ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน มีอะไรบ้าง

ความเป็นประชาธิปไตย. ในเอกสารการสัมนาททางวิชาการเรื่องสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่. กรุงเทพมหานคร คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า สำนักงานประธานสภาผู้แทนราษฎรและคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย, 2541

ประทาน คงฤทธิศึกษาการ. โครงการวิจัยเรื่องการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเอง. กรุงเทพมหานคร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2518

อุทัย หิรัญโต. การปกครองทิองถิ่น. กรุงเทพมหานคร ส􀂷ำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2513

ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. การบริหารการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ. โครงการผลิตตำราและวิจัยทาง รัฐศาสตร์,กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2520

ชูวงษ์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, 2539

อนันต์ อนันตกูล.หลักกฎหมายการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, 2521

Karl Deutech H. “ Social Mobilization and Political Development. United of America:American Political Review} 1989

George Thomas. B.De Huszen. Political Science Lowa : Adams & Co.,Press, 1955

Robson William. A. Local Government In Encylopaedia of Social Science., Vol. X New York : The Macmillan, 1953

Wit Daniel. A Comparative Survey of Local Government and Administration. Bangkok:Prachandra Pringting Press, 1951


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง

ความเห็นและข้อเสนอแนะ
เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
1. ความเป็นมา
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน
ได้ตระหนักและให้ความสนใจในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน สืบเนื่องจากในปัจจุบันแม้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติและรับรองไว้ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่หลายด้าน
ด้วยกัน เช่น หลักการการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย การมี
ส่วนร่วมในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา การออก
เสียงลงคะแนน การมีส่วนร่วมของประชาชนทางการเมืองโดยตรงหรือการตรวจสอบการเมือง และการ
ปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนยังประสบปัญหาอยู่มาก
ทั้งปัญหาในทางกฎหมายและปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม กล่าวคือ ในส่วนของปัญหาในทางกฎหมาย ได้แก่
บทบัญญัติของกฎหมายและกฎหมายลำดับรองหลายฉบับที่ยังมีโครงสร้างไม่สอดคล้องกับหลักการมีส่วนร่วม
ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เนื่องจากกฎหมายเหล่านั้นยังคงให้อำนาจเด็ดขาดแก่หน่วยงาน
ของรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ในการบังคับใช้กฎหมายอีกประการหนึ่งแม้รัฐธรรมนูญจะได้ระบุประเภทของการ
มีส่วนร่วมของประชาชนไว้หลายวิธีการ แต่ทว่าช่องทางที่ประชาชนจะได้ใช้นั้น ยังคงกระจัดกระจายอยู่
ในกฎหมายหลายฉบับ และประการสุดท้ายในปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนจำนวนมาก
ยังมิได้มีการประกาศใช้
นอกจากนี้ ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทั้งนี้เพราะกระบวนการมี
ส่วนร่วมของประชาชนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ย่อมจะไม่สามารถสัมฤทธิ์ผลได้ หากว่าประชาชนยังขาด
ความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิและวิธีการมีส่วนร่วมตามที่กฎหมายกำหนด หรือขาดความกระตือรือร้นสนใจ
ต่อเหตุการณ์บ้านเมือง นอกเหนือจากนี้ในส่วนของภาครัฐก็ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง หากฝ่ายรัฐยังคง
มีอคติและไม่ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงใจแล้ว กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนก็ยากที่จะสัมฤทธิ์ผล
ได้ในทางปฏิบัติ
จากสภาวะการและปัญหาดังกล่าว คณะทำงานได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำ
โครงการสัมมนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนขึ้น ในปี พ.ศ. 2546
เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและเพื่อแสวงหาแนวทาง
ในการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถได้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง
ในสังคมไทย ผลจากการดำเนินโครงการดังกล่าว ทำให้ได้มาซึ่ง “ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม
ของประชาชน พ.ศ. ....” อันเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนด้านกฎหมาย
นอกเหนือจากนั้น เพื่อให้ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนอย่างแท้จริง รวมตลอดถึงเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้และกระตุ้นกระบวนการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนให้เกิดการรับรู้ ตื่นตัวและนำไปสู่การปฏิบัติจริง ในปี พ.ศ.2547 คณะทำงานจึงได้ร่วมกับ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินโครงการศึกษาวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายการมีส่วนร่วม
ของประชาชน เพื่อนำ “ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. ....” ไปจัดทำ
ประชาพิจารณ์ทั่วทุกภาคของประเทศ รวมทั้งกรุงเทพมหานครด้วย วัตถุประสงค์เพื่อที่จะระดมความ
คิดเห็นของประชาชน ให้เกิดการอภิปรายเพิ่มเติมทั้งในด้านแนวคิด หลักการและกระบวนการมีส่วนร่วม
รวมทั้งวิเคราะห์สภาพปัญหาและกรอบเกณฑ์ที่จัดทำขึ้นนั้นว่า กฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญที่ปรากฏในแต่ละข้อ
แต่ละมาตรา ครอบคลุมครบถ้วนและตรงตามเจตนารมณ์มาตรา 76 ของรัฐธรรมนูญฯ หรือไม่ อย่างไร
รวมทั้งมีความเหมาะสมที่จะนำไปเป็นแนวปฏิบัติในการคุ้มครองและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน
ตลอดจนมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่กฎหมายฉบับนี้จะถูกนำไปบังคับใช้หรือไม่อย่างไร ทั้งนี้ ผลจากการ
รับฟังความคิดเห็นและการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ นั้นได้นำไปสู่การประมวลสรุปและวิเคราะห์ข้อคิดเห็น
อันนำมาประกอบการแก้ไขเพิ่มเติมและปรับปรุงร่างกฎหมายให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จนกระทั่งได้มาซึ่ง
“ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. ....” (ปรากฏตามเอกสารแนบท้าย)
2. ขั้นตอนการศึกษาและการดำเนินการ
2.1 คณะผู้ศึกษาจัดประชุมร่วมกับคณะทำงานเรื่องการมีส่วนร่วมและเจ้าหน้าที่
ผู้รับผิดชอบโครงการฯ จากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อนำเสนอแนวทางและกระบวนการ
ดำเนินงานต่างๆ และดำเนินการปรับแนวทางการดำเนินงานให้เหมาะสม
2.2 เตรียมการประสานงานกับกลุ่มต่างๆ ทุกจังหวัดในแต่ละภาค เพื่อจัดเตรียมเข้าร่วม
รับฟังความคิดเห็น โดยมีฐานคิดต่อกลุ่ม องค์กร และผู้ที่เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น ดังนี้
(1) ต้องการให้เกิดการระดมความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
(2) ต้องการให้เกิดการกระจายของกลุ่มที่เข้าร่วมให้มากที่สุด ดังนั้นจึงมีทั้งกลุ่ม
ในลักษณะตามพื้นที่ในแต่ละจังหวัดและกลุ่มที่สะท้อนถึงปัญหาในแต่ละภูมิภาค
(3) ให้มีกลุ่มที่เข้าร่วมในการระดมความคิดเห็น ภาคละประมาณ 12 — 15 กลุ่ม
(4) ให้แต่ละกลุ่มมีผู้เข้าร่วมประมาณ 8 — 10 คน โดยคัดเลือกมาตามลักษณะ
พื้นที่ และกลุ่มในลักษณะประเด็นปัญหา อันได้แก่
(ก) กลุ่มที่จะต้องมีทุกภาค ประมาณอย่างน้อย 7 กลุ่มพื้นฐาน โดยเลือกจาก
กลุ่มเหล่านี้ อันได้แก่ กลุ่มเกษตรกร , กลุ่มผู้นำท้องถิ่น/นักการเมืองท้องถิ่น , กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน
, กลุ่มข้าราชการที่ทำงานกับชุมชน (สาธารณสุข พัฒนาชุมชน กศน.ฯลฯ) , กลุ่มผู้สูงอายุ , กลุ่มสถาบัน
การศึกษาในท้องถิ่น, กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข , กลุ่มทนายความ , กลุ่มหอการค้าจังหวัด , กลุ่ม
อุตสาหกรรมจังหวัด , กลุ่มสตรีแม่บ้าน , กลุ่มเยาวชน , กลุ่มอาสาสมัครพัฒนาชุมชน , กลุ่มแรงงาน ,
กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นต้น
(ข) กลุ่มที่เกิดจากประเด็นปัญหาในแต่ภูมิภาค/ พื้นที่ ได้แก่
ภาคเหนือ : (ปัญหาด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม) กลุ่มฮักเมืองน่าน
กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าแม่เมาะ , กลุ่มต่อต้านแก่งเสือเต้น
ภาคอีสาน : (ปัญหาความยากจน ที่ดินทำกิน) ได้แก่ กลุ่มสมัชชาคนจน,
กลุ่มปากมูล , กลุ่มชุมชนลำน้ำพอง เป็นต้น
ภาคใต้ : ได้แก่ กลุ่มท่อก๊าซ , กลุ่มประมงพื้นบ้าน เป็นต้น
ภาคกลาง : ได้แก่ กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน , กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์,
กลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน , กลุ่มประชาคมกรุงเทพ , กลุ่มสื่อสารมวลชน, กลุ่ม
ชาวบ้านครัว , กลุ่มบางกอกฟอรั่ม เป็นต้น
(ค) กรุงเทพมหานครมีการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มกรรมาธิการ
การมีส่วนร่วม , กรรมาธิการสิทธิมนุษยชน , กลุ่มคณะกรรมการกฤษฎีกา , กลุ่มนักกฎหมาย , กลุ่ม
ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านการมีส่วนร่วม เป็นต้น โดยประเด็นที่จะทำการระดมความคิดเห็นคือ ประเด็น
การบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายการมีส่วนร่วมควรมีบทลงโทษหรือไม่และอย่างไร แนวปฏิบัติเพื่อให้
เกิดการมีส่วนร่วมนั้นควรเป็นอย่างไร
2.3 จัดเวทีรับฟังและระดมความคิดเห็น ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ดังนี้
กระบวนการในการรับฟังความคิดเห็น
(1) นำเสนอแนวทางของกฎหมาย และ ร่าง พ.ร.บ.การมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการรับฟังและระดมความคิดเห็น ภาคละ 1 ครั้ง และกรุงเทพมหานคร 1 ครั้ง รวม 5 ครั้ง
(2) การจัดเวทีรับฟังและระดมความคิดเห็น มีวิทยากรประจำกลุ่มๆ ละ 1 คน
หลังจากระดมความเห็นตามกลุ่มแล้ว จะมาร่วมกันเสนอในเวทีใหญ่
(3) ทำการบันทึกความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม
2.4 รวบรวมข้อเสนอแนะ ข้อพิจารณาต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคและนำมาจัดทำเป็นเอกสาร
และนำเสนอต่อเวทีประชุมโต๊ะกลม ครั้งที่ 1 เพื่อให้นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน10 ท่าน ร่วมประมวล
วิเคราะห์และสังเคราะห์ความคิดเห็นของประชาชน พร้อมทั้ง ช่วยพิจารณาปรับปรุงร่างกฎหมาย
2.5 นำข้อเสนอจากที่ประชุมโต๊ะกลม ครั้งที่ 1 ไปปรับปรุงแก้ไข และนำเข้าสู่
ที่ประชุมโต๊ะกลม ครั้งที่ 2 เพื่อให้นักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 10 ท่าน พิจารณาเป็นครั้งที่ 2
3. หลักการและสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของ ประชาชน พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. .... มีหลักการและสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 การรับรองและคุ้มครองสิทธิของประชาชนในกระบวนการการมีส่วนร่วม
3.1.1 กำหนดให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา 76 ได้รับการรับรอง คุ้มครองและนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใดๆ อันเป็น
การขัดขวางการใช้สิทธิและเสรีภาพโดยชอบด้วยกฎหมาย
3.1.2 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานมีหน้าที่ต้องสนับสนุนและส่งเสริมการมี
ส่วนร่วมของประชาชนอย่างเต็มที่ และในกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การไม่สนับสนุน
และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ถือว่าเป็นการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่
3.1.3 กำหนดถึงวิธีการในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนี้
(1) การให้ข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้านแก่ประชาชน
(2) การรับฟังความคิดเห็นและปรึกษาหารือกับประชาชน
(3) การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
(4) การให้ประชาชนร่วมมือในการดำเนินการ
(5) การมอบให้ประชาชนดำเนินงาน
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ รายละเอียดของวิธีการในการ
สนับสนุนการมี
ส่วนร่วมของประชาชนจะเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน
3.1.4 รับรองสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องที่มีความสำคัญและมีผล
กระทบสำคัญต่อประโยชน์สาธารณะ คือ
(1) การผังเมือง
(2) การจัดรูปที่ดิน
(3) การปฏิรูปที่ดิน
(4) การดำเนินการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3.1.5 กำหนดถึงระดับของการให้การคุ้มครองและนำไปปฏิบัติ ซึ่งสิทธิและเสรีภาพ
ในการ
มีส่วนร่วมของประชาชน โดยจะต้องคำนึงถึงโอกาสในการพัฒนาระดับของการมีส่วนร่วมจากระดับแรกจนถึง
ระดับสุดท้าย
3.1.6 กำหนดให้การละเลยเพิกเฉยของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ในการพัฒนาจากระดับของการมีส่วนร่วมตามลำดับ อาจเป็นเหตุในการร้องเรียนเรื่องดุลยพินิจในการปฏิบัติ
หน้าที่ได้ โดยให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
3.2 คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน
3.2.1 กำหนดให้มีคณะกรรมการ จำนวน 15 คน โดยคณะกรรมการทั้งสิ้นมีที่มาจาก
(1) บุคคลซึ่งเป็นตัวแทนจากภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ ในสังคม จำนวน 8 คน
(2) ผู้แทนจากสื่อมวลชนแขนงต่างๆ จำนวน 1 คน
(3) ผู้แทนซึ่งเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย จำนวน 1 คน
(4) ผู้แทนจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำนวน 1 คน
(5) ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักนายก
รัฐมนตรี จำนวน 1 คน
(6) ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำนวน 1 คน
(7) ผู้แทนจากคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง สำนักงานคณะ
กรรมการกฤษฎีกา จำนวน 1 คน
(8) ผู้แทนจากกระทรวงการคลัง จำนวน 1 คน
3.2.2 กำหนดให้กระบวนการสรรหาเป็นไปตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดภายใต้
กรอบของกระบวนการสรรหา คือ ต้องคำนึงถึงความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์การมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ
3.2.3 คณะกรรมการจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
(3) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี คนวิกลจริตหรือจิต
ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(4) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ
สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(5) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง
3.2.4 กำหนดให้เงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์อื่นของคณะกรรมการ
เป็นไปตาม
พระราชกฤษฎีกา
3.2.5 กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการให้มีวาระสี่ปี นับแต่วันประกาศ
รายชื่อกรรมการในราชกิจจานุเบกษา และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
3.2.6 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ คณะกรรมการจะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3.2.3
(4) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(5) คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง
3.2.7 กำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการไว้ ดังต่อไปนี้
(1) สนับสนุนและประสานงานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กร
พัฒนาเอกชน สถาบันวิชาการ องค์กรชาวบ้าน องค์กรภาคธุรกิจ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ในการ
เสริมสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
(2) ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนประชาชนในการใช้สิทธิและเสรีภาพในการ
มีส่วนร่วม ในการนี้ หากมีการร้องเรียนว่าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใดละเลยหรือปฏิเสธมิให้
ประชาชนมีส่วนร่วมตามกระบวนการที่กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ กำหนดไว้ให้คณะกรรมการมี
อำนาจฟ้องศาลปกครองแทนประชาชนได้
(3) ให้คำปรึกษา แนะนำและฝึกอบรมแก่หน่วยงานของรัฐและประชาชน
ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชน
(4) เสนอแนะและให้ความเห็นต่อองค์กรภายนอก และสาธารณชนเกี่ยวกับ
มาตรการและรูปแบบต่างๆ ในการมีส่วนร่วมของประชาชน
(5) เป็นตัวแทนภาคประชาสังคมในการผลักดันเรียกร้องให้การปฏิบัติการต่างๆ
ต้องเคารพต่อหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(6) ดำเนินการเท่าที่เหมาะสมและเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นจาก
สาธารณชน เกี่ยวกับนโยบาย โครงการ การปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ พนักงานเจ้าหน้าที่ และองค์กร
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในแต่ละเรื่องรวมทั้งให้ความเห็นจากผลของการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมนั้น
เพื่อปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติต่อไป
(7) จัดให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา อภิปราย
เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ เครือข่ายเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เพื่อ
เพิ่มพูนองค์ความรู้ ทักษะ ภูมิปัญญา วิสัยทัศน์สากล ให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในการพัฒนาคุณค่าการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนถาวร
(8) เสนอแนะและจัดทำร่างกฎหมายเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเร่งรัดให้
มีการจัดทำหรือแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชน
(9) เป็นตัวแทนภาคประชาสังคมในประชาคมโลก เพื่อการแลกเปลี่ยนความ
ร่วมมือ การประชุม และการร่วมโครงการต่างๆ กับต่างประเทศ
(10) ทำรายงานประจำปีเสนอต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และบุคคลทั่วไป
เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยในรายงานให้ระบุโดยชัดแจ้งว่าหน่วยงาน
ของรัฐใดที่ละเลยหรือปฏิเสธมิให้ประชาชนมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ
(11) กำกับดูแลการทำงานของสำนักงานสนับสนุนและประสานงานกระบวนการ
มีส่วนร่วมของประชาชน
(12) แต่งตั้งและถอดถอนคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ มอบหมายให้ประธาน
อนุกรรมการเฉพาะด้านปฏิบัติหน้าที่แทน
(13) มอบนโยบายและสนับสนุนงานธุรการของสำนักงานและศูนย์สนับสนุน
และประสานงานกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
(14) ประสานงานนโยบายภายในระหว่างงานของสำนักงานและงานบริการ
ของศูนย์ต่างๆ
(15) บริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การมีส่วนร่วม
ของประชาชน
(16) พิจารณาศึกษาเรื่องที่เห็นว่าสมควรกำหนดเป็นแนวทางในการกำหนด
นโยบาย หรือแนวทางเพื่อให้เกิดกระบวนการที่จะส่งเสริมการมีสวนร่วมของประชาชนในด้านต่างๆ รวม
ทั้งจัดทำรายงานเกี่ยวกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไปก็ได้
3.2.8 อำนาจของคณะกรรมการในการดำเนินงาน มีดังต่อไปนี้
(1) มีหนังสือสอบถามส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
เพื่อให้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรืองานใดๆหรือส่งวัตถุ
เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือส่งผู้แทนมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำประกอบการพิจารณาได้
(2) มีหนังสือเรียกบุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องมาให้
ถ้อยคำหรือให้ส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องมาตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด
(3) ดำเนินการขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจออกหมาย เพื่อเข้าไปในเคหสถาน
หรือสถานที่ใดๆ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
(4) วางระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงและค่า
เดินทางของพยานบุคคลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการแต่งตั้ง เพื่อทำการตรวจสอบการละเมิด
การมีส่วนร่วมของประชาชน
3.2.9 กรรมการ อนุกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
เพื่อทำการ
ตรวจสอบการละเมิดการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาในการ
ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
3.3 สำนักงานคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน
3.3.1 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน มีชื่อเรียก
โดยย่อว่า “ส.ส.ป.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Office For Public Participation”
เรียกโดยย่อว่า “OPP”
3.3.2 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นองค์กร
ของรัฐที่เป็นอิสระ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของประธานคณะกรรมการ และมีฐานะเป็นส่วนราชการตาม
กฎหมายวิธีการงบประมาณ
3.3.3 สำนักงานมีที่ทำการใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใกล้เคียง และ
อาจจัดตั้งศูนย์ประสานงานในภูมิภาคหรือท้องถิ่นก็ได้
3.3.4 ให้สำนักงานมีเลขาธิการคณะกรรมการหนึ่งคน ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของ
คณะกรรมการ รับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงาน โดยขึ้นตรงต่อประธานกรรมการ
3.3.5 โครงสร้างของสำนักงานให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
3.4 ศูนย์สนับสนุนและประสานงานกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
3.4.1 กำหนดให้ศูนย์อยู่ภายใต้สังกัดของสำนักงาน โดยสามารถแบ่งส่วนงานออกเป็น
ศูนย์ย่อยที่มีคณะกรรมการโดยเฉพาะของตนเองได้
3.4.2 ศูนย์มีอำนาจหน้าที่ในการใบริการแลกเปลี่ยน สื่อสาร และสำรวจความคิดเห็น
ของประชาชนให้บริการปรึกษาข้อมูลวิชาการและฝึกอบรมกระบวนการและให้บริการจัดเวทีสาธารณะและ
สาธิตโครงการ
3.5 กองทุนเพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การมีส่วนร่วมของประชาชน
3.5.1 กำหนดให้กองทุนอยู่ภายใต้สังกัดของสำนักงาน และการบริหารกองทุน
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
3.5.2 กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุน เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสนับสนุนกิจกรรม
การมีส่วนร่วมของประชาชนและนำรายได้ของกองทุนไปใช้ในการบริหารงาน การกำกับ ดูแลและการ
ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ของสำนักงานคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการคณะกรรมการเฉพาะด้าน และศูนย์ต่างๆ
3.5.3 กำหนดแหล่งรายได้ของกองทุน ไว้ดังนี้
(1) ทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
(2) เงินอุดหนุนทั่วไปเป็นรายปีจากรัฐบาล
(3) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การระหว่าง
ประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(4) ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้อื่นจากการ
ดำเนินการ
(5) ดอกผลของเงินรายได้ หรือทรัพย์สินอื่นใดของกองทุน
3.6 บทลงโทษ
กรณีผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 5 วรรคสอง (ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใดๆ
อันเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิและเสรีภาพโดยชอบด้วยกฎหมายตามหมวดนี้) ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่
หกพันบาทแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
4. ความคิดเห็นของประชาชนต่อร่าง พ.ร.บ. การมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติ ความคิดเห็นของประชาชน /
การมีส่วนร่วมของประชาชน พ.ศ. ... เหตุผลในการแก้ไขเพิ่มเติม
1. ชื่อกฎหมาย
ชื่อกฎหมาย “ พระราชบัญญัติการมีส่วนร่วม เห็นด้วย
ของประชาชน พ.ศ. ....”
2.สิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วม
2.1 เพิ่มเติมวรรคสองของมาตรา 5 “ห้ามมิให้ผู้ใด องค์กรควรมีลักษณะเป็นสื่อกลางในการประสาน
กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิและ และตรวจสอบการทำงานของรัฐ โดยเน้น
เสรีภาพโดยชอบด้วยกฎหมายตามหมวดนี้” บทบาทการคุ้มครองและการสนับสนุนการ
มีส่วนร่วมของประชาชน
2.2 เพิ่มเติมวรรคสองของมาตรา 7 “ ใครจะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจว่ามีการมี
เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติตาม ส่วนร่วมนั้นจะมีวิธีการอย่างไร จะมีระดับ
มาตรานี้ ให้คณะกรรมการตราระเบียบ แค่ไหน เพียงใด
เพื่อกำหนดรายละเอียดของวิธีการใน
การส่วนร่วม”
3. คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชน ควรกำหนดให้ผู้แทนจากภาคประชาชน 8 คน
3.1 จำนวนคณะกรรมการ (มาตรา 9) เพื่อจะได้มีเสียงมากขึ้นและเป็นสัดส่วน
กำหนดจำนวนคณะกรรมการให้ประกอบด้วย มากกว่ากึ่งหนึ่ง
กรรมการ 15 คน โดยเพิ่มสัดส่วนกรรมการ
ที่มาจากผู้แทนภาคประชาชนจาก 7 คนเป็น 8 คน
3.2 วิธีการสรรหาแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 วิธีการให้ได้มาต้องชัดเจนและต้องคำนึงถึง
วรรคสอง โดยกำหนดให้การสรรหาจะต้อง ผู้แทนจากภาคประชาชนที่อาจไม่มีวุฒิการศึกษาสูง
อยู่ภายใต้กรอบ คือ ต้องคำนึงถึงความรู้ แต่เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการมีส่วนร่วมและ
ความเข้าใจ และประสบการณ์การมีส่วนร่วม ได้รับการยอมรับนับถือ ดังนั้น จึงไม่ควรจำกัด
ของผู้แทนผู้นั้นเป็นสำคัญ วุฒิการศึกษาและคำนึงถึงประสบการณ์
ในการทำงาน
3.3 คุณสมบัติ (มาตรา 10) แก้ไขอนุมาตรา ควรกำหนดให้มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
(2) โดยกำหนดให้กรรมการต้องมีอายุ
ไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
3.4 การพ้นจากตำแหน่ง (มาตรา 12) ควรคำนึงถึงการตรวจสอบการทำงาน
เพิ่มเติมมาตรา 12 โดยกำหนดกรณีให้พ้นตำแหน่ง ของคณะกรรมการและบทลงโทษด้วย
นอกเหนือจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ คือ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 10
(4) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(5) คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง
3.5 ค่าตอบแทน (มาตรา 13)เงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่น
ของคณะกรรมการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยการนั้น
3.6 อำนาจหน้าที่ (มาตรา 14) เพิ่มเติม
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ 3 ประการ
คือ
ประการที่หนึ่ง ดำเนินการเท่าที่เหมาะสม คณะกรรมการควรจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น
และเปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นจาก ของประชาชน
สาธารณชน เกี่ยวกับนโยบาย โครงการ
การปฏิบัติของหน่วยงาน ของรัฐ พนักงาน
เจ้าหน้าที่ และองค์กร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ในแต่ละเรื่อง รวมทั้งให้ความเห็นจากผล
ของการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมนั้น
เพื่อปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติต่อไป
(อนุมาตรา (6))
ประการที่สอง จัดให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย โครงการของเอกชนมีผลกระทบต่อประชาชน
ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา อภิปราย เผยแพร่ ก็ต้องทำเรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมเช่นเดียวกัน
อย่างต่อเนื่องด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้
เครือข่ายเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เพื่อเพิ่มพูน
องค์ความรู้ ทักษะ ภูมิปัญญา วิสัยทัศน์สากลให้เกิด
การเรียนรู้ตลอดชีวิต ในการพัฒนาคุณค่าการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนถาวร (อนุมาตรา (7))
ประการที่สาม เสนอแนะและจัดทำร่างกฎหมาย คณะกรรมการควรมีอำนาจในการเสนอร่างกฎหมาย
เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเร่งรัดให้มีการจัดทำ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อรัฐบาล
หรือแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามี
4. สำนักงานคณะกรรมการ
4.1 ที่ทำการ ให้สามารถจัดตั้งศูนย์ประสานงาน ควรให้มีการจัดตั้งสำนักงานในภูมิภาค
ในภูมิภาคหรือท้องถิ่นได้ หรือในระดับจังหวัดทุกจังหวัด
4.2 วัตถุประสงค์การดำเนินงาน เพิ่มเติม ควรเพิ่มความว่า “องค์กรประชาชนทุกองค์กร
หน่วยรับการสนับสนุนและช่วยเหลือเรื่องการ และเครื่อข่าย"
มีส่วนร่วมขึ้นอีก 1 องค์กร คือ องค์กรชาวบ้าน
(อนุมาตรา (1)) และ ให้สำนักงานมีวัตถุประสงค์
ในการสร้างเครือข่ายด้านการมีส่วนร่วมของ
(ยังมีต่อ)