เหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศคืออะไร

Forex (Foreign Exchange) คือ ตลาดที่ทำการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยราคานั้นจะแปรผันตาม demand และ supply ของแต่ละสกุลเงิน ซึ่งทั้งนี้อาจจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน ราคาทองคำ สภาพเศรษฐกิจ สถานการณ์บ้านเมือง เหตุการณ์ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการประกาศตัวเลขสำคัญ ๆ ของแต่ละประเทศ เช่น อัตราการว่างงาน เป็นต้น เรียกได้ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามีความอ่อนไหวต่อปัจจัยรอบข้างค่อนข้างมากเลยครับ

การซื้อขายเงินสกุลใหญ่ ๆ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ (USD), ยูโร (EUR), ปอนด์สเตอร์ลิง (GBP), เยน (JPY) จะมีสภาพคล่องสูงมาก เนื่องจากมีผู้เล่นจำนวนมากและมีการเปลี่ยนแปลงของราคาตลอดเวลา ในอดีต ผู้เล่นในตลาด Forex จะจำกัดอยู่ในกลุ่มสถาบันการเงินใหญ่ ๆ เช่น ธนาคาร หรือบริษัทประกัน แต่ในปัจจุบัน ด้วยการเข้ามาของระบบการเทรดออนไลน์ นักลงทุนรายย่อยอย่างพวกเรา ก็สามารถเข้ามาลงทุนผ่านระบบการเทรดออนไลน์ของบริษัทโบรกเกอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งคำสั่งซื้อ/ขายไปยังตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศทันทีที่ได้รับคำสั่ง

เราสามารถสรุปลักษณะเด่นของตลาด Forex ได้ดังต่อไปนี้ครับ


  • เป็นตลาดการเงินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เปิดทำการซื้อขายตลอด 24 ชั่วโมง ยกเว้นวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ การซื้อขายเริ่มตั้งแต่ตลาดเปิดทำการตอนเช้าในออสเตรเลีย เอเชีย ยุโรปและจนจบวันทำการของอเมริกา
  • มีสภาพคล่องสูง เพราะมีคนซื้อ และคนขายจำนวนมาก ทำให้ปริมาณการซื้อขายสูงมากเมื่อเทียบกับการลงทุนแบบอื่น ๆ
  • มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรามีความอ่อนไหวมากต่อปัจจัยรอบตัว ซึ่งนับได้ว่าเป็นโอกาสที่จะใช้ทำกำไรได้อย่างรวดเร็ว และในขณะเดียวกัน ก็อาจจะขาดทุนได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน
  • ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ในหนึ่งคู่สกุลเงิน นักลงทุนสามารถเปิดได้ทั้งสถานะซื้อ หรือขาย โดยเปิดสถานะซื้อหากคาดการณ์ว่าราคาจะสูงขึ้น และเปิดสถานะขายหากคาดว่าราคาจะลดลง
  • ใช้เงินลงทุนต่ำ แต่สามารถสร้างกำไรได้สูงด้วย leverage แต่ในทางตรงข้าม leverage ก็ทำให้ขาดทุนได้สูงมากเช่นกัน
  • ค่าธรรมเนียมการซื้อขายต่ำ เมื่อเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น มีหลายโบรกเกอร์ไม่คิดค่าธรรมเนียมการซื้อขาย แต่จะคิดค่าบริการจากส่วนต่างราคา bid / ask หรือที่เรียกว่า spread โดยคู่สกุลเงินที่มีการซื้อขายมากจะมี spread แคบ

โดยการซื้อขาย Forex จะแสดงในรูปคู่ของสกุลเงิน เช่น EUR/USD = 1.105965 หมายความว่า 1 Euro มีค่าเท่ากับ 1.105965 US Dollars การซื้อ EUR/USD จะหมายถึง การซื้อ EUR และขาย USD และในทางตรงกันข้าม การขาย EUR/USD หมายถึง การซื้อ USD และขาย EUR ตัวอย่างการซื้อขายคู่สกุลเงินที่สำคัญ ๆ ได้แก่ EUR/USD, USD/JPY, GBP/USD, USD/CAD, USD/CHF, AUD/USD and NZD/USD

เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้น เมื่อนักลงทุนในตลาด Forex เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของคู่สกุลเงิน ก็นับเป็นโอกาสในการเข้าทำกำไร เช่น หากคาดการณ์ว่า ค่าเงิน EUR จะอ่อนลงเมื่อเทียบกับ USD นักลงทุนอาจจะสั่งขาย EUR/USD ณ ราคาปัจจุบัน โดยหากการคาดการณ์ของเราถูกต้อง และราคา EUR/USD ลดลง เราก็สามารถทำกำไรโดยการปิดสถานะการขาย ซึ่งกำไรที่ได้จะเป็นส่วนต่างของราคา คูณกับจำนวนหน่วยที่ซื้อ

มาดูตัวอย่างกันครับ จากการคาดการณ์ตัวเลขอัตราการว่างงานของสหรัฐที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งหมายความถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น น่าจะมีผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร หรืออีกนัยหนึ่ง EUR/USD น่าจะมีค่าลดลง ดังนั้น เราจึงตัดสินใจเปิดสถานะขาย EUR/USD ที่ราคา bid 1.10288 จำนวน 10,000 หน่วย และด้วย leverage ที่ 50:1 ทำให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น คือ (1.10288 *10,000) / 50 = $220.576 (แทนที่จะต้องใช้เงิน $11,028.8) ซึ่งหากการคาดการณ์ถูกต้อง และ EUR/USD มีค่าลดลง เราสามารถปิดสถานะทันที เช่น ที่ราคา ask 1.09052 ในตัวอย่างนี้ เราสามารถทำกำไรได้ (1.10280-1.09052)*10,000 = $122.8

และด้วยลักษณะของ Forex ที่มีความเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรวดเร็ว มีสภาพคล่องสูง ทั้งยังสามารถใช้ leverage ทำให้สร้างกำไรได้สูงด้วยเงินลงทุนต่ำ จึงอาจกล่าวได้ว่า การลงทุนใน Forex เหมาะกับนักลงทุนขาซิ่งที่ชอบความเสี่ยงสูง เน้นทำกำไรในช่วงเวลาสั้น ๆ ตัดสินใจซื้อขายอย่างรวดเร็ว หากสนใจด้าน

การลงทุน

แนวอื่น ๆ ผมขอแนะนำบทความดี ๆอย่าง

เจาะโอกาสการลงทุนในยุคตลาดผันผวน

ลองอ่านดูครับ คิดว่าน่าจะได้ไอเดียไปต่อยอดกันอีกเยอะเลย

หากใครที่ได้ติดตามข่าวเศรษฐกิจอยู่เป็นประจำ น่าที่จะเคยได้ยินคำว่า ‘เงินบาทแข็งค่าขึ้น’ หรือ ‘เงินบาทอ่อนตัวลง’ มาบ้าง แล้วเคยสงสัยหรือไม่ว่า เงินบาทแข็ง เงินบาทอ่อน คืออะไร เกี่ยวอะไรกับเรา และจะส่งผลต่อการลงทุนของเราอย่างไร สามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้


ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า อัตราแลกเปลี่ยนกันก่อนดีกว่า


อัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate) คือ ราคาของเงินสกุลหนึ่งเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง องค์ประกอบหลักของอัตราแลกเปลี่ยนจึงมี 2 ส่วนคือ เงินสกุลท้องถิ่นกับเงินสกุลต่างประเทศ ซึ่งสามารถแสดงราคาได้สองแบบ ดังนี้


แบบแรก ราคาเงินสกุลต่างประเทศที่แสดงเป็นเงินสกุลท้องถิ่น ส่วนแบบที่สองราคาเงินสกุลท้องถิ่นที่แสดงเป็นเงินสกุลต่างประเทศ เช่น เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับเงินบาท 33 บาท ในทางกลับกัน เงิน 1 บาท เท่ากับเงิน 0.03 ดอลลาร์สหรัฐ


ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความต้องการซื้อขายสกุลเงิน ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
 

  • อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่สูงจะดึงให้เงินไหลเข้าประเทศ โดยธรรมชาติแล้วเงินจะไหลจากที่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปหาที่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ที่ใดให้ผลตอบแทนสูง เงินระยะสั้นจะไหลไปที่นั้น ส่งผลให้เงินสกุลที่มีดอกเบี้ยสูงแข็งค่าขึ้น หากเงินไหลเข้าอย่างต่อเนื่องค่าเงินก็จะแข็งค่าค่อนข้างมาก
  • การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากปัจจัยนี้จะสะท้อนได้ว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่า หรือมีอัตราการขยายตัวที่ดีกว่า มีแนวโน้มที่ธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อช่วยยับยั้งการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อ และจากปัจจัยข้างต้นที่กล่าวมาว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะเป็นตัวดึงดูดกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามา และอุปสงค์ของเงินที่ค่อนข้างมากจะทำให้มูลค่าของเงินมากขึ้นด้วยนั่นเอง
  • ความต้องการซื้อขายสกุลเงินมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน โดยเป็นเงินที่ไหลเข้ามาจากการค้าขาย การส่งออกสินค้า และจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศ เงินที่ไหลเข้าประเทศในส่วนนี้มีผลต่อค่าเงินบาทอย่างไร คำตอบคือ การทำธุรกรรมในประเทศไทยต้องใช้เงินบาท เงินสกุลต่างประเทศที่ไหลเข้ามาจึงต้องแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท เมื่อมีความต้องการซื้อสินค้า (ซึ่งหมายถึงเงินบาท) จากผู้ส่งออก หรือนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ราคาเงินบาทก็จะแพงขึ้นหรือแข็งค่าขึ้น

อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อเศรษฐกิจไทย ในทางหนึ่ง อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วหรือมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ประเทศสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคา (เพราะเงินบาทแพงขึ้น) หรือทำให้รายได้จากการส่งออกที่แปลงมูลค่าเป็นเงินบาทลดลง ส่งผลต่อเนื่องไปยังค่าจ้างของแรงงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก และอาจทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลง เช่น หากธุรกิจส่งออกมีกำไรจากการขายสินค้าอยู่ที่ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ธุรกิจก็จะมีเงินกลับเข้ามาในประเทศที่ 33 ล้านบาท แต่ถ้าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็น 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (เงินบาทแข็ง คือ ใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเงินสกุลต่างประเทศ) ธุรกิจจะเหลือเงินกลับเข้ามาในประเทศเพียง 30 ล้านบาท ดังนั้นสำหรับธุรกิจส่งออกและท่องเที่ยวจะชอบค่าเงินอ่อนมากกว่าค่าเงินที่แข็ง


อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นจะมีส่วนช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าของผู้ผลิต รวมถึงมีส่วนช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพของผู้บริโภคอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาพลังงานในตลาดโลกปรับขึ้นเร็ว เช่น หากธุรกิจที่ต้องนำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศ สมมติว่าต้นทุนสินค้าอยู่ที่ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ธุรกิจจะต้องจ่ายเงินค่าต้นทุนนำเข้าสินค้าที่ 30 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากเงินบาทอ่อนค่าลงเป็น 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (เงินบาทอ่อน คือ ใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเงินสกุลต่างประเทศ) ธุรกิจจะต้องจ่ายเงินค่าต้นทุนสินค้าเป็นเงินถึง 33 ล้านบาท จะเห็นว่าต้องจ่ายแพงกว่าถึง 3 ล้านบาท ดังนั้นสำหรับธุรกิจที่นำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศจะชอบค่าเงินที่แข็งมากกว่าค่าเงินอ่อน


อัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออก/นำเข้าต้องเผชิญ โดยการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะมีผลให้กระแสรายได้หรือรายจ่ายในรูปเงินบาทของธุรกิจมีความไม่แน่นอน ซึ่งอาจทำให้เกิดกำไรเพิ่มขึ้น หรือขาดทุนก็ได้ อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนนั้น เป็นสิ่งที่ยากต่อการคาดเดา เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในประเทศ นโยบายการเงินและการคลัง ภาวะเศรษฐกิจโลก การคาดการณ์และการเก็งกำไร เสถียรภาพการเมืองในประเทศและต่างประเทศ จิตวิทยาตลาด และข่าวลือต่างๆ


แม้ว่าธุรกิจจะไม่สามารถควบคุมความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ แต่ก็สามารถบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ที่เหมาะสมในการป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้า เช่น การทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อให้สามารถบริหารจัดการรายได้และต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


กล่าวโดยสรุป ค่าเงิน หรืออัตราแลกเปลี่ยน คือ ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากการค้าและการลงทุน ความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน ตลอดจนการติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ และหาข้อมูลหรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม จะช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ ภาคธุรกิจที่ขยายกิจการไปต่างแดน รวมถึงประชาชนทั่วไปที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ต่างประเทศ สามารถปรับตัวเพื่อรักษาผลตอบแทนจากการลงทุนได้ตามที่ต้องการ และสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากค่าเงินได้ทันการณ์


บทความโดย   นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®   นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร