สิ่งสำคัญที่เราควรคำนึงถึงเมื่อนำสินค้าไปขายบนแพลตฟอร์ม e - commerce คืออะไร

Reading Time: 3 minutes

ไม่มีธุรกิจใดที่จะดีไปกว่าอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) แล้วในขณะนี้ เริ่มธุรกิจก็ง่าย รวดเร็ว ไม่เจ็บปวด ไม่แพงเลย และไม่ต้องสร้างสถานที่ตั้งจริง นี่แหละสาเหตุที่ผู้ประกอบการจำนวนมากเริ่มทำธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปีที่ผ่านมานี้ พบว่าธุรกิจค้าปลีกจำนวนมากได้ลดจำนวนสถานที่ตั้งและหันมาประกอบธุรกิจผ่านระบบอีคอมเมิร์ซมากขึ้น

ด้วยสภาพวะตลาดที่เเข่งขันสูง การมีเว็บไซต์ที่น่าดึงดูด ผลิตภัณฑ์เจาะกลุ่มลูกค้า และมีแผนธุรกิจที่ครอบคลุม ไม่ได้รับประกันความสำเร็จเสมอไป ร้านค้าอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ก็พยายายดิ้นรนเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด คุณจะพบเจอปัญหาที่ตามมา เช่น ปัญหาซัพพลายเชน (Supply chain) ความล่าช้าในการจัดจำหน่าย และอื่นๆอีกมากมายที่คุณคาดไม่ถึง พบว่า 80% ของธุรกิจอีคอมเมิร์ซไปไม่รอด ไม่ใช่ว่าพวกเขาจะไม่พยาม ไม่ลงทุนลงแรงมากพอ ขาดกลยุทธ์การขายที่ดี รวมทั้งก็ไม่ได้มีปัญหาขาดแคลนทรัพยากร ซึ่งก็ตอบไม่ได้ว่าทำไม

เพื่อความอยู่รอด คุณต้องทำให้การค้นหาร้านค้า ซื้อสินค้า ชำระเงินเป็น เรื่องง่าย คุณต้องมีระบบการติดตามพัสดุที่น่าเชื่อถือ เพื่อส่งมอบสินค้าให้ถึงมือลูกค้าของคุณอย่างเร็วที่สุด  นี่แหละคือกุญแจสู่ความสำเร็จและเราจะเติมเต็มธุรกิจของคุณเอง

สร้างเว็บไซต์ให้ใช้งานง่าย

ไม่ว่าคุณจะวางแผนธุรกิจละเอียดถี่ถ้วนแค่ไหน การพัฒนาสินค้าจะดีเพียงใด แต่ถ้าหากเว็บไซต์ของคุณยังใช้งานยากอยู่ และไม่สามารถความพึงพอใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ให้กับลูกค้าได้ ธุรกิจของคุณก็จะย่ำอยู่กับที่ เพราะฉะนั้นในเว็บไซต์ ควรคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก เพื่อความง่ายต่อการใช้งาน

ประสบการณ์ผู้ใช้งาน (UX)

ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้งานควรมาเป็นอันดับแรก หากเว็บไซต์ของคุณออกไม่น่าสนใจ ใช่งานยาก ลูกค้าก็จะหนีไปใช้บริการเว็บไซต์อื่น พบว่า 44% ของนักช้อปจะบอกต่อประสบการณ์การใช้งานบริการออนไลน์ที่ไม่ดีให้กับเพื่อนๆ ดังนั้นการมีเว็บไซต์ที่ตอบสนองความต้องการการใช้งานของพวกเขาจึงสำคัญ

ขั้นตอนแรกคือ คุณต้องแน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณสามารถประมวลผลได้อย่างเร็วทันใจผู้ใช้งาน ใช้เวลาซัก 2-5 วินาทีในการโหลด พบว่ามีลูกค้ากว่า 40% จะออกจากเว็บไซต์ เนื่องจากรอการประมวลผลนานเกิน 3 นาที

โทรศัพท์มือถือ เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนจากซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือแทน ซึ่งมีความสะดวกและรวดเร็วในการใช้งาน ช่วยให้ลูกค้าของคุณสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการและชำระเงินได้อย่างรวดเร็ว  ดังนั้นก่อนออกแบบเว็บไซต์ควรคำนึงถึงการแสดงผลบนหน้าจอโทรศัพท์ของผู้ใช้งานด้วย พบว่านักช็อปเกือบ 64% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตไว้ช็อปปิ้งออนไลน์โดยเฉพาะ ถ้าหากการแสดงผลของเว็บไซต์ไม่ตอบสนองความต้องการของพวกเขาบนอุปกรณ์ดังกล่าว พวกเขาอาจจะมองหาร้านหรือแพลตฟอร์มอื่น 

ระบบนำทางบนเว็บไซต์

ระบบนำทางลูกค้ามายังหน้าร้านของคุณควรเป็นเรื่องง่าย ดังนั้นคุณควรให้ความสำคัญกับมันเท่าๆ กับความสวยงาม รูปแบบการสื่อสารที่หลากหลาย และข้อความที่เข้าใจง่าย ครอบคลุมและดึงดูดผู้ใช้งาน อธิบาย Unique Selling Points (USP) ด้วยเลย์เอาต์ง่ายๆ ว่าคุณขายอะไรอยู่ พร้อมทั้งมีระบบนาวิกาชั่นที่ง่ายในการเข้าถึงเว็บไซต์ มีช่องค้นหาสินค้า  และปลั๊กอินดี ๆ สำหรับ Shopify, Magento และ Woo Commerce) ตลอดจนมีขั้นตอนการชำระเงินที่สะดวกและหลากหลาย ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ และนี่คือวิธีการสร้างการมองเห็น ช่วยให้ผู้ให้งานหาสินค้าและบริการของคุณเจอ

สิ่งสำคัญที่เราควรคำนึงถึงเมื่อนำสินค้าไปขายบนแพลตฟอร์ม e - commerce คืออะไร

ความโปร่งใส

ในระบบอีคอมเมิร์ซ ความโปร่งใสสร้างความไว้วางใจ และการสื่อสารก็เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ คุณหรือคนในทีมควรสื่อสารกับผู้ใช้งานหรือลูกค้าโดยตรงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า ดังนั้นลูกค้าจะต้องสามารถไปยังหน้า “ติดต่อเรา” หรือค้นหา ที่อยู่ อีเมลและหมายเลขโทรศัพท์ของคุณได้อย่างง่ายดายบนไซต์ มันทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าธุรกิจของคุณมีจริง ผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ลูกค้าอีคอมเมิร์ซมากถึง 45% จะยกเลิกธุรกรรมทางออนไลน์ เมื่อพวกเขามีความกังวล หรือประสบปัญหาที่ไม่ได้รับแก้ไขอย่างทันท่วงที คุณควรมีเนื้อหาแบบบริการ สร้างหน้าคำถามที่พบบ่อยโดยละเอียด เสนอมาตรการช่วยเหลือ และสร้างแรงจูงใจในการรีวิวผลิตภัณฑ์ สิ่งเหล่านี้จะช่วย ในการสร้างความไว้วางใจ และดึงดูดลูกค้าที่กลับมาใช้บริการซ้ำ

เมื่อถึงขั้นตอนการจ่ายเงิน ไม่ควรมีค่าธรรมเนียมแอบแฝง ควรแสดงความโปร่งใสในค่าจัดส่ง โดยการแจ้งลลูกค้าล่วงหน้าเกี่ยวกับ ภาษี ค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมศุลกากรใดๆ ก็ตาม ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อพัสดุถูกจัดส่งข้ามพรมแดน  รวมถึงแจ้งสถานะการจัดส่งสินค้าให้พวกเขาด้วย เช่น เวลาในการจัดส่งสินค้า ความล่าช้าที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิด

นโยบายการคืนสินค้าก็สำคัญไม่แพ้กัน ลูกค้ากว่า 63% ตรวจสอบนโยบายนี้ของผู้ขายก่อนดำเนินการซื้อ และ 48% จะใช้เวลาท่องเว็บไซต์ยาวนานยิ่งขึ้น หากคุณมีนโยบายการคืนสินค้าที่เป็นมิตรต่อพวกเขา ตัวอย่างนโยบายการคืนสินค้า เช่น ส่งคืนสินค้าฟรี หรือหาสินค้าทดแทน เมื่อเกิดปัญหา พูดง่ายๆ ก็คือ คุณได้ซื้อใจพวกเขา และนี่ก็เป็นโอากาสที่ทำให้พวกเขากลายเป็นลูกค้าประจำของะธุรกิจคุณ 

เอกลักษณ์องค์กร

นอกจากนี้ ภาพลักษณ์ของธุรกิจคุณก็สำคัญเช่นกัน  ในมุมของคนซื้อ พวกเขาคงไม่อยากนั่งเพ่งดูสินค้าใกล้ๆ จอคอมหรือโทรศัพท์หรอก เพียงเพราะภาพเบลอไปบ้างแหละ หลุดโฟกัสบางแหละ ซูมเข้าเพื่อดูไม่ได้บ้างแหละ แถมยังไม่มีคำอธิบายลักษณะของผลิตภัณฑ์ให้อีกและคุณจะโชว์สินค้าและภาพลักษณ์ของธุรกิจให้ลูกค้าได้เชื่อมั่นได้อย่างไร? การถ่ายรูปสวยๆ หลายมุมมอง ตอบโจทย์แน่นอน ลูกค้าของคุณจะได้เห็นทุกๆ แง่มุมของสินค้าที่พวกเขาจะซื้อพร้อมทั้งอ่านคำอธิบายสินค้าที่กระชับและเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจของพวกเขา ให้พวกเขารู้ว่า กำลังซื้ออะไรอยู่

นี่คือหน้าร้านของคุณ ลูกค้าเดินเข้ามาในร้านผ่านระบบดิจิทัล ชมความสะอาดและการนำเสนอสินค้า คุณต้องให้ความสนใจกับการใช้งานของลูกค้า ทำอย่างไรให้พวกเขาคลิกที่ปุ่ม “เพิ่มสินค้าลงรถเข็น” ได้ง่ายขึ้น

การจับตาดูการแข่งขัน

แน่นอนคุณไม่ได้ตัวคนเดียวในตลาด การศึกษาข้อมูลคู่แข่งในตลาด เป็นกุญแจอีกหนึ่งดอกสู่ความสำเร็จของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เมื่อคุณรู้ว่าธุรกิจของคุณขายอะไร ให้มองไปที่คู่แข่งด้วย ดูซิว่าพวกเขาขายอะไรอยู่ ทำอะไรอยู่ หรือไม่ทำอะไรบ้าง เว้นแต่คุณมีผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยมีเจ้าไหนทำออกมาขาย และถ้าหากคุณมีผลิตภัณฑ์ที่ต้องการขายจำนวนมาก คุณต้องแน่ใจก่อนว่ามันเป็นสิ่งที่ตลาดต้องการ และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

มาเรามาลุยกัน

ศึกษาผู้ค้าคนอื่นๆ ในตลาดและดูสิ่งที่พวกเขาทำออกมาได้ดี ตัวอย่างเช่น:

  • รูปแบบธุรกิจของพวกเขาเป็นอย่างไร?
  • พวกเขาขายสินค้าหลายรายการหรือเพียงแค่ผลิตภัณฑ์เดียว?
  • พวกเขาอยู่บนโดเมน dot.com ของตัวเองหรืออยู่บนแพลตฟอร์มหน้าร้านและร้านค้า?
  • พวกเขาใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียอะไรบ้าง?
  • กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของพวกเขาคือใคร?
  • พวกเขากำหนดราคาสินค้าอย่างไร?
  • พวกเขาผลักดันยอดขายอย่างไร – ชะระเงินเพื่อซื้อสื่อ ยิงแอดบนโซเชียลมีเดีย การใช้ Search Engine Optimization (SEO) อีเมล์ เป็นต้น)
  • จะทำให้กลุ่มเป้ามีส่วนร่วมกับธุรกิจคุณอย่างไร?

คำถามเหล่านี้จะช่วยคุณสร้างแผนและกลยุทธ์เพื่อทำให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ

การกระตุ้นการเข้าชมร้านค้าอีคอมเมิร์ซของคุณ

ไม่มีอะไรมาทำลายธุรกิจได้รวดเร็วเท่ากับการไม่มีผู้ซื้อ ปีที่ผ่านมานี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ในระบบอีคอมเมิร์ซ นักช้อปจะเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์และออก เมื่อคุณต้องการขายสินค้า คุณจะต้องสร้างการรับรู้เพื่อเพิ่มจำนวนการเยี่ยมชมเว็บไซต์ให้สูงขึ้น 

การตลาด

เรืยกง่ายๆ ก็คือ การลงทุนในช่องทางการตลาด คุณต้องหากลยุทธ์ทางการตลาดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

และโครงสร้างธุรกิจคุณ ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนา คุณสามารถใช้โซเชียลมีเดียในการทำการตลาดโดย

ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ  และใช้กระบวนการ Search Engine Opimization (SEO) เพื่อเพิ่มยอดเข้าชมเว็บไซต์ อย่างไรก็ตาม การที่เว็บไซต์ของคุณจะไปอยู่ลำดับต้นๆ ของ SEO อาจะต้องใช้เวลาหน่อย เวลาที่คุณไม่ได้อยากเสียมันไป ดังนั้นคุณอาจจะต้องจ่ายเงินเพื่อทำให้เว็บไซต์ของคุณติดลำดับต้นๆ ของ SEO เมื่อกลุ่มลูกค้าทำการค้นหา

อันที่จริง แล้วเราไม่แนะนำให้คุณท้อกับการทำ SEO เนื่องจากเหตุผลข้างต้น คุณไม่จำเป็นต้องเสียเงิน วิธีที่จะช่วย

ให้เว็บไซต์ของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นก็คือ การใช้ Keywords หรือ คำหรือวลีที่ผู้คนใช้ค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการบน Search Engine ถึงจะใช้เวลาหน่อย แต่มันก็สามารถทำให้ธุจกิจของคุรเป็นที่รู้จักในตลาด  และนี่คือสิ่งที่คุณ ไม่ควรมอง

ข้าม

ยังอีกมีวิธีที่รวดเร็วกว่า นั่นก็คือการการโฆษณาที่เสียค่าใช้จ่าย เช่น การทำแคมเปญแบบ Pay-per-click พูดง่ายๆ ก็คือคุณจะเสียเงินค่าโฆษณาต่อเมื่อมีผู้ใช้งานคลิกเพื่อเข้าชมเว็บไซต์ของคุณเท่านั้น ด้วยวิธีนี้คุณได้ลูกค้า

ที่มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้ามากกว่าการโฆษณาแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย เพราะพวกเขาได้เห็นสินค้าและราคาก่อนที่

เข้าเยี่ยมชมร้านค้าอีคอมเมิร์ซของคุณ

ขั้นตอนต่อไปก็คือ การทำคอนเทนต์ ซึ่งเป็นอีกวิธีที่ทำให้สินค้าและธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักผ่านบนโซเซียลมีเดียและเขียนคอนเทนต์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาในแต่ละแพลตฟอร์ม

และคุณยังโปรโมทสินค้าผ่านโปรโมทสินค้าในรูปแบบการเขียนบล็อกในเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับสินค้าและธุรกิจของคุณ 

เพื่อให้ผู้คนสนใจและเยี่ยมชมร้านค้าของคุณ

Customer Acquisition and Conversion คืออะไร?

ตัวชี้วัดสำคัญในการวางแผนธุรกิจและการตลาด คือ Customer Acquisition Cost (CAC) เป็นต้นทุนในการโน้มน้าวให้ผคนมาซื้อสินค้า หลายปีที่ผ่านมา หลายธุรกิจอีคอมเมิร์ซ CAC  บนสื่อต่างๆ ที่เเบรนด์ต้องจ่ายเงินซื้อ (paid media) การหาลูกค้าจากช่องทางแบบชำระเงินมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นการจัดการ Conversion และการรักษาลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ได้ Return on Inverstment (ROI) ที่คุณต้องการ

ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีลูกค้าที่ออกจากคำสั่งซื้อหรือไม่ ซึ่งลูกค้าประเภทนี้ไม่สามารถมาให้ Conversion กับธุรกิจของคุณได้ คุณควรใช้เวลาทำความเข้าใจว่าจะรักษาพวกเขาไว้ ลองมองหาปัจจัยที่ทำให้พวกเขากลับมาซื้อสินค้า วิเคราะห์ว่าพวกเขาพอใจกับอะไร และอะไรเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้พวกเขาไม่ซื้อสินค้า การรักษาลูกค้ามีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

การหาลูกค้าใหม่ และนี่ก็คือวิธีที่จะทำให้คุณพร้อมขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซต่อไป

ตามหลักแล้วการเพิ่มประสิทธิภาพของ Conversion รวมถึงขั้นตอนการชำระเงิน อาจทำให้คุณต้องเสียค่าใช้จ่าย

ในการขายตั้งแต่นาทีแรกจนนาทีสุดท้าย

กระจายธุรกิจอีคอมเมิร์ซของคุณไปหลายๆ ช่องทาง

การมีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณเองเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวัง จะต้องพิจารณาอย่างรอบครอบ

นักช้อปทั่วไปจะซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มขนาดใหญ่อย่าง Amazon และ Alibaba เพราะเป็นแหล่งรวมสินค้า หาได้ทุกอย่าง ภายในแพลตฟอร์มเหล่านี้ มีพ่อค้าแม่ขายเป็นล้านๆคน ก็เหมือนกับตัวคุณเองที่เช่าพื้นที่ห้างสรรพสินค้า หรือพื้นบนเว็บไซต์เพื่อขายของ ถึงเเม้ว่าคุณมีพาร์ทเนอร์อย่าง Amazon ที่จะให้ทำให้สินค้าไปสู่ระดับ international  ช่วยมีบริการ fulfillment ให้กับธุรกิจคุณ  และมีสิ่งดึงดูดลูกค้ามากมาย แต่สิ่งเหล่านั้นคุณไม่ได้เป็นเจ้าของมันเลย และคุณไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรงได้ เนื่องจากนโยบายการขายของ Amazon

ในปัจจุบันธุรกิจหลายรายได้กระจายสินค้าไปหลายๆ ช่องทางเช่น  Shopify, Shopee หรือ Lazada โดยไม่ขึ้นตรงกับ Amazon นี่เป็นต่อในทำการตลาดของพวกเขา และทำให้พวกเขาจัดจำหน่ายสินค้าได้ง่าย  

แต่ก็ยังคงมี เว็บไซต์ dot.com ของตัวเองอยู่ ช่องทางการค้าเหล่านี้มีระบบการชำระเงินที่สะดวก เข้าถึงเหล่านักช้อบได้ง่าย

ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าว ยังให้ความรู้ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับขนาดธุรกิจของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่ง

ร้านค้าที่มีอยู่ รวมทั้งแนะนำให้ใช้ทรัพยากรของตัวแพตฟอร์ม ยกตัวอย่างเช่น Shopify Plus มันง่ายมาก

ที่จะสร้างและรันธุรกิจในหลายๆ ประเทศจากเพียงแค่แพลตฟอร์มเดียวเท่านั้น

ข้อเสียเพียงอย่างเดียวของการย้ายจากช่องทางหนึ่งไปยังหลายๆ ช่องทางนั่นก็คือ การติดตามสินค้าที่อยู่ในโกดังของแต่ละร้าน ซึ่งคุณต้องการความช่วยเหลืออย่างแน่นอน

หาคนมาจัดการสินค้าคงคลังและการปฏิบัติตามข้อกำหนดของคุณ

การมีเว็บไซต์ที่สวยงามและประมวลผลได้ดีเป็นสิ่งนึงที่คุ้มค่าแค่การลงทุนในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ มันจะช่วยคุณสร้าง

การรับรู้และยอดขายสินค้าในธุรกิจ แต่ถ้าคุณไม่สามารถระบุได้ว่าสินค้าอยู่ในช่องทางใดบ้าง ไม่รู้ว่าคุณต้องการสต็อก

สินค้าใหม่เมื่อใด จะปฏิบัติตามคำสั่งซื้อได้อย่างไร และนำผลิตภัณฑ์ของคุณไปอยู่ในมือของลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม

หรือไม่ ทั้งหมดนี้ก็เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้นเว็บไซต์จะสวยอย่างเดียวไม่ได้ ต้องสามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์

ให้แก่ลูกค้าได้อีกด้วย

การจัดการสินค้าคงคลัง

การจัดการสินค้าคงคลังติดหนึ่งในลำดับความสำคัญของธุรกิจที่เน้นผลิตภัณฑ์ ในระบบอีคอมเมิร์ซปัจจุบัน  หากจัดการสินค้าไม่เป็นเท่ากับหายนะ หากคุณมีสินค้าในคงคลังมีมากเกินไป คุณต้องเสียเงินไปกับค่าพื้นที่จัดเก็บโดยใช่เหตุ 

ในทางกลับกัน เมื่อสินค้าในคงคลังไม่เพียวพอ สินค้าหมดสต็อกอยู่บ่อยๆ การจัดส่งล่าช้าก็จะล่าช้า และคะแนน

ความพึงพอใจของของลูกค้าจะลดลง ซึ่งนำไปสู่ชื่อเสียงที่ไม่ดีและถูกวิพากษ์วิจารณ์ และสูญเสียยอดขาย

ระบบการจัดการสินค้าคงคลังที่มีคุณภาพและการจัดการที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หากคุณมีศูนย์บริการคลังสินค้าที่ไว้วางใจ คุณจะสามารถติดตามสินค้าได้แบบเรียลไทม์ไม่ว่าพัสดุอยู่ตำแหน่งใด สามารถรับรู้ยอดขาย และเช็คสต๊อคว่าหมดหรือไม่  ลองคิดดูสิ เมื่อลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ แต่สินค้าดันหมด ความเชื่อมั่นและไว้วางใจของพวกเขาที่มีให้กับธุรกิจของคุณลดลงหรือหมดไป ดังนั้นธุรกิจจะสำเร็จได้ ต้องทำให้ลูกค้าซื้อซ้ำ แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับการสร้างความมั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด

Fulfillment

เรามีคู่มือเริ่มต้นเกี่ยวกับโลจิสติกส์ การปฏิบัติตามข้อกำหนด และการดำเนินงานที่สามารถให้มุมมองเชิงลึก ละนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไม การมีพาร์ทเนอร์ดี เป็นศรีต่อธุรกิจ:

  • หากลยุทธ์ให้การจัดส่งของคุณ
  • ค่าจัดส่งของคุณจะเป็นอย่างไร
  • วิธีที่ดีที่สุดในการกำหนดราคาสำหรับการจัดส่งของคุณ (83% ของลูกค้าอีคอมเมิร์ซใช้การจัด ส่งฟรีเป็นปัจจัยในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเมื่อซื้อสินค้า)
  • บริการจัดส่งที่ดีที่สุด (บริษัทจัดส่งพัสดุเอกชล VS ไปรษณีย์)

รวมทั้งให้ความช่วยเหลือด้วยคำแนะนำด้านสินค้าคงคลังข้างต้นผ่านทาง:

  • การจัดการคำสั่งซื้อและสินค้าคงคลัง
  • การวางแผนอุปสงค์/อุปทาน
  • เวิร์กโฟลว์อัตโนมัติ
  • การวิเคราะห์คำสั่งซื้อ สินค้าคงคลัง และการขาย

LOCAD เป็นพาร์ทเนอร์ที่เข้ามาเติมเต็มธุรกิจคุณ

LOCAD คือกุญแจสู่ความสำเร็จของคุณ

มีหลายสิ่งที่ต้องดูแลและดำเนินการ เมื่อคุณอยากธุรกิจอีคอมเมิร์ซของคุณประสบผลสำเร็จ หมดห่วงเรื่องคลังสินค้า

 LOCAD ขอนำเสนอการจัดการซัพพลายเชนที่ยืดหยุ่นในทุกๆ ช่องทางการขายของคุณจัดเก็บคลังสินค้าและการ

จัดจำหน่ายได้ตามที่คุณต้องการ  เพื่อจัดการโครงสร้างพื้นฐานแบ็กเอนด์ของอีคอมเมิร์ซของคุณ

LOCAD มีประสบการณ์ในการทำงานกับแพลตฟอร์มร้านค้าหลายปี ทั้งผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ และลูกค้าระดับองค์กร เรามีโซลูชันเทคโนโลยีแบบไดนามิกและปรับเปลี่ยนได้ เพื่อนำผลิตภัณฑ์ของคุณไปอยู่ในมือลูกค้าของคุณอย่างง่ายดายและรวดเร็วที่สุด ในฐานะผู้จัดส่งรายใหญ่อย่าง Locad เราได้ทำสัญญากับบริษัทจัดส่งหลายแห่ง ที่สามารถประหยัดต้นทุนให้คุณได้ เมื่อเทียบกับอัตราค่าจัดส่งของบริษัทจัดส่งทั่วไปที่คุณติดต่อด้วยตัวเอง

Locad นำเสนอโซลูชันที่ดีที่สุด ช่วยให้คุณ:

  • มีการผสานรวมกับช่องทางการขายทั้งหมดของคุณ ตั้งแต่เว็บไซต์ของคุณไปจนถึงตลาดกลางและแพลตฟอร์มร้านค้า เช่น Lazada, Woo และ Shopify
  • ขายผ่านหลายช่องทางจากกลุ่มสินค้าคงคลังที่รวมกลุ่มเดียว ผ่านซอฟต์แวร์ฟรีของเรา พร้อมทั้งการมองเห็นแบบเรียลไทม์ระหว่างช่องทางการขายและซัพพลายเชนของคุณ
  • ด้วยแดชบอร์ด Control Tower ของ LOCAD คุณจะมีข้อมูลล่าสุดเสมอเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง การเคลื่อนไหวของสต็อก การวิเคราะห์ และ KPI เพื่อให้คุณสามารถกรองผลิตภัณฑ์ที่ต้องการจัดลำดับใหม่หรือไม่ย้ายได้อย่างง่ายดาย
  • มีการตรวจสอบออเดอร์อย่างรอบคอบและส่งออกตรงเวลา ช่วยให้คุณได้คะแนนคุณภาพในฐานะผู้ขาย และอำนวยความสะดวกในการขายในอนาคต
  • ระบบ fulfillment ของเรา สร้างขึ้นเพื่อให้สต็อกของคุณใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น ลดระยะทาง และ ทำให้ลดต้นทุนการจัดส่งให้ต่ำลงและจัดส่งที่รวดเร็วขึ้น
  • เพื่อให้คุณขยายธุรกิจได้ง่ายขึ้น เราตอบสนองความต้องการธุรกิจคุณและการขยายตลาดไปสู่ระดับนานาชาติ

สุดท้ายนี้ บริการของเราไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง เราเสนอเงื่อนไขที่ยืดหยุ่นและราคาตามเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงได้ ไม่มีข้อผูกมัดใดๆ  เพราะเราทราบดีว่าสินค้าบางตัวขึ้นอยู่กับฤดูกาล คาดเดาได้ยาก และอาจเกิดความล่าช้า คุณสามารถปรับเปลี่ยนตามต้องการ เรามุ่งเน้นไปที่การนำเสนอโซลูชั่น ราคาประหยัด ทันเวลา และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณมีสมาธิกับการขยายธุรกิจของคุณ

E

eCommerce คือ อะไร?.
1.User-Friendly..
2.Mobile-Friendly Website..
3.ภาพประกอบเว็บไซต์ต้องคมชัด.
4.โปรโมชั่น ข้อเสนอที่น่าสนใจ.
5.ระบบสั่งซื้อ/ตะกร้าสินค้า.
6.Search & Filter..
7.สินค้าที่เกี่ยวข้อง.
8.Social Proof..

แพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ชคืออะไร

e-Commerce platform คือเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการขายสินค้าหรือบริการผ่านทางออนไลน์โดยเฉพาะ หรือที่รู้จักกันในชื่อ e – marketplace ซึ่งเป็นช่องทางที่นำผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าออนไลน์มาเจอกัน ทำให้เกิดการทำข้อตกลงซื้อขายสินค้ากันภายในแพลตฟอร์ม อีกทั้งยังครอบคลุมไปถึงการโอนเงินค่าสินค้าและ ...

ธุรกิจ E

e-Retailer หรือกลุ่มธุรกิจค้าปลีกที่มีการขยายช่องทางออนไลน์ จากเดิมที่มีแค่หน้าร้าน เพิ่มในส่วนของอีคอมเมิร์ซเข้ามา เช่น เทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี, เซ็นทรัล และเดอะมอลล์ เป็นต้น Direct to Consumer กลุ่มที่แบรนด์หันมาทำเว็บไซต์ หรือช่องทางขายตรงกับลูกค้าเอง เช่น กลุ่มสินค้าไอที บิวตี้ อาหาร เป็นต้น

E

ลดขั้นตอนทางการตลาด ลดพลังงานในการเดินทาง ลดการใช้ทรัพยากรด้านองค์ประกอบทางธุรกิจ เช่น พื้นที่การขาย อาคารประกอบการ ทำเลที่ตั้ง โกดังเก็บสินค้า เป็นต้น ลดต้นทุนด้านช่องทางจำหน่ายในรูปแบบร้านค้า, ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมทั้งค่าเช่าพื้นที่ขายหรือการลงทุนในการสร้างร้าน ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนของธุรกิจต่ำลง