อุปสงค์ส่วนเกินและอุปทานส่วนเกินเกิดจากอะไร

  ดุลยภาพตลาด หมายถึง ปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน กล่าวคือ ปริมาณสินค้าตามแผนการซื้อกับแผนการขายเท่ากัน

  • Demand = Supply
  • คนอยากซื้อ = คนอยากขาย

  กฎของพลังตลาด หมายถึง เมื่อมีการขาดแคลน ราคาจะเพิ่มขึ้น และเมื่อมีส่วนเกินเกิดขึ้น ราคาจะลดลง

  ส่วนเกิน หรือ อุปทานส่วนเกิน (Excess supply) หมายถึง ปริมาณอุปทานของสินค้ามากกว่าปริมาณอุปสงค์ของสินค้า ซึ่งทำให้ราคาสินค้าลดลง

  การขาดแคลน หรือ อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess demand) หมายถึง ปริมาณของอุปสงค์สินค้ามากกว่าปริมาณอุปทานของสินค้า ซึ่งทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

           อุปทานส่วนเกิน หมายถึง ภาวะที่อุปทานมากกว่าอุปสงค์ ทำให้สินค้าชิ้นนั้นล้นตลาด สามารถปรับตัวเข้าสู่ดุลภาพ โดยทำให้ราคาถูกปรับต่ำลง แล้วอุปทานจะลดลง อุปสงค์จะเพิ่มขึ้นจนเข้าสู่จุดดุลยภาพ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

            ตัวชี้วัด

                    ส 3.1 ม. 3/1 อธิบายกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ

            จุดประสงค์การเรียนรู้

                    1.นักเรียนอธิบายลักษณะอุปทานส่วนเกินได้ถูกต้อง

                    2.นักเรียนวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุปทานส่วนเกิน และบอกแนวทางการแก้ไขจากการเกิดภาวะอุทานส่วนเกินได้อย่างน้อย 3 ข้อ อย่างเหมาะสม

                    3.นักเรียนสามารถอภิปรายผลกระทบที่เกิดจากภาวะอุปทานส่วนเกินได้อย่างมีเหตุผล

                    4.นักเรียนนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาจากกิจกรรม “ทำยังไงดี สินค้าขายไม่ได้” ได้อย่างมีเหตุผล

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ ขึ้นไป

2. ทำกิจกรรมประจำบทเรียน และใบงานที่ 19 เรื่อง อุปทานส่วนเกิน (Excess supply)

กิจกรรมประจำบทเรียน และใบงานที่ 19 เรื่อง อุปทานส่วนเกิน    (Excess supply)

3. ถาม – ตอบ

คำถาม

ตอบคำถามถูกต้อง

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

            อุปสงค์ส่วนเกิน หมายถึง ภาวะที่อุปสงค์มากกว่าอุปทาน ทำให้สินค้าขาดตลาด สามารถปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพ โดยทำให้ราคาเพิ่มขึ้นแล้วอุปสงค์จะลดลง อุปทานจะเพิ่มขึ้นจนเข้าสู่จุดดุลยภาพ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

            ตัวชี้วัด

                    ส 3.1 ม. 3/1 อธิบายกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ

            จุดประสงค์การเรียนรู้

                   1. นักเรียนอธิบายลักษณะอุปสงค์ส่วนเกินได้ถูกต้อง

                   2. นักเรียนวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน และบอกแนวทางการแก้ไขจากการเกิดภาวะอุปสงค์ส่วนเกินได้อย่างน้อย 3 ข้อ อย่างเหมาะสม

                   3. นักเรียนอภิปรายผลกระทบที่เกิดจากภาวะอุปสงค์ส่วนเกินได้อย่างมีเหตุผล 

                   4. นักเรียนนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาจากกิจกรรม “ทำยังไงดี สินค้าหมดแล้ว” ได้อย่างมีเหตุผล   

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ ขึ้นไป

2. ทำกิจกรรมประจำบทเรียน และใบงานที่ 18 เรื่อง อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand)

กิจกรรมประจำบทเรียน และใบงานที่ 18 เรื่อง อุปสงค์ส่วนเกิน     (Excess Demand)

3. ถาม – ตอบ

คำถาม

ตอบคำถามถูกต้อง

เวลาเราฟังนักวิชาการหรือนักเศรษฐศาสตร์ เรามักจะได้ยินคำศัพท์วิชาการอยู่บ่อยๆ อย่างคำว่าอุปสงค์ อุปทาน หรือคำว่า supply , over supply ต่างๆ หลายคนฟังแล้วอาจจะงงๆหน่อยว่า แล้วคำเหล่านี้อย่าง อุปสงค์คืออะไร และมันแปลว่าอะไรกันแน่

ขออธิบายในเชิงวิชาการกันก่อนเลย อุปสงค์คือ ความต้องการซื้อสินค้า และอุปทานคือ ความต้องการขาย ซึ่งสองนี้จะเป็นตัวที่จะได้บอกว่า สินค้านั้นๆจะมีราคา และปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม และถ้าเกิดการซื้อขายกันจะเรียกว่าจุดดุลยภาพ ในทางเศรษฐศาสตร์จะมีกฎอุปสงค์ และกฎอุปทานอยู่ เพื่อใช้เป็นหลักการความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณอยู่

กฎอุปสงค์คือ เราจะซื้อสินค้ามากขึ้นเมื่อราคานั้นต่ำลง และจะซื้อสินค้านั้นน้อยลงเมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น

กฎอุปทานคือ เราจะอยากขายสินค้านั้นเมื่อราคาสินค้านั้นสูงขึ้น และขายสินค้านั้นน้อยลงเมื่อราคานั้นต่ำลง

แต่เราอาจะเคยได้ยินเรื่องของกฎอีก 2 แบบก็คือ อุปสงค์ส่วนเกิน และอุปทานส่วนเกิน ซึ่งความหมายของสองคำนี้ก็คือ อุปสงค์ส่วนเกิน การเกิดขึ้นเมื่อความต้องการสินค้านั้นมีมากเสียจนผู้ผลิต ผลิตสินค้าให้ไม่ทัน และ อุปทานส่วนเกินก็คือผู้ผลิตผลิตออกมามากเสียจนไม่มีคนซื้อเพราะสินค้านั้นไม่ได้เป็นที่ต้องการของตลาดอีกต่อไปแล้ว

อุปสงค์ส่วนเกินและอุปทานส่วนเกินเกิดจากอะไร

ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของอยู่แล้วก็อาจจะสงสัยว่าทำไมเราจึงต้องรู้เรื่องการของอุปสงค์คือะไร อุปทานคืออะไร ซึ่งจริงๆแล้วหลักการเหล่านี้หากเราดูดีๆ เราสามารถเอามาปรับใช้การขายของได้เลย เช่นการวางแผนในเรื่องของราคาทำอย่างไรให้ราคามีจุดดุลยภาพ ที่พ่อค้าแม่ค้าก็อยู่ แล้วลูกค้าก็ได้ราคาที่รับได้ นอกที่เราจะรู้ว่าอุปสงค์อะไรแล้ว จริงๆแล้วยังมีปัจจัยอื่นอีกที่เราต้องมาดูกันก็คือ

1. รายได้ของผู้ซื้อ

ราคานั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุปสงค์ของลูกค้าเรา อย่างที่บอกข้างต้นอุปสงค์คือความต้องการซื้อสินค้า แต่ถ้าหากเศรษฐกิจหรือรายได้ของคนซื้อลดลง จะทำให้สินค้าเรานั้นหากราคาสูงก็จะขายไม่ได้ ลูกค้าก็จะเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาถูกลงมา คุณภาพอาจจะไม่เทียบเท่าแต่ใช้ได้เหมือนกันมาใช้แทน

2. จำนวนผู้ซื้อ

ถ้าให้เห็นภาพง่ายๆเลยก็คือ ความต้องการซื้อหน้ากาก ในช่วงมีโควิด-19 ใหม่ๆ หน้ากากมีจำนวนจำกัด แต่คนต้องการซื้อเยอะมาก ทำให้ราคาของสินค้านั้นสูงตามไปด้วย เมื่อหน้ากากดูแทนที่ด้วยหน้ากากผ้าก็ทำให้ราคาหน้ากากนั้นถูกลง จำนวนผู้ซื้อลดลง ราคาก็จะลดลงตามไปด้วย

3. ราคาสินค้าอื่นๆ

อย่างบางช่วงเราจะเห็นได้ว่า เนื้อหมู เนื้อไก่ หรือแม้กระทั่งไข่ไก่ก็มีราคาขึ้นๆลงๆ สิ่งเหล่านี้เมื่อราคาสูงมาก คนก็จะหันเหไปทานอย่างอื่นแทน เช่นเนื้อปลา เนื้อวัว ที่ราคาไม่สูงเท่า ซึ่งราคาของสินค้าทดแทนก็จะมีผลต่อราคาด้วย

4. วัฒนธรรม

เรียกว่าเป็นปัจจัยภายนอก ค่านิยมที่เปลี่ยนไป อย่างถ้าเราขายสินค้าแฟชั่น ก็ต้องเทรนให้ทันเพื่อไม่ให้สินค้าของเรานั้นค้างสต็อก ต้องตามกระแสให้ทันว่าปัจจุบันโลกนี้ไปทางทิศทางใดบ้าง

ส่วนปัจจัยที่จะกำหนดในส่วนของอุปทานหรือต้นทุนของพ่อค้าแม่ค้า ที่จะนำสินค้าเข้ามาขายก็อาจจะจำเป็นที่ต้องรู้เรื่องของอุปทานด้วย โดยปัจจุบันของอุปทานนั้นก็มีดังนี้

  1. ต้นทุนของสินค้า หลายๆครั้งพ่อค้าแม่ค้าก็จำเป็นที่ต้องขึ้นราคาสินค้าเพื่อนำมาขายเนื่องจากค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น ค่าภาษีสินค้านำเข้าต่างๆ
  2. เทคโนโลยีการผลิต หากเราสามารถคิดเทคโนโลยีการผลิตได้ดีขึ้น ถูกลงก็จะทำให้พ่อค้าแม่ค้านั้นขายได้มากขึ้น ผลิตได้มากขึ้น ลูกค้าก็อาจจะได้ราคาที่ตัวเองรับได้
  3. การคาดการณ์ ต้องดูเทรนตลาดว่าจะไปทิศทางไหน เพื่อที่จะได้สั่งผลิตสินค้าได้ถูกต้องตามความต้องการของลูกค้าเรียกว่าตรงกับอุปสงค์ของลูกค้าเลย

จะเห็นได้ว่าจากกล่าวมาข้างต้นไม่ว่าจะเป็นอุปสงค์คืออะไร อุปทานคืออะไร นั้นเกี่ยวกับการค้าขายทั้งสิ้น หากเราสามารถเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ เราก็จะสามารถตั้งราคาและสั่งซื้อสินค้า หรือ จะผลิตสินค้าเข้ามาขายได้ถูกต้องไม่เกินปัญหา ของล้นสต็อก หรือ ปัญหาของขาดตลาดได้

แต่หากพ่อค้าแม่ค้าคนไหน อยากจะรู้ว่าสินค้าชิ้นไหนของตัวเองมีอุปสงค์อุปทานอย่างไร ก็สามารถมาใช้ระบบ Fillgoods ของเราได้ เนื่องจากระบบของเรามีระบบสต็อกที่สามารถสรุปได้ว่า สินค้าไหนเป็นสินค้าขายดี หรือสินค้าไหนหมดแล้ว เพื่อรู้ว่าความต้องการของลูกค้าในช่วงนี้เขาต้องการอะไร จะได้สั่งซื้อหรือผลิตมาตรงใจกับลูกค้า นอกจากนี้เรายังมีระบบเรียกขนส่งเข้ารับสินค้าถึงหน้าบ้านไม่จำเป็นต้องออกไปเสี่ยงโควิด-19 นอกบ้าน เรียกขนส่งเข้ามารับสินค้าได้เลย หากใครสนใจก็สามารถ โทรปรึกษาทีมงาน ฟรี!

โทรเลย 021146800 กด 1

วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 09.00 – 18.00 น.