กินอาหารแล้วคลื่นไส้เกิดจากอะไร

กินอาหารแล้วคลื่นไส้เกิดจากอะไร

สาเหตุ

มักเกิดจากการรับเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายจนเกิดการติดเชื้อในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก

  1. เชื้อไวรัส เช่น โนโรไวรัส (Norovirus) และโรต้าไวรัส (Rotavirus)
  2. เชื้อแบคทีเรีย เช่น อีโคไล (E.coli) ซาลโมเนลลา (Salmonella)และชิเกลลา (Shigella)
  3. ปรสิต เช่น ไกอาเดีย (Giardia) และคริปโตสปอริเดีย(Cryptosporidia)

สาเหตุการติดเชื้อ

  • บริโภคอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเฉพาะอาหารทะเลปลาดิบ หรือปลาที่ปรุงไม่สุกดี
  • สัมผัสวัตถุหรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่นใช้เครื่องครัวหรือของใช้ภายในบ้านที่สกปรก
  • ไม่ล้างมือหลังเข้าห้องน้ำ หรือหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก
  • ใกล้ชิดหรือได้รับเชื้อจากผู้ป่วยโรคนี้

อาการ

อาการหลัก คือ ท้องเสีย และอาจมีอาการอื่นๆ ได้แก่

  • คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาเจียนพุ่งอย่างแรง
  • ปวดท้อง ท้องเกร็ง ท้องอืด และมีเสียงโกรกกราก
  • มีไข้ต่ำๆ
  • เหนื่อยล้า อ่อนแรง เบื่ออาหาร
  • ปวดศีรษะ หรือปวดกล้ามเนื้อ

การรักษา

ยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับกรณีที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส โดยทั่วไปร่างกายของผู้ป่วยมักฟื้นตัวและหายดีได้เองภายใน 1 สัปดาห์

แต่หากติดเกิดจากการติดชื้อชนิดอื่นผู้ป่วยอาจต้องไปพบแพทย์เพื่อรับยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิต

ข้อเสนอแนะ

ผู้ป่วยอาจบรรเทาอาการได้ด้วยตนเองในเบื้องต้น ดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มเกลือแร่ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ
  • รับประทานอาหารร้อนๆ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน

อาการผิดปกติที่มาพบแพทย์

ปวดท้อง อาเจียนมาก มีไข้ อ่อนเพลียมาก

Home > อาหารไม่ย่อย สัญญาณเตือนปัญหาระบบทางเดินอาหาร

อาหารไม่ย่อย ใครว่าไม่อันตราย!

อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) เป็นอาการปวดท้องบริเวณช่วงบน ร่วมกับมีอาการท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง จุกลิ้นปี่ รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว โดยมักมีอาการในระหว่างหรือหลังรับประทานอาหาร ซึ่งอาการอาหารไม่ย่อยนี้ พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ อาการมักจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่รู้หรือไม่ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

อาหารไม่ย่อย อาจเป็นเพราะมีพฤติกรรมเหล่านี้

อาหารไม่ย่อยเกิดจากอะไร? อาการอาหารไม่ย่อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่แล้วพบว่ามีปัจจัยมาจากพฤติกรรมการกิน และลักษณะการดำเนินชีวิต รวมไปถึงอาหาร เครื่องดื่ม หรือยาบางชนิด ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ

  • เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดก่อนกลืน รับประทานเร็ว รับประทานเยอะ
  • ชอบรับประทานอาหารมันๆ อาหารรสเผ็ดจัด
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม มากเกินไป
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน
  • รับประทานยาบางชนิด ที่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ อาหารเสริมธาตุเหล็ก เป็นต้น
  • มีแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก กรดไหลย้อน
  • มีภาวะเครียดหนัก ภาวะวิตกกังวล
  • สูบบุหรี่เป็นประจำ

อาหารไม่ย่อยเป็นประจำ อาจเสี่ยงเป็น “มะเร็งกระเพาะอาหาร”

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นภัยเงียบของสุขภาพที่หลายคนมองข้าม และกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ ก็มีอาการรุนแรงและลุกลามไปตามอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายแล้ว โดยอาการอาหารไม่ย่อยเป็นประจำ อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

หากคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยเป็นประจำ แน่นท้อง ปวดท้องหลังรับประทานอาหาร จุกที่ลิ้นปี่ แสบร้อนบริเวณหน้าอก ร่วมกับ อุจจาระเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรมาปรึกษาพบแพทย์เพราะหากปล่อยไว้อาการอาจรุนแรงขึ้น

โปรแกรมเหมาจ่ายส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร

อาหารไม่ย่อย ทำไงดีวิธีป้องกันรับมือกับอาหารไม่ย่อย

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน โดยรับประทานให้ตรงเวลา ไม่รับประทานทีละมากๆ หรือรีบกินจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด ไขมันสูง และอาหารย่อยยาก
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน น้ำอัดลม
  • ไม่เครียดหรือวิตกกังวลมากจนเกินไป เพราะจะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานไม่ปกติ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยา หลีกเลี่ยงการรับใช้กลุ่มยาแก้ปวด หรือยาที่อาจมีผลต่อระบบย่อยอาหารอื่นๆ

แชร์บทความ

ข้อมูลสุขภาพ โรคที่พบบ่อย

กินอะไรไปแล้วพะอืดพะอม

หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายท้อง เบื่ออาหาร และพะอืดพะอมตลอดเวลา นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคอาหารเป็นพิษ เพราะร่างกายได้รับเชื้อปนเปื้อนจากอาหารที่บริโภคเข้าไป ซึ่งควรต้องดูแลตัวเองให้ดี ดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) เพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป และหากอาการหนักก็ควรให้แพทย์รักษาจะดีที่สุด

อาการอยากอาเจียนเกิดจากอะไร

สาเหตุของการคลื่นไส้ คลื่นไส้เป็นอาการที่เกิดจากหลายสาเหตุ โดยปัญหาสุขภาพที่ทำให้เกิดอาการนี้อาจมาจากอาการเมารถ การแพ้อาหารหรือยาบางอย่าง หรืออาการอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพบางโรค โดยสาเหตุของอาการคลื่นไส้ สามารถแบ่งเป็นสาเหตุที่มาจากปัญหาสุขภาพในร่างกาย และผลข้างเคียงจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในร่างกาย ดังนี้

ทำยังไงให้หายคลื่นไส้

ดื่มน้ำอุ่นมากๆ และอาจดื่มน้ำขิงหรือชาขิงที่จะช่วยลดอาการ คลื่นไส้อาเจียนได้ พักผ่อนให้มาก ทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส ไม่ควรกังวลและเครียด หลังตื่นนอน ควรดื่มน้ำผลไม้ หรือทานขนมขบเคี้ยวที่ไม่หวานเพื่อแก้อาการวิงเวียน คลื่นไส้ เช่น บิสกิตหรือขนมปังกรอบ และอาจนอนพักสัก 20-30 นาที ก่อนลุกจากเตียง