมีในสมอง
  • ประสบการณ์ชีวิต เช่น ความรุนแรงในครอบครัวหรือการประสบสถานการณ์รุนแรงต่างๆ
  • ครอบครัวมีผู้ป่วยทางจิต

ปัญหาสุขภาพจิตเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบได้ทั่วไปอีกทั้งยังสามารถรักษาได้ ไม่ใช่เรื่องแปลก น่ากลัว หรือน่าอายอย่างที่หลายคนคิด แต่สำหรับคนทั่วๆ ไปอย่างเราที่ต้องการมีสุขภาพจิตดีหล่ะ จะสังเกตตัวเองได้อย่างไรว่าสุขภาพจิตของเราดีหรือไม่ ? วันนี้เรามีคำตอบมาฝากค่ะ

เกร็ดสุขภาพ : ทุกวันนี้เราเชื่อว่าหลายคนคงรู้จักโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น แต่รู้หรือเปล่าว่าบางครั้งเราอาจเสี่ยงป่วยโรคซึมเศร้าแบบไม่รู้ตัว ทางที่ดีนอกจากการสังเกตสัญญาณเตือนแปลกๆ จากร่างกายแล้ว เราควรทำแบบทดสอบสุขภาพจิตที่ออกแบบโดยกรมสุขภาพจิตเพื่อประเมินอาการของตัวเองด้วย หากพบว่าตัวเองมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือบางคนอาจป่วยแบบไม่รู้ตัวไปแล้ว ก็ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาจะดีกว่านะคะ

  • แบบไหนเรียกว่า “สุขภาพจิตดี”

สุขภาพจิตดีมีลักษณะอย่างไร

การมีสุขภาพจิตดีไม่ได้หมายความเพียงแค่มีจิตปกติหรือไม่มีอาการป่วยทางจิต แต่หมายถึงจิตใจของเรามีความสุข สงบ สามารถคิดและตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผลและรับมือกับความเครียดในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากรายงานของ WHO หรือ World Health Organization ได้กล่าวว่า ผู้ที่มีสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ดี จะมีความคิด พฤติกรรม หรือลักษณะดังต่อไปนี้

  1. รับมือกับความเครียดในชีวิตได้
  2. ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เข้าใจศักยภาพของตัวเอง
  4. มีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ในสังคม
  5. มีความมั่นใจในตัวเอง กล้าเผชิญหน้ากับปัญหาและผู้คน 
  6. รู้สึกมีอารมณ์ขัน
  7. ไม่โทษตัวเองตลอดเวลา
  8. รู้จักการตั้งเป้าหมายให้ชีวิต
  9. รู้สึกดีกับตัวเอง และ
  10. มีความนับถือตนเอง

นอกจากนี้หากมีสุขภาพจิตดี เราจะรู้สึกมีความสุข รู้สึกรัก รู้สึกกล้าที่จะแสดงอารมณ์ต่างๆ ออกไปตามธรรมชาติ รู้สึกสัมผัสถึงจิตวิญญาณและธรรมชาติ รู้สึกพึงพอใจกับเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต นอกจากนี้ยังรวมถึงความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับสังคมด้วย 

  • สัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพจิต

เมื่อได้รู้จักกับลักษณะของการมีสุขภาพจิตดีแล้ว เราลองมาสังเกตตัวเองกันดีกว่าว่าลักษณะอย่างไรที่เป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายที่บ่งบอกว่าเรากำลังเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพจิต

  1. กินอาหารและนอนหลับมากหรือน้อยผิดปกติ
  2. ปลีกตัวจากผู้คนและกิจกรรมที่เคยทำ
  3. รู้สึกพลังงานน้อย ไม่มีเรี่ยวแรง
  4. รู้สึกเฉยชาต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว
  5. รู้สึกเจ็บปวดตามร่างกายแต่หาสาเหตุไม่ได้
  6. รู้สึกหมดหวัง
  7. สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าปกติ
  8. รู้สึกสับสน วิตกกังวล โกรธ หรือกลัวมากผิดปกติ
  9. ตะโกนและหาเรื่องทะเลาะกับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนๆ
  10. อารมณ์ขึ้นลงผิดปกติจนส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์
  11. คิดถึงความทรงจำหรือเรื่องราวบางอย่างซ้ำไปซ้ำมา ย้ำคิดย้ำทำ
  12. หูแว่ว
  13. คิดอยากทำร้ายตัวเองเป็นบางครั้ง
  14. ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ เช่น ไปทำงานไม่ได้หรือเรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง เป็นต้น

เกร็ดสุขภาพ : การสังเกตอาการแปลกๆ ของร่างกายและอารมณ์เป็นประจำเป็นเรื่องที่ดีนะคะ เพราะบางครั้งเราอาจไม่รู้ตัวว่ากำลังป่วย ดังนั้นการสังเกตความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมของตัวเอง จะทำให้เรารู้สึกถึงความผิดปกติได้ก่อนที่จะสายเกินไป แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือเมื่อสังเกตร่างกายและจิตใจของตัวเองแล้วพบว่าผิดปกติต้องไม่ปล่อยปละละเลยแต่ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันอาการรุนแรงจนรักษายากหรือส่งผลกระทบต่อชีวิต การทำงาน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้างนะคะ

ใครรู้ตัวว่าตัวเองมีสัญญาณเตือนตามที่เรากล่าวมา อย่าปล่อยให้อาการรุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อตัวเองและคนรอบข้างนะคะ ควรรีบไปปรึกษาจิตแพทย์ทันทีหรือจะใช้วิธีปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ก็ได้ เพื่อให้เราเข้าใจอาการของตัวเองมากขึ้นรวมถึงเพื่อหาวิธีป้องกันและรักษาอย่างถูกต้องค่ะ

สุขภาพจิตดีมีลักษณะอย่างไร

การมีสุขภาพจิตดีสามารถมีได้ทุกคนค่ะ ต่อให้เราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แย่หรือมีเรื่องเครียดอยู่รอบตัว แต่หากเรารู้จักบริหารอารมณ์ตัวเองให้ดี มีสติ รู้จักมองโลกตามความเป็นจริง ปรับตัวและใจให้เข้ากับโลกรอบตัวรวมถึงใช้วิธีนั่งสมาธิให้จิตนิ่งเข้ามาช่วย ก็สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้จิตใจจนทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีได้แน่นอน

คนสุขภาพจิตดีมีลักษณะอย่างไร

ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมักมีลักษณะของคนที่เข้าใจชีวิตมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ไม่มีความรู้สึกสิ้นหวัง คิดบวก มองโลกในแง่ดี มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้อื่นมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ดี การมีสุขภาพจิตดีและการมองโลกในแง่ดีนั้นสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้นด้วย ทำให้มีปัญหาสุขภาพลดน้อยลง

ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตไม่ดีมีลักษณะอย่างไร

สุขภาพจิตและสัญญาณของการเกิดปัญหา มีความคิดในด้านลบเกี่ยวกับตนเอง รู้สึกกังวลหรือหนักใจบ่อยครั้ง รู้สึกสิ้นหวังหรือกดดันเป็นอย่างมาก รู้สึกหวาดระแวง สงสัย หรือวิตกกังวลต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น

ลักษณะอาการของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตจะมีลักษณะอย่างไร

นอนนานกว่าปกติ หรือนอนไม่พอ หวาดระแวง ขี้สงสัย วิตกกังวล กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ อารมณ์แปรปรวน มีอาการซึมเศร้ามาก หรือดีใจมากผิดปกติ