การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการมีลักษณะอย่างไร

การสัมภาษณ์ เป็นเทคนิควิธีการรวบรวมข้อมูลวิธีหนึ่งซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิโดยอาศัยการเผชิญหน้า (face-to-face) โดยอาจเป็นการสัมภาษณ์แบบเดี่ยวเป็นรายบุคคล หรืออาจสัมภาษณ์เป็นกลุ่มก็ได้ แต่ผู้ให้ข้อมูลจะให้ข้อมูลจากปากของตนเอง ในยุคปัจจุบัน การสัมภาษณ์อาจดำเนินการโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศช่วย เช่น การสัมภาษณ์ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) แต่สิ่งที่สำคัญคือ จะต้องมีการเผชิญหน้ากันเสมอ และผู้ถูกสัมภาษณ์จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลด้วยตนเองเสมอ

การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการมีลักษณะอย่างไร

การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ อาจทำการจดบันทึกคำตอบไว้บนกระดาษ หรืออาจใช้การบันทึกเสียงของผู้ให้สัมภาษณ์โดยตรงเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยมารยาทและจรรยาบรรณของนักวิจัย/นักพัฒนาหลักสูตร หากมีการบันทึกเสียงของผู้ให้สัมภาษณ์ นักวิจัย/นักพัฒนาหลักสูตรควรต้องขออนุญาตผู้ถูกสัมภาษณ์ก่อนเสมอ

สิ่งที่นักวิจัย/นักพัฒนาหลักสูตรควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ คือ การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เนื่องจากในการสัมภาษณ์แต่ละครั้ง ผู้ถูกสัมภาษณ์อาจมีการตอบนอกประเด็นไปบ้าง ด้วยเหตุนี้ การจัดเตรียมลำดับและการตั้งคำถามไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบจึงเป็นสิ่งจำเป็นโดยทั่วไปการสัมภาษณ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

ประเภทของการสัมภาษณ์

  1. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่มีการใช้แบบฟอร์มที่มีการเตรียมการ มีแผนการสัมภาษณ์ และการบริหารการสัมภาษณ์จัดเตรียมไว้อย่างค่อนข้างแน่นอนเป็นการล่วงหน้า การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างนี้มีลักษณะการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐานหรือเป็นทางการมาก ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนจะตอบคำถามเดียวกัน และถามคำถามก่อนหลังเรียงตามลำดับเหมือนกัน ผู้สัมภาษณ์จะต้องอ่านคำถามตามลำดับในแบบสัมภาษณ์
  2. การสัมภาษณ์แบบไร้โครงสร้าง (Unstructured Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นการเปิดกว้าง และไม่เป็นทางการมากนัก ผู้สัมภาษณ์จะถามเรื่องใดก่อนหรือหลังก็ได้ รวมทั้งไม่จำเป็นต้องถามคำถามเหมือนกันทุกคนก็ได้ ผู้สัมภาษณ์มีอิสระในการถามและสามารถปรับเปลี่ยนการซักถามให้เหมาะสมกับผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนได้
  3. การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่มีลักษณะกึ่ง ๆ ระหว่างการสัมภาษณ์แบบที่ 1 และแบบที่ 2

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

แบบสัมภาษณ์ (Interview Form) เป็นเครื่องมือการวิจัยอีกประเภทหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสนทนา ซึ่งอาจเป็นการถามและตอบกันโดยตรงแบบเผชิญหน้า (face-to-face interview) หรือผ่านทางโทรศัพท์ (telephone interview) ก็ได้ ทั้งนี้ ผู้ถามจะมีฐานะเป็นผู้สัมภาษณ์ (Interviewer) ส่วนผู้ตอบจะมีฐานะเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์ (Interviewee) แบบสัมภาษณ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่

  1. แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง (Structured Interview) เป็นแบบสัมภาษณ์ใช้กับการสัมภาษณ์ที่มีการกำหนดโครงสร้างของข้อคำถามต่าง ๆ ที่ต้องการเก็บข้อมูลไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยมักจะจัดพิมพ์ไว้เป็นแบบสัมภาษณ์ เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์ใช้ประกอบการซักถามผู้ถูกสัมภาษณ์ทุก ๆ คนด้วยข้อคำถามชุดเดียวกันตามที่กำหนดไว้ในแบบสัมภาษณ์ โดยผู้สัมภาษณ์จะเป็นผู้ทำหน้าที่จดบันทึกคำตอบทั้งหมดของผู้ถูกสัมภาษณ์ลงในแบบสัมภาษณ์ด้วยตนเองหรืออาจใช้การอัดเทปประกอบเมื่อยุติการสัมภาษณ์แล้ว ถ้าการจดบันทึกไม่ชัดเจนหรือบันทึกไม่ทันผู้สัมภาษณ์จะกลับมาเปิดเทปเพื่อเพิ่มเติมให้ถูกต้อง
  2. แบบสัมภาษณ์ชนิดไร้โครงสร้าง (Unstructured Interview) เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ใช้กับการสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างหรือไม่มีการสร้างข้อคำถามที่ต้องการจะเก็บข้อมูลไว้ก่อนหน้า แต่อาจจัดทำไว้เพียงเป็นประเด็นหรือแนวข้อคำถามอย่างคร่าว ๆ ซึ่งไม่มีรูปแบบที่แน่นอนไว้เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์ใช้เป็นแนวทางในการพูดคุยหรือซักถามกับผู้ถูกสัมภาษณ์ ด้วยเหตุนี้ ผู้ถูกสัมภาษณ์แต่ละคนอาจจะได้รับข้อคำถามในลักษณะที่มีความยืดหยุ่นแตกต่างกัน แต่ทุกคำถามก็ยังคงจะต้องอยู่ภายใต้ประเด็นเดียวกัน ซึ่งผู้วิจัยต้องการเก็บข้อมูล ด้วยเหตุนี้ ผู้สัมภาษณ์จึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่กำลังทำวิจัย และความสามารถในการตั้งคำถามให้ตรงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการเก็บข้อมูล และในทำนองเดียวกับการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผู้สัมภาษณ์จะเป็นผู้ทำหน้าที่จดบันทึกคำตอบทั้งหมดของผู้ถูกสัมภาษณ์ลงในแบบสัมภาษณ์ด้วยตนเองหรือใช้เครื่องบันทึกเสียงช่วย
  3. แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ใช้กับการสัมภาษณ์ที่มีลักษณะการสัมภาษณ์ที่อยู่ระหว่างการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับการสัมภาษณ์แบบไร้โครงสร้าง ดังนั้น แบบสัมภาษณ์สำหรับการสัมภาษณ์แบบนี้ จึงมักไม่มีรูปแบบที่แน่นอน แต่จะมีลักษณะผสมผสานระหว่างโครงสร้างข้อคำถามและการกำหนดประเด็นคำถามไว้ล่วงหน้า โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างนี้ นิยมใช้กับการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งต้องการความยืดหยุ่นของข้อประเด็นคำถามเพื่อการเก็บข้อมูล ในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมประเด็นศึกษาอย่างครบถ้วน

ส่วนประกอบของแบบสัมภาษณ์ 

โดยทั่วไป แบบสัมภาษณ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน ดังต่อไปนี้

  1.  ส่วนนำ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ/หลักสูตร ได้แก่ ชื่อโครงการ/ชื่อหลักสูตร เป็นต้น
  2.  ส่วนผู้สัมภาษณ์ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้สัมภาษณ์และสภาพทั่วไปของการสัมภาษณ์ ได้แก่ ชื่อ สกุลของผู้สัมภาษณ์ วัน/เวลา/สถานที่ ที่ใช้สัมภาษณ์
  3. ส่วนผู้ถูกสัมภาษณ์ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่น ชื่อ สกุลของผู้ถูกสัมภาษณ์ (ในกรณีที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ยินยอม) หรือสถานของผู้ถูกสัมภาษณ์ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส ศาสนา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาในการทำงาน เป็นต้น
  4. ส่วนคำถาม เป็นส่วนของข้อคำถาม (ในกรณีที่เป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง) หรือประเด็นหรือแนวข้อคำถามอย่างคร่าว ๆ (ในกรณีที่เป็นการสัมภาษณ์แบบไร้โครงสร้าง) และเนื้อที่เพื่อการจดบันทึกผลการสัมภาษณ์

ตัวอย่างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง

การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการมีลักษณะอย่างไร


เขียน/เรียบเรียง :
อรวรรณ ฟังเพราะ ครู ชำนาญการพิเศษ 
รสาพร หม้อศรีใจ ครู ชำนาญการพิเศษ
ส่วนวิจัยและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถาบัน กศน.ภาคเหนื


อ้างอิง :
สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2560). คู่มือการพัฒนาหลักสูตร สำหรับครู กศน. ลำปาง : บอยการพิมพ์.


บทความที่เกี่ยวข้อง :
• เทคนิควิธีและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
• การเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
• เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล : การสนทนากลุ่ม (Focus group)

สัมภาษณ์แบบเป็นทางการมีลักษณะอย่างไร

๒. การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบนี้มีหลักเกณฑ์มากกว่าแบบแรก คือ ผู้สัมภาษณ์จะต้องเตรียมสถานที่ นัดวัน เวลา ไปพบ หรือเชิญผู้ให้สัมภาษณ์ทราบล่วงหน้า คุณสมบัติของผู้สัมภาษณ์ ๑. จะต้องเตรียมตัวให้พร้อม และเข้าใจจุดประสงค์ว่าต้องการทราบข้อมูลอะไรจากผู้ให้

การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการและการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการแตกต่างกันอย่างไร

1.การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง คือ มีทิศทางในการสัมภาษณ์ที่ แน่นอน ตั้งคำถามที่เฉพาะเจาะจงชัดเจน ไม่ถามนอกเหนือจากที่เตรียม มา 2.การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างหรือไม่เป็นทางการ คือ มีความ ยืดหยุ่นและเปิดกว้าง ผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์มีอิสระมากในการ ถามและตอบคำถาม ลักษณะการวิเคราะห์ข้อมูลยากกว่าการสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง

การสัมภาษณ์มีความสําคัญอย่างไร

ประโยชน์ของการสัมภาษณ์ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ และความเหมาะสมกับงานของผู้สมัคร เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้สมัคร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจก่อนการรับข้อเสนอเข้าทำงาน เพื่อทดสอบดูว่า ผู้สมัครมีความสนใจในงานที่สมัครจริงหรือไม่

การสัมภาษณ์งานมีกี่ลักษณะ

6 รูปแบบการสัมภาษณ์ควรรู้.
1.การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structure interview) ... .
2.การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured interview) ... .
3.การสัมภาษณ์โดยวิธีการสร้างแรงกดดัน (Stress interview) ... .
4.การสัมภาษณ์แบบเป็นคณะกรรมการ (Board interview) ... .
5.การสัมภาษณ์แบบแพนแนล (Panel interview) ... .
6.การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Group interview).