ประเภทของการท่องเที่ยวมีอะไรบ้าง

เส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาแหลมหญ้า จังหวัดระยอง ลักษณะภูมิประเทศของเขาแหลมหญ้า เป็นแหลมที่ยื่นออกไปในทะเล มีพื้นที่โล่งกว้าง เป็นเนินทุ่งหญ้าสลับกับหิน ไม่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นได้เนื่องจากลมที่พัดแรงตลอดเวลา โดยเส้นทางศึกษาธรรมชาติแบ่งออกเป็น 9 สถานีด้วยกัน ไล่มาตั้งแต่ แนะนำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ,ชีวิตกลางวนา ,ห้องเรียนธรรมชาติ ,อุโมงค์ป่า ,มหัศจรรย์แหลมหญ้าน่าชม ,เมื่อลาวาสงบ ,ระบบนิเวศชีวิตน้ำขึ้น-น้ำลง 1 , ระบบนิเวศชีวิตน้ำขึ้น-น้ำลง 2 และสิ้นสุดที่เส้นทางอุทยานในวรรณคดี ซึ่งเส้นทางเดินจะมีทั้งทางเรียบ และมีบางช่วงเป็นเนินขึ้นลงที่ต้องลัดเลาะไปตามโขดหิน ซึ่งตลอดระยะทางกว่า 1.4 กิโลเมตร ที่มีฝั่งหนึ่งเป็นวิวทะเล อีกฝั่งก็เป็นเขาหินสีทอง เดินสามารถเดินเล่นกันแบบเพลินๆ ได้

หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะทางธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น โดยอาจมีเรื่องราวทางวัฒธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องโดย การจัดการการท่องเที่ยวในแหล่งนั้น จะต้องมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องมีกิจกรรมที่ส่งเสริม ให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศนั้น มีการจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

วันนี้ ได้มีโอกาสเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการสัมมนาการท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในหัวข้อ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการผจญภัย ที่จัดขึ้นที่โรงแรมอิมพีเรียล แม่ฮ่องสอน โดยวิทยากร คุณปณต หรือคุณตั๋ง ผู้ก่อตั้งทัวร์เมิงไตครับ ซึ่งได้เปิดมุมมองใหม่ ๆ ได้มากทีเดียว ประกอบกับที่กำลังจัดทำเว็บไซต์ใหม่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน MaeHongSon.org ที่ตั้งใจว่าจะเปิดใช้ภายในสิ้นเดือนนี้ เลยได้ลองค้นหาประเภทของรูปแบบการท่องเที่ยวในเมืองไทย และพบว่าทางการท่องเที่ยว TAT ได้แยกประเภทออกถึง 12 ประเภทแน่ะ เยอะมากเกินไปหรือปล่าว ลองอ่านกันดูครับ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแบ่งตามความสําคัญและสภาพแวดล้อม ได้ 12 ประเภทดังนี้

1. แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco-tourism) หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะทางธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น โดยอาจมีเรื่องราว ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องโดย การจัดการการท่องเที่ยวในแหล่งนั้น จะต้อง มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องมีกิจกรรมที่ส่งเสริม ให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ นั้น มีการจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสํานึก ต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

2. แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะวิทยาการ (Arts and Sciences Educational Attraction Standard) : หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวหรือกิจกรรมที่สามารถตอบสนองความสนใจพิเศษของนักท่องเที่ยว ซึ่งมี รูปแบบของการท่องเที่ยวที่ชัดเจนเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวแบบใหม่ที่เกิดขึ้น แหล่งท่องเที่ยว ประเภทนี้สามารถเพิ่มเติมได้อีกมากมายตามความนิยมของคนในแต่ละยุคสมัย เมื่อมีการระบุชัดว่า กิจกรรมนั้นๆ สามารถให้ความรู้และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ ปัจจุบันมีปรากฏอยู่หลายๆ แห่ง ตัวอย่าง เช่น พิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมและ เทคโนโลยี และ MICE (Meeting & Incentives & Conventions & Exhibitions) เป็นต้น

3. แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ (Historical Attraction) : หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวที่มีความสําคัญและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศาสนา รวมถึง สถานที่หรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่มีอายุเก่าแก่หรือเคยมีเหตุการณ์ สําคัญเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ เช่น โบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์ ชุมชนโบราณ กําแพงเมือง คูเมือง พิพิธภัณฑ์ วัด ศาสนสถาน และสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางศิลปะและสถาปัตยกรรม

4. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (Natural Attraction) หมายถึง สถานที่ที่เปิดใช้เพื่อการท่องเที่ยว โดยมีทรัพยากรธรรม ชาติเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยว มาเยือน ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้อาจจะเป็นความงดงามตามสภาพธรรมชาติ ความ แปลกตา ของสภาพธรรมชาติ สัณฐานที่สําคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์อันเป็นเอกลักษณ์หรือเป็น สัญลักษณ์ ของท้องถิ่น นั้นๆ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษ (Special Environmental Features) หรือสภาพแวดล้อมที่มีคุณค่าทาง วิชาการก็ได้

5. แหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ (Recreational Attraction) หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อการพักผ่อนและเสริมสร้างสุขภาพ ให้ความสนุกสนาน รื่นรม บันเทิง และการศึกษาหาความรู้ แม้ไม่มีความสําคัญในแง่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม แต่มีลักษณะเป็นแหล่งท่องเที่ยวร่วมสมัย ตัวอย่างเช่น ย่านบันเทิงหรือสถานบันเทิง สวนสัตว์ สวนสนุกและสวนสาธารณะลักษณะพิเศษ สวนสาธารณะ และสนามกีฬา 1 ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

6. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม (Cultural Attraction) : หมายถึงหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่าทาง ศิลปะและขนบธรรมเนียมประเพณีที่บรรพบุรุษได้สร้างสมและ ถ่ายทอดเป็นมรดกสืบทอดกันมา แหล่งท่องเที่ยวประเภทนี้ประกอบด้วย งานประเพณี วิถีชีวิตความ เป็นอยู่ของผู้คน การแสดงศิลปวัฒนธรรม สินค้าพื้นเมือง การแต่งกาย ภาษา ชนเผ่า เป็นต้น ตัวอย่าง ของแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของประเทศไทยในประเภทนี้ได้แก่ ตลาดน้ําดําเนินสะดวก งานแสดงของ ช้างจังหวัดสุรินทร์ งานร่มบ่อสร้าง ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น

7. แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ําพุร้อนธรรมชาติ ในการจัดทําเกณฑ์มาตรฐานสําหรับแหล่งท่อง เที่ยวน้ําพุร้อนธรรมชาติ มีจุดประสงค์เพื่อเป็นกรอบ แนวทางในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ําพุร้อน ธรรมชาติอย่างชัดเจน โดยเน้นในด้านการ กําหนดมาตรฐานที่จําเป็นสําหรับการบริการต่างๆ เนื่องจากการท่องเที่ยวประเภทนี้จะต้องคํานึงถึง ด้านความปลอดภัยของนักท่อง เที่ยวเป็นสําคัญ และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เนื่องจากน้ําพุร้อน จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติประเภทหนึ่ง ซึ่งหากไม่มีการ กําหนดมาตรฐานที่ชัดเจน การดําเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวใดๆ อาจส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ําพุร้อน ธรรมชาติได้ นอกจากนี้ การจัดทําเกณฑ์มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ําพุร้อนธรรมชาติ ยังมี เป้าหมายเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลแหล่งท่องเที่ยวได้นําไปใช้ เป็น เครื่องมือในการตรวจสอบ มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวของตน และยังสามารถใช้เป็นข้อมูล ที่สําคัญเพื่อประกอบการตัดสินใจ ของ นักท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นการเพิ่มมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ น้ําพุร้อนธรรมชาติของ ประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

8. แหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาด (Beach Attraction) : หมายถึง สถานที่ที่เปิดใช้เพื่อการท่องเที่ยว โดยมีชายหาดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ดึงดูดใจให้ นักท่องเที่ยวมาเยือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความเพลิดเพลินและนันทนาการในรูปแบบที่ใกล้ชิดกับ ธรรมชาติและอาจเสริมกิจกรรมเพื่อการศึกษาหาความรู้เข้าไปด้วย ซึ่งกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น บริเวณชายหาด ได้แก่ การเล่นน้ํา การอาบแดด กีฬาทางน้ํา การนั่งพักผ่อน รับประทานอาหา เป็นต้น

9. แหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ําตก สถานที่ที่เปิดใช้เพื่อการท่องเที่ยว โดยมีน้าตกเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวมา เยือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความเพลิดเพลินและนันทนาการในรูปแบบที่ใกล้ชิดกับ ธรรมชาติและ อาจเสริมกิจกรรมเพื่อการศึกษาหาความรู้เข้าไปด้วย ซึ่งกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในแหล่งน้ําตก ได้แก่ การว่ายน้า การนั่งพักผ่อน รับประทานอาหาร การเดินสํารวจน้าตก การล่องแก่งการดูนก และ การตกปลา เป็นต้น

10. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทถ้ำ แหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ำ หมายถึง สถานที่ที่เปิดใช้เพื่อการท่องเที่ยว โดยมีถ้ำเป็น ทรัพยากรธรรมชาติที่ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความเพลิดเพลินและ นันทนาการในรูปแบบที่ใกล้ชิดกับ ธรรมชาติและอาจเสริมกิจกรรมเพื่อการศึกษาหาความรู้เข้าไปด้วย ซึ่งกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ํา ได้แก่ การเข้าชมบรรยากาศและหิน งอกหินย้อยภายในถ้ำ การศึกษาด้านโบราณคดีของมนุษย์ยุคต่างๆ ที่เคยอาศัยในถ้ำ การนมัสการ พระพุทธรูป การให้อาหารสัตว์ การปิกนิกและรับประทานอาหาร เป็นต้น

11. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทเกาะ การประเมินมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวประเภท เกาะสามารถแบ่งได้เป็น 3 องค์ประกอบ ซึ่งมีจํานวน ตัวชี้วัดทั้งหมด 47 ตัวชี้วัด โดยแต่ละตัวชี้วัดมีค่าคะแนนสูงสุดเท่ากับ 5 คะแนน จึงมีค่าคะแนนรวม ทั้งสิ้น 235 คะแนน โดยการให้คะแนนจะให้ความสําคัญกับองค์ประกอบคุณค่าด้านการท่องเที่ยวและ ความ เสี่ยงต่อการถูกทําลายมากที่สุด เนื่องจากเป็นแรงดึงดูดใจสําคัญสําหรับให้นักท่องเที่ยวเข้าไป เที่ยวชมแหล่ง ท่องเที่ยว ส่วนองค์ประกอบด้านการบริหารจัดการมีความสําคัญของคะแนนรองลงมา และองค์ประกอบด้านศักยภาพในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวมีความสําคัญของ คะแนน น้อยที่สุด

12. แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทแก่ง แหล่งท่องเที่ยวประเภทแก่ง หมายถึง สถานที่ที่เปิดใช้เพื่อการท่องเที่ยว โดยมีแก่งเป็น ทรัพยากรธรรมชาติที่ดึงดูดใจให้นักท่อง เที่ยวมาเยือน และมีวัตถุประสงค์เพื่อความเพลิดเพลินและ นันทนาการในรูปแบบที่ใกล้ชิดกับ ธรรมชาติ โดยมีกิจกรรมการท่องเที่ยวหลัก ได้แก่ การล่องแก่ง การพายเรือ การพักแรม และการเดินป่า ซึ่งอาจเสริมกิจกรรมเพื่อการศึกษาธรรมชาติเข้าไปด้วย ได้แก่การดูนก การสํารวจธรรมชาติ การศึกษาพันธุ์พืชต่างๆ เป็นต้น

ส่วนของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา มีการแบ่งแยกที่ต่างกันอยู่อีกเล็กน้อย ดังนี้ครับ

การท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ (Nature Based Tourism)

– การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) เป็นชื่อที่คุ้นหู และได้รับการรณรงค์มาอย่างต่อเนื่อง เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และยังดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม

– การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (Marine Ecotourism) คล้ายกับแบบแรก แต่เน้นแหล่งธรรมชาติทางทะเลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นรวมทั้งระบบนิเวศทางทะเลด้วย เช่น ป่าโกงกาง หมู่บ้านชาวเล เที่ยวชมที่อยู่ของปลาวาฬ

– การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (Geotourism) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อดูความงามของภูมิทัศน์ที่มีความแปลกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เช่น อุโมงค์ ถ้ำบนหน้าผา ถ้ำน้ำลอด ถ้ำหินงอกหินย้อย ฟอสซิล รวมทั้งศึกษาธรรมชาติของหิน ดิน แร่ เป็นต้น

– การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agrotourism) คือการเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่เกษตรกรรม สวนเกษตร วนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์และเลี้ยงสัตว์ อาจเข้าชมเพื่อความรื่นรมย์ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ใหม่ก็ได้ เช่น ชมทุ่งดอกทานตะวัน ป้อนอาหารแกะ รีดนมวัน เป็นต้น

การท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม (Cultural Based Tourism)

– การท่องเที่ยวเพื่อชมวัฒนธรรมและประเพณี (Cultural and Tradition Tourism) อาจไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะเรามีประเพณีหลากหลาย เช่น ลอยกระทง สงกรานต์ แต่ควรส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ หรือประชาสัมพันธ์ตั้งแต่เนิ่นๆ กระตุ้นให้คนมาสัมผัสด้วยตนเองสักครั้ง

– การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (Historical tourism) คือการเดินทางไปเที่ยวยังโบราณสถาน ไปชมโบราณวัตถุ

– การท่องเที่ยวชนบท (Rural tourism) เป็นการเดินทางท่องเที่ยวในหมู่บ้านชนบทที่กำลังได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนบทในแถบภาคเหนือ สิ่งดึงดูดใจคือวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ในรูปแบบที่เรียบง่ายและมีความสุข รูปแบบการท่องเที่ยวที่คล้ายกัน คือ

– การท่องเที่ยวชนกลุ่มน้อย (Ethnic tourism) เพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรม ความเป็นมา และวิถีชีวิตเฉพาะกลุ่ม

รูปแบบการท่องเที่ยวที่แนะนำ

นอกเหนือจากรูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีรูปแบบที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้และมีแนวโน้มเติบโตได้ดีสำหรับพื้นที่ต่าง ๆในประเทศไทย เช่น

– การท่องเที่ยวเชิงศาสนา (Meditation Tourism) เป็นการเดินทางมาเพื่อศึกษาศาสนาหรือลัทธิต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับการฝึกจิต ปฏิบัติธรรม ซึ่งมีทั้งที่อยู่ในศาสนสถาน เช่น วัด สำนักสงฆ์ และที่ใช้รีสอร์ทเป็นสถานที่จัดอบรม

– การท่องเที่ยวแบบไม่เร่งรีบ (Slow Tourism) เป็นการท่องเที่ยวแบบเนิบช้า ให้ความสำคัญกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การปรุงอาหาร-การรับประทานอาหารแบบละเมียดละไม การใช้ชีวิตแบบไม่เร่งรีบ อาจตัดการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีออกไป เรียกว่าเป็นการพักผ่อนแบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นรูปแบบที่กำลัง “มาแรง” จนมีการพัฒนา Slow Hotel และ Slow Package ออกมาให้นักท่องเที่ยวเลือกใช้บริการ

– การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ (Health Tourism) เช่น การล้างพิษ การรับประทานอาหารดิบๆตามธรรมชาติ (Raw Food) การฝึกโยคะ การงดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสมบูรณ์ทางกายและใจ ซึ่งอาจมีการให้บริการสปาร่วมด้วย

– การท่องเที่ยวแบบบำเพ็ญประโยชน์ (Voluntourism) คนจำนวนมากมักมีความสับสนว่าหากจะจ่ายเงินไปเที่ยวแล้วยังต้องไปทำงานอาสาสมัครอีกหรือ ความจริงการเดินทางเพื่อไปบำเพ็ญประโยชน์นี้มีมาหลายปีแล้วแต่จำกัดอยู่ในกลุ่มเล็กๆ ต่อมาแนวคิดนี้ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโดยมีพื้นฐานความคิดว่าหากการไปเที่ยวแต่ละครั้งนอกจากจะเป็นการพักผ่อนแล้วหากสามารถเปิดโลกทัศน์และสร้างความดีได้ด้วยก็น่าจะดีไม่น้อย รูปแบบที่นิยม ได้แก่การไปปลูกป่า การทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ การสอนภาษาอังกฤษ การสร้างโรงเรียนหรือบูรณะซ่อมแซมสถานศึกษาให้กับเด็กที่ด้อยโอกาส การเดินทางนี้อาจมีกิจกรรมร่วมกับการศึกษาศิลปวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่การศึกษาธรรมชาติ ก็ได้เช่นกัน

– การเดินทางตามรอยภาพยนต์ หรือเพลงที่กำลังได้รับความนิยม เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ถ่ายทำภาพยนต์เรื่องดัง ซึ่งอาจจะเป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ หรืออาจเป็นเมืองใหญ่ทั้งเมืองและมีสถานที่ที่เป็นฉากสำคัญในเรื่องที่ต้องไปดูให้เห็นกับตาตนเองให้ได้ หรืออาจเป็นสถานที่ๆเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้แต่งเพลงสามารถแต่งเพลงจนดังได้ เป็นต้น

– นอกจากนี้ยังมีแนวคิดการท่องเที่ยวที่เหลือเชื่อ เป็นการท่องเที่ยวในมุมมืดซึ่งมีผู้สนใจร่วมกิจกรรมด้วย เช่น การท่องเที่ยวในสถานที่เคยเป็นสมรภูมิรบ สถานที่เคยเกิดโศกนาฏกรรม เช่น Ground Zero บริเวณที่เคยเกิดเหตุการณ์ 911 บริเวณที่เกิดสึนามิ ค่ายกักกันนักโทษ เป็นต้น

การนำเสนอรูปแบบทางการท่องเที่ยวแบบใหม่ ๆ น่าจะเป็นหนทางในการสร้างสีสันให้กับการท่องเที่ยวได้ดีมาก การทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยวน่าจะมีการแข่งขันกันในการจัดการท่องเที่ยวที่แตกต่าง เพื่อดึงดูดใจลูกค้า มากกว่าการแข่งขันด้านราคาครับ

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวมีอะไรบ้าง

ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวสมัยใหม่.
1.“Globalization” โลกาภิวัฒน์ ... .
2.“Specialty Interest Tourism” การท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม ... .
3.“Digital Lifestyle” ชีวิตยุคดิจิทัล ... .
4.“Travel safety” ความปลอดภัยระหว่างการเดินทาง ... .
5.“Low-cost Airline” สายการบินราคาประหยัด ... .
6.“Politics” นโยบายทางการเมือง.

การท่องเที่ยวมีความสําคัญอย่างไร

การท่องเที่ยวทำให้เกิดการหมุนเวียนเงินตราและการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่ท้องถิ่น การท่องเที่ยวช่วยเพิ่มรายได้จากการเก็บภาษีของรัฐบาล การท่องเที่ยวก่อให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มรายได้ต่อหัวของชุมชนท้องถิ่นทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นเศรษฐกิจระดับรากหญ้ามีความเข้มแข็งมากขึ้น

Drifter คือนักท่องเที่ยวแบบใด

1.4 นักเดินทางท่องเที่ยวแบบพเนจร (Drifter) นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีพฤติกรรมคล้ายกับ นักส ารวจ คือ เดินทางโดยล าพัง ไม่ซื้อรายการน าเที่ยวกับบริษัทน าเที่ยวไม่สนใจไปสถานที่ที่มีชื่อเสียง และหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวทั่วไปนิยม ไม่เดินทางไปในที่ต่างๆ ในฐานะ นักท่องเที่ยวแต่ไปในฐานะเช่นเดียวกับคน ...

องค์ประกอบที่สำคัญของการท่องเที่ยวมีอะไรบ้าง

4. องค์ประกอบการท่องเที่ยว หมายถึง ด้านสิ่งดึงดูดด้านการท่องเที่ยว (Attractions) ด้าน การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Accessibility) สิ่งอ านวยความสะดวก (Amenities) ที่พัก (Accommodation) กิจกรรม (Awareness) และการให้บริการในพื้นที่ (Ancillary Service)