ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีลักษณะ อย่างไร

                 4. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศหลายด้าน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และประโยชน์ต่อสังคม เช่น กิจการสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมบางประเภท แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เอกชน ยังมีเสรีภาพในการดำเนินกิจการอยู่ การเลือก อาชีพ การถือครองทรัพย์สินเป็นไปโดยเสรี ระบบ เศรษฐกิจแบบนี้จึงมีลักษณะของการผสมผสานระหว่าง ระบบเศรษฐกิจ แบบทุนนิยมกับระบบ เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

ทุนนิยม (Capitalism) และ สังคมนิยม (Socialism) เป็นระบบเศรษฐกิจหลักสองระบบที่ใช้กันทั่วโลก มันเป็นพื้นฐานโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ ทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันมากมาย แบบจำลองเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้น อาศัยสภาพตลาดเสรีเพื่อผลักดันนวัตกรรม สร้างความมั่งคั่ง และควบคุมพฤติกรรมองค์กร การเปิดเสรีของกลไกตลาดนี้ช่วยให้มีอิสระในการเลือก ซึ่งส่งผลให้เกิดความสำเร็จหรือล้มเหลว ส่วนเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบผสมผสานองค์ประกอบของการวางแผนทางเศรษฐกิจ เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับมีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีเยี่ยม

ลักษณะสำคัญของทุนนิยม

1.อยู่บนฐานเศรษฐกิจฐานที่ประกอบด้วยผู้ซื้อ (คน) กับ ผู้ขาย (บริษัท เอกชนหรือ บริษัท ที่เป็นเจ้าของ)

2.สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมีจุดประสงค์เพื่อสร้างผลกำไร ผลกำไรนี้จะถูกนำกลับไปลงทุนในระบบเศรษฐกิจ

3.รัฐบาลไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจของตลาดเสรี ความหมายตลาดจะเป็นตัวกำหนดการลงทุน การผลิต การจัดจำหน่าย การตัดสินใจ และการแทรกแซงของรัฐบาลจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการบังคับใช้กฎ หรือนโยบายที่ควบคุมการดำเนินธุรกิจ

4.มีความจำเป็นต้องผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

5.นายทุนเชื่อว่ารัฐบาลนั้น ไม่อาจใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้เหมือนกับองค์กรเอกชน

ข้อดี-ข้อเสียของระบบทุนนิยม

1.ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น ผู้คนจะมีตัวเลือกสินค้าที่หลากหลาย ตัวเลือกนี้นำไปสู่การแข่งขันที่มากขึ้น ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ดีขึ้น

2.ผลิตตามความต้องการของตลาด สินค้าหรือบริการที่ผลิตตามความต้องการของผู้บริโภค ช่วยลดต้นทุนและหลีกเลี่ยงในการลงทุน

3.กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้จะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product) นำไปสู่มาตรฐานของค่าครองชีพที่ดีขึ้น

4.ข้อเสีย – โอกาสโดนผูกขาดอำนาจ เมื่อบริษัทที่มีอำนาจผูกขาด (เมื่อบุคคลหรือองค์กรใด บริษัท หนึ่งเป็นผู้จัดหาสินค้าโภคภัณฑ์เพียงหนึ่งเดียว) ใช้ตำอำนาจทางการตลาดในทางที่ผิด ด้วยการขึ้นราคาสินค้าตามใจ

5.ข้อเสีย – ความไม่เสมอภาค สังคมทุนนิยมตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิในการส่งต่อความมั่งคั่งไปสู่คนรุ่นหลัง หากคนกลุ่มเล็กๆ ถือเป็นผู้กุมอำนาจทั้งหมด จะทำให้ความมั่นคงถูกส่งต่อไปยังกลุ่มคนเดียวกัน เป็นผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางสังคม

6.ข้อเสีย – ภาวะถดถอย/การว่างงาน เศรษฐกิจที่อยู่บนพื้นฐานของตลาดผู้บริโภคนั้น จะมีการเติบโต/ลดลงอย่างสม่ำเสมอ

ลักษณะสำคัญของสังคมนิยม

1.ฐานการผลิตเป็นของรัฐวิสาหกิจหรือสหกรณ์ (รัฐ)

2.มีโอกาสเท่ากันทุกคน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะต้องร่วมมือกัน โดยผลตอบแทนจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ จะต้องถูกส่งคืนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

3.กิจกรรมทางเศรษฐกิจได้รับการวางแผนโดยหน่วยงานวางแผนกลาง ขึ้นอยู่กับความต้องการการบริโภคของมนุษย์ และความต้องการทางเศรษฐกิจ

ข้อดี-ข้อเสียของระบบสังคมนิยม

1.ข้อดี – พลเมืองทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษา การดูแลสุขภาพ ฯลฯ ได้อย่างเท่าเทียม

2.ข้อดี – กำจัดการผูกขาดในบริษัท

3.ข้อดี – เกิดความเท่าเทียม ไม่มีการแบ่งชนชั้น

1.ข้อเสีย – เป็นการเพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาล ทำให้มีอำนาจในการควบคุมชีวิตของผู้คนในทุกด้าน รวมถึงสถานที่ทำงานหรือที่อยู่อาศัย

2.ข้อเสีย – การขาดนวัตกรรม มีแรงจูงใจทางการเงินน้อยหรือไม่มีเลย ไม่มีเปิดโอกาสรับแนวคิดใหม่จากคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา

วันนี้มีเพียงไม่กี่ประเทศที่พัฒนาแล้วที่เป็นทุนนิยม หรือสังคมนิยม 100% อันที่จริงเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่มักจะมีองค์ประกอบระหว่างสังคมนิยมกับทุนนิยมผสมอยู่ด้วย อย่างเช่นในประเทศนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก โดยทั่วไปถือว่าเป็นระบบสังคมนิยม รัฐบาลจะให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ การศึกษา และบำนาญ อย่างไรก็ตามการเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนตัว

ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ เศรษฐกิจของคิวบา จีนเวียดนาม รัสเซีย เกาหลีเหนือ ใช้ระบบสังคมนิยมร่วมกับคอมมิวนิสต์  ในขณะที่ประเทศในยุโปร เช่น บริเตนใหญ่ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ มีพรรคสังคมนิยมที่เข้มแข็ง โดยมีรัฐบาลของพวกเขาให้การสนับสนุนทางสังคม รวมถึงบริษัทเอกชนส่วนใหญ่ก็อยู่ในลักษณะของทุนนิยม อย่างที่เห็นกันว่าทุกอย่างล้วนมีข้อดี-ข้อเสีย ในแบบฉบับของตนเอง ดังนั้นหลายประเทศจึงหันมาใช้ระบบแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นการรวมแนวคิดของทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน

ระบบเศรษฐกิจนี้เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่เอกชนในการเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ทว่าเสรีภาพดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย

1.เอกชนมีเสรีภาพในการเลือกตั้ง เลือกตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

2.กำไรและระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นแรงจูงใจในการทำงานทำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3.สินค้ามีคุณภาพและมีมาตรฐาน

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1.ก่อให้เกิดปัญหาการเหลื่อมล้ำอันเนื่องมาจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลโดยพื้นฐานทำให้การหารายได้ไม่เท่ากัน

2.ในหลายๆกรณีกลไกทางการตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจ

  ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามความสามารถและโอกาสของตนโดยอาศัยตลาดและราคาในการเลือก โดยรัฐหรือเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมีบทบาทเกี่ยวข้องน้อยมาก ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้แก่

- ทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน

- เอกชนเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยผ่านกลไกราคา และมีกำไรเป็นแรงจูงใจที่ สำคัญ

- มีการแข่งขันเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ

- รัฐไม่เข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจ มีบทบาทเพียงการรักษาความสงบเรียบร้อย ความ ยุติธรรม เพื่อให้เอกชนมีความมั่นใจในการทำธุรกิจแบบทุนนิยม เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ สิงคโปร์

ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยมมีลักษณะอย่างไร

1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม เป็นระบบที่มีเสรีภาพในทางเศรษฐกิจ โดยที่ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างอิสระในการตัดสินใจทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต แปรรูป และจำหน่าย หรือการให้บริการต่างๆ ระบบนี้กลไกของราคาจะมีบทบาทมากที่สุด และรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงน้อยที่สุด

ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

ลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ได้แก่ 1) รัฐคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกรูปแบบ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความยุติธรรมในการกระจาย ผลผลิตแก่ประชาชน 2) ไม่มีการแข่งขันเกิดขึ้น เนื่องจากรัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต แต่ยังคงให้เอกชนมีสิทธิ์ในการ ถือครองทรัพย์สินส่วนตัวได้เช่น ที่พักอาศัย

ลักษณะสําคัญของระบบเศรษฐกิจได้แก่อะไรบ้าง

ความสำคัญของระบบเศรษฐกิจ 1.มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ทราบว่าจะผลิตอะไร ผลิตเพื่อใคร 2.จะกำหนดระเบียบการเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตและควบคุมสถาบันทางเศรษฐกิจให้เป็นระเบียบ 3.เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ และดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้า

ข้อใดคือลักษณะสําคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

เศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งทั้งภาคเอกชนและรัฐชี้นำเศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนลักษณะของทั้งเศรษฐกิจแบบตลาดและเศรษฐกิจที่มีการวางแผน เศรษฐกิจแบบผสมส่วนมากอาจอธิบายได้ว่าเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดที่มีการควบคุมดูแลอย่างเข้มแข็งและการจัดหาสินค้าสาธารณะของรัฐบาล เศรษฐกิจแบบผสมบางแห่งยังมีลักษณะรัฐวิสาหกิจ