อนุสัญญาอะไรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกการใช้สารซีเอฟซี

แทนที่สารซีเอฟซี 11 ที่ถูกห้ามผลิตทั่วโลกเมื่อปี 2010 จะต้องลดจำนวนลง แต่นักวิทยาศาสตร์ กลับพบการปล่อยสารเคมีตัวร้าย ที่ทำลายโอโซนมาจากบางพื้นที่แถบเอเชียตะวันออก

ตั้งแต่ปี 1987 มีพิธีสารมอนทรีอัล ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (Montreal Protocol on Substances That Deplete the Ozone Layer) เพื่อลดสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน โดยเฉพาะการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFC) มีประเทศร่วมลงนามกว่า 200 ประเทศ

เมื่อวันพุธที่ 16 พ.ค. นักวิทยาศาสตร์จาก สำนักงานมหาสมุทร และชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (The National Oceanic and Atmospheric Administration-NOAA) เปิดเผยผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ว่า มีการปล่อยสารเคมีซึ่งทำลายโอโซนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สารซีเอฟซี 11 เพิ่มขึ้น 25% ตั้งแต่ปี 2012 ทั้งที่เป็นสารเคมีที่ทำลายโอโซนและมีการห้ามผลิตตั้งแต่ปี 2010

การผลิตสารซีเอฟซี 11 ซึ่งเป็นสารทำความเย็น ใช้ทำโฟม และมีอานุภาพทำลายโอโซนมากที่สุดเป็นอันดับสอง ควรจะเป็นศูนย์หรือใกล้เคียงกับศูนย์ เนื่องจากรัฐบาลของประเทศต่างๆ ตกลงกับหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ และการปฏิบัติตามพิธีสารมอนทริอัล 1987  แต่เหตุใดจึงมีการปล่อยสารเคมีเพิ่มขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีผู้ที่ผลิตสารเคมีนี้อย่างลับๆ และละเมิดข้อตกลงนานาชาติ

สตีเฟน มอนท์ซกา (Stephen Montzka) หัวหน้าคณะวิจัยติดตามสารเคมีในชั้นบรรยากาศ “ผมทำงานนี้มา 27 ปีแล้ว นี่เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็น ผมช็อก เราพยายามเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น และทำไม”

คณะวิจัยซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยจาก NOAA และนักวิทยาศาสตร์ในเนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร เริ่มวิเคราะห์ตัวอย่างอากาศจากทั่วโลกตั้งแต่ปี 2013 ขณะที่ความเข้มข้นของซีเอฟซี 11 ลดลง แต่ก็ลดลงในอัตราที่ช้ากว่าที่ควรจะเป็น คาดว่ามีซีเอฟซี 11 จากแหล่งใหม่

พวกเขากล่าวว่ามีโอกาสน้อยมากที่จะบอกว่าการเพิ่มขึ้นของซีเอฟซี 11 มาจากความไม่ตั้งใจ และได้พิจารณาคำอธิบายที่เป็นไปได้ ก็สรุปว่าไม่สามารถอธิบายได้ เมื่อคำนวณได้ว่ามีการปล่อยซีเอฟซีปีละ 13,000 ล้านกรัมต่อปีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้หลักฐานยังแสดงให้เห็นชัดเจนว่า มีแหล่งที่ปล่อยสารเคมี นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ผลิต หรือเกิดขึ้นตรงไหน ศูนย์สังเกตการณ์ของสหรัฐอเมริกาในฮาวายพบว่า ซีเอฟซี 11 ซึ่งผสมกับก๊าซชนิดอื่นๆ มีที่มาจากบางพื้นที่ในเอเชียตะวันออก ทั้งนี้ไม่มีรายงานต่อหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติก่อนหน้านี้ว่าสารซีเอฟซี 11 ที่ถูกปล่อยออกมาเพิ่มขึ้นจากการผลิตใหม่

“น่าวิตกมากที่มีคนโกง” เดอร์วูด ซาเอลเค (Durwood Zaelke) ผู้ก่อตั้งสถาบันธรรมาภิบาลและพัฒนาที่ยั่งยืน และผู้เชี่ยวชาญด้านพิธีสารมอนทรีอัลแสดงความเห็น “มันอาจจะเป็นไปได้บ้างที่มีการปล่อยสารเคมีออกมาโดยไม่ตั้งใจ แต่นี่ชัดเจนว่ามันถูกผลิตขึ้นอย่างตั้งใจ” และเขายังสงสัยว่าตลาดของซีเอฟซี 11 เป็นอย่างไร เพราะไม่เพียงแต่การห้ามใช้เท่านั้น ยังมีทางเลือกอื่นๆ อีก

เอริค โซเลม (Erik Solheim) หัวหน้า UN Environment องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า “ถ้าการปล่อยสารเคมีนี้ยังไม่ลดลง มันสามารถทำให้การฟื้นฟูชั้นโอโซนช้าลงได้ ดังนั้นเราต้องหาให้ได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงของการปล่อยสารเคมีออกมา และดำเนินการตามความจำเป็น”

“หากการปล่อยซีเอฟซีที่เพิ่มขึ้นมายังไม่หายไปจะส่งผลต่อการฟื้นฟูชั้นบรรยากาศให้ล่าช้าไปอีกอย่างน้อย 10 ปี” มอนท์ซกากล่าว

ที่มา:

  • https://www.theguardian.com/environment/2018/may/16/mysterious-rise-in-banned-ozone-destroying-chemical-shocks-scientists
  • https://www.nytimes.com/2018/05/16/climate/ozone-layer-cfc.html
  • https://www.washingtonpost.com/news/energy-environment/wp/2018/05/16/someone-somewhere-is-making-a-banned-chemical-that-destroys-the-ozone-layer-scientists-suspect/?utm_term=.c88582e76a54

Tags: CFC, ซีเอฟซี, ชั้นโอโซน, ชั้นบรรยากาศ

ความเป็นมาของวันโอโซนโลก (World Ozone Day)

         

เนื่องจากในยุคสมัยที่ผ่านมา โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ใช้สารเคมีซีเอฟซี หรือคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC : Chlorofluorocarbon) เป็นจำนวนมาก พบมากในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมผลิตโฟม ทำให้สารเคมี ซีเอฟซีระเหยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และไปทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน จนก๊าซโอโซนถูกทำลาย และลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งสารเคมีซีเอฟซีเป็นสารที่สลายตัวเองได้ยาก จึงทำให้ตกค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศเป็นเวลานาน ร่วมกับก๊าซโอโซนถูกทำลายลงไปมาก จึงทำให้รังสียูวีอุลตราไวโอเลตเข้าสู่พื้นโลกมาขึ้น ซึ่งส่งผลให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งสัตว์และ มนุษย์เกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง ด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีการกำหนดให้วันที่ 16 กันยายนของทุกปี เป็นวันโอโซโลก นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา นานาประเทศได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี พ.ศ. 2528 เรียกว่า “อนุสัญญาเวียนนา และพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน” และจัดให้ลงนามใน “พิธีสารมอนทรีออล” ขึ้นในวันที่ 16 กันยายน ปี พ.ศ. 2530
          สำหรับประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532

วัตถุประสงค์ของการกำหนดวันโอโซนโลก

1. เพื่อกระตุ้นให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญา ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอน ซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ

(จำนวนผู้เข้าชม 1019 ครั้ง)

อนุสัญญาใดมีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกการใช้สารซีเอฟซี

ได้มีการลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ของประเทศต่างๆ ในปี พ.ศ.2535 เพื่อรักษาระดับก๊าซ C2O ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยแต่เนื่องจากไม่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย

อนุสัญญาอะไรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกการใช้สารซีเอฟซีและสารอื่น ๆ ที่มีผลทำให้ชั้นโอโซนเบาบางลง

เนื่องจากประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยการคุ้มครองชั้นโอโซนและพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารที่ทำลายชั้นโอโซน จึงจำเป็นต้องยกเลิกการใช้คลอโรลูออโรคาร์บอน (CFC) และสารไฮโดรคลอโรลูออโรคาร์บอน (HCFCs)

ข้อตกลงระหว่างประเทศข้อใดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกการใช้สารที่มีผลต่อชั้นโอโซน *

พิธีสารมอนทรีออล (MONTREAL PROTOCOL) } เป็นข้อตกลงระดับรองที่ต่อเนื่องจากอนุสัญญาเวียนนา จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 โดยมีจุดประสงค์เพื่อวางแผนดำเนินการร่วมกันของประเทศสมาชิก เพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุมการผลิต การใช้และการค้าสารเคมีที่ไปทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ โดยให้มีการควบคุมในระดับอุตสาหกรรม

ข้อใดเป็นอนุสัญญาเพื่อการป้องกันชั้นโอโซน

พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน คือสนธิสัญญาสากลที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุม, ยับยั้ง และรณรงค์ให้ลดการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน เพื่อรักษาชั้นบรรยากาศโอโซนที่เริ่มจะสูญสลายไปเนื่องจากสารเหล่านี้ โดยพิธีสารได้เปิดให้ประเทศต่างๆ ลงนามเป็นประเทศภาคีสมาชิกในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530 และเริ่มใช้ ...

อนุสัญญาใดมีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกการใช้สารซีเอฟซี อนุสัญญาอะไรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกการใช้สารซีเอฟซีและสารอื่น ๆ ที่มีผลทำให้ชั้นโอโซนเบาบางลง ข้อตกลงระหว่างประเทศข้อใดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกการใช้สารที่มีผลต่อชั้นโอโซน * ข้อใดเป็นอนุสัญญาเพื่อการป้องกันชั้นโอโซน อนุสัญญาไซเตส อนุสัญญาเวียนนา อนุสัญญาเวียนนา 1969 อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยเรื่องอะไร พิธีสารมอนทรีออล ห้ามใช้สารใด อนุสัญญาเวียนนา สรุป อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีขึ้นเพื่อ วัตถุประสงค์ในข้อใด พิธีสารมอนทรีออล คือ