การบำรุงรักษาเครื่องวัดไฟฟ้า หมายถึงอะไร

การดูแลรักษาเครื่องมือวัดและเทคนิคการดูแลเครื่องมือวัดแบบง่ายๆ

  • อีเมล

  

การบำรุงรักษาเครื่องวัดไฟฟ้า หมายถึงอะไร
การบำรุงรักษาเครื่องวัดไฟฟ้า หมายถึงอะไร

การดูแลรักษาเครื่องมือวัดและเทคนิคการดูแลเครื่องมือวัดแบบง่ายๆ

1. ทำความสะอาดชิ้นงาน โดยขจัดสิ่งสกปรก, เศษผงออกให้หมดก่อนวัดงาน

2. รักษาเครื่องมือวัด ให้สะอาด และควรมีน้ำมันกันสนิมเคลือบบางๆ ก่อนเก็บเข้ากล่อง เช่น Hardness Tester 

3. ใช้ แรงกด วัดชิ้นงานอย่างเหมาะสม อย่าฝืน, กดหรือบีบอัดแรงๆ เช่น เครื่องวัดความหนา, เครื่องวัดแรงดึงแรงกด

4. ป้องกัน เครื่องมือวัด ไม่ให้เกิดสนิม, การกระแทก, การกดทับ, การตกจากที่สูง หรือสิ่งใดๆที่จะทำให้เกิดความเสียหาย

5. เช็คหรือ คาลิเบรท  เมื่อถึงเวลาที่กำหนดแค่นี้เครื่องมือวัดจะอยู่กับคุณไปอีกนาน เช่น pH Meter  

             

การบำรุงรักษาเครื่องวัดไฟฟ้า หมายถึงอะไร
การบำรุงรักษาเครื่องวัดไฟฟ้า หมายถึงอะไร
   

 

 

Knowledge ความรู้

Share this post

Tags: เครื่องมือวัด pH Meter คาลิเบรท เครื่องวัดความหนา เครื่องวัดแรงดึงแรงกด

การผลิตได้ในปริมาณที่ลูกค้าต้องการ  เป็นวัตถุประสงค์หลักที่สําคัญอย่างยิ่งประการหนึ่งของการบริหารการผลิตซึ่งการที่จะสามารถผลิตได้ตามปริมาณที่กําหนดไว้ต้องอาศัยทรัพยากรขององค์การหลายอย่าง อันได้แก่ เงินทุน วัตถุดิบ แรงงาน ตลอดจนเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ แต่เนื่องจากทรัพยากรของ องค์การมีอยู่อย่างจํากัดจึงต้องวางแผนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในสิ่งอํานวยความสะดวก เครื่องจักรอุปกรณ์  ตลอดจนโรงงานซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ทําการผลิต  ต้องอาศัยเงินลงทุนจํานวนมาก  และใช้เวลาในการคืนทุนนาน ดังนั้น การวางแผนและจัดการด้านกําลังการผลิต ซึ่งเป็นการวางแผนและดําเนินการเกี่ยวกับขนาดของโรงงานหรือสถานที่ทําการผลิต จํานวนเครื่องจักรอุปกรณ์ ตลอดจํานวนคนงานที่เหมาะสม จึงเป็นภาระงานสําคัญของการบริหารการผลิต  โดยต้องคํานึงถึงผลลัพธ์ต่อองค์การในระยะสั้นควบคู่กับระยะยาว  และใช้ ปัจจัยเชิงปริมาณเป็นหลักในการพิจารณาประกอบกับปัจจัยเชิงคุณภาพให้องค์การมีกําลังการผลิตที่ เหมาะสม  ไม่เกิดปัญหาการผลิตได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าเพราะกําลังการผลิตน้อย เกินไป    และไม่เกิดปัญหาเครื่องจักรมากเกินไปจนกลายเป็นความสูญเปล่าเพราะกําลังการผลิตมากเกินไป

 

ความหมายของการวางแผนการผลิต

อนุรัตน์ ระยับพันธุ์ (2559) การวางแผนการผลิต หมายถึงการวางแผนในการจัดการปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น แรงงาน เครื่องจักร วัตถุดิบ กระบวนการผลิต หรือ 4M (Man, Machine, Machine, Method) เพื่อให้ผลการผลิตบรรลุตามเป้าหมายที่ถูกกำหนดไว้ตามความต้องการของลูกค้า

พัทธ์ธีรา สมทรง (2552) การวางแผนและควบคุมการผลิต หมายถึง การจัดระเบียบการไหลของงานในระบบ แล้วติดตามการทำงานนั้นว่าเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ เพื่อที่จะได้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา

สุดารัตน์  พิมลรัตนกานต์ (2557) การผลิต (Production) หมายถึง กระบวนการ (Process) ในการแปลรูปการผลิตเข้ากับวัตถุดิบโดยหน่วยการผลิต เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการต่าง ๆ นำไปสนองความต้องการของมนุษย์     

จากความหมายข้างต้น ของการวางแผนการผลิต หมายถึง การจัดแผนการผลิตเพื่อให้บรรลุความต้องการของลูกค้า โดยคำนึงถึงระยะเวลาการผลิตและการส่งมอบให้ลูกค้าเป็นหลัก

 

 

 

วัตถุประสงค์การวางแผนการผลิต

1. จัดหากำลังการผลิตที่จำเป็นต่อการตอบสนองแผนการผลิต ที่วางไว้ให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

2. ดูแลให้ต้นทุนการผลิตต่ำ

3. ลดช่วงเวลานำในการผลิต

4. ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการผลิตของโรงงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

5. จัดรวบรวมข้อมูลข่าวสารและผลลัพธ์จากการวางแผนให้กับ ฝ่ายบริหารเพื่อการตัดสินใจ

 

การวางแผนกำลังการผลิต

กระบวนการในการจัดหาทรัพยากรการผลิตที่จำเป็นต่อการทำให้บรรลุ ตามแผนการผลิตที่ได้วางไว้สำหรับช่วงระยะเวลาหนึ่งในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงวิธีการที่สามารถทำให้กำลังการผลิตที่มีอยู่พร้อมซึ่งขึ้นอยู่กับเครื่องจักรและกำลังคนโดยอาจพิจารณาถึงกำลังการผลิตในช่วงเวลาปกติ ล่วงเวลา จำนวนกะการทำงานรวมทั้งจากหน่วยผลิตอื่นๆ ในโรงงานและจากแหล่งภายนอก (Outsources) แผนการผลิตจะไม่สามารถนำไปดำเนินการได้หากปราศจากกำลังการผลิตที่เพียงพอของหน่วยงานในการตอบสนองความต้องการ ดังนั้น การวางแผนกำลังการผลิตจึงเสมือนเป็นการเชื่อมแผนการผลิตกับทรัพยากรการผลิตให้มีความสอดคล้องกัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้กระบวนการในการวางแผนกำลังการผลิต สำหรับกระบวนการในการวางแผนกำลังการผลิตสามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

1.คำนวณหากำลังการผลิตที่นำไปใช้ได้ของหน่วยผลิตแต่ละ หน่วยในแต่ละช่วงเวลา

2.คำนวณหาภาระงานหรือความต้องการกำลังการผลิตของ หน่วยผลิตแต่ละหน่วยในแต่ละช่วงเวลา

3.ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เป็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างกำลังการผลิตที่นำไปใช้ได้กับความต้องการกำลังการผลิต หากเป็นไปได้ควรเลือกปรับกำลังการผลิตที่นำไปใช้ได้ให้สอดคล้องกับความ ต้องการกำลังการผลิตหรือภาระงาน

ประเด็นสำคัญสำหรับการวางแผนการผลิตก็คือแผนการผลิตที่เป็นไปได้จะต้องถูกสร้างขึ้นมาภายใต้ข้อจำกัดทั้งหมดของระบบดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อจำกัดของทรัพยากรที่เกี่ยวข้องทุกๆ รายการรวมทั้งนโยบายสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและอื่นๆ เป็นต้น

 

กำลังการผลิต

          ปริมาณงานหรือจำนวนหน่วยปฏิบัติการสามารถที่จะผลิต รองรับ หรือจัดเก็บได้ในหนึ่งหน่วยเวลา กำลังการผลิตมีผลต่อต้นทุนเป็นอย่างมาก เพราะกำลังการผลิตจะต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า

ดัชนีชีวัดที่นิยมใช้ในการวัดสมรรถนะของระบบ

อรรถประโยชน์ = ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง/กำลังการผลิตตามแผน

ประสิทธิภาพ = ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง/กาลังการผลิตหวังผล

 

                  กำลังการผลิต (capacity) คือ อัตราสูงสุดที่ระบบการผลิตสามารถผลิตได้เต็มที่ในช่วงเวลาหนึ่งของดำเนินงานการวัดกำลังการผลิตสามารถกระทำได้ 2 ทาง คือ

1. การวัดกำลังการผลิตจากผลผลิต   

การวัดกำลังการผลิตจากผลผลิตจะใช้เมื่อผลผลิตจากกระบวนการสามารถนับเป็นหน่วยได้ง่าย ได้แก่ สินค้าที่มีตัวตน (tangible goods) ซึ่งจะเน้นการผลิตแบบตามผลิตภัณฑ์ (product  –  focused) เช่น การวัดกำลังการผลิตของโรงงาน โดยนับจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ต่อปี (โรงงานผลิตรถยนต์โตโยต้า) นับจำนวนนมกล่องที่ผลิตได้ต่อวัน (โรงงานนมสดเมจิ) นับจำนวนลิตรของน้ำมันที่กลั่นได้ต่อเดือน (โรงงานกลั่นน้ำมันไทยออยล์) เป็นต้น

2. การวัดกำลังการผลิตจากปัจจัยการผลิต   

การวัดกำลังการผลิตจากปัจจัยการผลิต จะใช้เมื่อผลผลิตจากกระบวนการนับเป็นหน่วยได้ยาก หน่วยของผลิตภัณฑ์ไม่ชัดเจน ได้แก่ การบริการต่างๆ ซึ่งจะเป็นการผลิตแบบตามกระบวนการ    เช่น การวัดกำลังการผลิตของร้านบิวตี้ซาลอนจากจำนวนช่างตัดผม การวัดกำลังการผลิตของโรงพยาบาลจำนวนเตียงคนไข้ การวัดกำลังการผลิตของร้านอัดขยายภาพจากจำนวนชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักร  เป็นต้น    

ตัวอย่าง ผู้จัดการร้าน One more  Bakery จะต้องเพิ่มกำลัง การผลิตเพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้า โดยทำการ เพิ่มอีกหนึ่งสายการผลิต กำลังการผลิตหวังผลของสายการผลิตนี้ เท่ากับสายการผลิตแรกคือ 175,000 ชิ้น แต่ประสิทธิภาพของ สายการผลิตนี้มีค่าเพียง 75% อันเนื่องจากความชำนาญที่น้อย กว่าสายการผลิตแรก ผู้จัดการต้องการคำนวณหาผลผลิตที่ เกิดขึ้นจริงของสายการผลิตนี้

ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง =กำลังการผลิตหวังผล * ประสิทธิภาพ =175,000*0.75 = 131,250 ชิ้นต่อสัปดาห์ 21    

                    แม้ว่าองค์การจะมีกำลังการผลิตเป็นอัตราสูงสุดที่จะสามารถผลิตได้ แต่ในการปฏิบัติงานจริงอัตราการผลิตมักจะต่ำกว่ากำลังการผลิต เพราะจะต้องคำนึงถึงการหยุดพักหรือการบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ เพื่อถนอมไว้ใช้งานได้ในระยะยาวมากกว่าการเล็งผลในระยะสั้นเท่านั้น    การใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มที่มักจะเกิดต้นทุนการทำงานล่วงเวลาในกะพิเศษหรือการลดการบำรุงรักษาอุปกรณ์ตามแผนที่กำหนดไว้ประจำหรือ การใช้ผู้รับสัญญาช่วง ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทั้งสิ้น ดังนั้นกำลังการผลิตที่เต็มที่จะถูกใช้จริงก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นและไม่เกิดขึ้นบ่อยนักภายในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ  เท่านั้น

 

 

 

 

กระบวนการวางแผนการผลิต

กระบวนการวางแผนการผลิต ประกอบ 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.จัดทำแผนความต้องการของลูกค้า (Customer Requirement Planning)

แผนความต้องการของลูกค้าเป็นขั้นตอนแรกของการวางแผนกการผลิต ข้อมูลความต้องการของลูกค้าอาจจะได้มาจากหลายทาง เช่น จากลูกค้าโดยตรง วิธีนี้หากสามารถหามาได้จะเป็นข้อมูลที่มีความแม่นยำสูงมาก สามารถวางแผนการผลิตได้ง่าย ข้อมูลความต้องการของลูกค้าจากการพยากรณ์ ข้อมูลประเภทนี้ต้องมีข้อมูลสนับสนุนที่ดีพอสมควรจึงจะทำให้การวางแผนการผลิตมีความแม่นยำ ต้องมีการวิเคราะห์ในหลายๆ รูปแบบ ซึ่งข้อมูลแต่ละประเภทก็มีความแปรปรวนที่แตกต่างกัน

2.จัดทำแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning)

แผนความต้องการวัสดุหมายถึงการจัดเตรียม จัดหา วัสดุ,ชิ้นส่วน,วัสดุกึ่งสำเร็จ รูปให้เพียงพอต่อความต้องการในการผลิต ซึ่งสามารถประมาณการได้จากประมาณการความต้องการของลูกค้า. รายการวัสดุที่จะต้องใช้จะถูกกำหนดไว้ในบัญชีรายการวัสดุ (Bill Of Material : BOM) ซึ่งจะระบุชนิดของวัสดุและชิ้นส่วน ปริมาณการใช้ต่อหน่วย รวมถึงข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ เช่น ระยะเวลาในการจัดส่งจากผู้ผลิตสินค้า(Supplier) กรณีที่มีการสั่งซื้อจากภายนอก กำลังการผลิตภายในสำหรับกรณีที่ชิ้นส่วนเอง ซึ่งข้อมูลทั้งหมดต้องมีความชัดเจนทั้งด้านปริมาณและระยะเวลาส่งมอบ

3.วางแผนการผลิต (Production Planning)

หลังจากที่ได้แผนความต้องการของลูกค้าและมีการเตรียมการวัสดุให้เพียงพอแล้ว ก็จะทำการวางแผนการผลิต ซึ่งมีขั้นตอนหลักๆ ดังต่อไปนี้

 

3.1วางแผนกระบวนการ (Process Planning)

การวางแผนกระบวนการเป็นกำหนดกระบวนการและลำดับในการผลิต. กระบวนการที่ดีต้องเป็นกระบวนการที่สั้นที่สุดซึ่งหมายถึงใช้เวลาในการผลิตจนกระทั่งออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูปน้อยที่สุด.

3.2วางแผนการเครื่องจักร (Machine Planning)

ในกระบวนการผลิตที่ต้องใช้เครื่องหลักเป็นหลักจำเป็นต้องมีการใช้เครื่องจักรให้เกิดประโยชน์สุงสุด ตามทฤษฎีแล้วเครื่องจักรต้องทำงาน 24 ชั่วโมงทุกวัน หรือไม่มีการหยุดทำงานเลย แต่ในการทำงานจริง เวลาสูญเสียของเครื่องจักรมีหลายอย่าง เช่น หยุดเพื่อปรับตั้งชิ้นงาน หยุดเพื่อซ่อมแซม, หยุดเพราะไม่มีงานป้อน, หยุดเพื่อตรวจสอบชิ้นงาน เป็นต้น

3.3วางแผนด้านแรงงาน (Man Planning)

การวางแผนการแรงงานจะคล้ายๆ กับการวางแผนการใช้เครื่องจักร คือ ต้องให้กระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องให้มากที่สุดแต่ทั้งนี้ต้องอย่าลืมกฎหมายด้านแรงงานที่กำหนดเวลาในการทำงาน การพักที่ชัดเจน ดังนั้น การวางแผนด้านแรงงานจึงยากกว่าการวางแผนเครื่องจักรหลายเท่าตัว

3.4การวางแผนการจัดเก็บ (Store Planning)

การวางแผนการจัดเก็บ หมายถึงการวางแผนในการควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมซึ่งหมายถึงมีเพียงพอต่อการใช้งานและไม่สูงเกินไปภายใต้ระดับที่กำหนด การวางแผนการจัดเก็บนี้รวมถึง การวางแผนการจัดเก็บสินค้าในระหว่างผลิต, สินค้ากึ่งสำเร็จรูป, สินค้าสำเร็จรูป

 

กระบวนการผลิต

          กระบวนการผลิตเป็นการดำเนินงานที่ต้องใช้เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ สำหรับแต่ละการดำเนินงาน กระบวนการผลิตยังกำหนดทรัพยากรการดำเนินงานที่จำเป็น เวลาที่ต้องใช้เพื่อตั้งค่า และทำการดำเนินการ และวิธีที่ควรคำนวณต้นทุน สามารถใช้กระบวนการผลิตเดียวกันในการผลิตผลิตภัณฑ์หลายอย่าง หรือสามารถกำหนดกระบวนการผลิตที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ย่อยได้ กระบวนการผลิตที่ใช้แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณที่ต้องผลิต ดังนั้นในกระบวนการนี้จำเป็นต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) และผลผลิต (Output) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ปัจจัยนำเข้า (Input)

คือทรัพยากรขององค์การที่ใช้ผลิตทั้งที่เป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Assets) เช่น วัตถุดิน เครื่องจักร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) เช่น แรงงาน ระบบการจัดการ ข่าวสาร ทรัพยากรที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เพื่อให้สินค้าสำเร็จรูปสามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ในท้องตลาด

กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) เป็นขั้นตอนที่ทำให้ปัจจัยนำเข้าที่ผ่านเข้ามามีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ได้แก่

-รูปลักษณ์ (Physical) โดย การผ่านกระบวนการผลิตในโรงงาน

-สถานที่ (Location) โดย การขนส่ง การเก็บเข้าคลังสินค้า

-การแลกเปลี่ยน (Exchange) โดย การค้าปลีก การค้าส่ง

-การให้ข้อมูล (Information) โดย การติดต่อสื่อสาร

-จิตวิทยา (Psychological) โดย การนันทนาการ ฯลฯ

ผลผลิต (Output)

เป็นผลได้จากระบบการผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าปัจจัยนำเข้าที่รวมกันอันเนื่องมาจากที่ได้ผ่านกระบวนการแปลงสภาพ ผลผลิตแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สินค้า (Goods) และบริการ (Service)

 

 

 

กลยุทธ์กระบวนการ

          ความพยายามที่จะหาวิธีการที่ดีสุดในการแปลงสภาพเพื่อให้สินค้าหรือบริการสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและตรงตามข้อกำหนดของฝ่ายออกแบบ โดยควบคุมต้นทุนการผลิตและตอบสนองต่อเงื่อนไขของฝ่ายอื่นๆ

กลยุทธ์กระบวนการ 4 ประเภท ได้แก่ (1) การมุ่งเน้นตามกระบวนการ (2) การมุ่งเน้นการทำซ้ำ (3) การมุ่งเน้นตามผลิตภัณฑ์ (4) การมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะราย การแบ่งประเภทกลยุทธ์กระบวนการนี้ จะขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตสินค้าและบริการนั้นๆ กับจำนวนชนิดของผลิตภัณฑ์ ดังแสดงใน ภาพที่ 3.1

 

 

 

 

 

 

 

ภาพที่ 3.1 กลยุทธ์กระบวนการ 4 ประเภท

ที่มา: Jay Heizer & Barry Render, 2551, การจัดการผลิตและปฏิบัติการ ., หน้า 127

1.การมุ่งเน้นตามกระบวนการ

กระบวนการผลิตกว่า 75% ทั่วโลก เป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อ โดยมุ่งเน้นการผลิตผลิตภัณฑ์หลายชนิด แต่ผลิตในปริมาณไม่มาก โดยจะจัดเป็นหมวดหมู่หรือชนิดของกระบวนการ ทำให้สามารถทำงานในบริเวณเดียวกันภายใต้การควบคุมดูแลของพนักงานที่ทำหน้าที่คล้ายกัน

ข้อดี คือ เพิ่มความยืดหยุ่นในการผลิตสินค้าได้หลากหลาย และสามารถ หยุดงานใดงานหนึ่งเพื่อทำงานอีกงานแทนในช่วงเวลาที่ต้องการสินค้าชนิดนั้นด่วนเป็นพิเศษได้ กระบวนการนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า กระบวนการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง

 

 

 

2. การมุ่งเน้นการทำซ้ำ

กระบวนการนี้จะใช้โมดุล คือชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบที่เตรียมไว้ก่อนล่วงหน้ามาประกอบในสายการผลิต หากต้องการสินค้าที่ใกล้เคียงแค่เปลี่ยนโมดุล ก็จะสามารถผลิตสินค้าได้อีกลักษณะ

ข้อดี ประกอบด้วย

1.ด้านต้นทุนการผลิต มีการเตรียมล่วงหน้า ทำให้สามารถผลิตได้จำนวนมาก

2.ด้านความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า เนื่องจากสามารถผลิตได้หลากหลายจากการมีได้หลายโมดุลตามความต้องการของลูกค้า

3. การมุ่งเน้นตามผลิตภัณฑ์

เป็นกระบวนการที่ผลิตสินค้าที่มีจำนวนชนิดผลิตภัณฑ์ไม่มาก โดยที่แต่ละผลิตภัณฑ์จะผลิตในปริมาณมาก เครื่องจักรจะถูกจัดเรียงตามขั้นตอนและลำดับการผลิตของแต่ละชนิดผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์จะเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องบนสายการผลิต กระบวนการผลิตนี้มักมีการลงทุนเบื้องต้นในระบบการผลิตสูง โดยมีต้นทุนคงที่สูงและต้นทุนแปรผันต่ำ เป็นการผลิตสินค้าปริมาณมาก  (Mass production)

ข้อดี ง่ายต่อการควบคุมคุณภาพในการผลิตสินค้า

4. การมุ่งเน้นการตอบสนองตามความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะราย

กระบวนการผลิตนี้เป็นแนวทางที่ตอบสนองด้วยความรวดเร็วและต้นทุนการผลิตต่ำ หัวใจสำคัญของกลยุทธ์นี้ต้องอาศัยการผสมผสานระหว่าง การออกแบบผลิตภัณฑ์แบบโมดูลของกลยุทธ์มุ่งเน้นการทำซ้ำหลักการผลิตรวดเร็วของกลยุทธ์มุ่งเน้น  ผลิตภัณฑ์ และการจัดตารางผลิตที่มีประสิทธิภาพจากกลยุทธ์มุ่งเน้นตามกระบวนการมาประกอบเข้าด้วยกัน

การวิเคราะห์และการออกแบบกระบวนการผลิต

การวิเคราะห์และการออกแบบกระบวนการผลิตเป็นกระบวนการก่อนที่จะเริ่มผลิตสินค้าโดยจะสามารถทำให้ทราบถึงกระบวนการต่างๆ และกำหนดระยะเวลาการทำงานในแต่ละขั้นต้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องมีเครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์และการออกแบบกระบวนการ ดังนี้

1.แผนภาพการไหล (Flow diagram)

เป็นการใช้แผนภาพเพื่อแสดงการไหลของวัตถุดิบ ชิ้นงาน หรือข้อมูล เคลื่อนผ่านกระบวนการต่างๆจนกระทั่งกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ

2.แผนผังงานตามเวลา (Time-function mapping)

          เป็นแผนผังที่มีลักษณะเหมือนกับแผนภาพการไหลแต่เพิ่มระยะเวลาของการทำงานแต่ละขั้นตอนเข้ามาพิจารณาร่วมในแกนนอน จะใช้สัญลักษณ์วงกลมแทนกิจกรรม และสัญลักษณ์ลูกศรแทนทิศทางการไหลของงาน โดยมีเวลากำกับไว้ในแกนนอน

3.สายธารแห่งคุณค่า (Value-Stream Mapping: VSM)

          แสดงให้เห็นถึงการไหลของวัตถุดิบและข้อมูลที่เคลื่อนผ่านไปยังกระบวนการต่างๆ ที่เกิดคุณค่าและไม่เกิดคุณค่าในกระบวนการผลิตและโซ่อุปทาน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และเข้าใจถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้อง

4.แผนภูมิกระบวนการ (Process charts)

          เป็นแผนภูมิที่ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อมาอธิบายกระบวนการในแต่ละขั้นตอนย่อยจนกระทั่งกลายเป็นสินค้าที่ต้องการ สัญลักษณ์ 5 รูปแบบจะใช้แทนขั้นตอนการทำงาน 5 งานย่อยได้แก่ ปฏิบัติการ ขนส่ง ตรวจสอบ หยุดรอ และจัดเก็บ

วัตถุประสงค์ของเทคโนโลยีในการผลิต มีดังนี้

          1. เพิ่มผลผลิตให้มีมากขึ้น ลดความสิ้นเปลืองจากการสูญเสีย วัตถุดิบในกระบวนการผลิตลง

          2. เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพราะการผลิตสินค้าจำนวนมากจะทำให้ลดต้นทุนการผลิต ผู้ผลิตได้กำไรมากขึ้น และอาจทำให้สินค้ามีราคาถูกลง

          3. เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นการเพิ่มคุณค่าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีแบบให้เลือกหลากหลายผลิตภัณฑ์มีคุณภาพขึ้น

          4. เพื่อลดแรงงานหรือกำลังคนทำงานได้น้อยลง

 

เทคโนโลยีทางการผลิต

          การนำความรู้ วิทยาการ และประสบการณ์ต่างๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการผลิตสินค้าและบริการ รวมทั้งการคิดค้นหาวิธีการนำทรัพยากรมาใช้ในด้านใหม่ๆ เพื่อให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประเทศไทยเรามีวัตถุดิบในการผลิตจำนวนมาก เนื่องจากประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร ป่าไม้ และแร่ธาตุ หากเราใช้ทรัพยากรไม่ระมัดระวัง ทรัพยากรอาจหมดสิ้นหรือเสื่อมค่าได้ ผู้ผลิตจึงจำเป็นที่จะใช้เทคโนโลยีให้ได้ประโยชน์สูงสุด ตลอดจนการผลิตสินค้าแต่ละชนิดมีการแข่งขันสูง ผู้ผลิตจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการผลิตเพื่อให้มีคุณภาพและตรงตามต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด เทคโนโลยีทางการผลิตมีดังนี้

1.เทคโนโลยีเครื่องจักรกล (Machine Technology)

เป็นระบบควบคุมอย่างชาญฉลาด (Intelligence control) ทาให้องค์กรควบคุมเครื่องจักรได้อย่างง่ายดาย

2.ระบบพิสูจน์ทราบอัตโนมัติ (Automat Identification System:AIS)

เครื่องจักรส่วนใหญ่ถูกควบคุมด้วยระบบดิจิตอล เนื่องจากระบบดิจิตอลช่วยให้ส่งข้อมูลปริมาณมากๆ ในรูปแบบของ หน่วยประมวลผลข้อมูลสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ บิตและไบต์

3.การควบคุมกระบวนการ (Process Control)

เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ติดตามและควบคุมกระบวนการผลิตสินค้าหรืองานบริการ

4.ระบบตรวจสอบด้วยภาพ (Vision Systems)

เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกล้องถ่ายภาพวีดีทัศน์กับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการตรวจสอบกระบวนการผลิตหรือการดำเนินงาน

5.หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Robots)

คือเครื่องจักรที่มีความยืดหยุ่นสามารถจับยึดและเคลื่อนชิ้นงานหรือเครื่องมือการผลิตให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางและระยะที่ต้องการ

6.ระบบจัดเก็บสินค้าคงคลังและเรียกคืนอัตโนมัติ (Automated Storage and Retrieval System : ASRS)

เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการควบคุมอัตโนมัติ โดยแสดงตำแหน่งว่างที่เหมาะสมกับชิ้นงาน และจะสั่งให้ชุดจัดเก็บเคลื่อนเข้าไปจัดเก็บบนที่ว่างนั้น

7.พาหนะขนส่งชิ้นงานด้วยระบบนำร่องอัตโนมัติ(Automated Guided Vehicles : AGV )

เป็นระบบที่ใช้หลักการของการขับเคลื่อนรถหรือพาหนะขนาดเล็กด้วยลวดนาร่อง ซึ่งทิศทางการเคลื่อนที่จะถูกกำหนดโดยศูนย์ควบคุม

 

8.ระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น (Flexible Manufacturing System: FMS)

เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาใช้ในการควบคุมหน่วยการผลิต ที่ประกอบด้วยเครื่อง จักรกลและอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุให้สามารถทำงานประสานกันได้อย่างอัตโนมัติ

9.การผสานระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบการผลิตอย่างบูรณาการ (Computer Integrated Manufacturing: CIM)

เป็นการประยุกต์คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยให้การออกแบบจะส่งข้อมูลชุดคำสั่งไปให้กับเครื่องจักรกล เพื่อให้เครื่องจักรทาการผลิตสินค้าตามที่ออกแบบมาในเวลาเพียงไม่กี่นาที

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. (2542). การบริหารอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : งานตำราและเอกสารการพิมพ์. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ชุมพล  ศฤงคารศิริ.  (2542).  การวางแผนและควบคุมการผลิต.  กรุงเทพฯ  :  ส.เอเชียเพรส (1989).

เปรื่อง  กิจรัตน์ภร.  (2537).  การบริการงานอุตสาหกรรม  ระบบ และกระบวนการผลิต.  กรุงเทพฯ  : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  สถาบันราชภัฏพระนคร.

ยุทธ  ไกยวรรณ์.  (2543).  การบริหารการผลิต.  กรุงเทพฯ  :  ศูนย์สื่อเสริม.   

วิชัย  แหวนเพชร.  (2536).  การวางแผนและควบคุมการผลิต.  กรุงเทพฯ  :  คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรมศาสตร์  สถาบันราชภัฏพระนคร. 

วินิจ  วีระยางกูร.  (2533).  การจัดการผลิต.  กรุงเทพฯ  :  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค.

สุปัญญา  ไชยชาญ.  (2540).  การบริหารการผลิต.  พิมพ์ครั้งที่ 4  กรุงเทพฯ  :  พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 

เสรี  สมนาแซง.  (2529).  การวางแผนและควบคุมการผลิต.  กรุงเทพฯ  :  ขอนแก่น  ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สนธยา  แพ่งศรีสาร (2559) การวางแผนกำลังการผลิต. [ออนไลน์] http://elearning.nsru.ac.th /web_elearning /sonthaya/lesson%205/lesson%205.html [สืบค้นเมื่อ 10มกราคม2561].

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).(2558).การวางแผนและ ควบคุมกำลังการผลิต[ออนไลน์] http://www.tpa.or.th/publisher/admin/newbook/P0922%20intro.pdf[สืบค้นเมื่อ 10มกราคม2561].

Jay Heizer & Barry Render.(2551) การจัดการผลิตและปฏิบัติการ : Operations Managementแปลและเรียบเรียงโดย จิณตนัยไพรสณฑ์และคณะ. กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็คดูเคชัน อินโดไชน่า.

Logisticafe. (2552) กระบวนการผลิต (production process) คืออะไร. [ออนไลน์] https: // www.logisticafe.com/2009/11/production-process/ [สืบค้นเมื่อ 10มกราคม2561].

พัชราภรณ์. (2560) บทที่ 7 กลยุทธ์กระบวนการและการวางแผนกําลังการผลิต. [ออนไลน์] http://www.elfms.ssru.ac.th/pacharaporn_le/file.php/1/BUA3122_DOC_3_2560/less7.pdf [สืบค้นเมื่อ 10มกราคม2561].

สายพิรัน.(2556).เทคโนโลยีสารสนเทศและการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ.[ออนไลน์] http://saipirun5154.blogspot.com/2013/09/blog-post_6935.html [สืบค้นเมื่อ 10มกราคม2561].

ข้อใดเป็นการบำรุงรักษาวัตต์มิเตอร์ที่ถูกต้อง

1. ทำความสะอาดชิ้นงาน โดยขจัดสิ่งสกปรก, เศษผงออกให้หมดก่อนวัดงาน 2. รักษาเครื่องมือวัด ให้สะอาด และควรมีน้ำมันกันสนิมเคลือบบางๆ ก่อนเก็บเข้ากล่อง เช่น Hardness Tester. 3. ใช้ แรงกด วัดชิ้นงานอย่างเหมาะสม อย่าฝืน, กดหรือบีบอัดแรงๆ เช่น เครื่องวัดความหนา, เครื่องวัดแรงดึงแรงกด

การบำรุงรักษาเครื่องวัดไฟฟ้าได้โดยวิธีการใดบ้างจงอธิบาย

ควรทำการตรวจเช็คสภาพของเครื่องมือว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์และทำความสะอาดทั้งก่อนและหลังการใช้งาน ทุกครั้ง ถอดแบตเตอรี่ออก เมื่อไม่ใช้งาน หากไม่มีการใช้เครื่องมือเป็นระยะเวลานานๆ ควรทำการถอดแบตเตอรี่ออกเพื่อเป็นการป้องกันสารเคมีจากแบตเตอรี่ ซึ่งอาจทำให้เครื่องมือเกิดความเสียหายได้ ห่างจากสภาพแวดล้อมที่รุนแรง

การจัดเก็บเครื่องมือวัดละเอียดช่างยนต์ควรปฏิบัติอย่างไร

ควรเก็บอุปกรณ์ไว้บนผ้า หรือกล่องที่ใช้เก็บอุปกรณ์นั้นๆ เพื่อความปลอดภัยของอุปกรณ์และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ควรเก็บอุปกรณ์เครื่องมือวัดแยกออกจากเครื่องมืออื่นๆ และไม่ควรวางอุปกรณ์เครื่องมือวัดปนกับเครื่องมือมีคม ก่อนทำการเก็บอุปกรณ์ Metrology Equipment ควรทำการชโลมน้ำมันกันสนิมทุกครั้งหลังใช้งาน

เหตุใดจึงต้องมีการดูแลรักษาเครื่องมือที่ใช้ในการวัดระยะ

นอกจากการใช้งานที่ถูกต้องแล้วสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการดูแลรักษาเครื่องไม้เครื่องมือของเรานั้นเอง ซึ่งเครื่องมือวัดและทดสอบทางไฟฟ้ามีความไวและบอบบางต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก หากเราไม่มีการดูแลรักษาที่ถูกต้องอาจทำให้เครื่องมือของเรานั้นมีประสิทธิภาพน้อยลงได้ ดังนั้นเพื่อยืดอายุการใช้งานและรักษาความแม่นยำในการวัด ...