การวัดแผ่นดินไหวในมาตราเมอร์คัลลีย์ใช้เกณฑ์ใด

มาตราเมอร์แคลลี่

ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ

เป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดโดยเครื่องมือ พอรู้สึกได้สำหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง ๆ พอรู้สึกได้สำหรับผู้อยู่ในบ้าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่าของในบ้านสั่นไหว รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว รู้สึกได้กับทุกคนของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว ทุกคนต่างตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฎความเสียหาย เสียหายค่อนข้างมากในอาคารธรรมดา สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดี เสียหายมาก อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบนพื้นดินอ่อน ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน

หากเปรียบเทียบเล่นๆ กับหลอดไฟ ที่มีขนาด 100 วัตต์ Magnitude จะหมายถึงพลังงานที่ปล่อยออกมา ขนาด 100 วัตต์ ในขณะที่ Intensity จะเป็นผลกระทบหรือความแรงของแสงที่ปล่อยออกมา เทียบเป็นแสงเทียนที่ 100 แรงเทียน ความแรงของแสงเทียนจะค่อยๆ หายไปเมื่อระยะไกลออกไปเป็น 50แรงเทียน หรือ20แรงเทียน เป็นต้น

การวัดแผ่นดินไหวในมาตราเมอร์คัลลีย์ใช้เกณฑ์ใด

มาตราการวัดแผ่นดินไหวมีอยู่หลายมาตรา ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่นิยมใช้ทั่วไป ๓ มาตรา ได้แก่

  • มาตราริกเตอร์ (Richter Scale)
  • มาตราการวัดขนาดโมเมนต์ และ
  • มาตราความรุนแรงเมอร์คัลลี (Mercalli Scale)

ก. มาตราริกเตอร์ (Richter Scale)

มาตราการวัดขนาดแผ่นดินไหวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้ ได้แก่ มาตราริกเตอร์ ซึ่งเสนอโดย ชาลส์ เอฟ. ริกเตอร์ (Charles F. Richter นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ ริกเตอร์ค้นพบว่า การวัดค่าแผ่นดินไหวที่ดีที่สุด ได้แก่ การวัดพลังงานจลน์ ที่เกิดขึ้นในขณะเกิดแผ่นดินไหว ริกเตอร์ได้บันทึกคลื่นแผ่นดินไหว จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจำนวนมาก งานวิจัยของริกเตอร์แสดงให้เห็นว่า พลังงานแผ่นดินไหวที่สูงกว่า จะทำให้เกิดความสูงคลื่น (amplitude) ที่สูงกว่า เมื่อระยะทางห่างจากจุดที่เกิดแผ่นดินไหวเท่ากัน ริกเตอร์ได้หาความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ ระหว่างพลังงานกับความสูงคลื่น และปรับแก้ด้วยระยะทางจากศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว

ไดอแกรมด้านล่าง เป็นวิธีแรกๆ ที่ Richter ใช้ประมาณค่า magnitude จาก seismogram  ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ Southern California โดยการวัดค่า amplitude สูงสุดของคลื่น S = 23 มม. และวัดความต่างของเวลาที่เกิดคลื่น P และคลื่น S ในที่นี้เท่ากับ 24 วินาที พล็อตสองค่านี้ลงในโมโนแกรมด้านล่างนี้แล้วลากเส้นระหว่างสองจุด จะได้ค่า magnitude เท่ากับ 5

การวัดแผ่นดินไหวในมาตราเมอร์คัลลีย์ใช้เกณฑ์ใด

การหาค่าขนาดของแผ่นดินไหว ยังสามารถหาค่าได้โดยวัดความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ด้วยเครื่องตรวดวัดแผ่นดินไหว แล้วคำนวณจากสูตรการหาขนาด ตัวอย่างสูตรการคำนวณขนาดแผ่นดินไหวแบบท้องถิ่น (ML-Local Magnitude) ซึ่ง มีสูตรการคำนวณในยุคแรกดังนี้

การวัดแผ่นดินไหวในมาตราเมอร์คัลลีย์ใช้เกณฑ์ใด

กำหนดให้

M = ขนาดของแผ่นดินไหว (แมกนิจูด)A = ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่สูงที่สุด
การวัดแผ่นดินไหวในมาตราเมอร์คัลลีย์ใช้เกณฑ์ใด
= ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ระดับศูนย์

โดยขนาดของแผ่นดินไหว ในแต่ละระดับจะปล่อยพลังงานมากกว่า 32 เท่าของขนาดก่อนหน้า เช่นแผ่นดินไหวแมกนิจูด 5 จะปล่อยพลังงานออกมามากกว่าแมกนิจูด 4 ราว 32 เท่า เป็นต้น

สูตรของขนาดแผ่นดินไหวยังมีอีกมากมายหลายสูตร แต่ละสูตรจะมีใช้วิธีวัดและคำนวณแตกต่างกันออกไป เช่น mb วัดจากคลื่น body wave หรือ MS วัดจากคลื่น surface wave เป็นต้น โดยมาตราวัดขนาดโมเมนต์ หรือ Mw จะเป็นมาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวที่วัดได้แม่นยำที่สุดโดยไม่ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดใดๆ

  • ML เป็นขนาดแผ่นดินไหวในยุคเริ่มแรก บ่งบอกถึงปริมาณของแผ่นดินไหวท้องถิ่นหรือแผ่นดินไหวใกล้(ระยะทางน้อยกว่า 1,000 กิโลเมตร) คำนวณได้จากความสูงของคลื่นซึ่งตรวจด้วยเครื่องมือตรวจความสั่นสะเทือนแบบวัด displacement ได้แก่เครื่อง Wood Anderson ซึ่งมีค่ากำลังขยาย 2,800 เท่า ขนาดนี้นำเสนอโดย C. F Richter นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกา ดังนั้นหน่วยของขนาด ML ที่ใชัจึงเป็น “ริกเตอร์ “โดยนำค่าของความสูงของคลื่นที่สูงที่สุดของคลื่น S ซึ่งมีช่วงคลื่นอยู่ระหว่าง 0.1-1.0 วินาทีมาใช้ ในการคำนวณ
  • MB หรือ mb แสดงขนาดของเหตุการณ์แผ่นดินไหวทั้งใกล้และแผ่นดินไหวไกล(ระยะทางมากกว่า 1,000 กิโลเมตร) เรียกว่าขนาดของคลื่นหลัก (Body-wave magnitude) ในการคำนวณใช้คลื่นหลักได้แก่ คลื่น P ที่มีความยาวช่วงคลื่นประมาณ 1.0-5.0 วินาที
  • Ms แสดงขนาดของเหตุการณ์แผ่นดินไหวไกลและมีขนาดใหญ่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าขนาดคลื่นผิวพื้น (Surface Magnitude) ในการคำนวณใช้คลื่นผิวพื้นที่มีความยาวช่วงคลื่นประมาณ 18-22 วินาที
  • Mw ขนาดโมเมนต์ (Moment magnitude) เป็นปริมาณที่แสดงถึงปริมาณพลังงานของคลื่น แผ่นดินไหวได้ดีกว่าขนาดชนิดอื่น สามารถวิเคราะห์ได้จากโมเมนต์แผ่นดินไหว (Mo: Seismic Moment ) โดยที่ Mo สามารถคำนวณได้จากหลายวิธี เช่น จากการวิเคราะห์คลื่นแผ่นดินไหวซึ่งค่อนข้างซับซ้อนหรือจาก การสำรวจทางธรณีวิทยาเพื่อหาผลคูณของการขจัดของรอยเลื่อนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว(Fault displacement) และปริมาณพื้นที่ของรอยเลื่อน (Fault surface area) ส่วนใหญ่ขนาด Mw ใช้ส าหรับกรณีแผ่นดินไหวไกล ที่มีขนาดใหญ่

การคำนวณขนาดแผ่นดินไหวชนิดต่างๆ

ขนาด

สูตรคำนวณคลื่นแผ่นดินไหวความยาวช่วงคลื่น (วินาที)การตรวจวัด

ML

Log A-LogA0S0.1-1.0

displacement

MB,mb

Log (A/T) +Q (h,D)P1.0-5.0

velocity

MsLog A + 1.66 Log D + 2.0Surface20

velocity

Mw(2/3logM0 ) – 10.7Surface>200

velocity

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Intensity) ต่างจากขนาดแผ่นดินไหว เนื่องจากความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้นขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวมาถึงผู้สังเกตว่าห่างมากน้อยเพียงใด ความเสียหายจะเกิดมากที่สุดบริเวณใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวและค่อยๆลดทอนออกมาตามระยะทาง โดยมาตราวัดความรุนแรงมีหลายมาตรา เช่น มาตราชินโดะ มาตราเมร์กัลลี เป็นต้น

สำหรับการวัดขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude) ใช้ระบบการวัดได้หลายรูปแบบ แต่ที่เป็นที่นิยมที่สุด คือ มาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหวแบบริกเตอร์  (Richter Scale) โดยขนาดของแผ่นดินไหวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นมีดังนี้

นาดแผ่นดินไหว 

จัดอยู่ในระดับ ผลกระทบ 

อัตราการเกิดทั่วโลก 

 1.9 ลงไป

 ไม่รู้สึก (Micro)

 ไม่มี

 8,000 ครั้ง/วัน

 2.0-2.9

 เบามาก (Minor)

 คนทั่วไปมักไม่รู้สึก แต่ก็สามารถรู้สึกได้บ้าง และตรวจจับได้ง่าย

 1,000 ครั้ง/วัน

 3.0-3.9

 เบามาก (Minor)

 คนส่วนใหญ่รู้สึกได้ และบางครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง

 49,000 ครั้ง/ปี

 4.0-4.9

 เบา (Light)

 ข้าวของในบ้านสั่นไหวชัดเจน สามารถสร้างความเสียหายได้

 6,200 ครั้ง/ปี

 5.0-5.9

 ปานกลาง (Moderate)

 สร้างความเสียหายยับเยินได้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง แต่กับสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงนั้นไม่มีปัญหา

 800 ครั้ง/ปี

 6.0-6.9

 แรง (Strong)

 สร้างความเสียหายที่ค่อนข้างรุนแรงได้ในรัศมีประมาณ 80 กิโลเมตร

 120 ครั้ง/ปี

 7.0-7.9

 รุนแรง (Major)

 สามารถสร้างความเสียหายรุนแรงในบริเวณกว้างกว่า

 18 ครั้ง/ปี

 8.0-8.9

 รุนแรงมาก (Great)

 สร้างความเสียหายรุนแรงได้ในรัศมีเป็นร้อยกิโลเมตร

 1 ครั้ง/ปี

 9.0-9.9

 รุนแรงมาก (Great)

 “ล้างผลาญ” ทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีเป็นพันกิโลเมตร

 1 ครั้ง/20 ปี

 10.0 ขึ้นไป

 ทำลายล้าง (Epic)

 ไม่เคยเกิด จึงไม่มีบันทึกความเสียหายไว้

 0

ข. มาตราขนาดโมเมนต์

การวัดขนาด ด้วยมาตราริกเตอร์เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่วิธีการของริกเตอร์ยังไม่แม่นตรงนักในเชิงวิทยาศาสตร์ เมื่อมีสถานีตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวมากขึ้นทั่วโลก ข้อมูลที่ได้แสดงว่า วิธีการของริกเตอร์ใช้ได้ดี เฉพาะในช่วงความถี่และระยะทางหนึ่งเท่านั้น ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ ฮิรู คะนะโมะริ ( Hiroo Kanamori นักธรณีฟิสิกส์ ชาวญี่ปุ่น) ได้เสนอวิธีวัดพลังงานโดยตรง จากการวัดการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อน มาตราการวัดขนาดของคะนะโมะริ เรียกว่า มาตราขนาดโมเมนต์ ( Moment Magnitude Scale)

ค. มาตราความรุนแรงเมอร์คัลลี (Mercalli Scale)

นอกจากการวัดขนาดแผ่นดินไหว บางครั้งนักธรณีวิทยาใช้มาตราความรุนแรง ( Intensity) เพื่ออธิบายผลกระทบที่แตกต่างกันของแผ่นดินไหว มาตราความรุนแรงที่นิยมใช้กัน ได้แก่ มาตราความรุนแรงเมอร์คัลลี ( Mercalli Intensity Scale) ซึ่งมาตราความรุนแรงเมอร์คัลลี กำหนดขึ้นครั้งแรกโดย กวีเซปเป เมอร์คัลลี ( Guiseppe Mercalli ชาวอิตาเลียน นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ) ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ และต่อมาปรับปรุงโดยแฮร์รี วูด ( Harry Wood นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) และแฟรงก์ นิวแมนน์ ( Frank Neumann นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ มาตราความรุนแรงเมอร์คัลลี จัดลำดับขั้นความรุนแรงตามเลขโรมันจาก I-XII

การวัดแผ่นดินไหวในมาตราเมอร์คัลลีย์ใช้เกณฑ์ใด *

มาตราเมร์คัลลี (Mercalli scale) เป็นมาตราสำหรับใช้กำหนดขั้นความรุนแรงของแผ่นดินโดยพิจารณาจากผลกระทบของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก โดยที่พิจารณาจากการตอบสนองของผู้คน และผลกระทบที่สามารถสังเกตเห็นได้ คิดค้นโดยจูเซปเป เมร์คัลลี (Giuseppe Mercalli) ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวชาวอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2445 โดยแบ่งไว้ 10 อันดับ ...

มาตราเมอร์คัลลี ใช้อะไรวัด

มาตราเมอร์แคลลี ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวชาวอิตาเลียนชื่อ ยูอิเซปปี้ เมอร์แคลลี (Guiseppe Mercalli) เป็นผู้คิดค้นมาตรานี้ขึ้นมาเพื่อสังเกตลักษณะภายนอกที่เกิดขึ้นจากปรากฎการณ์แผ่นดินไหวโดยไม่ใช้เครื่องมือวัด

มาตราที่ใช้วัดขนาดของแผ่นดินไหวคือมาตราใด

มาตราริกเตอร์ (อังกฤษ: Richter magnitude scale) หรือที่รู้จักกันว่า มาตราท้องถิ่น (อังกฤษ: local magnitude scale; ML) เป็นการกำหนดตัวเลขเพื่อบอกปริมาณของพลังงานแผ่นดินไหวที่ปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวครั้งหนึ่ง มันเป็นมาตราส่วนเชิงลอการิทึมฐานสิบ ซึ่งสามารถคำนวณได้จากลอการิทึมของแอมพลิจูดการสั่นของการกระจัดที่มีค่ามาก ...

ขนาดของแผ่นดินไหวจะกําหนดจากอะไร

ขนาด (Magnitude) เป็นปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลก ปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน คำนวณได้จากการตรวจวัดค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัด ได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว โดยเป็นค่าปริมาณที่บ่งชี้ขนาด ณ บริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว มีหน่วยเป็น "ริคเตอร์"