ปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้มีความยั่งยืน มีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในทุกๆ นิยามของ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” มีจุดเน้นร่วมกันว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน หมายถึง การปรับปรุงคุณภาพชีวิตมนุษย์ภายใต้ศักยภาพของระบบนิเวศน์วิทยาของโลก

การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงมีส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ส่วนประกอบทั้งสามนี้จะเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน วัตถุประสงค์ของการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามแนวคิดของ Edward Barbier

ปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้มีความยั่งยืน มีอะไรบ้าง

คือ การบรรลุเป้าหมายทั้งสามองค์ประกอบนี้ให้ได้ดีที่สุด และโดยที่สังคมไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่สูงสุดในทุกส่วนประกอบได้ จึงจำเป็นต้องยอมลดเป้าหมายในบางองค์ประกอบ เพื่อให้เป้าหมายในองค์ประกอบอื่นเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดลำดับความสำคัญระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ว่าจะให้องค์ประกอบใดมีลำดับความสำคัญที่สูงกว่าองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ถ้าให้ลำดับความสำคัญทางด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอันดับแรก ก็อาจต้องชดเชยด้วยการให้เป้าหมายทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมลดลง

ส่วนประกอบของความยั่งยืนทางเศรษฐกิจนั้น สังคมต้องสร้างความเจริญเติบโตที่ทำให้เกิดกระแสรายได้ที่เหมาะสม ในขณะที่ยังคงรักษาไว้ซึ่งสต็อกของทุนที่มนุษย์สร้างขึ้น ทุนมนุษย์และทุนธรรมชาติเป้าหมายพื้นฐาน 3 ประการของระบบเศรษฐกิจ คือ

1. การเพิ่มขึ้นในการผลิตสินค้าและบริการ

2. การตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชน หรือการลดปัญหาความยากจน

3. ทำให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมเพิ่มขึ้น

เป้าหมายพื้นฐาน 3 ประการนี้จะต้องดำเนินการในแนวทางที่ยั่งยืนตามที่กล่าวมาแล้ว

ในส่วนประกอบทางด้านสังคมของการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นจะต้องวางอยู่บนรากฐานของ 2 หลัก คือ หลักการความยุติธรรม และหลักการความเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาในระยะยาว การเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสของคนในสังคมจะต้องมีความเท่าเทียมกัน สิทธิมนุษยชนและผลประโยชน์อื่นๆ เช่น อาหาร สาธารณสุข การศึกษา ที่อยู่อาศัยและโอกาสในการพัฒนาตนเอง ความเป็นธรรมในสังคมนี้มีนัยยะถึงโอกาสที่เท่าเทียมกันของประชาชนทุกคนในด้านการศึกษาและการมีส่วนในการเสริมสร้างผลิตภาพให้แก่สังคม สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เป้าหมายทางสังคมทั้งด้านของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเป็นธรรมในสังคม ความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ และการมีส่วนร่วมของประชาชนประสบความสำเร็จ

ในส่วนประกอบด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน การรักษาไว้ซึ่งสต็อกของทุนธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แม่น้ำ ภูเขา แร่ธาตุอันเป็นสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่ควรจะดำรงอยู่ที่ทำให้ส่วนประกอบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ความมีเสถียรภาพของระบบนิเวศน์ของโลกจะไม่ถูกกระทบกระเทือน

ปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้มีความยั่งยืน มีอะไรบ้าง

ที่มา [28] องค์ประกอบของการพัฒนาที่ยั่งยืน

จากภาพแสดงส่วนประกอบของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่จะต้องประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก อันได้แก่ ส่วนของระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม และระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความสัมพันธ์และพึ่งพาซึ่งกันและกัน การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นในส่วนที่ทับซ้อนกันของ 3 องค์ประกอบหรือพื้นที่แรเงาในภาพ กล่าวคือ มีการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมและมีการปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยในขณะเดียวกัน

แนวทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของไมเนอร์

แนวทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของไมเนอร์ก่อร่างจากค่านิยมองค์กรทั้งห้า และประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ คือ การมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับพันธมิตร และการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยเสริมอีก 2 ประการ คือ การกำกับดูแลกิจการที่ดีในองค์กรและการส่งเสริมการทำให้เกิดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม

ปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้มีความยั่งยืน มีอะไรบ้าง

  • มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    • มุ่งมั่นพัฒนาความสามารถของบุคลากรและสร้างผู้นำที่ดีเพื่อองค์กรและสังคม
    • ดำเนินกระบวนการในการพัฒนาหลายระดับ เริ่มจากการวางรากฐานที่ดีให้แก่เยาวชนและชุมชน ให้โอกาสในการทำงาน ไปสู่ระดับขั้นของการพัฒนาทักษะและสร้างผู้นำที่ดีและมีจิตสำนึกด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • สร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า
    • คำนึงถึงความต้องการของลูกค้า โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วม ทำความเข้าใจ และให้ความรู้กับทั้งลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าในอนาคต
    • สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุด โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบโดยตรงกับลูกค้า หรือผ่านการจัดซื้อจัดจ้างหรือผ่านช่องทางการตลาด
  • พัฒนาความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับพันธมิตร
    • มุ่งมั่นเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย ที่ทำให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย อย่างยืนยาวและยั่งยืน
    • สร้างความมั่นใจกับพันธมิตรทางธุรกิจว่าเราจะเติบโตด้วยกันอย่างยั่งยืน
  • ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    • มุ่งมั่นในการบริหารจัดการและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมในทุกที่ที่เราดำเนินธุรกิจอยู่
    • สนับสนุนการอนุรักษ์สัตว์ป่า และมรดกทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
  • จิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคม
    • สนับสนุนและส่งเสริมพนักงานและพันธมิตรทางธุรกิจให้มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคม
    • พัฒนาบุคลากรและผู้นำในอนาคตให้เป็นผู้ที่สามารถบริหารธุรกิจบรรลุตามเป้าหมาย และมีความตระหนักถึงการสร้าง ผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • วางรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการกำกับดูแลกิจการที่ดีในทุกธุรกิจ

กลยุทธ์และเส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ไมเนอร์ได้พัฒนาการวางแผนกลยุทธ์ห้าปีที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทในการประชุมการวางแผนกลยุทธ์ประจำปี กลยุทธ์นี้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการแปลงแรงบันดาลใจไปสู่การลงมือปฏิบัติ กลยุทธ์ดังกล่าวได้รับการพัฒนาจากแนวทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของไมเนอร์ และสอดคล้องกับ แผนกลยุทธ์ของบริษัทโดยรวม และยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง ที่ไมเนอร์ให้การสนับสนุนในฐานะองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ในกระบวนการทบทวนกลยุทธ์ประจำปีนั้น เราวิเคราะห์ทิศทางของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยระบุความเสี่ยงและโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นจากทิศทางเหล่านั้น เราพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อธุรกิจและแนวทางการบริหารจัดการความความเสี่ยง ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกรวมอยู่ในแผนกลยุทธ์และแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนของเรา

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไมเนอร์ที่มุ่งมั่นเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางศักยภาพและการดำเนินงานในระยะยาวด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน เราได้ระบุยุทธศาสตร์หลักสามประการซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ได้แก่

  • 1) พัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถอย่างยั่งยืน
  • 2) บริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน
  • 3) การบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติ

และยุทธศาสตร์เสริมอีกสองประการ คือ

  • 1) ส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการสร้างวัฒนธรรมในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
  • 2) ปลูกฝังและส่งเสริมให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานขององค์กร

กลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน และแผนงานปี 2562-2567

ปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้มีความยั่งยืน มีอะไรบ้าง

ยุทธศาสตร์หลัก

ปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้มีความยั่งยืน มีอะไรบ้าง

การพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถอย่างยั่งยืน

เป้าหมายปี 2566

  • 1 ล้านคน ได้รับการพัฒนาและสนับสนุน
  • 50% ของนักเรียน นักศึกษาที่จบการศึกษาภายใต้โครงการ MCU เข้าร่วมงานกับไมเนอร์
  • 50% ของตำแหน่งระดับบริหารที่ว่างได้รับการบรรจุโดยการเลื่อนตำแหน่งพนักงานภายใน

แนวทางการดำเนินงาน

  • สนับสนุนชุมชนท้องถิ่นและสมาชิกของชุมชนที่ด้อยโอกาสผ่านการลงทุนกับชุมชน การบริจาคเพื่อการกุศล และการให้ความสนับสนุนเชิงพาณิชย์
  • ส่งเสริมความสามารถของเด็กและเยาวชนผ่านโครงการสนับสนุนโรงเรียนของไมเนอร์
  • พัฒนาโครงการ MCU ให้เป็นโครงการพัฒนาแบบองค์รวม ครอบคลุมตั้งแต่การมีส่วนร่วมกับสมาชิกชุมชนจนถึงการจ้างงานคนในชุมชน
  • จัดหลักสูตรการเรียนรู้และพัฒนาสำหรับพนักงานที่มีประสิทธิภาพ
  • ส่งเสริมการพัฒนาผู้บริหารศักยภาพสูงและผู้นำอย่างต่อเนื่อง
  • ปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมให้กับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย
  • ส่งเสริมวัฒนธรรมความยั่งยืนภายในองค์กรผ่านผู้นำด้านความยั่งยืน

ปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้มีความยั่งยืน มีอะไรบ้าง

บริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน

เป้าหมายปี 2566

  • 97% ของคู่ค้าท้องถิ่นชั้นที่ 1 ในประเทศไทย (อาหารและบรรจุภัณฑ์) ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
  • 100% ของคู่ค้าที่ถูกประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงได้รับการตรวจสอบและพัฒนาทุกปี

แนวทางการดำเนินงาน

  • เสริมสร้างความรู้และประเมินคู่ค้าชั้นที่ 1 (อาหารและบรรจุภัณฑ์) ในด้านความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมถึงสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และสิทธิมนุษยชน
  • ตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของคู่ค้าที่ถูกประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง โดยอ้างอิงตามกฎหมายท้องถิ่นเพื่อให้คู่ค้ามีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
  • เสริมสร้างความรู้ความสามารถของทีมงานบริหารจัดการซัพพลายเชน เพื่อผลักดันความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการประสานงานกับคู่ค้า เกษตรกร และหน่วยงานปฏิบัติการภายในองค์กร
  • เสริมสร้างความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และหรือการสร้างนวัตกรรม รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้

เป้าหมายปี 2567

  • ดัชนีความภักดีของลูกค้า (NPS – Net Promotor Score) ของไมเนอร์โฮเทลส์ เพิ่มขึ้นเป็น 50

แนวทางการดำเนินงาน

  • เสริมสร้างความผูกพันกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเข้าถึงและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
  • มุ่งมั่นในการส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
  • นำเสนอสินค้าและบริการที่คำนึงถึงความยั่งยืนและสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้

ปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้มีความยั่งยืน มีอะไรบ้าง

การบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติ

เป้าหมายปี 2566

  • อัตราการใช้พลังงานในโรงแรมลดลง 20% เทียบกับปี 2559
  • อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงแรมลดลง 20% เทียบกับปี 2559
  • อัตราการใช้น้ำในโรงแรมลดลง 20% เทียบกับปี 2559
  • 100% ของโรงแรมที่มีพื้นที่ติดกับแหล่งธรรมชาติ มีโครงการด้านการอนุรักษ์ในระยะยาวอย่างน้อย 1 โครงการ

แนวทางการดำเนินงาน

  • ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดเช่น การใช้น้ำและพลังงาน โดยหลักการ 3R – การใช้ซ้ำ การลด และการรีไซเคิล รวมไปถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรเหล่านั้น
  • จัดการการปล่อยของเสียอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยหลักการ 3R – การใช้ซ้ำ การลด และการรีไซเคิล
  • จัดทำแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการดำเนินงานโครงการใหม่และปัจจุบัน
  • พัฒนาแผนการดำเนินงานในการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและการติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

เป้าหมายปี 2567

  • การใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวลดลง 75% ภายในปี 2567 เทียบกับปี 2561 สำหรับไมเนอร์ฟู้ดและไมเนอร์โฮเทลส์ในประเทศไทย

แนวทางการดำเนินงาน

  • จัดหาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อทดแทนการใช้พลาสติกจากปิโตรเลียมแบบใช้ครั้งเดียว
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิธีการดำเนินงานเพื่อลดการใช้วัตถุประเภทใช้ครั้งเดียว
  • ให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภคเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้องสิ่งแวดล้อม

* ครอบคลุมโรงแรมในแบรนด์ที่เราเป็นเจ้าของโดยไม่รวมเอ็นเอช โฮเทล กรุ๊ป

ยุทธศาสตร์เสริม

ส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการสร้างวัฒนธรรมในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ

เป้าหมายปี 2566

  • ไมเนอร์ได้คะแนนการกำกับดูแลกิจการที่ดีระดับ ‘ดีเลิศ’ จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ในรายงานการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนไทย
  • 100% ของพนักงานผ่านการอบรมการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและระเบียบปฏิบัติของบริษัท

แนวทางการดำเนินงาน

  • ดูแลโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดีตั้งแต่ระดับคณะกรรมการจนถึงระดับปฏิบัติการ
  • ส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดีทั้งภายในองค์กรและกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง โดยการใช้ระเบียบปฏิบัติของบริษัท ระเบียบปฏิบัติสำหรับคู่ค้า การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้าน การบริหารความเสี่ยง ที่มีประสิทธิภาพ ฯลฯ และการสร้างความเข้าใจและรับทราบโดยผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง

ปลูกฝังและส่งเสริมให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานขององค์กร

แนวทางการดำเนินงาน

  • ให้ความรู้: การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน การแบ่งปันประสบการณ์จากการดำเนินการที่เป็นเลิศ การสร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  • ปลูกฝัง: ขยายผลจากการอบรมสู่การปฏิบัติจริง การวัดผลและพัฒนากระบวนการที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหน่วยงานต่างๆโดยใช้ข้อมูลจากการประเมินเป็นแนวทางปฏิบัติ
  • ส่งเสริม: แบ่งปันเรื่องราวของความสำเร็จ ขยายโครงการที่สำเร็จไปในหน่วยงานอื่นๆ ส่งเสริมให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานขององค์กรโดยการจัดประกวดรางวัลและการเผยแพร่เรื่องราวความสำเร็จ และเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างโปร่งใสและสอดคล้องกับแนวทางการรายงานระดับสากล