ยางรถยนต์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ผู้ใช้รถทุกประเภท ไม่ว่าจะรถยนต์ จักรยานยนต์ หรือแม้แต่รถบรรทุก ก็คงจะเลือกใช้ยางกันตามสเปกต่างๆ และประเภทของยางที่เหมาะกับการขับขี่ของเรา แต่คุณเคยสงสัยไหมว่า ในยางรถยนต์ 1 เส้น ที่มีน้ำหนักเยอะๆ นั้น จะมีส่วนประกอบอะไรผสมอยู่บ้าง ถึงออกมาเป็นยางที่เราใช้ขับขี่กันในทุกวันนี้ ในบทความนี้ BIG Thailand จะพาทุกท่านไปรู้จักส่วนประกอบของยางรถยนต์ และโครงสร้างของยางรถยนต์ ว่าใน 1 เส้น จะประกอบด้วยอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของยางรถยนต์ ใน 1 เส้น มีอะไรบ้าง

ในยางรถยนต์ 1 เส้น ที่เราเห็นกันนั้น มีส่วนประกอบอยู่ด้วยกันถึง 8 ส่วน ที่มาจากวัตถุดิบต่างประเภทกัน และนำมาผสมผสานและผ่านกรรมวิธีต่างๆ เพื่อให้ได้ยางรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพและสมรรถนะที่ดีที่สุด โดยส่วนประกอบของยางรถยนต์ใน 1 เส้น มีดังนี้

  • 28% ผงถ่าน
  • 27% ยางสังเคราะห์
  • 14% ยางธรรมชาติ
  • 10% น้ำมัน
  • 10% เส้นลวด
  • 4% สารเคมี
  • 4% เส้นใย
  • 3% อื่นๆ

*เปอร์เซ็นต์ของส่วนประกอบนั้นเป็นเปอร์เซ็นต์โดยคร่าวๆ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสูตรของผู้ผลิตยางรถยนต์

โครงสร้างของยางรถยนต์ มีอะไรบ้าง

ในการผลิตยางรถยนต์ขึ้นมาัสกเส้นนั้น การผสมผสานวัตถุดิบเพื่อสร้างขึ้นมาถือเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญนั่นก็คือ “โครงสร้างของยางรถยนต์” ที่จัดเรียงเป็นชั้นตั้งแต่ด้านนอกสุดไปจนถึงด้านในสุดของยางรถยนต์ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วมีอยู่ทั้งหมด 6 ส่วน ดังนี้

แต่ก่อนเรามีล้อซึ่งทำด้วยไม้เป็นตัวช่วยในการเคลื่อนที่ เกวียน เดี๋ยวนี้เรามีล้อซึ่งทำด้วยยางมาเป็นตัวช่วยในการเคลื่อนที่ของรถยนต์แทน ดังนั้นในปัจจุบันยางจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของรถยนต์ ถ้าจะเปรียบกับคน ยางก็เปรียบเสมือนกับรองเท้า ซึ่งคนสวมใส่ไปไหนมาไหนอยู่ทุกวัน รองเท้ามีความสำคัญต่อคนมากอย่างไร ยางรถยนต์ก็มีความสำคัญมากกว่านั้นหลายเท่า นอกจากจะเป็นปัจจัยสำคัญของรถยนต์แล้ว ยางยังมีความสำคัญต่อความปลอดภัยของรถยนต์แล้ว ยางยังมีความสำคัญต่อความปลอดภัยของนักขับรถและผู้โดยสารอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยระงับการสะเทือนขั้นแรกของรถยนต์ และรองรับน้ำหนักของรถยนต์อีกด้วย จากความสำคัญต่าง ๆ นี้เราจึงควรให้ความสำคัญแก่ยางเพิ่มขึ้น อีก ใช่แต่เพียงว่าลักษณะเช่นนี้แหละที่เขาเรียกว่า ยาง

โครงสร้างของยางรถยนต์

โครงสร้างของยางรถยนต์ไม่ว่าชนิดใด มักมีลักษณะโครงสร้างส่วนประกอบคล้าย ๆ กัน ซึ่งอาจจำแนกส่วนประกอบสำคัญได้ 3 ส่วนด้วยกัน คือ

1. เนื้อยาง

2. โครงยาง

3. ขอบลวด

นอกจากนั้นยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ดังรูปที่ 1

ดอกยาง – เป็นส่วนที่สัมผัสกับพื้นผิวถนน ดังนั้นต้องออกแบบดอกยางให้แรงกระทำบริเวณมุมของยางเหมาะสม และให้การสบัดน้ำออกจากยางได้ดี นอกจากนี้ยังต้องออกแบบดอกยางเพื่อป้องกัน การลื่นไถลเมื่อเบรคด้วย

บ่ายาง – ประกอบด้วยชั้นของยางที่หนา เพื่อป้องกันการเสียหายของผ้าใบภายใน และยังช่วยในการถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นภายในขณะที่กำลังวิ่งอยู่

แก้มยาง -เป็นส่วนที่คลุมเส้นใย เพื่อป้องกันการเสียหายของผ้าใบ และยังเป็นบริเวณที่แสดงยี่ห้อ ขนาดยาง และจำนวนชั้นผ้าใบ แก้มยางของยางบางชนิดแข็ง บางชนิดอ่อน ข้อดีของแก้มยางอ่อน คือ ช่วยกันการกระเทือน เนื่องจากแก้มยางยืดหยุ่นได้ จึงสามารถตัดความขรุขระหรือเป็นลอนของถนนได้

ยางรถยนต์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

โครงยาง -ประกอบด้วยชั้นของผ้าใบ ซึ่งมีเส้นใยขนานกัน มีการวางให้เส้นใยของผ้าใบทั้งแบบขวาง และแบบตามแนวรัศมี ผ้าใบนี้ต้องทำให้มีความชื้นน้อยที่สุด ซึ่งจะมีขีดกำหนดบอกเอาไว้ เพื่อให้

ยางสามารถติดกับผ้าใบได้ แล้วจึงอาบยางเหนียวลงบนผ้าใบทั้งสองหน้า เนื่องจากยางต้องทนต่อแรงกระทำภายในมาก ดังนั้นโครงยางจึงต้องทำให้แข็งแรง เพื่อให้ยางสามารถบิดเบี้ยวจากรูปเดิมได้น้อยที่สุด เมื่อใช้ไปนาน ๆ

ผ้าเสริมหน้ายาง – เป็นผ้าใบชั้นพิเศษ ซึ่งคาดยึดโครงยางเอาไว้ เพื่อให้ดอกยางสัมผัสผิวถนนได้เต็มหน้า ความสำคัญของมันคือ ช่วยลดการกระแทกจากภายนอก และยังป้องกันความเสียหายของ ดอกยางก่อนมาถึงโครงยาง

บริเวณขอบยาง – จะเป็นขดลวดหุ้มด้วยยาง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ขอบยาง เมื่อสูบลมยางจะทำให้ขอบยางกระชับกับขอบล้อแน่นขึ้น ทำให้ยางพองตัวแนบกับกะทะล้อ และยังป้องกันความเสียหาย ตามขอบเนื่องจากการเสียดสีอีกด้วย โดยเฉพาะยางชนิดไม่มียางใน บริเวณขอบยางยิ่งมีความสำคัญมาก

กรรมวิธีในการผลิตรถยนต์ โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว วัสดุที่ใช้ในการผลิตมี

ยางธรรมชาติ  มีทั้งเกรดดีและไม่ดี ยางธรรมชาตินี้จะระบายความร้อนได้ดี

ยางสังเคราะห์ ได้จากกรรมวิธีการกลั่นปิโตรเลียม หรือสังเคราะห์ขึ้นเอง ใช้ผสมกับยางธรรมชาติเพื่อสร้างความทนทาน

คาร์บอนแบล็ค ใช้ผสมลงในยางประมาณ 30% เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อการขีดข่วน Naphthenic paraffic oil ใช้เพื่อช่วยการผสมของยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์และส่วนผสมอื่น ๆ

กำมะถัน เติมลงในยางประมาณ 2% เพื่อช่วยให้ยางเหนียว แข็งแรง ทนทานต่อความร้อน และความเย็นได้ดี ตามขบวนการที่เรียกว่า “Vulcanization”

สังกะสีอ๊อกไซต์ (ZnO) เป็นตัวเร่งให้ยางสุกเร็วขึ้น

วิธีการผลิต สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ดังนี้

1. เริ่มต้นด้วยการนำเอาวัตถุดิบ ซึ่งอาจเป็นส่วนผสมของยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์หรือทั้งสองอย่างผสมกัน

2. เติมคาร์บอนแบล็คและสารเคมีอื่น ๆ ลงไปเพื่อทำให้ยางแข็งแรง และง่ายต่อการขึ้นรูป

3. ผสมยางและสารเคมีให้เข้ากัน โดยใช้เครื่องจักรที่มีใบพัดคม ๆ เพื่อตีให้ยางและสารเคมีผสมเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์

4. หลังจากนั้นจะได้ยางที่พร้อมจะไปทำส่วนประกอบยางรถยนต์ชนิดต่าง ๆ

5. เตรียมผ้าใบซึ่งผ่านการ ดึง การยืด และอบจนผ้าใบไม่สามารถหดยืดได้อีกตามคุณสมบัติที่ต้องการ

6. ฉาบยางลงบนผ้าใบด้วยเครื่องที่เรียกว่า Calender

7. ปั๊มดอกยาง

8. ใช้เครื่องนี้พันผ้าใบรอบขดลวด เพื่อทำให้ขอบยางเกาะแน่นกับขอบล้อ

9. เสร็จแล้วเอามาประกอบให้เป็นยางรถยนต์

10. นำยางอบภายในแม่พิมพ์ ภายใต้ความร้อนและความดัน

ประเภทของยางรถยนต์

ปัจจุบันยางที่ใช้กันมีอยู่ 2 ประเภท คือ ยางประเภทใช้ยางใน และยางประเภทไม่ใช้ยางใน

ยางรถยนต์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ยางประเภทใช้ยางใน (Conventional tire with tube) เป็นยางที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง แต่มีข้อเสียที่ว่า หากถูกตะปู หรือของแหลมคมทิ่มตำ จะทำให้ยางเกิดระเบิดทันที ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายถึงชีวิต หรือรถยนต์ได้

ยางประเภทไม่ใช้ยางใน (Tubeless tire) แบบนี้จะมีไลเนอร์ (Inner Liner) เป็นตัวป้องกันการรั่วซึมของลมยางภายใน พูดอีกทีหนึ่งก็คือ ยางประเภทนี้ใช้ยางนอกแทนยางในไปในตัว ข้อดีของยางประเภทนี้คือเมื่อถูกตะปูหรือของแหลมคมทิ่มตำ จะไม่ทำให้ยางเกิดระเบิดขึ้นทันที แต่จะรั่วซึมออกทีละน้อย เนื่องจากยางจะบีบตัวช่วยอุดรอยรั่วไว้ ทำให้ช่วยลดอุบัติเหตุลงได้ และบางทีอาจขับต่อไปได้ถึงจุดหมายโดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือปะยาง นอกจากนี้น้ำหนักยางแบบนี้มักจะเบากว่า ระบายความร้อนได้ดีกว่า และสะดวกต่อการอุดรอยรั่วโดยไม่ต้องถอดล้อออก แต่มีข้อเสียที่ว่า หากรอยรั่วค่อนข้างใหญ่ หรือรั่วซ้ำที่เดิม จะอุดรอยรั่วไม่ค่อยอยู่

ยางรถยนต์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ประเภทของโครงยาง

ลักษณะของโครงยางแบ่งได้ 3 แบบ คือ

1. โครงยางแบบธรรมดา (Bias หรือ Conventional tire) โครงยางประเภทนี้ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด ประกอบด้วยผ้าใบ 2-6 ชั้น ที่ชั้นผ้าใบจะมีเส้นใยวางเรียงขนานกันอยู่ โดยจะวางผ้าใบขวางให้เส้นใยตัดกันเป็นมุม 40-60 องศา กับเส้นรอบวงของยาง ยางประเภทนี้ไม่มีผ้าเสริมหน้ายาง ยกเว้นบางชนิดมีผ้าเสริมหน้ายาง ข้อดีของยางประเภทนี้คือ ทำให้การขับขี่นุ่มนวล ไม่สะเทือนมาก ส่วนข้อเสียก็มีเช่นกันคือ ขณะรถวิ่งดอกยางสามารถปิดเข้าหรือเปิดออกได้ ดังนั้นจะทำให้ดอกยางบิดเบี้ยว ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามที่ออกแบบเอาไว้

ยางรถยนต์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

2. โครงยางเรเดียล (Radial tire) โครงยางแบบนี้เส้นใยจะวางทำมุม 90 องศา กับเส้นรอบวงของยาง คือจะกระจายตามแนวรัศมีจากศูนย์กลางโดยรอบ โครงยางแบบนี้จะมีผ้าเสริมหน้ายาง คาดยึดโครงยางเอาไว้เพื่อทำให้ดอกยางแตะเต็มพื้นถนนตลอดเวลา ไม่ว่าจะเลี้ยวหรือวิ่งทางตรง ข้อดีของโครงยางประเภทนี้คือ ช่วยให้สามารถขับขี่ด้วยความเร็วสูง ๆ ได้ และเนื่องจากแรงเสียดทานระหว่างยางประเภทนี้กับผิวถนนมีน้อย จึงทำให้ประหยัดนํ้ามันได้มากกว่ายางธรรมดา นอกจากนี้ยังเกาะถนนได้ดีกว่า และอายุใช้งานมากว่า ส่วนข้อเสียคือ จะรู้สึกกระเทือนขึ้น ผ้าที่ใช้ยางธรรมดาแล้วเปลี่ยนมาใช้เป็นยางเรเดียลจะรู้สึกว่าสะเทือนขึ้น โดยเฉพาะถ้าใช้ผ้าเสริมหน้ายาง ชั้นนอกสุดเป็นเหล็กกล้าด้วยแล้ว ยิ่งสะเทือนมากขึ้นอีก เนื่องจากโครงเหล็กกล้ามีความยืดหยุ่นน้อย เมื่อเจอความขรุขระของถนนเข้า จะกระแทกดอกยางและโครงเหล็กกล้าเต็มที่ และจะกระแทกต่อมาที่ระบบกันกระเทือนกับตัวรถ ดังนั้นถ้าต้องการความสามารถในการเกาะถนน ก็ต้องทนต่อการกระแทกของรถเพิ่มอีกเล็กน้อย

ยางรถยนต์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

3. โครงยางแบบเบลเตดไบแอส (Belted bias tire) ซึ่งยางประเภทนี้มีลักษณะคล้ายโครงยางแบบธรรมดา ผิดกันตรงที่แบบนี้มีผ้าเสริมหน้ายางมากชั้นกว่า ทำให้ความสามารถในการเกาะถนนดีกว่ายางธรรมดา กล่าวคือโครงยางแบบนี้ประสิทธิภาพอยู่ระหว่างยางธรรมดา และยางเรเดียล ข้อดีของยางประเภทนี้คือ ขับขี่ได้สบาย ไม่กระเทือนมากอย่างยางเรเดียล

ยางรถยนต์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ขนาดและความหมายของยาง

ตัวเลขและตัวอักษรที่เขียนบอกไว้ที่บริเวณแก้มยางจะ หมายถึงขนาดยาง ซึ่งมีการเขียนด้วยกันหลายแบบ มีทั้งหน่วยมิลลิเมตร หน่วยนิ้ว หรือทั้งสองอย่างปนกัน นอกจากนี้ยังมีการเขียนทั้งแบบยุโรป และอเมริกา การเขียนบอกขนาดยางพอจำแนกได้ดังนี้

ยางรถยนต์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

1. ยางธรรมดา

จะเขียนบอกเป็น 5.60-13 4PR โดยที่ 5.60 หมายถึง ความกว้างหน้ายาง เป็นนิ้ว

13 หมายถึง ขนาดขอบล้อ เป็นนิ้ว

14 PR หมายถึง จำนวนชั้นผ้าใบมีทั้งหมด 4 ชั้น (PR = Ply Rating)

ยางรถยนต์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

2.  ยางเรเดียล

จะเขียนบอกเป็น 165 SR 13 โดยที่

165 หมายถึง ความกว้างหน้ายางเป็น ม.ม.

S หมายถึง ขีดจำกัดความเร็ว (Speed limit)

R หมายถึง โครงยางแบบเรเดียล (Radial ply)

13 หมายถึง ขนาดขอบล้อเป็นนิ้ว

ยางรถยนต์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

3. ยางแบบเบลเตดไบแอส

จะเขียนบอกเป็น A78-14 4PR โดยที่-

A หมายถึง ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุก

78 หมายถึง อัตราส่วนของยาง (Aspect ratio)

14 หมายถึง ขนาดขอบล้อ เป็นนิ้ว

4PR หมายถึง จำนวนผ้าใบ 4 ชั้น

ยางรถยนต์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

นอกจากนี้ยางประเภทหน้ากว้าง (Series) ระบบ 60 และระบบ 70 (60 และ 70 เป็นอัตราส่วนของยาง) ยังมีการเขียนได้อีก 2 แบบ คือ แบบยุโรปและแบบอเมริกา

แบบยุโรป เช่น 175/70 HR 14 โดยที่

175 คือ ความกว้างหน้ายางเป็นม.ม.

70 คือ อัตราส่วนของยาง

H คือ ขีดจำกัดความเร็ว

R คือ โครงยางแบบเรเดียล

14 คือ ขนาดขอบล้อ เป็นนิ้ว

แบบอเมริกา เช่น F 70-14 หรือ FR 70 HR 14

F คือ ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกและอักษรแสดงความกว้างหน้ายาง

R คือ โครงยางแบบเรเดียล

70 คือ อัตราส่วนของยาง

H คือ ขีดจำกัดความเร็ว

14 คือ ขนาดขอบล้อ เป็นนิ้ว

ขีดจำกัดความเร็ว (Speed limit)

สัญญลักษณ์ และตัวอักษรที่แสดงจำกัดความเร็วคือ S, H, V แบ่งตามประเภทของยางได้ 2 ความหมายด้วยกันคือ

1. โครงยางแบบธรรมดาและแบบเบลเตดไบแอส

เครื่องหมาย

 

ขีดจำกัดความเร็วตามขนาดขอบล้อ

 

10 นิ้ว

12 นิ้ว

13 นิ้วหรือใหญ่กว่า

 

ก.ม./ช.ม.

ก.ม./ช.ม.

ก.ม./ช.ม.

120

135

150

S

150

160

175

H

175

185

200

V

มากกว่า 175

มากกว่า 185

มากกว่า 200

2. โครงยางแบบเรเดียล

เครื่องหมาย

ขีดจำกัดความเร็วที่ทุกขนาดของขอบล้อ ก.ม./ช.ม.

SR

180

HR

210

VS

มากกว่า 210

ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุก

ตัวอักษรที่แสดงความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกมีตั้งแต่ A ถึง N ซึ่งบอกเป็นปอนด์ ความหมายต่าง ๆ มีดังนี้คือ

A      รับ น.น. บรรทุก       ได้980 ปอนด์

B      ”               ”               1070       ”

C     ”               ”               1140       ”

D     ”               ”               1220       ”

E      ”               ”               1300       ”

F      ”               ”               1400       ”

G     ”               ”               1500       ”

H     ”               ”               1650       ”

J      ”               ”               1720       ”

K      ”               ”               1770       ”

L      ”               ”               1830       ”

M     ”               ”               1940       ”

N     ”               ”               2050           ”

ชั้นผ้าใบ (Fly Rating)

หมายถึงจำนวนชั้นผ้าใบภายในยาง แต่ก่อนผ้าใบทำด้วยฝ้าย ดังนั้นตัวเลขที่แสดงอยู่ข้างหน้า “PR” จะหมายถึง จำนวนชั้นผ้าใบที่ทำด้วยฝ้าย ต่อมาได้มีการปรับปรุงวัสดุที่ใช้ทำชั้นผ้าใบใหม่ โดยใช้ไนล่อนแทน ซึ่งจะให้ความแข็งเท่าฝ้าย แต่จำนวนชั้นน้อยกว่าและก็ยังคงเขียนตัวเลขหน้า “PR” เช่นเดิม ตัวอย่างเช่น “4 PR” หมายถึงจำนวนชั้นผ้าใบ ทำด้วยฝ้าย 4 ชั้น ซึ่งในปัจจุบันก็คือ จำนวนชั้นผ้าใบที่ทำด้วยไนล่อนเพียง 2 ชั้นเท่านั้น เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำผ้าใบมีหลายชนิดซึ่ง ได้แก่ เรยอง (Rayon), ไนล่อน (Nylon), ขดลวดเหล็กกล้า (Steel), โปลิเอสเตอร์ (Polyester), ใยแก้ว (Glass fiber) ดังนั้นจึงแสดงจำนวนชั้นผ้าใบ โดยใช้ฝ้ายเป็นมาตรฐาน

อัตราส่วนของยาง (Aspect ratio หรือ Profile ratio)

อัตราส่วนของยาง หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความสูง (H) และความกว้างหน้ายาง (W) เป็นเปอร์เซนต์

อัตราส่วนยาง = H X 100

W

ถ้าอัตราส่วนของยางยิ่งต่ำแสดงว่า ยางยิ่งเตี้ย

ยางรถยนต์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ประโยชน์ของยางที่มีอัตราส่วนของยางต่ำ เราพอประเมิน

ได้ดังต่อไปนี้

1. ทำให้การขับขี่และการทรงตัวดีขึ้น

2. ทำให้ความต้านทานต่อการลื่นไถลมากกว่า

3. ให้ความแข็งแรงที่ความเร็วสูง

4. เพิ่มอายุยาง

การจัดประเภทของยางตามอัตราส่วนของยาง

1. ยางบอลลูน (Ballon Tire) เป็นยางที่มีอัตราโดยประมาณเท่ากับ 100% ยางประเภทนี้ได้แก่ขนาด 5.00-16, 5.25-16, 5.50-16 ซึ่งมักเป็นยางขนาดขอบล้อ 16 หรือมากกว่า ยางประเภทนี้มักบอกความกว้างหน้ายาง หลังจุดทศนยมเป็น .00, .25, .50, .75

2. ยางซุปเปอร์บอลลูน (Super Ballon Tire) หรือยางคูสชั่น (Cushion Tire) เป็นยางที่มีอัตราส่วนของยางเท่ากับ 95% มักบอกตัวเลข ความกว้างหน้ายางหลังจุดทศนิยมเป็น .10, .20, .40, .70, .90 ยางประเภทนี้ได้แก่ 5.60-13, 6.40-13, 6.70—13, ยางประเภทนี้ดีกว่ายางบอลลูนตรงที่ขับขี่ที่ความเร็วสูง ๆ ได้ดีและยังรับน้ำหนักบรรทุกได้มากกว่า

3. ยางโลว์เซ็คชั่นไฮท์ (Low Section Height Tire) มี อัตราส่วนของยาง = 88% ตัวเลขความกว้างยางหน้ายาง หลังจุดทศนิยมเป็น .00 และ .50 เท่านั้น ยางประเภทนี้มีขนาดขอบวงล้อ 14 นิ้ว หรือน้อยกว่า ได้แก่ 6.00-12, 7.00-13, 7.00-14

4. ยางซุปเปอร์โลว์เซ็คชั่นไฮท์ (Super Low Section Height Tire) มีอัตราส่วนของยาง = 82% ได้แก่ยางขนาด

165  -380, 6.95-14, 165 SR 13 ตอนแรกยางประเภทนี้

บอกเป็น ม.ม. แต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาบอกเป็นนิ้วและทั้ง ม.ม. และนิ้วรวมกันสังเกตลักษณะยางประเภทนี้คือ หลังจุดทศนิยมตำแหน่งที่สองมักเป็นเลข 5

5. ยางอูลตร้าโลว์เซ็คชั่นไฮท์ (Ultra Low Section Height Tire) มีอัตราส่วนยาง = 77% ได้แก่ยางขนาด 6.2-12, 6.9-13 ข้อสังเกตของยางแบบนี้คือ หลังจุดทศนิยมมีตำแหน่งเดียว ยางประเภทนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้

6. ยางหน้ากว้าง (Series Tire) ยางประเภทนี้ได้แก่ยางระบบ 78 ระบบ 70 และระบบ 60 คือมีอัตราส่วนยางเป็น 78% 70% และ 60% ตามลัาดับ ได้แก่ยางประเภท

C78-13, E78-478                   เป็นยางระบบ 78

175/70 HR 13, DR 70-HR14         ”               70

175/60 HR 13, DR 70-HR 14                ”               60

ยางประเภทหน้ากว้างนี้มีทั้งโครงยางแบบธรรมดา แบบเบลเตดไบแอส แลแบบเรเดียลซึ่งยางหน้ากว้างที่มีโครงยางแบบเรเดียล เป็นยางที่ดีมาก ซึ่งหาข้อเสียเกือบไม่ได้เลย

เครื่องหมายแสดงขนาดขอบล้อ ปัจจุบันมีการแสดงขอบล้อได้หลายแบบ เช่น 5-J X13 โดยที่

5 หมายถึง ความกว้างขอบล้อ เป็นนิ้ว

J หมายถึง รูปร่างขอบล้อ

13 หมายถึง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขอบล้อ

ยางใน (Tube)

พูดง่าย ๆ ยางในก็คือถุงบรรจุอากาศที่ความดันหนึ่งที่เหมาะสมเพื่อรองรับน้ำหนักของรถยนต์ วัสดุที่ใช้ทำยาง มีทั้งยางธรรมชาติ และยางสังเคราะห์ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นว่ายางสังเคราะห์ดีกว่า ทั้งในด้านการเก็บอากาศ ความสึกหรอที่ช้ากว่า แล่ะต้านทานความร้อนได้ดีกว่า

การใช้ยางในควรใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของยาง ใช้ยางในผิดพลาดจะเกิดปัญหาคือ ถ้าใช้ยางในเล็กไปเมื่อสูบลมจนยางในสัมผัสผิวของยาง จะทำให้ยางยืดออกจนบาง แต่ถ้าใช้ยางในใหญ่ไปจะทำให้ยางในพับ ดังนั้นในการเปลี่ยนยางก็ควรเปลี่ยนยางในด้วย เนื่องจากยางในเดิมที่ใช้อยู่จะถูกสูบลมจนยืดใหญ่กว่าขนาดที่เหมาะสม เมื่อนำไปใช้กับยางใหม่อาจทำให้ยางในเกิดพับได้

นอกจากนี้ในการสูบลมยางก็ต้องสูบให้ตามกำหนด หากสูบลมมากไปหรือน้อยไป ก็จะทำให้ดอกยางลึกไม่เท่ากันได้เช่นกัน

ยางรถ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

2.) โครงสร้างพื้นฐานยางรถยนต์ (Basic Structure) / จำแนกออกได้เป็น 6 ส่วนหลักๆ - หน้ายาง (Tread) / ไหล่ยาง (Shoulder) / แก้มยาง (Sidewall) / ขอบยาง (Bead) - โครงยาง (Carcass) / ผ้าใบเสริมยาง หรือ เข็มขัดรัดหน้ายาง (Breaker or Belt)

โครงยางอยู่ส่วนใดของยางรถยนต์

โครงยาง (Carcass) ได้ถูกออกแบบให้มีแนวเส้นคอร์ด (Cord) อยู่ในแนวเส้นตรงจากขอบยาง ด้านหนึ่งไปยังขอบยางอีกด้านหนึ่ง หรือ เส้นคอร์ดไปตามแนวรัศมีของเส้นยางหรือโครงยาง จะวางทํามุม 90 องศา กับเส้นรอบวงยาง โดยมีเข็มขัดรัดหน้ายางคาดยึดโครงยางเอาไว้ในแนว เส้นรอบวง ทําให้หน้ายาง (Tread) มีความแข็งแรง

ยางรถยนต์ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

คุณสมบัติของยาง.
1. คุณสมบัติของยางรับน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุก ... .
2. คุณสมบัติของยางลดแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนจากพื้นถนน ... .
3. คุณสมบัติของยางเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนทิศทางการขับขี่ ... .
4. คุณสมบัติของยางเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนและหยุดรถ.

ยางรถยนต์ เรียกว่าอะไร

ยางรถยนต์ (อังกฤษ: tire, tyre; สะกด tire (แบบอเมริกัน), tyre (แบบบริติช)) คือชิ้นส่วนที่ประกอบเป็นล้อของรถยนต์หรือล้อของรถประเภทต่าง ๆ ยางรถยนต์มีสีดำ รูปร่างกลมมีรูตรงกลาง เป็นวงแหวน ภายในกลวงบรรจุอากาศที่มีความดันสูง หรือ ก๊าซไนโตรเจนเพื่อเพิ่มความปลอดภัย หรือ ยางในรถยนต์สำหรับรับน้ำหนักบรรทุกมาก ยางรถยนต์มีหน้าที่ ...