ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

สถาบันนี้มีคอร์ส "เรียนที่มหาลัยผสมเรียนออนไลน์" เริ่มต้นด้วยเรียนออนไลน์ แล้วเรียนที่มหาลัยภายหลัง

ดู 1 หลักสูตรวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน

courses

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

มีคอร์สพัฒนาภาษาอังกฤษ

ดู 1 หลักสูตรวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน

courses

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

มีคอร์สพัฒนาภาษาอังกฤษ

ดู 2 หลักสูตรวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน

courses

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

ดู 1 หลักสูตรวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน

courses

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

มีคอร์สพัฒนาภาษาอังกฤษ

ดู 2 หลักสูตรวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน

courses

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

ดู 3 หลักสูตรวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน

courses

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

มีคอร์สพัฒนาภาษาอังกฤษ

ดู 1 หลักสูตรวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน

248

ดู

courses

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

มีคอร์สพัฒนาภาษาอังกฤษ

ดู 2 หลักสูตรวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน

courses

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

ดู 2 หลักสูตรวิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน

201

ดู

courses

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

ใบอนุญาตช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน – Aircraft Maintenance Licence (1)

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าบุคลากรในงานซ่อมบำรุงอากาศยานมีความสำคัญยิ่งต่อการปฏิบัติการบินของอากาศยานให้เป็นไปได้อย่างปลอดภัย ด้วยเหตุนี้ สำนักการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และสำนักการบินพลเรือนของประเทศสมาชิกจึงกำหนดให้บุคลากรด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน ทั้งช่างเทคนิค วิศวกรและช่างซ่อมบำรุง (AME/Technician/Engineer/Mechanic) ต้องผ่านการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม
ด้วยเหตุผลข้างต้นสมควรที่ผู้เขียนจะได้นำความรู้เรื่องการฝึกอบรมช่างซ่อมบำรุงอากาศยานมาแบ่งปันกัน ซึ่งมีหัวข้อประกอบด้วย แนวฝึกอบรมช่างของสำนักการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) การออกใบอนุญาตของสหภาพยุโรป (EASA Part 66 – Personnel Licensing) และการอบรมช่างตามข้อกำหนด EASA โดยมีเนื้อความดังนี้

แนวฝึกอบรมช่างของสำนักการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)

ปัจจุบันทางการไทยยึดแนวฝึกอบรมช่างของสำนักการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) มาสร้างข้อกำหนด เรื่องการรับรองสถาบันฝึกอบรมนายช่างภาคพื้นดินและการรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมนายช่างภาคพื้นดิน ทั้งนี้ ICAO กล่าวว่าบุคลากรด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน ทั้ง Technician/Engineer/Mechanic (AME) มีเบื้องหลังวุฒิการศึกษาที่หลากหลาย จากผู้ที่ศึกษาด้วยตนเอง จนถึงผู้ที่ได้รับปริญญาบัตรสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษา อย่างไรก็ดี เมื่อไม่คำนึงถึงวุฒิการศึกษาแล้ว บุคลากรด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานจะต้องผ่านการฝึกอบรมด้านช่างอย่างเข้มข้น ให้มีขีดความสามรถ (Competence) ซึ่งประกอบด้วยความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) ผสมผสานกัน เพื่อพร้อมต่อความรับผิดชอบที่จะรับมอบหมายในการซ่อมบำรุงอากาศยาน
ในงานซ่อมบำรุงอากาศยานมีบุคลากรอยู่สองประเภท ปกติถูกเรียกขานทั่วไปว่าช่างซ่อมเครื่องบิน กลุ่มแรกคือช่างประเภทที่ไม่มีใบอนุญาต (Non-licensed Mechanic) ซึ่งจะทำหน้าที่ผู้ช่วยหรือลูกมือและทำงานภายใต้การกำกับดูแลจากช่างที่มีใบอนุญาต กลุ่มที่สองคือช่างที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของทางการ (Qualified) เป็นผู้ถือใบอนุญาต (Licensed Mechanic) ซึ่งทางการไทยหมายถึงนายช่างภาคพื้นดิน เป็นผู้มีสิทธิซ่อมบำรุง และลงนามรับรองงาน (Certify) ซ่อมบำรุงอากาศยาน

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

ช่างปฏิบัติหน้าที่ระดับลานจอด

ICAO Annex 6 บัญญัติว่าหน่วยซ่อมอากาศยาน (AMO/Aircraft Maintenance Organization) ต้องจัดให้บุคลากรมีขีดความสามารถให้เป็นไปตามที่ทางการผู้ซึ่งออกใบอนุญาตกำหนดไว้ นอกจากนี้ ICAO ยังระบุเพิ่มเติมให้ผู้ทำหน้าที่ลงนามรับรองการซ่อม (Maintenance Release) ต้องมีคุณสมบัติได้ตามมาตรฐาน ICAO Annex 1 อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดนี้ไม่มีข้อความใดบังคับต่อช่างผู้ช่วยลงมือปฏิบัติงานบำรุงรักษาและซ่อมอากาศยานแต่อย่างใด
ในการปฏิบัติทำหน้าที่ลงนามรับรองการซ่อม นายช่างภาคพื้นดินผู้ถือใบอนุญาต (AME) ต้องดำเนินการให้คำแนะนำ หรือดำเนินการซ่อม ตรวจ ถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ ดัดแปลง ซ่อมขั้นโรงงาน หรือบำรุงรักษา ในลักษณะที่เป็นไปตามหน้าที่รับผิดชอบและอยู่ในวิสัยที่จะออกใบรับรองการซ่อมเมื่องานเสร็จสมบูรณ์
ในอดีตใบรับรองนายช่างภาคพื้นดิน (Aircraft Maintenance Licence) ตาม ICAO แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ใบอนุญาต Type I (มีสิทธิทำการ หรือ Privilege สามารถรับรองความสมควรเดินอากาศ (Airworthiness Certification) ชิ้นส่วนอากาศยานภายหลังการซ่อมระดับโรงาน หรือ Overhaul) และใบอนุญาต Type II (มีสิทธิทำการ หรือ Privilege สามารถรับรองการกลับไปใช้งาน (Release to Service) ของอากาศยานทั้งลำ) ซึ่งประเทศสมาชิก อย่างประเทศไทย ได้ยึดแนวปฏิบัตินี้เช่นกัน ต่อมาภายหลังทางการนานาชาติได้ยกเลิกใบอนุญาตนายช่างภาคพื้นดิน Type I เหลือเพียง ใบอนุญาตType II และประเทศไทยก็ยึดถือปฏิบัติตามเช่นเดียวกัน และเรียกบุคคลนี้เป็นทางการว่า “นายช่างภาคพื้นดิน”

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

การซ่อมระดับ Base Maintenance

EASA Part 66 – Personnel Licensing

ภายหลังการสะสางธงแดงของ ICAO เป็นที่เรียบร้อยได้ระดับหนึ่ง สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยมีแผนปรับปรุงข้อกำหนดการออกรับรองสถาบันฝึกอบรมนายช่างภาคพื้นดินและการรับรองหลักสูตรการฝึกอบรมนายช่างภาคพื้นดิน และข้อกำหนดว่าด้วยคุณสมบัติและสิทธิทำการของผู้ขออนุญาตเป็นนายช่างภาคพื้นดิน โดยใช้มาตรฐานสถานฝึกอบรมช่างซ่อมบำรุงอากาศยานของ EASA Part 147 – Maintenance Training Organization และการออกใบอนุญาตช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน EASA Part 66 – Personnel Licensing ตามลำดับ เป็นต้นแบบ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ผู้เขียนใคร่ขอเสนอบทความเกี่ยวกับข้อกำหนดใบอนุญาตช่างซ่อมบำรุงอากาศยานของ EASA Part 66 – Personnel Licensing โดยสรุปดังนี้
EASA แบ่งใบอนุญาตช่างไว้เป็น Category ดังนี้

1. Category A สำหรับเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ ทุกประเภทเครื่องยนต์ทั้งแบบเทอร์ไบน์และลูกสูบ
2. Category B1 สำหรับเครื่องบินทุกประเภท ทั้งแบบปีกแข็งและปีกหมุน (เฮลิคอปเตอร์) และทั้งเครื่องยนต์แบบเทอร์ไบน์และลูกสูบ
3. Category B2 สำหรับอากาศยานทุกประเภท (B2L สำรับอากาศยานบางประเภท)
4. Category B3 สำหรับเครื่องบินประเภทไม่มีระบบปรับความดันอากาศและใช้เครื่องยนต์ลูกสูบ มีขนาดน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 2000 กิโลกรัมหรือน้อยกว่า
5. Category C สำหรับเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์

(ข้อสังเกต สำหรับ Category A และ Category B1 ยังมีแยกย่อยเป็น Subcategory ตามประเภทเครื่องบินและเครื่องยนต์ ที่กล่าวถึงกันมากคือ Subcategory B 1.1 สำหรับเครื่องบินใช้เครื่องยนต์เทอร์ไบน์)

ทั้งนี้ผู้ประสงค์จะขอใบอนุญาตช่างภาคพื้นดินต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

นอกจากแยกประเภทใบอนุญาตช่างแล้ว EASA ยังได้แยกอากาศยานเป็นกลุ่ม (Aircraft Group) ตามขนาด แผนแบบอากาศยาน และเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง ทั้งหมด 4 Group ด้วยกัน ยกตัวอย่าง Aircraft Group 1 เป็นอากาศยานใช้เครื่องยนต์ที่มีความสลับซับซ้อน เฮลิคอปเตอร์ใช้เครื่องยนต์หลายเครื่องยนต์ เครื่องบินที่ได้ใบรับรองแบบด้วยเพดานบินเกินระดับความสูง FL290 (29000 ฟิต) อากาศยานใช้ระบบควบคุมการบินแบบ Fly-by-Wire และอากาศยานที่บรรจุแก็สบางประเภท ทั้งหมดนี้ช่างต้องมีใบอนุญาตตามเฉพาะแบบที่กำหนดของทางการ (อากาศยานกลุ่มนี้รวมถึงเครื่องบินขนส่งเชิงพาณิชย์) ส่วนเครื่องร่อนและบอลลูนจัดอยู่ใน Aircraft Group 4 เป็นต้น

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

EASA Aircraft Group 1 ใช้เครื่องยนต์ที่มีความสลับซับซ้อน Fly-by-Wire

สิทธิทำการของใบอนุญาตซ่อมบำรุงอากาศยาน

ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างบางสิทธิทำการตามเกณฑ์ของ EASA พอให้เข้าใจในเนื้อหา กล่าวคือ

ใบอนุญาต Category A ให้สิทธิทำการซ่อมบำรุงอากาศยานแก่ผู้ถือใบอนุญาต สามารถออกใบรับรองกลับใช้งาน (Certificate of Return to Service) ในงานตามแผนระดับขั้นลานจอด และการแก้ไขข้อชำรุดง่ายๆ ตามที่ได้รับอนุมัติรองสิทธิทำการ (Authorization) จากหน่วยต้นสังกัด การปฏิบัติงานนี้จำกัดอยู่ภายในหน่วยที่ออกการรับรองสิทธิทำการให้เท่านั้น

ใบอนุญาต Category B 1 ให้สิทธิทำการผู้ถือใบอนุญาตสามารถออกใบรับรองกลับใช้งาน (Certificate of Return to Service) เป็นหนึ่งในทีมสนับสนุนงานให้กับช่าง B 1 ดังนี้
งานซ่อมบำรุงด้านโครงสร้าง เครื่องยนต์และระบบงานกล และระบบงานด้านไฟฟ้า
งานด้านระบบนำล่อง ด้วยการตรวจทดสอบแบบง่ายๆ ไม่ต้องการตรวจสอบหาสาเหตุข้อขัดข้อง เพื่อยืนยันสภาพการใช้งานได้
ใบอนุญาต Category B 1 จะครอบคลุมสิทธิทำการของใบอนุญาต Category A

ใบอนุญาต Category B 2 ให้สิทธิทำการผู้ถือใบอนุญาตสามารถ ดังนี้
สามารถออกใบรับรองกลับใช้งาน (Certificate of Return to Service) เป็นหนึ่งในทีมสนับสนุนงานให้กับช่าง B 2
งานซ่อมบำรุงด้านระบบนำล่องและระบบงานไฟฟ้า และ
งานซ่อมบำรุงด้านระบบนำล่องและระบบงานไฟฟ้าของเครื่องยนต์ด้วยการตรวจทดสอบแบบง่ายๆ เพื่อยืนยันสภาพการใช้งานได้
สามารถออกใบรับรองกลับใช้งาน (Certificate of Return to Service) ในงานตามแผนระดับขั้นลานจอด และการแก้ไขข้อชำรุดง่ายๆ ตามที่ได้รับอนุมัติรองสิทธิทำการ (Authorization) จากหน่วยต้นสังกัด การปฏิบัติงานนี้จำกัดอยู่ภายในหน่วยที่ออกการับรองสิทธิทำการใบอนุญาต Category B 2 ให้เท่านั้น
ใบอนุญาต Category B 2 ไม่ครอบคลุมสิทธิทำการของใบอนุญาต Category A

ใบอนุญาต Category B 3 ให้สิทธิทำการผู้ถือใบอนุญาตสามารถออกใบรับรองกลับใช้งาน (Certificate of Return to Service) เป็นหนึ่งในทีมสนับสนุนงานให้กับช่าง B 3 ดังนี้
งานซ่อมบำรุงด้านโครงสร้าง เครื่องยนต์และระบบงานกล และระบบงานด้านไฟฟ้า
งานด้านระบบนำล่อง ด้วยการตรวจทดสอบแบบง่ายๆ ไม่ต้องการตรวจสอบหาสาเหตุข้อขัดข้อง เพื่อยืนยันสภาพการใช้งานได้

ใบอนุญาต Category C ให้สิทธิทำการซ่อมบำรุงอากาศยานแก่ผู้ถือใบอนุญาต สามารถออกใบรับรองกลับใช้งาน (Certificate of Return to Service) ในงานตามแผนระดับขั้นฐานปฏิบัติการ (Base Maintenance) ทั้งนี้สิทธิทำการให้รวมอากาศยานทั้งลำ

จากที่กล่าวมานั้น มีข้อควรสังเกตว่า ใบอนุญาตช่างจะแยกสิทธิทำการตามระดับการซ่อมบำรุงคือ สำหรับการซ่อมบำรุงระดับลานจอด (Line Maintenance) ซึ่งเป็นงานบริการและซ่อมบำรุงตามแผนรายวัน รวมทั้งแก้ไขรายการงานง่ายๆ และสำหรับการซ่อมบำรุงระดับฐานปฏิบัติการ หรือขั้นศูนย์ซ่อม (Base Maintenance) ซึ่งเป็นงานที่ซับซ้อน ต้องใช้อุปกรณ์เป็นจำนวนมาก

ตัวอย่างสิทธิทำการของช่าง ซ่อมที่ระดับลานจอดและที่ฐานปฏิบัติการ

ช่างซ่อมเครื่องบิน เรียนอะไร

และอีกประเด็นคือใบอนุญาตช่าง หรือ Aircraft Maintenance Licence (AML) ยังแยกเป็นใบอนุญาตพื้นฐาน (Non-type Rating Aircraft Maintenance Licence) และใบอนุญาตเป็นการเฉพาะแบบของอากาศยาน (Aircraft Maintenance Licence with Type Rating) โดยมีการฝึกอบรมที่แตกต่างกัน ซึ่งจะได้กล่าวในตอนต่อไป

ไพรัช แผ้วสกุล (Dipl.-Ing., FH)
Pairat Pawskul
Aircraft Maintenance Consultant

*****************************